ภาพรวม ของ ความเหลื่อมล้ำทางสังคม

ความเหลื่อมล้ำทางสังคมพบในเกือบทุกสังคม ความเหลื่อมล้ำทางสังคมนั้นเกิดขึ้นจากปัจจัยเชิงโครงสร้างหลายประการ เช่น ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และสถานภาพพลเมือง และมักมีวจนิพนธ์ทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์มานิยาม เช่น คนจน "สมควร" (สาเหตุเกิดจากคนคนนั้นเอง) หรือ "ไม่สมควร" หรือไม่[5] ในสังคมเรียบง่าย ผู้ที่มีบทบาทและสถานภาพทางสังคมน้อยกว่าสมาชิกอื่น ความเหลื่อมล้ำทางสังคมอาจมีต่ำมาก ตัวอย่างเช่นในสังคมชนเผ่า หัวหน้าเผ่าอาจมีเอกสิทธิ์บางอย่าง ใช้เครื่องมือบางชนิด หรือสวมสัญลักษณ์ประจำตำแหน่งที่ผู้อื่นห้ามสวม แต่ชีวิตประจำวันของหัวหน้าเผ่านั้นก็แทบไม่ต่างจากสมาชิกเผ่าคนอื่น นักมานุษยวิทยาเรียกวัฒนธรรมที่มีความสมภาคสูงนี้ว่า "เน้นความเป็นญาติ" (kinship-oriented) ซึ่งดูจะให้ค่าแก่ความปรองดองทางสังคมมากกว่าความมั่งคั่งหรือสถานภาพ วัฒนธรรมดังกล่าวแตกต่างจากวัฒนธรรมที่เน้นวัตถุซึ่งมีการให้รางวัลสถานภาพและความมั่งคั่ง ซึ่งมีการแข่งขันและความขัดแย้งเกิดขึ้นทั่วไป นอกจากนี้วัฒนธรรมเน้นความเป็นญาติอาจมุ่งมั่นขัดขวางมิให้เกิดลำดับชั้นทางสังคมเสียด้วยซ้ำ เพราะเชื่อว่าจะนำไปสู่ความขัดแย้งและขาดเสถียรภาพ[6] ในโลกปัจจุบัน ประชากรส่วนใหญ่ของโลกอาศัยอยู่ในสังคมซับซ้อน และยิ่งสังคมมีความซับซ้อนมากขึ้น ความเหลื่อมล้ำก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามช่องว่างระหว่างคนจนสุดและรวยสุดในสังคม[3]

ความเหลื่อมล้ำทางสังคมสามารถจำแนกได้เป็นสังคมสมภาค (egalitarian), สังคมมีชนชั้น (ranked) และสังคมมีการจัดช่วงชั้น (stratified)[7] สังคมสมภาคได้แก่ชุมชนที่ส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคมผ่านโอกาสและสิทธิเท่าเทียมกัน ฉะนั้นจึงไม่มีการเลือกปฏิบัติ บุคคลที่มีทักษะพิเศษไม่ถูกมองว่าเหนือกว่าคนที่เหลือ ผู้นำไม่มีอำนาจมีแต่อิทธิพล บรรทัดฐานและความเชื่อของสังคมสมภาคสนับสนุนการแบ่งปันและมีส่วนร่วมอย่างเท่ากัน ถัดมาสังคมมีชนชั้นส่วนใหญ่เป็นชุมชนเกษตรกรรมที่มีการจัดกลุ่มแบบลำดับชั้นจากหัวหน้าซึ่งมองว่ามีสถานภาพในสังคม ในสังคมนี้มีการจัดจำแนกบุคคลตามสถานภาพและเกียรติภูมิ ไม่ใช่ตามการเข้าถึงอำนาจและทรัพยากร หัวหน้าเป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลมากที่สุด ตามด้วยครอบครัวและญาติของหัวหน้า และผู้ที่เกี่ยวดองกับเขาลดลงก็มีชนชั้นต่ำลงไปด้วย สังคมมีการจัดช่วงชั้นเป็นสังคมที่จัดบุคคลในแนวดิ่งเป็นชนชั้นสูง ชนชั้นกลางและชนชั้นล่าง การจัดจำแนกนี้คำนึงถึงทั้งความมั่งคั่ง อำนาจและเกียรติภูมิ ชนชั้นสูงส่วนใหญ่เป็นผู้นำและผู้ทรงอิทธิพลมากที่สุดในสังคม ทั้งนี้บุคคลสามารถเลื่อนจากชนชั้นหนึ่งไปอีกชนชั้นหนึ่งได้ และสถานภาพทางสังคมสามารถสืบทอดจากรุ่นหนึ่งไปอีกรุ่นหนึ่งได้[2]

มีความเหลื่อมล้ำทางสังคม 5 ระบบหรือชนิด ได้แก่ ความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง ความเหลื่อมล้ำของการปฏิับติและความรับผิดชอบ ความเหลื่อมล้ำทางการเมือง ความเหลื่อมล้ำในชีวิต และความเหลื่อมล้ำของสมาชิกภาพ; ความเหลื่อมล้ำทางการเมืองเป็นความแตกต่างที่เเกิดจากความสามารถเข้าถึงทรัพยากรภาครัฐ จึงไม่มีความเสมอภาคของพลเมือง สำหรับความแตกต่างทางการปฏิบัติและความรับผิดชอบ บุคคลบางกลุ่มได้รับประโยชน์มากกว่าและได้เเอกสิทธิ์เร็วกว่าคนอื่น ในสถานีงาน บางกลุ่มมีความรับผิดชอบมากกว่า จึงได้รับค่าตอบแทนมากกว่าและผลประโยชน์ดีกว่ากลุ่มที่เหลือแม้มีคุณวุฒิเท่ากัน; ความเหลื่อมล้ำของสมาชิกภาพคือจำนวนสมาชิกในครอบครัว ชาติหรือศาสนา ความเหลื่อมล้ำของชีวิตเกิดจากความไม่เสมอภาคของโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนคนนั้น สุดท้ายความเหลื่อมล้ำของรายได้และความมั่งคั่งนั้นเกิดจากมีรายได้รวมไม่เท่ากัน[7]

ตัวอย่างสำคัญของความเหลื่อมล้ำทางงสังคม ได้แก่ ช่องว่างของรายได้ ความเหลื่อมล้ำทางเพศ สาธารณสุขและชนชั้นทางสังคม ในด้านสาธารณสุข บุคคลบางกลุ่มได้รับการรักษาดีกว่าและเป็นวิชาชีพมากกว่ากลุ่มอื่น ความแตกต่างของชนชั้นทางสังคมยังประจักษ์ชัดในระหว่างการชุมนุมสาธารณะโดยที่ชนชั้นสูงได้รับที่นั่งดีที่สุด รวมทั้งการได้รับการต้อนรับและได้รับจัดลำดับความสำคัญก่อน[7]

สถานภาพในสังคมมี 2 ประเภท แบ่งเป็นลักษณะที่ติดตัวมาแต่กำเนิด (ascribed) และลักษณะที่หามาได้ภายหลัง (achieved) ลักษณะที่ติดตัวมาแต่กำเนิดคือเกิดมาพร้อมกับมีลักษณะนั้น หรือได้รับกำหนดจากผู้อื่นซึ่งบุคลนั้นควบคุมแทบไม่ได้โดยสิ้นเชิง ตัวอย่างเช่น เพศ สีผิว รูปทรงตา สถานที่เกิด เพศสภาพ อัตลักษณ์ทางเพศ บิดามารดาและสถานภาพทางสังคมของบิดามารดา ลักษณะที่หามาได้ภายหลัง ได้แก่ ลักษณะที่บุคคลประสบความสำเร็จหรือเลือกเอง เช่น ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส สถานะความเป็นผู้นำ และการชี้วัดคุณธรรมอย่างอื่น ในบางสังคม สถานภาพทางสังคมเกิดจากปัจจัยติดตัวมาแต่กำเนิดและที่หามาได้ภายหลังผสมกัน อย่างไรก็ดี ในบางสังคมคำนึงเฉพาะปัจจัยที่ติดตัวมาแต่กำเนิดในการตัดสินสถานภาพทางสังคมของบุคคล ฉะนั้นจึงมีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางสังคมน้อยถึงไม่มีเลย และช่องทางให้เกิดความเสมอภาคทางสังคมน้อยตามไปด้วย[8] ความเหลื่อมล้ำทางสังคมประเภทนี้ทั่วไปเรียก ความเหลื่อมล้ำทางวรรณะ (caste)

ที่ทางทางสังคมของบุคคลในโครงสร้างภาพรวมของสังคมชนิดที่มีการจัดช่วงชั้นเป็นเหตุและผลของแทบทุกแง่มุมชีวิตสังคมและโอกาสในชีวิตของบุคคล[9] ตัวชี้วัดดีที่สุดเลือกมาตัวเดียวที่บอกสถานภาพทางสังคมในอนาคตของบุคคล คือ สถานภาพทางสังคมที่เขาผู้นั้นเกิดมา แนวทางเข้าสู่ทางทฤษฎีที่อธิบายความเหลื่อมล้ำทางสังคมมุ่งสนใจปัญหาว่าการจำแนกทางสังคมเกิดขึ้นมาได้อย่างไร และมีการจัดสรรทรัพยากรประเภทใด (ตัวอย่างเช่น ปริมาณสำรองหรือทรัพยากร)[10] บทบาทของความร่วมมือและความขัดแย้งของมนุษย์ในการจัดสรรของทรัพยากรคืออะไร และความเหลื่อมล้ำประเภทและแบบต่าง ๆ มีผลต่อการทำหน้าที่โดยรวมของสังคมอย่างไร

ตัวแปรที่พิจารณาว่ามีความสำคัญสูงสุดในการอธิบายความเหลื่อมล้ำและรูปแบบที่ตัวแปรเหล่านั้นประกอบกันให้เกิดความเหลื่อมล้ำและผลลัพธ์ทางสังคมในสังคมหนึ่ง ๆ นั้นเปลี่ยนแปลงได้ตามกาละเทศะ นอกเหนือไปจากความสนใจในการเปรียบเทียบและหาความแตกต่างของความเหลื่อมล้ำทางสังคมในระดับท้องถิ่นและรดับชาติ ในห้วงกระบวนการโลกาภิวัฒน์สมัยใหม่ ก่อให้เกิดคำถามน่าสนใจว่า ความเหลื่อมล้ำในระดับโลกมีลักษณะเป็นอย่างไร และความเหลื่อมล้ำระดับโลกเช่นนั้นจะเป็นอย่างไรในอนาคต ผลของโลกาภิวัฒน์ลดระยะทางของกาละเทศะ ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระดับโลกซึ่งวัฒนธรรมและสังคม และบทบาททางสังคมซึ่งสามารถเพิ่มความเหลื่อมล้ำระดับโลกให้สูงขึ้น[8]

แผนที่โลกแสดงดัชนีการพัฒนามนุษย์ที่ปรับตามความเหลื่อมล้ำแล้ว (inequality-adjusted HDI) ในปี 2014 ซึ่งเป็นตัวชี้วัดการพัฒนามนุษย์สำหรับบุคคลเฉลี่ยในสังคม
สัดส่วนการถือครองความมั่งคั่ง (สีแดง) แบ่งตามกลุ่มความมั่งคั่ง (สีน้ำเงิน) ข้อมูลจากเครดิตสวิส ปี 2017

ใกล้เคียง

ความเสียวสุดยอดทางเพศ ความเจ็บปวด ความเหนือกว่าเทียม ความเท่าเทียมทางเพศ ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี ความเครียด (จิตวิทยา) ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความเหลื่อมล้ำทางสังคม http://apnews.excite.com/article/20140127/DABJ40P0... //citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/summary?doi=10.1.1... http://www.inequalitywatch.eu/ //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/14572920 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18572429 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/28177486 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/31209322 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5421499 //hdl.handle.net/10419%2F95563 http://www.paecon.net/PAEReview/issue69/Wade69.pdf