วัฒนธรรมสมัยนิยม ของ ความสัมพันธ์สหราชอาณาจักร–สหรัฐ

วรรณกรรม

ด้านวรรณกรรมเองก็มีสายสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ แม้จะมีมหาสมุทรแอตแลนติกคั้นกลางแต่ก็ไม่อาจจะห้ามความนิยมต่อวรรณกรรมของทั้งสองประเทศได้เลย หลักฐานที่เห็นได้ชัดเจนก็คือความนิยมที่มีต่อนักเขียนอังกฤษในสหรัฐเช่น วิลเลียม เชกสเปียร์, ชาร์ลส์ ดิกคินส์, เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน, แจ็กกี้ คอลลินส์ และเจ. เค. โรว์ลิง ขณะเดียวกันนักเขียนชาวอเมริกันเองก็ได้รับความนิยมในสหราชอาณาจักรเช่น แฮเรียต บีเชอร์ สโตว์, มาร์ก ทเวน, เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ และแดน บราวน์ เช่นเดียวกับเฮนรี เจมส์ นักเขียนชาวอเมริกันผู้ย้ายไปยังเกาะอังกฤษในภายหลัง ซึ่งเขาเองเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปในทั้งสองประเทศ ที. เอส. อีเลียต เองก็ได้ย้ายไปยังอังกฤษในปี พ.ศ. 2457 และได้รับสัญชาติอังกฤษในปี พ.ศ. 2470 อีเลียตมีชื่อเสียงจากการเป็นนักวิจารณ์วรรณกรรมและมีอิทธิพลอย่างมากต่อวงการวรรณกรรมอังกฤษในยุคสมัยใหม่[89]

สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์บรอดชีต นิวยอร์กไทมส์ มีอิทธิพลอย่างมากต่อวงการหนังสือพิมพ์อังกฤษ โดยหนังสือพิมพ์บอร์ดชีตประจำวันอาทิตย์ชื่อดังของอังกฤษที่อย่าง ดิออบเซิร์ฟเวอร์ เองก็ถูกจัดว่ามีรูปแบบที่คัดลอกมาจากนิวยอร์กไทมส์[90]

ภาพยนตร์

ในยุคสมัยปัจจุบันมีการร่วมงานทางด้านบันเทิงกันนับครั้งไม่ถ้วนระหว่างสหราชอาณาจักรกับสหรัฐ ตัวอย่างเช่นภาพยนตร์ฮอลลีวูดยอดนิยมของสตีเวน สปีลเบิร์ก และจอร์จ ลูคัส ที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อผู้ชมชาวอังกฤษ ขณะที่ภาพยนตร์อย่างเจมส์ บอนด์ และแฮร์รี่ พอตเตอร์ทุกภาค ได้รับความนิยมอย่างมหาศาลในสหรัฐ เช่นเดียวกันกับภาพยนตร์การ์ตูนของวอลต์ ดิสนีย์ ที่ยังคงสร้างความทรงจำอันน่าประทับใจต่อผู้ชมชาวอังกฤษเสมอมา ทั้งผู้ชมวัยหนุ่มสาวและวัยชราเป็นเวลากว่า 100 ปี รวมไปถึงภาพยนตร์ของผู้กำกับชาวอังกฤษผู้โด่งดังอย่างอัลเฟรด ฮิตช์ค็อก เองก็ยังคงทรงพลังในหมู่แฟนคลับผู้ภักดีในสหรัฐอย่างต่อเนื่อง และตัวอัลเฟรดเองก็ยังมีอิทธิพลต่อผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดังของสหรัฐในปัจจุบันหลายคนเช่น จอห์น คาร์เพนเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการภาพยนตร์แนวสยองขวัญ นอกจากนี้แล้ววิธีและกระบวนการผลิตภาพยนตร์ยังมักถูกแบ่งปันกันระหว่างทั้งสองประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกนักแสดงทั้งจากอังกฤษและอเมริกาไปจนถึงการเลือกสถานที่ถ่ายทำทั้งในลอนดอนและฮอลลีวูดเอง

ละครเวที

ละครบรอดเวย์แห่งนครนิวยอร์กถูกนำไปแสดง ณ โรงละครเวสต์เอนด์ในกรุงลอนดอนมานานนับปี ละครเวทีอันโด่งดังหลายต่อหลายเรื่องที่นำไปแสดงเช่น ไลออนคิง, กรีส, วิคท์ และเรนท์ ส่วนละครภายใต้การกำกับของอังกฤษก็ได้แก่ มัมมามิอา! รวมถึงละครอีกหลายเรื่องของแอนดรูว์ ลอยด์ เวบเบลอร์ เช่น โจเซฟแอนด์ดิอะเมซิงเทคนิคคัลเลอร์ดรีมโคต, แคท และ เดอะแฟนธ่อมออฟดิโอเปร่า ก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากบนเวทีบรอดเวย์ นอกจากนี้แล้วบทละครแนวตลก, แนวประวัติศาสตร์ และแนวโศกนาฏกรรม ที่ประพันธ์โดยกวีชาวอังกฤษอย่างวิลเลียม เชกสเปียร์ เองก็ได้รับความนิยมอย่างสูงจากวงการละครเวทีสหรัฐ

โทรทัศน์

เดอะซิมป์สันส์ รายการโทรทัศน์ยอดนิยมของสหรัฐ

ทั้งสหราชอาณาจักรและสหรัฐเองต่างก็รายการโทรทัศน์ที่เหมือนกัน ซึ่งต่างก็มีการนำออกอากาศระหว่างกัน หรือไม่ก็มีการสร้างสรรค์ขึ้นมาเองแต่มีต้นแบบมาจากอีกฝ่าย โดยรายการโทรทัศน์ยอดนิยมของอังกฤษหลายต่อหลายรายการถูกนำมาดัดแปลงขึ้นใหม่ในสหรัฐตลอดหลายปีหลังมานี้เช่น ดิออฟฟิศ, ฮูวอนส์ทูบีอะมิลเลียนแนร์?, สตริคท์ลีคัมแดนซิง (ในสหรัฐ: แดนซิงวิทเดอะสตาร์) และ ป็อปไอดอล (ในสหรัฐ: อเมริกันไอดอล) เช่นเดียวกับที่รายการโทรทัศน์ของสหรัฐที่ถูกนำไปออกอากาศในอังกฤษเช่น เดอะซิมป์สันส์, โมเดิร์นแฟมิลี่, เซาท์พาร์ก, แฟมิลี่กายส์, เฟรนด์ส และหลายภาคของ ซีเอสไอ: ไครม์ซีนอินเวสติเกชัน

บรรษัทการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งบริเตน หรือเรียกโดยย่อว่า บีบีซี สถานีโทรทัศน์สาธารณะของอังกฤษ ได้ทำการออกอากาศ 2 ช่องรายการในสหรัฐคือ บีบีซีอเมริกา และ บีบีซีเวิลด์นิวส์ ส่วนสถานีโทรทัศน์ของสหรัฐที่ร่วมมือในการออกอากาศกับบีบีซีก็คือ พีบีเอส ก็ได้ทำการออกอากาศรายการโทรทัศน์ของอังกฤษซ้ำอีกครั้งในสหรัฐเช่น มอนตีพีทอนส์ฟลายอิงเซอร์คัส, คีพพิงอัพแอพแพเรนเซส, ด็อกเตอร์ฮู, โนวา และ แมสเตอร์พีซเธียร์เตอร์ นอกจากนี้บีบีซียังร่วมงานบ่อยครั้งกับเครือข่ายโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมสัญชาติอเมริกันอย่าง เอชบีโอ อีกด้วย โดยออกอากาศภาพยนตร์ชุดสั้นของอเมริกาในสหราชอาณาจักรอย่าง โรม, จอห์น อดัมส์ (ภาพยนตร์ชุด), แบนด์ออฟบราเธอร์ส, และ เดอะแกเธอริงสตอร์ม ในทำนองกันกับที่ ดิสคัฟเวอรี่ แชนแนล โทรทัศน์สัญชาติอเมริกันและหุ้นส่วนของบีบีซี ที่ได้ทำการออกอากาศรายการของอังกฤษในสหรัฐเช่น แพลนเน็ตเอิร์ธ และ บลูแพลนเน็ต ซึ่งในภายหลังรู้จักกันอย่างแพร่หลายในชื่อ บลูแพลนเน็ต: ซีส์ออฟไลฟ์ โดยเป็นฉบับดัดแปลงของสหรัฐ นอกจากนี้ยังมีสถานีโทรทัศน์เกี่ยวกับเรื่องที่เป็นความสนใจในสังคมของสหรัฐที่ชื่อว่า ซี-สแปน ได้ทำการออกอากาศรายการ คำถามของนายกรัฐมนตรี ของอังกฤษทุกวันอาทิตย์ด้วย

ในช่องโทรทัศน์ดิจิตอลของอังกฤษบางแห่งยังสามารถรับชมช่องโทรทัศน์ของสหรัฐได้โดยตรงเช่น ฟ็อกซ์นิวส์ รวมไปถึงช่องโทรทัศน์สำหรับผู้ชมชาวอังกฤษอย่าง ซีเอ็นบีซียุโรป, ซีเอ็นเอ็นยุโรป, อีเอสพีเอ็นคลาสสิก (สหราชอาณาจักร), คอมเมดีเซ็นทรัล (สหราชอาณาจักร) และ เอฟเอ็กซ์ (สหราชอาณาจักร) ส่วนซูเปอร์โบวล์รายการแข่งขันชิงชนะเลิศอเมริกันฟุตบอลของเอ็นเอฟแอลซึ่งถูกจัดขึ้นทุกเดือนกุมภาพันธ์ของปี ก็ถูกออกอากาศในสหราชอาณาจักรมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525[91]

ดนตรี

การมาถึงสหรัฐของวงดนตรีร็อกสัญชาติอังกฤษ เดอะบีตเทิลส์ และการไปปรากฏตัวในรายการ ดิเอ็ดซัลลิแวนโชว์ ในปี พ.ศ. 2507 นับเป็นจุดเริ่มต้นของ "การแทรกซึมของสหราชอาณาจักร"

ศิลปินอเมริกันอย่าง มาดอนนา, ทิน่า เทอร์เนอร์, แชร์, ไมเคิล แจ็กสัน, บิง ครอสบี, เอลวิส เพรสลีย์, บ็อบ ดิลลัน, ไดอาน่า รอสส์, บริทนีย์ สเปียร์ส, คริสตินา อากีเลรา, แฟรงก์ ซินาตรา และบียอนเซ่ โนวส์ ทั้งล้วนแล้วแต่โด่งดังในสหราชอาณาจักร ส่วนศิลปินอังกฤษอย่าง เดอะบีตเทิลส์, เดอะโรลลิงสโตนส์, สติง, เดอะฮู, เชอร์ลีย์ บาสซีย์, ทอม โจนส์, เดวิด โบวี, สไปซ์เกิลส์, บีจีส์, เอมี ไวน์เฮาส์, เลโอนา ลูวิส, เอลตัน จอห์น (ผู้ซึ่งประพันธ์เพลง แคนเดิลอินเดอะวินด์ เป็นหนึ่งในซิงเกิลที่ขายดีที่สุดตลอดกาลของโลก) และ โคลด์เพลย์ ประสบความสำเร็จอย่างมากมายในตลาดสหรัฐ จึ่งเป็นเที่ชัดเจนว่าวงการดนตรีของทั้งสองประเทศมีสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นและมั่นคง

ในสหราชอาณาจักร ภาพยนตร์ฮอลลีวูดรวมไปถึงละครเวทีบรอดเวย์หลายเรื่องมีดนตรีประกอบที่สร้างสรรค์โดยนักอำนวยเพลงชาวอเมริกันหลายคนเช่น จอร์จ เกิร์ชวิน, รอดเจอร์สและแฮมเมอร์สไตน์, เฮนรี แมนซินี, จอห์น วิลเลียมส์, อลัน ซิลเวสตริ, เจอร์รี โกลด์สมิธ และเจมส์ ฮอร์เนอร์

ดนตรีเซลติคของสหราชอาณาจักรมีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อดนตรีอเมริกัน[92] โดยจะเฉพาะอย่างยิ่งต่อดนตรีพื้นบ้านในภาคใต้ของสหรัฐ ซึ่งเป็นดนตรีที่สืบทอดมาจากดนตรีเซลติคและดนตรีพื้นบ้านของอังกฤษในยุคอาณานิคม ซึ่งดนตรีพื้นบ้านทางภาคใต้นี้เองได้ให้กำเนิดแนวดนตรีคันทรีและดนตรีพื้นบ้านอเมริกัน[93]

การถือกำเนิดขึ้นของแนวดนตรีแจ๊ซ ดนตรีสวิง บิ๊กแบนด์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งร็อกแอนด์โรล ทั้งหมดล้วนแล้วแต่กำเนิดขึ้นบนแผ่นดินอเมริกา ซึ่งมีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อการพัฒนาวงดนตรีร็อกยุคหลังของสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะวงดนตรีร็อกอังกฤษอย่างเดอะบีตเทิลส์ และเดอะโรลลิงสโตนส์ ขณะเดียวกันกับที่แนวดนตรีอเมริกันยุคก่อนหน้าอย่างบลูส์เองก็มีอิทธิพลอย่างมากต่อแนวดนตรีอิเล็กทริกร็อกของอังกฤษ[94]

ใกล้เคียง

ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย ความสัมพันธ์สหราชอาณาจักร–สหรัฐ ความสามารถของบุคคล ความสัมพันธ์ไทย–พม่า ความสัมพันธ์ญี่ปุ่น–ไทย ความสัมพันธ์จีน–ไทย ความสัมพันธ์ไทย–สหรัฐ ความสัมพันธ์ไทย–รัสเซีย ความสัมพันธ์เนโท–สวีเดน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความสัมพันธ์สหราชอาณาจักร–สหรัฐ http://www.ctv.ca/servlet/ArticleNews/story/CTVNew... http://esl.about.com/od/toeflieltscambridge/a/dif_... http://www.amazon.com/Theyll-Have-Follow-You-Trium... http://www.bbc.com/news/uk-scotland-scotland-polit... http://www.buzzle.com/articles/history-of-the-war-... http://www.cbsnews.com/stories/2009/03/31/eveningn... http://www.cunard.com/Destinations/default.asp?Sub... http://www.enquirerherald.com/366/story/874656.htm... http://www.foreigntradeexchange.com/countries/uk.h... http://www.foxnews.com/politics/first100days/2009/...