การค้นพบ ของ จารึกวัดพระงาม

วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ระหว่างที่สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี กำลังขุดศึกษาในโบราณสถานในพื้นที่ของวัดพระงาม จังหวัดนครปฐม ได้พบแผ่นศิลานี้วางซ้อนอยู่บนแผ่นศิลาแลงอีก 2 แผ่น[1] จารึกนี้อาจถูกเคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น ดังจะเห็นได้จากวัสดุหินที่แตกต่างกัน[5] คาดว่าเมื่อพ้นสมัยที่สร้างจารึกแล้ว ผู้คนอาจไม่เห็นความสำคัญ และไม่สามารถอ่านข้อความในจารึกได้ จึงนำแผ่นจารึกมาใช้ประโยชน์อื่นตามความเหมาะสม กล่าวคือ นำมาเป็นส่วนประกอบของฐานเจดีย์ จนมาถูกค้นพบระหว่างการขุดค้นในพื้นที่ดังกล่าว ได้รับทะเบียนวัตถุ คือ นฐ.21และให้ใช้จารึกตามนามของสถานที่พบว่า "จารึกวัดพระงาม"[1] โดยก่อนหน้านั้นกรมศิลปากรพบรูปปั้นอสูรในบริเวณดังกล่าวด้วย[6] กรมศิลปากรจึงได้เคลื่อนย้ายจารึกและรูปปั้นไปเก็บรักษาและทำการอนุรักษ์ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม[1][7]

ใกล้เคียง

จารึกพ่อขุนรามคำแหง จารึกเมร์เนปทาห์ จารึกวัดศรีชุม จารึกนครชุม จารึก อารีราชการัณย์ จารึกวัดพระยืน จารึกวัดพระงาม จารึกเมียเซดี จารึกเกอดูกันบูกิต จารึกระฆังพระเจ้าบุเรงนอง

แหล่งที่มา

WikiPedia: จารึกวัดพระงาม https://www.finearts.go.th/storage/contents/file/W... https://www.finearts.go.th/main/view/17792-%E0%B8%... https://www.matichonacademy.com/content/culture/ar... https://www.silpa-mag.com/news/article_39959 https://www.silpa-mag.com/news/article_37878 https://www.matichonweekly.com/column/article_2747... http://tolopoti.npru.ac.th/page.php?id=3-2 https://www.muangboranjournal.com/post/Wat-Phra-Ng... https://suvarnabhumi.psu.ac.th/tudb/artefactread/2... https://www.matichon.co.th/education/religious-cul...