ความสำคัญ ของ จารึกวัดพระยืน

จารึกวัดพระยืนนี้ แสดงให้เห็นถึงการติดต่อสัมพันธ์ทางด้านศาสนาจากสุโขทัยไปยังล้านา การสถานปนาลัทธิรามัญวงศ์ในเมืองเชียงใหม่ และเป็นหลักฐานชั้นต้นร่วมสมัยในการตรวจสอบเอกสารหลักฐานในสมัยต่อ ๆ มา[3] ดังเช่นในประเด็น ดังนี้

  1. พระนามของพญามังราย ในจารึกวัดพระยืนนี้ระบุพระนามว่า "พญามังรายหลวง" เป็นหลักฐานว่าพระนามของพระองค์คือ "มังราย" มิใช่ "เม็งราย" ตามที่ปรากฎในพงศาวดารโยนกของพระยาประชากิจกรวัตร ส่วนคำว่า "หลวง" นั้น นาตยา ภูศรี สันนิฐานว่าเป็นคำที่ใช้ยกย่องว่าเป็นกษัตริยผู้ยิ่งใหญ่[3]
  2. พระนามเจ้าท้าวสองแสนนา เป็นพระนามของกษัตริย์เชียงใหม่ที่ถูกระบุในจารึกนี้อันเป็นหลักฐานร่วมสมัย ต่างจากเอกสารล้านนา เช่นชินกาลมาลีปกรณ์ ที่ระบุพระนามว่า "พญากือนา" ซึ่งแปลว่า พญาร้อยล้านนา คาดว่าพระนามที่เปลี่ยนแปลงไปเกิดจากการยอพระเกียรติยศในภายหลัง[3]
  3. ลำดับกษัตริย์ราชวงศ์มังราย มีจารึกมีการระบุถึงความสัมพันธ์ของเจ้าท้าวสองแสนนา (พญากือนา) ว่าเป็นพระโอรสพญาผายู เป็นหลานพญาคำฟู และเป็นเหลนพญามังราย แต่ไม่ปรากฏพระนามกษัตริย์อีก 2 พระองค์ ซึ่งมีปรากฏในชินกาลมาลีปรกณณ์ คือ ขุนคราม และพญาแสนภู โดย ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร อธิบายว่าจารึกวัดพระยืนนี้กล่าวถึงเฉพาะญาติสายตรงเท่านั้น ดังนี้ กษัตริย์ที่ไม่ได้เป็นญาติสายตรงจึงไม่ได้มีการกล่าวถึง และ ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร อธิบายว่าผู้สร้างจารึกนี้เป็นชาวสุโขทัย จึงรับรู้พระนามของกษัตริย์เฉพาะที่ปกครองเมืองเชียงใหม่เท่านั้น ส่วนกษัตริย์ในราชวงศ์มังรายที่ปกครองเชียงรายนั้น ไม่ได้อยู่ในความรับรู้ด้วย จึงมิได้จารึกไว้[3]
  4. การสถาปนาลัทธิรามัญวงศ์ในเชียงใหม่ ตามความเชื่อเรื่อง "ปัญจอันตรธาน" ที่ทำนายว่าศาสนาพุทธจะมีอายุ 5,000 ปี ซึ่งในรัชสมัยของพญากือนาตรงกับช่วงปลายของศตวรรษที่สอง พระยากือนาต้องการให้พระศาสนาดำรงอยู่ต่อไป[3] จึงได้อาราธนาพระมหาสุมนเถระมาจากสุโขทัย ต่อมาพระมหาสุมนเถระจะเป็นผู้วางรากฐานของพระสงฆ์สายวัดสวนดอก[3]
  5. การเชื่อมโยงประวัติศาสตร์และอักขรวิธีของอาณาจักรล้านนาและสุโขทัย โดยใช้ตัวอักษรแบบอาลักษณ์สุโขทัยแต่นำมาเขียนเล่นลายมือแบบอักษรล้านนารุ่นแรก ซึ่งจะพัฒนาเป็นอักษรฝักขามต่อไป และมีการปรับอักขรวิธีมอญ นำมาสู่สมมติฐานว่า ทั้งสุโขทัยและล้านนาต่างมีส่วนทั้งเป็นฝ่ายรับและฝ่ายให้ ทำให้เกิดความสัมพันธ์ด้านวัฒธรรมประเพณีด้านอักขรวิธีของไท ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานด้านอักขรวิธีนี้ในจารึกหลักอื่นในสมัยยุคล้านนา[2]

ใกล้เคียง

จารึกพ่อขุนรามคำแหง จารึกเมร์เนปทาห์ จารึกวัดศรีชุม จารึกนครชุม จารึก อารีราชการัณย์ จารึกวัดพระยืน จารึกวัดพระงาม จารึกเมียเซดี จารึกเกอดูกันบูกิต จารึกระฆังพระเจ้าบุเรงนอง

แหล่งที่มา

WikiPedia: จารึกวัดพระยืน https://finearts.go.th/literatureandhistory/view/4... https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/... https://www.youtube.com/watch?v=RSa5cpwJkpA https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/In... https://www.nat.go.th/mow/en-us/%E0%B8%84%E0%B8%A7... http://www.mow.thai.net/wp-content/uploads/2016/06... https://www.finearts.go.th/storage/contents/file/0... https://geohack.toolforge.org/geohack.php?pagename...