ด้านสังคม ของ งานศึกษาวิกิพีเดียทางวิชาการ

ข้อมูลทางประชากรศาสตร์

งานศึกษาปี 2007 ของบริษัทฮิตไวส์ (Hitwise)[upper-alpha 3]ที่ตีพิมพ์ในนิตยสารไทม์[14]พบว่า ชายกับหญิงเข้าเยี่ยมวิกิพีเดียเท่า ๆ กัน แต่ผู้แก้ไขร้อยละ 60 เป็นชาย

ส่วนเว็บไซต์ WikiWarMonitor ซึ่งดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยอเมริกันและมหาวิทยาลัยอังกฤษ ได้ทุนจากคณะกรรมาธิการยุโรป และมุ่งระงับสงครามแก้ไขในวิกิพีเดีย ได้ตีพิมพ์ผลงานต่อไปนี้

นโยบายและแนวทาง

งานศึกษาเชิงพรรณนา[19]ได้วิเคราะห์นโยบายและแนวปฏิบัติ[upper-alpha 1]ของวิกิพีเดียอังกฤษจนถึงเดือนกันยายน 2007 แล้วระบุค่าสถิติสำคัญจำนวนหนึ่งเกี่ยวกับ

  • นโยบายทางการ 44 ข้อ
  • แนวปฏิบัติ 248 ข้อ

แม้นโยบายสั้น ๆ เช่น "ปล่อยวางกฎทั้งหมด"ก็มีการอภิปรายและการอธิบายให้ชัดเจนเป็นจำนวนมาก คือ

แม้นโยบาย "ปล่อยวางกฎทั้งหมด" เองจะยาวเพียงแค่ 16 คำ (ในภาษาอังกฤษ) แต่หน้าที่อธิบายว่านโยบายหมายความว่าอะไรก็ยาวถึง 500 คำ และส่งผู้อ่านไปยังเอกสารอื่น ๆ อีก 7 บทความ มีการอภิปรายมากกว่า 8,000 คำโดยหน้าได้เปลี่ยนไปมากกว่า 100 ครั้งในช่วงเวลาน้อยกว่าปี

งานศึกษาได้ให้ตัวอย่างการขยายนโยบายหลักบางอย่างตั้งแต่เริ่มขึ้น คือ[upper-alpha 1]

การเล่นอำนาจ

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันและเอชพีแหล็บ (แหล็บของบริษัทฮิวเลตต์-แพคการ์ด) ได้ร่วมมือทำงานศึกษาที่ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันในปี 2007[20]ได้ตรวจดูว่านโยบายวิกิพีเดียนำไปใช้อย่างไร และผู้แก้ไขทำงานร่วมกันให้ได้ความเห็นพ้องได้อย่างไรงานศึกษาตรวจตัวอย่างหน้าพูดคุยที่แอ๊กถีฟด้วยการวิเคราะห์เชิงปริมาณใช้ฐานข้อมูลวิกิพีเดียภาษาอังกฤษเดือนพฤศจิกายน 2006 ได้ตรวจหน้าพูดคุย 250 หน้าที่อยู่ในส่วนหางของกราฟการแจกแจง คือ เป็นหน้าพูดคุยเพียงอัตราร้อยละ 0.3 แต่มีจำนวนการแก้ไขหน้าพูดคุยถึงร้อยละ 28.4 และที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ มีลิงก์ไปยังหน้านโยบายในอัตราร้อยละ 51.1จากประวัติของหน้าตัวอย่าง งานศึกษาตรวจดูแต่เดือนที่แก้ไขมาก ซึ่งเรียกว่าส่วนวิกฤติ (critical sections) คือเป็นเดือนต่อ ๆ กันที่ทั้งบทความและหน้าพูดคุยกำลังแก้โดยมีจำนวนสำคัญ

งานศึกษานิยามค่าวัดแล้ววัดความแพร่หลายของการอ้างนโยบายส่วนวิกฤติหนึ่ง ๆ จัดว่า "หนักด้วยนโยบาย" (policy-laden) ถ้ามีเรื่องนโยบายอย่างน้อยเป็นทวีคูณของค่าเฉลี่ยบทความหนึ่ง ๆ จะมีค่าระบุ 3 อย่าง คือ

ค่าต่าง ๆ ของตัวระบุ 3 อย่างนี้แบ่งบทความออกเป็น 8 หมวดที่ใช้ชักตัวอย่างงานศึกษาตั้งใจจะวิเคราะห์ส่วนวิกฤติ 9 ส่วนจากหมวดตัวอย่างแต่ละหมวด แต่ก็เลือกส่วนวิกฤติได้แค่ 69 ส่วน (ไม่ใช่ 72 ส่วน) เพราะมีบทความแค่ 6 บทความ (ไม่ใช่ 9 บทความ) ที่เป็นบทความคัดสรรด้วย ก่อการโต้เถียงด้วย และหนักด้วยนโยบายด้วย

งานศึกษาพบว่า นโยบายไม่ได้ประยุกต์ใช้อย่างสม่ำเสมอเพื่อแสดงตัวอย่างเฉพาะ ๆ จากสิ่งที่ได้ค้นพบซึ่งกว้างกว่า รายงานได้แสดงตัวอย่าง 2 ตัวอย่างจากหน้าพูดคุยของวิกิพีเดียเพื่อแสดงความแตกต่าง

ค่าเฉลี่ย...ไม่จัดว่าเป็นงานค้นคว้าต้นฉบับดอกหรือ? ผช3
มันดูเหมือนจะไม่ใช่เช่นนั้นสำหรับผม มันดูเหมือนว่า งานค้นคว้าต้นฉบับได้ทำโดย[องค์กรของรัฐ] หรือผมจะพลาดอะไรไปสักอย่าง? [ผช4]
ถ้า[องค์กรของรัฐ]ไม่ได้ตีพิมพ์ค่าเฉลี่ย เราคำนวณมันก็จะเป็นงานค้นคว้าต้นฉบับ หรือไม่ใช่? ผมไม่แน่ใจ [ผช3]
ไม่ใช่ ทำไมมันถึงจะเป็น? การประมาณค่านอกช่วงจากข้อมูลที่มีอยู่แล้วไม่ใช่งานค้นคว้าต้นฉบับ [ผช5]
จาก WP:NOR "บทความไม่ควรมีการวิเคราะห์หรือการสังเคราะห์ใหม่ ๆ ซึ่งอาร์กิวเมนต์ แนวคิด ข้อมูล ไอเดีย และข้อความที่มุ่งผลักดันจุดยืน" ถ้ามันมีค่าอะไร ๆ [ผช4]

  • นี่เป็นการอภิปราย (แปล) ที่ได้ใช้การนิรนัยเชิงตรรกะ (logical deduction) เป็นข้อหักล้างนโยบายงานค้นคว้าต้นฉบับ

ความคิดของคุณเป็นงานค้นคว้าต้นฉบับ (WP:OR) ผมสามารถแสดงอย่างสบาย ๆ ซึ่งบทความวิชาการที่กล่าวว่า ลัทธิต่อต้านอำนาจนิยมไม่ใช่หลักของ Panism คุณกำลังสังเคราะห์ไอเดียสารพัดอย่างตรงนี้ตามมุมมองของคุณ [ผช6]
การให้เหตุผลแบบนิรนัยธรรมดา ๆ ไม่ใช่งานค้นคว้าต้นฉบับ Panism ต่อต้านอำนาจนิยมโดยธรรมชาติ ดังนั้น ระบบเศรษฐกิจเชิงอำนาจนิยมจึงไม่สามารถเป็น Panist คุณไม่เห็นด้วยกับอะไร ข้อตั้งหรือข้อสรุป? [ผช7]

งานศึกษาอ้างว่า ความคลุมเครือเช่นนี้ทำให้เล่นอำนาจได้ง่าย ๆ และได้ระบุการเล่นอำนาจ 7 อย่างตามระเบียบวิธีทางสังคมศาสตร์คือ grounded theory รวมทั้ง

  • ขอบเขตของบทความ (ว่าอะไรเป็นเรื่องนอกประเด็นบทความ)
  • ความเห็นพ้องในอดีต (การตัดสินใจในอดีตแสดงว่าเป็นเรื่องเด็ดขาดและไร้ผู้ค้าน)
  • อำนาจในการตีความ (กลุ่มในชุมชนที่อ้างว่ามีอำนาจในการตีความมากกว่ากลุ่มอื่น)
  • ความชอบธรรมของผู้เขียน (เพราะความเชี่ยวชาญเป็นต้น)
  • การคุกคามด้วยการลงโทษ (ด้วยการบล็อกผู้ใช้เป็นต้น)
  • ข้อปฏิบัติในหน้าอื่น ๆ (คือจัดหน้าอื่น ๆ ว่าเป็นแบบอย่างที่ควรทำตาม)
  • ความชอบธรรมของแหล่งอ้างอิง (กล่าวแย้งความเชื่อถือได้ของแหล่งอ้างอิงที่กำลังคัดค้านเป็นต้น)

เพราะเนื้อที่ไม่พอ งานศึกษาได้แสดงรายละเอียดของการเล่นอำนาจเพียง 4 อย่างแรกที่ทำผ่านการตีความนโยบายแต่ก็แสดงการใช้อำนาจอีกแบบที่ได้วิเคราะห์คือ การละเมิดนโยบายแบบโต้ง ๆ ที่ได้ให้อภัยเพราะผลงานของผู้ใช้มีคุณค่าสูงแม้จะไม่เคารพกฎเกณฑ์

ขอบเขตของบทความ

งานศึกษาพิจารณาว่านโยบายของวิกิพีเดียคลุมเครือเกี่ยวกับขอบเขตของบทความมีตัวอย่างที่นำมาแสดงคือ

...ความเห็นพ้องเป็นเรื่องเหลวไหลเพราะความจริงอยู่ข้างผม ผมยังมีการแนะนำของวิกิพีเดียขอให้กล้า การลบเนื้อความเกี่ยวกับโรมันคาทอลิก...
มุมมองของ paleocentrism ไม่เพียงไม่ถูกต้อง แต่ยังละเมิดนโยบายวิกิพีเดีย:มุมมองที่เป็นกลาง...
การลบหรือการตอนเนื้อความ[เช่นนี้]ละเมิดนโยบายวิกิพีเดียหลายอย่างคือ มุมมองที่เป็นกลาง ขอให้กล้า...
ถ้าพวกคุณต้องการบทความที่มีเพียงแต่ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ในเรื่อง paleocentrism คุณน่าจะเขียนบทความเอง [ผช12]
พวกผมจริง ๆ ได้เขียนบทความเกี่ยวกับ paleocentrism ที่เป็นเพียงทฤษฎีวิทยาทางศาสตร์เท่านั้นก่อนที่คุณจะมา... เห็นได้ชัดว่าคุณเป็นคนใหม่ [ผช12][upper-alpha 5]
...
การโต้เถียงตามความเข้าใจของนโยบายมุมมองที่เป็นกลางและขอให้กล้าของคุณค่อนข้างน่าหัวเราะ คล้าย ๆ กับเด็กพึ่งจบมัธยมถกเถียงประเด็นกฎหมายรัฐธรรมนูญ สิ่งเหล่านี้เป็นหลักที่มีความหมายลงตัวแล้ว คนที่อยู่นี่เป็นปี ๆ เข้าใจพวกมันดีกว่าคุณมาก คุณจึงไม่สามารถใช้พวกมันเป็นอาวุธอย่างมีประสิทธิภาพในการโต้เถียงนี้ [ผช13]
วิกิพีเดียไม่ใช่สารานุกรมที่เป็นรูปเล่ม เราไม่จำเป็นต้องอัดประเด็นทุก ๆ อย่างเข้าในบทความหลัก และไม่จำเป็นต้องจัดว่าไม่สมบูรณ์ถ้าไม่อัด... [ผช14]
... หน้าลิงก์ว่าวิกิพีเดียไม่ใช่สารานุกรมที่เป็นรูปเล่มกล่าวเป็นปฐมเลยว่า วิกิพีเดีย "เป็น" สารานุกรม สารานุกรมจริง ๆ เช่น สารานุกรมบริแทนนิกาก็มีส่วนย่อยเกี่ยวกับ paleocentrism รวมทั้งผลทางสังคม ทางการเมือง และทางปรัชญา [ผช12]
ดังที่อธิบายในลิงก์วิกิพีเดียไม่ใช่สารานุกรมที่เป็นรูปเล่ม บทความวิกิพีเดียควรแสดงข้อความย่อเกี่ยวกับเรื่องสำคัญที่เป็นหลักในเรื่องหนึ่ง ๆ สำหรับนักชีววิทยาเช่นคุณเอง เรื่องสำคัญของ paleocentrism อาจไม่ใช่ผลทางสังคม แต่สำหรับสังคมที่เหลือ มันเป็น[ผช12]
...
สิ่งที่คุณพูดถึงไม่ใช่ paleocentrism เรื่องหลัก ๆ ของ paleocentrism ก็คือการเกิดการสมดุลเป็นคาบ ๆ, คลื่นเปลี่ยนรูปโลก, airation เหล่านี้เป็นประเด็นจริง ๆ ที่เกี่ยวกับกระบวนการ paleocentrism เอง ประเด็นทางสังคมที่คุณกล่าวถึงเป็น "เรื่องรอบ ๆ" ไม่ใช่ "เรื่องหลัก" เป็นเรื่อง "เกี่ยวกับ" เป็นเรื่อง "ห้อมล้อม" แต่ "ไม่ใช่ paleocentrism" [ผช15]

งานศึกษาตีความคำโต้แย้งที่ดุเดือดเหล่านี้ว่า

การต่อสู้เกี่ยวกับขอบเขตบทความเช่นนี้ก็ยังเกิดแม้ในสิ่งแวดล้อมไฮเปอร์ลิงก์ก็เพราะชื่อบทความเป็นเรื่องสำคัญเพราะบทความ "paleocentrism" ย่อมเด่นกว่า และคนอ่านก็มีโอกาสเห็นมากกว่าบทความ "ผลทางสังคมของ paleocentrism"

ความเห็นพ้องในอดีต

งานศึกษาให้ข้อสังเกตว่า ความเห็นพ้องในวิกิพีเดียไม่มีวันจบ เพราะอาจเปลี่ยนไปเมื่อไรก็ได้งานศึกษาพบว่า ความไม่ชัดเจนเช่นนี้ก่อการเล่นอำนาจ และทำการต่อสู้เป็นรุ่น ๆ เพื่อความเห็นพ้องให้เป็นส่วนของการต่อสู้ความเป็นเจ้าของบทความ

ในทางปฏิบัติแล้ว ...มักจะมีเจ้าของหน้าโดยพฤตินัย หรือมีกลุ่มผู้แก้ไขที่กำหนดเนื้อความของบทความความเห็นพ้องในอดีตของคนกลุ่มนี้อาจยกว่าเป็นเรื่องโต้แย้งไม่ได้ อำพรางการเล่นอำนาจที่ต้องทำเพื่อสร้างความเห็นพ้องประเด็นก็คือความชอบธรรมของความเห็นพ้องในอดีตเพราะผู้ร่วมงานระยะยาวย่อมไม่อยากเสียเวลาโต้เถียงประเด็นที่ตนพิจารณาว่าจบแล้วการชี้ความเห็นพ้องในอดีตก็เหมือนกับการลิงก์ไปยังนโยบายต่าง ๆ เป็นวิธีรับมือกับพฤติกรรมเกรียนในนัยตรงกันข้าม ผู้ใช้ใหม่หรือผู้ร่วมงานแบบนาน ๆ มาทีหนึ่งก็มักจะรู้สึกว่ามุมมองของตนไม่ได้พิจารณาในการโต้เถียงครั้งก่อน ๆ และต้องการจะยกปัญหาเดิมขึ้นอีก

งานศึกษาใช้ตัวอย่างการอภิปรายนี้เพื่อแสดงการต่อสู้ที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

สิ่งที่กล่าวเหล่านี้ [ของ ผช17] ได้พิจารณาอย่างละเอียดแล้ว มันเหมือนกับเกมตีหัวตุ่น พวกเขาลองด้วยวิธีหนึ่ง แล้วถูกปฏิเสธ ก็จะลองด้วยวิธีที่สอง ซึ่งก็ถูกปฏิเสธ แล้วลองวิธีที่สาม ซึ่งก็ถูกปฏิเสธ แล้วก็จะลองวิธีที่หนึ่งอีก [ผช18]
มันน่าสนใจที่จะดูว่ามีผู้ใช้ต่าง ๆ กันจำนวนเท่าไรที่พยายามร่วมงานในบทความนี้และขยายมุมมองอีกมุมหนึ่ง แล้วเพียงแต่ถูกขับไล่ไปโดยบุคคลที่เชื่อใน [การแบ่งเป็นสองพวกแบบคลุมจักรวาล] เหมือนกับเป็นความเชื่อทางศาสนา ทำไมคุณไม่พิจารณาบ้างว่า บางทีพวกเขาก็พูดถูกแล้ว และว่า [ผช19], [ผช20] และพวกคุณที่เหลือต่างขับผู้แก้ไขอื่น ๆ ไปจากบทความนี้ด้วยการผลักดันมุมมองแบบหนักมือโดยมีสิทธิผู้ดูแลระบบของคุณ? [ผช21]

อำนาจในการตีความ

ตัวอย่างหนึ่งแสดงว่า ผู้ดูแลระบบได้ลบล้างความเห็นพ้องแล้วลบบัญชีของผู้ใช้/ผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคซึ่งยังไม่ได้ชื่อ (เรียกว่า Frupism ในงานศึกษา)ผู้ดูแลระบบได้ทำเช่นนี้เมื่อบทความกำลังได้เสนอให้เป็นบทความคัดสรร

ความชอบธรรมของผู้เขียน

การใช้อำนาจชนิดนี้แสดงด้วย[ผช24]ที่อ้างผลงานในอดีตเพื่อโต้เถียงผู้ร่วมงานอีกคนหนึ่งผู้กล่าวหา[ผช24]ว่า ทำให้งานเสียเปล่าและทำงานให้ยุ่งเหยิง (disruptive)

งั้นหรือ คุณหมายความว่า "ผม" คอยวนเวียนเพียงเพื่อชี้เรื่องความไร้คุณภาพของบทความที่เขียนสำหรับวิกิพีเดีย? โปรดกรุณาดูจำนวนการแก้ไขของผมอีกสักครั้ง!! LOL ผมแก้ไขเกินกว่า 7,000 ครั้งแล้ว...ตามที่คุณรู้ ผมสามารถเคลมเครดิตสำหรับการเขียนบทความคัดสรรในด้านปรัชญา 2 ใน 6 บทความโดยเริ่มต้นจากเอกสารเปล่า [ผช24]

ผลงานของผู้ใช้มีคุณค่าสูง

งานศึกษาพบว่า มีผู้ร่วมงานที่ละเมิดนโยบายอย่างสม่ำเสมอและอย่างสำเร็จโดยไม่ถูกลงโทษ

[ผช24]ได้แข่งขันชิงอำนาจในรูปแบบ "ไม่ฉันก็คุณ" แบบโต้ง ๆ คือ ถ้าการกระทำของ[ผช25]ยังดำเนินต่อไป เขาจะลาออก ...การกระทำเช่นนี้ชัดเจนว่าละเมิดนโยบายความเป็นเจ้าของบทความ ความสุภาพต่อผู้ร่วมงานอื่น ๆ และการปฏิบัติต่อผู้ใช้ใหม่ในฐานเป็นผู้ใช้ใหม่ [ผช25]อาจไม่รู้นโยบายเหล่านี้ แต่[ผช26]รู้แน่ ๆ การทำเป็นมองไม่เห็น[ของผช26]เกิดเพราะ[ผช24]เป็นผู้ร่วมงานที่มีคุณค่าในบทความทางปรัชญาผู้ชี้จุดนี้อย่างไม่อายเพราะมีผู้ร่วมงานน้อยที่ตั้งใจสร้างเนื้อหาคุณภาพสูงอย่างสม่ำเสมอชุมชนวิกิพพีเดียยอมอดทนต่อการใช้ในทางผิด ๆ และการละเมิดนโยบายถ้าได้ผลงานที่มีค่า...

ขอโทษเถอะครับ แต่นั่นไม่ตอบคำถามนั่นเลย ผมอยากจะรู้ว่าอะไรที่[ผช25]เสนอซึ่งใช้ไม่ได้ การไม่มีแหล่งอ้างอิงของเขาเป็นต้น เป็นข้อบกพร่องแน่นอน แต่นั่นเป็นเหตุที่ผมหาให้แหล่งหนึ่ง (ในหัวข้อย่อยที่ 8 คือ Enquiry) [ผช26]

...
ประเด็นนี้ได้กล่าวถึงแล้วในบทความ อาจจะต้องขยายมันบ้าง ผมสามารถทำเองได้อย่างสบาย ๆ เมื่อมีเวลา มีเรื่องอื่นไหมครับ ? คุณสนับสนุนแนวความคิดแข่งขันของ[ผช25]ด้วยหรือไม่ว่าบทความนี้เขียนไม่ดี ว่าจำเป็นต้องปรับปรุงใหม่ตั้งแต่หัวจนถึงท้าย สิ่งไร้สาระไร้ความหมายที่เขาพยายามเติมด้านบน หรืองานค้นคว้าต้นฉบับอันอื่นที่เขาได้เขียนลงในหน้านี้? โดยแท้จริงแล้ว มีสองพวกในเรื่องนี้ บทความนี้ควรถูกยึดโดยคนความคิดประหลาดเช่นคนชื่ออะไรนั่น หรือไม่ควร ถ้าควรแล้ว ผมขอไป คุณสามารถสนับสนุนผมหรือไม่สนับสนุน จุดยืนของคุณอยู่ที่ไหน?... [ผช24]
มันไม่มีทางจินตนาการอย่างไร ๆ เลยได้ว่า ผมสนับสนุนมุมมองว่าบทความนี้ไม่ดี จริง ๆ ผมไม่เห็นด้วยกับอะไรหลายอย่างที่[ผช25]กล่าวในที่อื่น ๆ ในหน้านี้ ผมเสียใจจริง ๆ ถ้านี่ทำให้คุณอารมณ์เสีย [ผช26]

การได้เป็นผู้ดูแลระบบ

ดูสารนิเทศเพิ่มเติมที่: วิกิพีเดีย:ผู้ดูแลระบบ

ในปี 2008 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน (สหรัฐ)[21]ได้สร้างแบบจำลองโพรบิต (probit model)[upper-alpha 6]ของผู้แก้ไขวิกิพีเดียภาษาอังกฤษที่ได้ผ่านกระบวนการทบทวนเพื่อเป็นผู้ดูแลระบบได้อย่างสำเร็จโดยใช้เพียงข้อมูลอภิพันธุ์ของวิกิพีเดียรวมทั้งความย่อการแก้ไข แบบจำลองนี้พยากรณ์ผู้ได้การเสนอชื่อที่ประสบผลสำเร็จอย่างแม่นยำในอัตราร้อยละ 74.8

งานศึกษาให้ข้อสังเกตว่า แม้จะมีการคัดค้านความเช่นนี้ แต่ "ในด้านหลาย ๆ ด้าน การได้รับเลือกเป็นผู้ดูแลเป็นการเลื่อนตำแหน่ง ซึ่งแยกแกนนำผู้เป็นอภิชนจากชุมชนผู้แก้ไขจำนวนมากอื่น ๆ" ดังนั้น งานศึกษานี้จึงได้ใช้กระบวนการ policy capturing[23]ซึ่งในจิตวิทยาสังคม เป็นวิธีเปรียบเทียบลักษณะต่าง ๆ ที่สำคัญเพียงแต่พูดกับลักษณะอื่น ๆ ที่จริง ๆ ทำให้ได้เลื่อนตำแหน่งงาน

อัตราการเลื่อนตำแหน่งที่สำเร็จรวม ๆ กันได้ลดลงจากร้อยละ 75 ในปี 2005 เหลือร้อยละ 53 ในปี 2006 จนเหลือร้อยละ 42 ในปี 2007อัตราความล้มเหลวที่สูงขึ้น ๆ เช่นนี้ให้เหตุว่า ผู้ดูแลระบบที่ได้เลื่อนตำแหน่งเร็ว ๆ นี้ต้องผ่านมาตรฐานที่สูงขึ้น ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยหลักฐานโดยเรื่องเล่าจากงานศึกษาอีกงานหนึ่ง[24]ซึ่งอ้างอิงผู้ดูแลระบบรุ่นต้น ๆ ผู้แสดงข้อสงสัยว่า ตนจะผ่านเกณฑ์มาตรฐานเช่นนี้หรือไม่ถ้าการเลือกตั้งของตนได้ทำเร็ว ๆ นี้เพราะเหตุนี้ งานศึกษาจึงอ้างว่า

กระบวนการที่ผู้ก่อตั้งวิกิพีเดียเองครั้งหนึ่งเคยจัดว่า "ไม่ใช่เรื่องใหญ่" (no big deal) ได้กลายเป็นเรื่องใหญ่พอควร

การเพิ่ม/ลดโอกาสได้ตำแหน่งผู้ดูแลระบบสำหรับปัจจัยต่าง ๆ ต่อหน่วย
เลขในวงเล็บไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (ที่p<.05)
ปัจจัย ปี 2006-2007 ก่อนปี 2006
การเสนอชื่อแต่ละครั้งในอดีต -14.7% -11.1%
เดือนแต่ละเดือนหลังจากเริ่มแก้ไขเป็นครั้งแรก 0.4% (0.2%)
การแก้ไขบทความทุก ๆ 1,000 ครั้ง 1.8% (1.1%)
การแก้ไขนโยบายวิกิพีเดียทุก ๆ 1,000 ครั้ง 19.6% (0.4%)
การแก้ไขบทความโครงการวิกิ ทุก ๆ 1,000 ครั้ง 17.1% (7.2%)
การแก้ไขหน้าพูดคุยทุก ๆ 1,000 ครั้ง 6.3% 15.4%
การแก้ไขหน้า คอต./การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท/มารยาทแต่ละครั้ง -0.1% -0.2%
คะแนนความหลากหลายแต่ละคะแนน (ดูข้อความต่อไป) 2.8% 3.7%
อัตราการระบุว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อยในความย่อการแก้ไขทุก ๆ ร้อยละ 1 0.2% 0.2%
อัตราการเขียนความย่อการแก้ไขทุก ๆ ร้อยละ 1 0.5% 0.4%
การเขียนขอบคุณในความย่อการแก้ไขแต่ละครั้ง 0.3% (0.0%)
การแก้โดยระบุเหตุเป็นมุมมองที่ไม่เป็นกลางแต่ละครั้ง 0.1% (0.0%)
การแจ้งผู้ดูแลระบบ/การแก้ไข Noticeboards แต่ละครั้ง -0.1% (0.2%)

อาจเป็นเรื่องผิดคาดว่า การเสนอชื่อเป็นผู้ดูแลระบบหลายครั้งหลายคราวกลับมีผลลบต่อการได้รับตำแหน่งคือความพยายามแต่ละครั้งมีโอกาสประสบความสำเร็จน้อยกว่าคราวที่แล้วในอัตราร้อยละ 14.8เวลาที่ได้ร่วมงานกับวิกิพีเดียมีผลดีเพียงเล็กน้อยต่อการได้รับเลือก

ข้อสำคัญที่งานค้นพบอย่างหนึ่งก็คือการแก้ไขนโยบายวิกิพีเดียหรือโครงการวิกิ มีค่าเป็น 10 เท่าของการแก้ไขบทความข้อสังเกตอีกอย่างก็คือผู้ได้การเสนอชื่อที่มีประสบการณ์ใน "ส่วน" ต่าง ๆ หลายส่วนของระบบมีโอกาสได้รับเลือกมากกว่าซึ่งวัดเป็น คะแนนความหลากหลาย (diversity) คือการนับส่วนต่าง ๆ ที่ผู้แก้ไขได้ร่วมทำงาน

งานศึกษาได้แบ่ง "ส่วน" วิกิพีเดียออกเป็น 16 ส่วน รวมทั้ง บทความ หน้าคุยของบทความ หน้าเกี่ยวกับการลบบทความ/หมวดหมู่/หรือแม่แบบ หน้าทบทวนการย้อนการลบ เป็นต้น (ดูงานวิจัยสำหรับรายการทั้งหมด)ยกตัวอย่างเช่น ผู้ใช้ที่ได้แก้บทความ หน้าผู้ใช้ของตน และโพ้สต์ครั้งหนึ่งในหน้าทบทวนการย้อนการลบก็จะได้ความหลายหลาก 3 คะแนนการแก้ไขเพิ่มในส่วนอื่น ๆ ใดก็ได้มีสหสัมพันธ์กับโอกาสได้ตำแหน่งผู้ดูแลระบบเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8

การระบุว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อยก็ช่วยด้วย แม้นักวิจัยจะพิจารณาว่า นี่อาจเป็นเพราะการแก้ไขเล็กน้อยมีสหสัมพันธ์กับประสบการณ์โดยเทียบกัน การแก้ไขแต่ละครั้งที่หน้าของ คอต. หรือคณะไกล่เกลี่ยข้อพิพาท หรือการปรึกษาเรื่องมารยาท ซึ่งล้วนเป็นหน้าที่ใช้ระงับข้อพิพาท กลับลดโอกาสประสบผลสำเร็จร้อยละ 0.1การโพสต์ไปที่กระดานปิดประกาศถามเรื่องนโยบาย (noticeboards) ก็มีผลลบเช่นกันงานศึกษาระบุว่านี่เป็นหลักฐานแสดงว่า ผู้มีส่วนร่วมเพิ่มความรุนแรงหรือทำให้ยืดยาวซึ่งข้อพิพาทมีโอกาสได้เป็นแอดมินน้อยลง

การขอบคุณหรืออะไรเช่นกันในความย่อการแก้ไข และการชี้ว่าเป็นการแก้ไขมุมมองที่ไม่เป็นกลาง (เพียงในความย่อการแก้ไข เพราะงานศึกษาวิเคราะห์เพียงข้อมูลอภิพันธุ์เท่านั้น) แต่ละครั้งมีผลบวกเล็กน้อย คือเพิ่มโอกาสร้อยละ 0.3 และ 0.1 ว่าจะได้ตำแหน่งในระหว่างปี 2006-2007 แม้จะไม่มีนัยสำคัญทางสถิติก่อนหน้านั้น

ปัจจัยบางอย่างพบว่าไม่สำคัญหรือสำคัญอย่างมากก็นิดหน่อยคือ

  • การแก้ไขหน้าผู้ใช้ (รวมทั้งของตนเอง) ไม่ได้ช่วย และที่ค่อนข้างหน้าแปลกก็คือ การแก้ไขหน้าคุยกับผู้ใช้ก็ไม่มีผลเช่นกัน
  • การต้อนรับผู้ใช้ใหม่หรือการใช้คำว่า "please" (โปรด/กรุณา) ในความย่อการแก้ไขก็ไม่มีผล
  • การร่วมกันสร้างความเห็นพ้อง เช่น ในการลงคะแนนเพื่อเลือกตั้งผู้ดูแลหรือในสภากาแฟ ก็ไม่ได้เพิ่มโอกาสการได้ตำแหน่งเช่นกัน แต่งานศึกษาก็ยอมรับว่า ได้ใช้ค่าวัดเชิงปริมาณไม่ใช่เชิงคุณภาพ
  • การระงับการก่อกวนวัดโดยการแก้ไขรายชื่อการก่อกวนก็ไม่มีผลเช่นกัน การแก้ไขทุก ๆ พันครั้งที่ใช้วิธีการย้อนโดยประการต่าง ๆ มีสหสัมพันธ์เชิงบวก (7%) กับตำแหน่งผู้ดูแลระหว่างปี 2006-2007 แต่ก็ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติยกเว้นถ้าจะลดค่า p < .1 ที่น่าสับสนก็คือ ก่อนปี 2006 จำนวนการย้อนมีสหสัมพันธ์เชิงลบ (-6.8%) กับการได้ตำหน่ง และก็ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติแม้เมื่อค่า p < .1 นี่อาจเป็นเพราะการตั้งนโยบายกฎย้อนสามครั้งในปี 2006 เพื่อลดจำนวนการย้อน (คือการเพิ่มจำนวนการย้อนก่อนหน้ากฎย้อนสามครั้งอาจเป็นส่วนของสงครามแก้ไข แต่หลังจากนั้น อาจไม่ใช่)

งานศึกษาเสนอว่าความแปรผันของผลการได้ตำแแหน่งร้อยละ 25 ที่อธิบายไม่ได้อาจมาจากปัจจัยที่ไม่ได้วัด เช่น คุณภาพการแก้ไขหรือการร่วมมือประสานงานนอกเว็บไซต์ เช่น ในบัญชีจ่าหน้าลับที่รายงานในเว็บไซต์ข่าวและความเห็น The Register[25]งานศึกษาสรุปว่า

การสร้างข้อความจำนวนมากไม่พอให้ได้ "เลื่อนตำแหน่ง" ในวิกิพีเดียการแก้ไขบทความของผู้ได้การเสนอชื่อเป็นตัวพยากรณ์ความสำเร็จที่ไม่ดีผู้ได้การเสนอชื่อต้องแสดงพฤติกรรมเป็นผู้จัดการยิ่งขึ้นประสบการณ์หลายหลากและการร่วมพัฒนานโยบายและโครงการวิกิเป็นตัวพยากรณ์ที่ดีกว่าในการได้ตำแหน่งนี่สมกับสิ่งที่ได้เคยพบว่า วิกิพีเดียเป็นอำมาตยาธิปไตย/ระบบข้าราชการ[19]และการประสานงานกันได้เพิ่มขึ้นอย่างสำคัญ[26][27]...การร่วมงานในนโยบายวิกิพีเดียและโครงการวิกิไม่ใช่ตัวพยากรณ์การได้เป็นผู้ดูแลระบบก่อนปี 2006 ซึ่งแสดงว่าชุมชนโดยรวม ๆ เริ่มให้ความสำคัญกับการทำนโยบายและประสบการณ์การจัดระเบียบเหนือการประสานงานในระดับบทความ

งานวิจัยต่อมาในปี 2011 ของนักวิจัยอีกทีมหนึ่ง[28]ตรวจสอบเหตุผลของบุคคลเมื่อช่วยเลือกผู้ดูแลระบบซึ่งพบว่า การตัดสินใจจะขึ้นกับการตีความร่วมกันของหลักฐานที่พบในวิกิและกับปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ในอดีต

ใกล้เคียง

งานศึกษาวิกิพีเดียทางวิชาการ งานศึกษามีกลุ่มควบคุม งานศึกษาตามยาว งานศึกษาแบบสังเกต งานศึกษาตามรุ่นย้อนหลัง งานศึกษาตามขวาง งานศึกษาตามรุ่นตามแผน งานศึกษาควบคุมด้วยการรักษาหลอก งานศึกษาแบบอำพรางสองฝ่าย งานศึกษาแบบ meta-analysis

แหล่งที่มา

WikiPedia: งานศึกษาวิกิพีเดียทางวิชาการ http://www.americanhistoryprojects.com/downloads/J... http://zerogeography.blogspot.com/2009/11/mapping-... http://www.ft.com/intl/cms/s/0/97170c1a-b96f-11e2-... http://wikipapers.referata.com //ssrn.com/abstract=2939146 http://www.time.com/time/business/article/0,8599,1... http://www.3sat.de/dynamic/sitegen/bin/sitegen.php... http://www.wiwiss.fu-berlin.de/en/fachbereich/bwl/... http://atlas.tk.informatik.tu-darmstadt.de/Publica... http://adsabs.harvard.edu/abs/2013NatSR...3E1801M