การประยุกต์ใช้ ของ จิตวิทยาเชิงบวก

ขั้นตอน 5 อย่างเพื่อให้มีชีวิตที่มีความสุข ภาพจากข้อมูลในหนังสือ สมมติฐานเรื่องความสุข: การหาความจริงในคำปราชญ์โบราณสำหรับยุคปัจจุบัน (The Happiness Hypothesis: Finding Modern Truth in Ancient Wisdom)[177]

จิตวิทยาเชิงบวกสามารถประยุกต์ใช้เพื่อช่วยบุคคลและองค์กรกำหนดความเข็มแข็งเพื่อเพิ่มและดำรงรักษาความอยู่เป็นสุขทั้งผู้บำบัด ผู้ให้คำปรึกษา ผู้ฝึกหัด ผู้ทำการทางจิตวิทยาต่าง ๆ แผนกบุคลากร นักกลยุทธ์ทางธุรกิจ และบุคคลอื่น ๆ กำลังเริ่มใช้วิธีและเทคนิคใหม่ ๆ ในการขยายและต่อเติมความเข้มแข็งของบุคคลต่าง ๆ เป็นจำนวนมากซึ่งรวมทั้งบุคคลปกติที่ไม่ได้มีโรคทางจิตใด ๆ

นักวิจัยทางจิตวิทยาท่านหนึ่งอธิบายว่า คนที่มีสุขภาพทางอารมณ์ดีมีลักษณะดังต่อไปนี้คือยืดหยุ่นสามารถปรับตัวได้กับสถานการณ์ต่าง ๆ รู้สึกว่าชีวิตมีความหมาย "เข้าใจว่า ตัวเองไม่ใช่เป็นศูนย์กลางของจักรวาล" มีความเมตตากรุณาและสมรรถภาพที่จะไม่เห็นแก่ตัว มีความใกล้ชิดและความยินดีพอใจในความสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ และรู้สึกว่าสามารถควบคุมกายใจได้[178]

การวัดความสุข

โดยอ้างจิตวิทยาเชิงบวก นักวิเคราะห์นโยบายของรัฐบางท่าน เสนอให้เปลี่ยนใช้ความสุขมวลรวมประชาชาติแทนผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเป็นตัววัดหลักว่า ประเทศหนึ่ง ๆ มีความสำเร็จมากแค่ไหน[179]

ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 นักวิจัย "ความสุข" ท่านหนึ่ง สัมพันธ์ลักษณะของบุคคลต่าง ๆ กับความรู้สึกอยู่เป็นสุขโดยใช้สถิติซึ่งกลายมาเป็นผลงานวิจัยที่อ้างอิงกันมากที่สุดในท็อป 2.4% ของวารสารนั้น[180]

เทคนิคจิตวิทยาเชิงบวกในยุคต้น ๆ

วิธีที่ง่ายที่สุดดีที่สุดอย่างหนึ่งในการเพิ่มความสุขของตนก็คือการทำสิ่งที่เพิ่มอัตราอารมณ์เชิงบวกเทียบกับอารมณ์เชิงลบและในกรณีมากมาย บุคคลต่าง ๆ ความจริงเก่งมากที่จะกำหนดว่าอะไรจะเพิ่มอารมณ์เชิงบวกของตน[181]มีเทคนิคหลายอย่างที่ได้พัฒนาเพื่อช่วยเพิ่มความสุข

เทคนิคอย่างหนึ่งปรากฏในวิดีโอฝึกสร้างความสุขทำในปี 1979 (Happiness Training Program) เสนอหลัก 14 อย่างเพื่อความสุข โดยเป็นเทคนิคที่มีหลักฐานยืนยัน และกำหนดเป็นหมวดหมู่ดังต่อไปนี้ คือ(1) เปลี่ยนกิจกรรม(2) เปลี่ยนความคิด(3) สร้างและดำรงความสัมพันธ์กับผู้อื่น(4) ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาตน(5) ลดอารมณ์เชิงลบแม้ว่าจะค่อนข้างล้าสมัยสักหน่อย ข้อมูลเหล่านี้อยู่ในหนังสือภาษาอังกฤษ 21 หน้าที่เข้าถึงได้ออนไลน์ คือ Happiness Booklet[182]และหนังสือชุดอีกสองเล่มคือ Happiness Series

เทคนิคที่สองรู้จักกันว่า "Sustainable Happiness Model (SHM)" (แปลว่า แบบจำลองความสุขที่คงยืน) ซึ่งเสนอว่า ความสุขระยะยาวกำหนดโดย(1) ขีดตั้งทางกรรมพันธุ์ของตน(2) ปัจจัยรอบตัว(3) กิจกรรมที่ตั้งใจทำนักวิจัยพวกหนึ่งเสนอให้เปลี่ยนสิ่งเหล่านี้ให้เหมาะสมเพื่อจะมีความสุขในระยะยาว[183]

ส่วนคำแนะนำอีกอย่างหนึ่งเพื่อเพิ่มความสุขก็คือการฝึกมีความหวัง เพราะเชื่อว่า ความหวัง (hope) เป็นตัวขับเคลื่อนอารมณ์เชิงบวกและความรู้สึกอยู่เป็นสุข[184]เป็นการฝึกที่อาศัยทฤษฎีความหวัง (hope theory) ซึ่งอ้างว่า ความรู้สึกอยู่เป็นสุขจะเพิ่มขึ้นเมื่อบุคคลสร้างเป้าหมายและเชื่อว่าตนสามารถถึงเป้าหมายเหล่านั้นได้[185]เป้าหมายหลักอย่างหนึ่งของการฝึกเช่นนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลมีความหวังที่เป็นไปไม่ได้ที่เห็นชัดที่สุดก็คือ เมื่อบุคคลเชื่อว่าพฤติกรรมของตนเองเปลี่ยนได้ง่าย ๆ และผลการเปลี่ยนแปลงจะปรากฏให้เห็นได้ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ[186]

วิชาพละ

เพื่อเป็นอุปกรณ์ให้มีชีวิตดีขึ้น จิตวิทยาเชิงบวกมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มคุณภาพของประสบการณ์ต่าง ๆในโครงสร้างเยี่ยงนี้ เด็กนักเรียนสามารถเรียนรู้ที่จะตื่นเต้นกับกิจกรรมทางกายการเล่นเป็นธรรมชาติของเด็กอยู่แล้วจิตวิทยาเชิงบวกต้องการที่จะดำรงรักษาความกระตือรือร้นเช่นนี้ (เพื่อเป็นความกระตือรือร้นเป็นแรงจูงใจในการใช้ชีวิต) ในการมีกิจกรรมทางกายสำหรับเด็กที่กำลังโต[187]ถ้าทำให้น่าสนใจ ท้าทาย และสนุก การออกกำลังกายจะช่วยสร้างความสุขให้เด็กวิธีการนี้สามารถให้แนวทางเด็กเพื่อที่จะมีชีวิตแบบไม่ว่าง สบายใจ และมีความหมาย[188]

ในการศึกษา

จิตวิทยาเชิงบวกมีประโยชน์ต่อทั้งสถาบันการศึกษาและนักศึกษาเพราะว่าช่วยให้กำลังใจบุคคลต่าง ๆ ให้ทำดีที่สุดเท่าที่ตนทำได้โดยเปรียบเทียบกับการดุว่า ซึ่งมีผลตรงกันข้ามนักเขียนคู่หนึ่งกล่าวถึงงานวิจัยในปี 1925 ที่เด็กนักเรียนชั้น ป.4 ป.5 และ ป.6 ได้คำชม คำตำหนิ หรือไม่ว่าอะไร แล้วแต่คะแนนที่ได้ในการทำเลขนักเรียนที่ได้รับคำชมดีขึ้น 71% ที่ได้รับคำตำหนิดีขึ้น 19% และนักเรียนที่ไม่ได้ว่าอะไรดีขึ้น 5%ดังนั้น การชมจึงดูจะเป็นวิธีที่ได้ผล[189]

ตามนักเขียนคู่นี้ คน 99 คนจาก 100 ชอบที่จะได้รับอิทธิพลจากคนที่มีความคิดเชิงบวกประโยชน์รวมทั้ง การได้ผลงานมากขึ้น การแพร่กระจายของอารมณ์เชิงบวก ซึ่งช่วยให้สามารถทำงานได้ดีที่สุดตามความสามารถของตนคนความคิดเชิงลบแม้คนเดียวสามารถทำลายความรู้สึกดี ๆ ภายในสถานการณ์อย่างหนึ่งได้นักเขียนอ้างว่า "อารมณ์เชิงบวกเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อการอยู่รอดในแต่ละวัน ๆ"[189]

การพัฒนาเยาวชน

มีขบวนการในการพัฒนาเยาวชนในสหรัฐอเมริกาปัจจุบันที่เรียกว่า Positive Youth Development (การพัฒนาเยาวชนแบบบวก) ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้แนวคิดจากจิตวิทยาเชิงบวกเช่นกัน เพราะว่า เป็นการโปรโหมตการพัฒนาในแง่บวกแทนที่จะมองเยาวชนว่า มักจะก่อปัญหาที่ต้องแก้ไขซึ่งเป็นโปแกรมที่ทำโดยชุมชน สถาบันการศึกษา และหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ[190]

จิตวิทยาคลินิก

ขบวนการเปลี่ยนแปลงบุคคลในเชิงบวกโดยเน้นความเข้มแข็ง มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปลี่ยนจิตวิทยาคลินิกให้ให้ความสำคัญ ต่อกิจกรรมในชีวิตประจำวันทั้งที่เป็นเชิงบวกและเชิงลบเมื่อพยายามวินิจฉัยเข้าใจและรักษาโรค[191]การป้องกันรักษาโดยเน้นความเข้มแข็งและอารมณ์เชิงบวกสามารถมีประสิทธิผลในการรักษาโรค นอกเหนือไปจากวิธีการที่ใช้โดยทั่วไปเช่นการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT)[192][193]

นักจิตวิทยากำลังสืบหาวิธีใช้เทคนิคของจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อรักษาคนไข้นักเขียนท่านหนึ่งกล่าวถึงวิธีการรักษาป้องกันแบบบวกเพื่อช่วยคนไข้โดยกำหนดว่า เป็นการบำบัดหรือกิจกรรมที่มีเป้าหมายหลักเพื่อเพิ่มความรู้สึก พฤติกรรม หรือความคิดเชิงบวก แทนที่จะพุ่งความสนใจไปที่ความคิดเชิงลบหรือพฤติกรรมที่ไม่ได้ผลดีซึ่งวิธีหนึ่งที่สามารถใช้ในการรักษาก็คือ positive activity interventions (PAI) แปลว่า การป้องกันรักษาโดยกิจกรรมเชิงบวกซึ่งเป็นการฝึก/การบริหารที่ทำด้วยตนเองให้เกิดความรู้สึก ความคิด หรือพฤติกรรมเชิงบวกเทคนิคสองอย่างของ PAI ที่ใช้มากที่สุดก็คือ "สิ่งสามสิ่งที่ดี" (Three Good Things) และ "ตัวเองที่ดีที่สุดในอนาคต" (Best Future Self)"สิ่งสามสิ่งที่ดี" ให้คนไข้บันทึกประจำวันเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ เหตุการณ์ 3 อย่างในวันนั้นที่เป็นไปด้วยดี และเหตุที่ยังให้เหตุการณ์นั้น ๆ เกิดขึ้นส่วน "ตัวเองที่ดีที่สุดในอนาคต" ให้คนไข้ "คิดถึงชีวิตตัวเองในอนาคต และให้จินตนาการว่าทุกสิ่งทุอย่างเป็นไปได้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้และคนไข้ได้ทำงานอย่างขยันขันแข็ง ได้สำเร็จเป้าหมายทุกอย่างในชีวิตให้คิดถึงว่าความฝันทุกอย่างในชีวิตได้กลายเป็นจริง”แล้วให้คนไข้เขียนสิ่งที่จินตนาการทุกอย่างการป้องกันรักษาเยี่ยงนี้ปรากฏกว่าช่วยลดความซึมเศร้า[194]

จิตวิทยาเชิงบวกสามารถให้ข้อมูลต่อจิตวิทยาคลินิกเพื่อขยายวิธีการรักษาและประโยชน์ที่พึงได้ถ้าได้โอกาสที่เหมาะสม จิตวิทยาเชิงบวกอาจช่วยเปลี่ยนการให้ความสำคัญวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับประสบการณ์มนุษย์ทั้งในเชิงกว้างและในเชิงลึกได้ดีขึ้นในสถานที่รักษาพยาบาล

ในที่ทำงาน

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ในการบำบัดนักโทษ

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

การพัฒนาหลังความบาดเจ็บและการรายงานข่าวที่สร้างสรรค์

การพัฒนาหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ (Posttraumatic growth ตัวย่อ PTG) เป็นผลที่เกิดขึ้นได้หลังเกิดเหตุการณ์สะเทือนใจ แทนที่จะเกิดความผิดปกติที่เรียกว่า ความผิดปกติหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (PTSD)คือหลังจากเหตุการณ์สะเทือนใจ เช่น ถูกข่มขืน การร่วมประเวณีกับญาติสนิท โรคมะเร็ง การถูกทำร้าย หรือการต่อสู้ในสงคราม "เป็นเรื่องปกติที่จะประสบอาการซึมเศร้าและความวิตกกังวลที่บั่นทอนสุขภาพ"[195]บุคคลที่เรียนรู้จากประสบการณ์แบบ PTG จะประสบกับผลร้าย ๆ ชั่วระยะหนึ่ง แล้วจะมีความอยู่เป็นสุขที่ดีขึ้น ที่ดียิ่งกว่าก่อนที่จะมีเหตุการณ์สะเทือนใจศ. เซลิกแมนเน้นว่า "การมีประสิทธิภาพทางใจในระดับที่สูงกว่าที่เคยมี" เป็นกุญแจสำคัญของ PTG[196]คือ ถ้าบุคคลประสบกับเหตุการณ์ซึมเศร้าแล้วฟื้นคืนสู่สภาพเดิมทางจิต นี้เรียกว่าความฟื้นคืนสภาพทางจิตได้ (Psychological resilience)[196]เทียบกับ PTG ที่จุดสะเทือนใจจะกลายเป็นจุดเปลี่ยนแปลงให้บุคคลถึงความอยู่เป็นสุขที่ดียิ่งขึ้น

ศ. เซลิกแมนรับรองว่า "ความจริงก็คือ จุดสะเทือนใจบ่อยครั้งเป็นจุดเริ่มการพัฒนา และถ้าได้อุปกรณ์ความช่วยเหลือที่เหมาะสม บุคคลจะสามารถได้ผลดีที่สุดจากโอกาสนั้น ๆ"[196]ศ. เซลิกแมนเสนอให้ใช้องค์ประกอบ 5 อย่างเหล่านี้เพื่ออำนวย PTG (1) ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการตอบสนองต่อเรื่องสะเทือนใจ (2) ลดความวิตกกังวล (3) ให้เปิดเผยเหตุการณ์ (ต่อบุคคลอื่น) อย่างสร้างสรรค์ (4) สร้างเรื่องเล่าเกี่ยวกับเหตุการณ์สะเทือนใจ (trauma narrative) และ (5) แสดงหลักและความเห็นเกี่ยวกับชีวิตที่เข้มแข็งสามารถเผชิญรับปัญหาท้าทายต่าง ๆ ได้[196]ผู้ที่ประสบกับ PTG จะได้องค์ประกอบของ "ชีวิตที่ดี" ตามทฤษฎีของ ศ. เซลิกแมน รวมทั้งการมีชีวิตที่มีความหมายและมีจุดมุ่งหมายที่ดีกว่า การมีความสัมพันธ์กับคนอื่นที่ดีกว่า ความสำเร็จในชีวิต และจิตใจที่มองโลกในแง่ดีเปิดใจกว้างกว่า ตามทฤษฎี Broaden-and-build[197]

หลักต่าง ๆ ของ PTG สามารถใช้ได้ในหลายเรื่องเป็นแนวคิดที่สำคัญไม่ใช่แค่สำหรับทหาร ผู้ทำการในเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือคนที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์สะเทือนใจ แต่โดยทั่วไปแล้ว เป็นเรื่องสำหรับทุก ๆ คนที่ต้องเผชิญปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน

วิธีเผยแพร่เรื่องเกี่ยวกับ PTG อย่างหนึ่งก็คือ การรายงานข่าวที่สร้างสรรค์ซึ่งอาจจะนิยามได้ว่า "เป็นสไตล์การออกข่าวแบบใหม่ที่ใช้เทคนิคจิตวิทยาเชิงบวกมีจุดมุ่งหมายเพื่อดึงดูดผู้อ่านโดยเสนอข่าวที่สร้างสรรค์ดีกว่า โดยยังสามารถดำรงภารกิจอื่น ๆ ของการออกข่าว"[198]นักข่าวชำนาญการคนหนึ่งแสดงว่า การออกข่าวโดยทั่ว ๆ ไปเป็นเรื่องลบ และมีผลลบต่อความรู้สึกของผู้ฟัง[199]การใช้ PTG พุ่งความสนใจไปที่ความเข้มแข็งของเหยื่อและตัวอย่างการข้ามพ้นปัญหาที่เผชิญหน้า จะช่วยให้ผู้อ่าน/ผู้ชมสร้างอุดมคติเช่นเดียวกันในชีวิตของตน "ดังนั้น จุดมุ่งหมายของจิตวิทยาเชิงบวกเกี่ยวกับทฤษฎีความอยู่เป็นสุขก็เพื่อวัดและสร้างความเจริญรุ่งเรือง (flourishing) ของมนุษย์"[137]เพราะฉะนั้น การใช้แนวคิดของจิตวิทยาเชิงบวกเช่น PTG, PERMA และ broaden and build ต่อการออกข่าวอาจช่วยพัฒนาความรู้สึกเป็นแรงจูงใจให้บุคคลเข้าใจถึงประโยชน์ของสภาพจิตเชิงบวก

การฝึก

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

แนวทางงานวิจัยในอนาคต

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ใกล้เคียง

จิตวิทยา จิตวิทยาเชิงบวก จิตวิทยาคลินิก จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ จิตวิทยาชุมชน จิตวิทยาเกสทัลท์ จิตวิญญาณธรรมศาสตร์ จิตวิเคราะห์ จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาการเรียนรู้

แหล่งที่มา

WikiPedia: จิตวิทยาเชิงบวก http://www.cbc.ca/ideas/episodes/2011/06/20/say-no... http://awesomeculture.com/2011/09/13/the-science-o... http://doubtreligion.blogspot.com/2010/06/rd-extra... http://www.bmj.com/cgi/pmidlookup?view=long&pmid=1... http://www.cape-coral-daily-breeze.com/page/conten... http://www.chicagotribune.com/suburbs/northbrook/c... http://www.economist.com/node/17722557 http://www.economist.com/node/17722567 http://www.economist.com/world/na/PrinterFriendly.... http://www.forbes.com/2010/07/14/world-happiest-co...