ลักษณะ ของ จารึกวัดพระงาม

จารึกเป็นหินทรายเนื้อละเอียด[1] ตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์พบว่าเป็นหินเถ้าภูเขาไฟชนิดไรโอไลต์ (Rhyolite) ซึ่งเป็นหินอัคนีพุ[5] ลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 50.2 เซนติเมตร ยาว 96.3 เซนติเมตร และหนา 14.5 เซนติเมตร[1] มีอักษรจารึกไว้เพียงด้านเดียว จำนวน 6 บรรทัด ทั้งนี้ ตัวจารึกมีสภาพชำรุดมาก อักษรบางส่วนกะเทาะหลุดหายไป[1] ข้อความบางส่วนที่สามารถอ่านได้อย่างชัดเจน กล่าวถึงคำว่า “ทวารวตีวิภูติ” อักษรที่ใช้จารึกเป็นอักษรปัลลวะ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 และ 12 ร่วมกัน[1] ผู้จารึกต้องมีความรู้ความสามารถมาก จึงสามารถนำอักษรปัลลวะแบบเดิมที่ใช้ในพุทธศตวรรษที่ 11 และแบบที่พัฒนาขึ้นใหม่ในพุทธศตวรรษ 12 มาใช้ร่วมกันได้[7] นอกจากนี้ ยังเป็นการจารึกเป็นภาษาสันสกฤต ต่างจากจารึกในแหล่งทวารวดีอื่น ๆ ซึ่งพบเป็นภาษาบาลีและภาษามอญ[7]

ใกล้เคียง

จารึกพ่อขุนรามคำแหง จารึกวัดศรีชุม จารึกเมร์เนปทาห์ จารึกนครชุม จารึกกฎหมายลักษณะโจร จารึก อารีราชการัณย์ จารึกวัดพระยืน จารึกวัดพระงาม จารึกเมียเซดี จารึกเกอดูกันบูกิต

แหล่งที่มา

WikiPedia: จารึกวัดพระงาม https://www.finearts.go.th/storage/contents/file/W... https://www.finearts.go.th/main/view/17792-%E0%B8%... https://www.matichonacademy.com/content/culture/ar... https://www.silpa-mag.com/news/article_39959 https://www.silpa-mag.com/news/article_37878 https://www.matichonweekly.com/column/article_2747... http://tolopoti.npru.ac.th/page.php?id=3-2 https://www.muangboranjournal.com/post/Wat-Phra-Ng... https://suvarnabhumi.psu.ac.th/tudb/artefactread/2... https://www.matichon.co.th/education/religious-cul...