กรณีเผากรุงโรม ของ จักรพรรดิแนโร

จักรพรรดิแนโร
บทความนี้หรือส่วนนี้ อาจเป็นงานค้นคว้าต้นฉบับ คุณสามารถช่วยพัฒนาวิกิพีเดีย โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงที่เหมาะสมเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง ดูรายละเอียดในหน้าอภิปราย

"แทกซิตัส" นักประวัติศาสตร์ชาวโรมันที่มีชื่อเสียงในยุคของแนโรได้บันทึกข้อกล่าวหาไว้และถูกเชื่อถือกันมาตลอดระยะเวลา 2,000 กว่าปี ดังนี้

  1. ในระหว่างที่แนโรออกไปตากอากาศที่แอนติอุมเมืองชายทะเลได้เกิดเพลิงไหม้ในกรุงโรมและเมื่อแนโรทราบข่าวแต่พระองค์ก็ไม่เร่งรีบกลับพระนครอย่างใด
  2. คฤหาสถ์ของบรรดาวุฒิสมาชิกโรมันที่สร้างจากอิฐที่ไม่น่าติดไฟ แต่กลับถูกเพลิงเผาทำลายไปสิ้นนั้นน่าจะเกิดจากการวางเพลิงจากภายในแล้วสั่งทหารโรมันคอยเฝ้าขู่เพื่อไม่ให้มีการดับไฟ เนื่องจากความโกรธแค้นที่บรรดาวุฒิสมาชิกไม่ยอมอนุมัติให้พระองค์สร้างกรุงโรมใหม่
  3. ทิศทางเพลิงดูวิปริตผิดธรรมดา ไฟลามขึ้นสู่ทิศเหนือ และบ้างก็ลงใต้ ทั้งที่ลมพัดมาจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นลักษณะของการวางเพลิงอย่างชัดเจน

ปัจจุบัน เอริก วาร์นเนอร์ และ เฮนรี่ เฮิร์สต์ นักประวัติศาสตร์สองท่านที่มีชื่อเสียงไม่เชื่อในบันทึกของแทกซิตัส เนื่องจากในขณะที่กรุงโรมเกิดเพลิงไหม้นั้นแทกซิตัสมีอายุเพียง 8 ขวบ ซึ่งเข้าใจว่าแทกซิตัสอาจจะบันทึกตามคำบอกกล่าวของชาวโรมในสมัยนั้น โดยมีข้อสังเกตว่า

  1. แท้จริงแล้วมีบันทึกจากนักประวัติศาสตร์ร่วมสมัยแนโรบันทึกไว้ว่า เมื่อแนโรทราบข่าวการเกิดเพลิงไหม้ก็รีบรุดกลับกรุงโรมทันที และทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการหน่วยทหารดับเพลิงแห่งโรมด้วยพระองค์เอง
  2. ได้มีการทดลองสร้างคฤหาสถ์จำลองแบบโรมันซึ่งก่อด้วยอิฐจริงแล้วจุดไฟเผา ปรากฏว่าเมื่อโครงสร้างที่เป็นไม้ภายในไหม้ไฟทำให้เกิดความร้อนถึง 1,100 ดีกรี แม้อาคารที่ก่ออิฐก็แตกพังทลาย
  3. วิลล่าของแนโรชื่อ โดมุส ทรานซิโตเรีย ที่ทอดยาวตั้งแต่เนินพาลาทีนไปจนถึงเอสควอลีนก็ถูกไฟเผาไปด้วยเช่นกัน
  4. กลไกการเกิดเพลิงไหม้ใหญ่เนื่องจากกรุงโรมถูกล้อมด้วยเนินเขาสำคัญ 7 ลูก เมื่อไฟไหม้หนักขึ้นก็จำเป็นต้องใช้ออกซิเจนมากขึ้น บนเนินเขาเตี้ยๆ ยังพอมีออกซิเจนเหลืออยู่มากกว่าพื้นดิน ไฟจึงโหมกระพือไปหาออกซิเจนทางเนินเขาที่อยู่ทิศเหนือบ้าง ทิศใต้บ้าง เป็นเรื่องปกติ

อย่างใดก็ตามแต่ นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ยังเชื่อว่าแนโรมีความผิดปกติทางจิตจริง โดยหลักฐานและบันทึกที่ปรากฏอยู่มากมาย แต่มีนักประวัติศาสตร์ร่วมสมัยกับแนโรอยู่หลายท่านที่บันทึกเรื่องราวที่เป็นธรรมกับแนโรด้วยเช่นกัน เช่น

โยเซฟัส (Josephus) นักประวัติศาสตร์ที่เกิดและโตในรัชกาลของแนโร และมีอายุยืนถึง 70 ปี เขากล่าวว่า แท็กซิตัส และ ซูโตเนียส บันทึกกล่าวว่าร้ายใส่แนโรจนเกินไป เพราะทั้งสองคนนี้อยู่ในสมัยหลังแนโรถึง 50 ปี และสิ่งที่บันทึกล้วนแล้วเป็นสิ่งที่ได้แต่ฟังมา ไม่ได้เห็นด้วยตาตนเอง

มาร์คัส แอนเนียส ลูคานัส นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัยแนโรอีกคนหนึ่งบันทึกว่า ไพร่ฟ้าต่างหน้าใสเมื่ออยู่ใต้การปกครองของแนโร เศรษฐกิจของกรุงโรมในขณะนั้นดีมากประชากรต่างร่ำรวย และเหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งใหญ่นั้นถูกเป็นเครื่องมือหาความชอบธรรมให้กับเหล่าสมาชิกสภาสูงในการโค่นอำนาจจักรพรรดิ์แนโร

ปฐมกาล
27 ก.ค.ศ. – ค.ศ. 235
เอากุสตุสติแบริอุสกาลิกุลาเกลาดิอุสแนโรกาลบาโอโธวีเทลลิอุสเวสปาเซียนุสทีตุสโดมิเทียนุสเนอร์วาไตรยานุสเฮเดรียนอันโตนินัส ไพอัสมาร์คัส ออเรลิอัส และ ลูซิอัส เวรัสคอมโมดัสเพอร์ทิแน็กซ์ไดดิอัส จูลิอานัสเซ็พติมิอัส เซเวอรัสคาราคัลลาพูบลิอัส เซ็พติมิอัส เกธามาครินัส และ ไดอะดูเมเนียนเอลากาบาลัสอเล็กซานเดอร์ เซเวรัส

วิกฤตการณ์
ค.ศ. 235 – ค.ศ. 284
แม็กซิมินัส แทร็กซ์กอร์ดิอานุสที่ 1 และ กอร์ดิอานุสที่ 2พูพิเอนัส และ บาลบินัสกอร์ดิอานุสที่ 3ฟิลิปชาวอาหรับ และ ฟิลิปที่ 2เดซิอัส และ เฮเร็นนิอัส อีทรัสคัสโฮสติเลียนเทรโบนิอานัส กาลลัส และ โวลุซิอานัสเอมิลิอานัสวาเลเรียนกาลลิเอนัสคลอเดียส กอธิคัสควินทิลลัสออเรเลียนแทซิทัสโฟลริอานัสโพรบัสคารัส

เรืองอำนาจ
ค.ศ. 284 – ค.ศ. 395
ไดโอคลีเชียนแม็กซิเมียนคอนสแตนติอัส คลอรัสกาเลริอัสเฟลเวียส วาเลริอัส เซเวรัสแม็กเซ็นติอัสแม็กซิมินัส ดาเอียลิซินิอัส และ วาเลริอัส วาเล็นส์ และ มาร์ตินิอานัสคอนสตันไทน์ที่ 1คอนสแตนตินที่ 2คอนสแตนที่ 1คอนสแตนติอัสที่ 2จูเลียนเดอะอโพสเตทโจเวียนวาเล็นติเนียนที่ 1วาเล็นสกราเชียนวาเล็นติเนียนที่ 2ธีโอโดเซียสที่ 1

โรมันตะวันตก
ค.ศ. 395 – ค.ศ. 480
โรมันตะวันออก/
ไบแซนไทน์

ค.ศ. 395 – ค.ศ. 1204
อาร์เคดิอัสธีโอโดเซียสที่ 2มาร์เชียนเลโอที่ 1เลโอที่ 2เซโนบาซิลิสคัสอนาสตาซิออสที่ 1จัสตินที่ 1จัสติเนียนที่ 1จัสตินที่ 2ไทบีเรียสที่ 2 คอนสแตนตินมอริซโฟคาสเฮราคลิอัสคอนสแตนตินที่ 3เฮราโคลนาสคอนสแตนสที่ 2คอนสแตนตินที่ 4จัสติเนียนที่ 2ลีออนติออสไทบีเรียสที่ 3ฟิลิปปิคอสอนาสตาซิออสที่ 2ธีโอโดเซียสที่ 3ลีโอที่ 3 เดอะอิซอเรียนคอนสแตนตินที่ 5อาร์ตาบาสดอสลีโอที่ 4 เดอะคาซาร์คอนสแตนตินที่ 6ไอรีนแห่งเอเธนส์นิเคโฟรอสที่ 1สตอราคิออสมิคาเอลที่ 1ลีโอที่ 5 เดอะอาร์มีเนียนมิคาเอลที่ 2 เดอะสแตมเมอเรอร์ธีโอฟิโลสมิคาเอลที่ 3บาซิลที่ 1 เดอะมาเซโดเนียนลีโอที่ 6 เดอะไวส์อเล็กซานเดอร์คอนสแตนตินที่ 7โรมานอสที่ 1โรมานอสที่ 2นิเคโฟรอสที่ 2จอห์นที่ 1บาซิลที่ 2คอนสแตนตินที่ 8โซอี พอร์ฟีโรเกนิตาโรมานอสที่ 3มิคาเอลที่ 4 เดอะพาฟลาโกเนียนมิคาเอลที่ 5 คาลาเฟตสคอนสแตนตินที่ 9 โมโนมาคอสธีโอโดราเดอะมาเซโดเนียนมิคาเอลที่ 6 เดอะเอจด์ไอแซ็คที่ 1 โคมเนนอสคอนสแตนตินที่ 10 ดูคาสโรมานอสที่ 4 ไดโอเจนีสมิคาเอลที่ 7 ดูคาสนิเคโฟรอสที่ 3 โบตาเนอาตีสอเล็กซิออสที่ 1 โคมเนนอสจอห์นที่ 2 โคมเนนอสมานูเอลที่ 1 โคมเนนอสอเล็กซิออสที่ 2 โคมเนนอสอันโดรนิคอสที่ 1 โคมเนนอสไอแซ็คที่ 2 อันเจลอสอเล็กซิออสที่ 3 อันเจลอสอเล็กซิออสที่ 4 อันเจลอสนิโคลอส คานาบอสอเล็กซิออสที่ 5 ดูคาส

จักรวรรดิไนเซีย
ค.ศ. 1204 – ค.ศ. 1261
โรมันตะวันออก/
ไบแซนไทน์

ค.ศ. 1261 – ค.ศ. 1453
มิคาเอลที่ 8 พาลาโอโลกอสอันโดรนิคอสที่ 2 พาลาโอโลกอสมิคาเอลที่ 9 พาลาโอโลกอสอันโดรนิคอสที่ 3 พาลาโอโลกอสจอห์นที่ 5 พาลาโอโลกอสจอห์นที่ 6 คันตาคูเซนอสแม็ทธิวคันตาคูเซนอสอันโดรนิคอสที่ 4 พาลาโอโลกอสจอห์นที่ 7 พาลาโอโลกอสอันโดรนิคอสที่ 5 พาลาโอโลกอสมานูเอลที่ 2 พาลาโอโลกอสจอห์นที่ 8 พาลาโอโลกอสคอนสแตนตินที่ 11 พาลาโอโลกอส

บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล

ใกล้เคียง

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 จักรพันธ์ ครบุรีธีรโชติ จักรพรรดิโชวะ จักรพรรดิเมจิ จักรพรรดิ จักรพรรดิคังซี จักรพันธ์ แก้วพรม จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล จักรพรรดินีโคไลที่ 2 แห่งรัสเซีย จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย