เรื่องทั่วไปที่พบโดยประเด็น ของ จิตวิทยาเชิงบวก

ความสุขได้กลายเป็นเรื่องที่นิยมมาพูดคุยกันในสื่อ โดยเฉพาะในโลกตะวันตกมีงานศึกษามากมายที่พยายามไขปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความสุขประเด็นดังต่อไปนี้เป็นสิ่งที่งานศึกษาต่าง ๆ ได้ค้นพบ

อายุ

วิกฤตการณ์วัยกลางคน (midlife crisis) อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ชัดเจนเมื่อความสุขในชีวิตเริ่มลดลงในบุคคลทั่วไปมีหลักฐานที่แสดงนัยว่า คนโดยมากมักจะมีความสุขขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ยกเว้นในวัยระหว่าง 40-50 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยปกติที่ "วิกฤติการณ์" อาจจะเกิดนักวิจัยได้กำหนดว่า บุคคลในช่วงอายุ 20-29 และ 70-79 มีความสุขมากกว่าในช่วงวัยกลางคนแม้ว่า ระดับความสุขอาจจะเปลี่ยนในอัตราที่ต่าง ๆ กันยกตัวอย่างเช่น ความเครียดและความโกรธมักจะลดลงหลังอายุ 20 ความวิตกกังวลหลังอายุ 50 และความยินดีพอใจในชีวิตลดลงอย่างช้า ๆ ในวัยผู้ใหญ่ แต่ในที่สุดจะเพิ่มขึ้นหลังจากวัย 50[28][38][39]

สิ่งที่ค้นพบเหล่านี้มีมูลฐานจากข้อมูลที่รวบรวมมาเป็นทศวรรษ ๆ กับกลุ่มบุคคลที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน (cohort) โดยเป็นการเก็บข้อมูลโดยมีการควบคุมเช่น นักวิจัยจะไม่ใส่ใจในการลดลงของความสุขในช่วงวัยกลางคนถ้าเกิดจากประสบการณ์ร่วมกันของบุคคลในกลุ่มนั้น ๆ เช่นเกิดจากสงครามนอกจากนั้นแล้ว ยังมีการควบคุมรายได้ สถานะทางการงาน และความเป็นพ่อแม่ เพื่อที่จะกำหนดแยกให้ชัดเจนถึงผลที่มาจากอายุนักวิจัยพบหลักฐานว่า วัยที่เปลี่ยนไปมีผลต่อความสุขในชีวิต

แต่นี้อาจจะมีเหตุหลายอย่างปัจจัยทางจิตใจรวมทั้งความสำนึกรู้ถึงตนเองและถึงความชอบใจของตนเองมากขึ้นความสามารถควบคุมความต้องการและมีความคาดหวังในชีวิตที่สมเหตุสมผลมากขึ้น เพราะความมุ่งหวังที่ไม่สมเหตุผลมักจะเป็นตัวสร้างความทุกข์และการใกล้ความตายมากขึ้นอาจจะเป็นแรงจูงใจให้พยายามเข้าถึงจุดหมายส่วนตัวในชีวิตมากขึ้นและทักษะทางสังคมต่าง ๆ เช่นการให้อภัย อาจจะต้องใช้เวลาหลายปีเพื่อพัฒนา ซึ่งเป็นทักษะที่ช่วยให้มีความสุขยิ่งขึ้นหรือว่า คนที่มีความสุขกว่าอาจจะมีชีวิตยืนนานกว่า และดังนั้นจึงมีมากกว่าในกลุ่มประชากรคนมีอายุนอกจากนั้นแล้ว การเปลี่ยนแปลงทางเคมีชีวภาพที่สัมพันธ์กับอายุอาจจะมีบทบาท[38][39][40][41]

งานวิจัยอื่นพบว่า แม้ว่าคนที่มีอายุมากกว่าจะรายงานปัญหาทางสุขภาพมากกว่า แต่ปัญหาในชีวิตโดยรวม ๆ กลับมีน้อยกว่าเพราะว่าผู้ใหญ่ที่มีอายุน้อยกว่ารายงานความโกรธ ความวิตกกังวล ความเศร้าซึม ปัญหาการเงิน ปัญหาความสัมพันธ์กับผู้อื่น และความเครียดในเรื่องการงานมากกว่านักวิจัยยังเสนออีกด้วยว่า ภาวะซึมเศร้าในคนมีอายุเกิดจากการอยู่เฉย ๆ ไม่ทำกิจกรรม และแนะนำว่าให้ทำกิจกรรมที่นำความสุขมาให้ในชีวิตต่อไปเรื่อย ๆ แม้เมื่อมีอายุเพิ่มขึ้น[42]

แบบจำลองแบบจำกัดกิจกรรม (activity restriction model) เกี่ยวกับภาวะเศร้าซึมอย่างหนึ่งแสดงนัยว่า สิ่งก่อความเครียดที่เข้าไปขัดขวางกิจกรรมปกติในชีวิตประจำวันสามารถลดระดับสุขภาพจิตได้คนมีอายุมักจะถูกจำกัดกิจกรรมเนื่องจากปัจจัยทางอายุต่าง ๆดังนั้น การเพิ่มกิจกรรมในชีวิตประจำวัน บวกกับความช่วยเหลืออุปถัมภ์ทางสังคมสามารถลดการถูกจำกัดกิจกรรม[43]:167

เพศ

ตั้งแต่ปี 2519 ระดับความสุขของหญิงชาวตะวันตกที่ลดลงทำให้นักวิจัยเชื่อว่าผู้ชายมีความสุขกว่าผู้หญิง[44]ผลที่พบอาจจะเป็นเพราะว่า หญิงและชายพิจารณาความสุขต่าง ๆ กันคือ หญิงกำหนดความเคารพตน (self-esteem) ความใกล้ชิดของความสัมพันธ์ และศาสนาในขณะที่ชายกำหนดความเคารพตน กิจกรรมในเวลาว่าง และความสามารถควบคุมจิตใจได้[45]ดังนั้น หญิงและชายอาจจะไม่ได้มีความสุขที่ต่างกัน

แต่ว่าในช่วงต้น ๆ ในชีวิต หญิงมีโอกาสสูงกว่าที่จะเข้าถึงเป้าหมายชีวิต (เช่น ในเรื่องทรัพย์สมบัติและในเรื่องชีวิตครอบครัว) และดังนั้น เป็นการเพิ่มความพอใจและความสุขโดยทั่วไปของชีวิตแต่ถึงแม้ว่าชายจะเข้าถึงเป้าหมายชีวิตได้ช้ากว่า แต่ก็พอใจในชีวิตครอบครัวและสถานะการเงินมากกว่า และดังนั้น จึงสุขมากกว่าหญิงโดยทั่ว ๆ ไป[46]คำอธิบายที่เป็นไปได้อีกอย่างหนึ่งก็คือ การมีการงานในบ้านที่แบ่งทำไม่เท่ากัน[47]หรือว่าหญิงประสบกับอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ มากกว่า แต่ว่า อาจจะมีความสุขกว่า "โดยทั่วไป"[41]ดังนั้น ผลของเพศต่อความเป็นสุขจึงไม่ค่อยลงรอยกัน เช่น ชายรายงานว่ามีความสุขน้อยกว่าหญิง แต่หญิงกลับเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้ามากกว่าชาย[48]

งานวิจัยในประเทศอิหร่านปี 2556 ศึกษาบทบาทของเพศและอายุกับประเด็นต่าง ๆ ทางจิตวิทยาเชิงบวก รวมทั้งความแข็งแกร่งทางจิต (psychological hardiness) ความฉลาดทางอารมณ์ (emotional intelligence) ความเชื่อมั่นในตน (self-efficacy) และความสุข กับคนอิหร่านรวมทั้งเด็กวัยรุ่น 200 คนและผู้ใหญ่อายุน้อยอีก 200 คน โดยใช้คำถามงานพบว่า ชายมีความแข็งแกร่งทางจิต เชาน์ปัญญาทางอารมณ์ ความเชื่อมั่นในตน และความสุข ในอัตราที่สูงกว่าอย่างสำคัญไม่ว่าจะอายุเท่าไร[49]แต่ว่าก็มีงานศึกษาหนึ่งเกี่ยวกับเด็กที่ผู้เขียนอธิบายว่า บิดามีโอกาสที่จะแสดงพฤติกรรมเชิงบวกกับลูกสาวมากกว่าลูกชาย และพบว่า โดยทั่วไปแล้ว เด็กหญิงมีความสุขมากกว่าเด็กชายโดยทั่วไป[50]

การเงิน

เมื่อถึงระดับบุคคลชั้นกลางทางเศษฐกิจแล้ว อาจจะดีที่สุดที่จะใช้เวลาและความพยายามในการทำงานที่ชอบ และสร้างเครือข่ายทางสังคมที่น่าพอใจให้ความสุข

ในหนังสือ สะดุดเจอความสุข (Stumbling on Happiness) ผู้เขียนนักจิตวิทยาได้อธิบายถึงงานวิจัยที่บอกเป็นนัยว่า การเงินสำคัญต่อคนจน (ที่ปัจจัยพื้นฐานในชีวิตยังมีไม่พร้อม) แต่สำคัญลดลงอย่างมากเมื่อถึงระดับบุคคลชั้นกลางแล้ว (ที่เรียกว่า Easterlin paradox)[51]เช่นในงานศึกษาหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า เงินทองไม่ช่วยยกระดับความสุขหลังจากที่ทำเงินได้กว่า 75,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อปี (ประมาณ 2,682,750 บาท หรือเป็นเงินเดือนก่อนภาษีที่ 223,563 บาท) เทียบกับรายได้เฉลี่ยทั้งประเทศที่ 55,904 ดอลลาร์ต่อปี แต่ประชาชนกลับประเมินความสุขเพราะเหตุแห่งรายได้เกินจริงประมาณ 100%[52]โดยอ้างศาสตราจารย์เศรษฐศาสตร์ท่านหนึ่ง (Richard Easterlin) ที่ให้ข้อสังเกตว่า ความสุขจากงานไม่ใช่มีเหตุมาจากเงินเดือนเท่านั้นคือ การมีเงินเหลือเพื่อใช้ในสิ่งอำนวยความสะดวกไม่ได้เพิ่มความสุขเท่ากับความยินดีพอใจที่ได้จากงานหรือเครือข่ายสังคม[53]ดังนั้น ผู้เขียนหนังสือจึงยืนกรานว่า บุคคลควรจะหางานที่ตนชอบ และหาวิธีที่จะทำงานเช่นนั้นเพื่อเลี้ยงชีวิต โดยให้ใส่ใจเรื่องความสัมพันธ์ทางสังคมประกอบไปด้วย

ส่วนงานวิจัยในปี 2551 ได้คัดค้านแนวคิดของ Easterlin paradoxคือข้อมูลที่เก็บมาจากประเทศต่าง ๆ แสดงว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) สัมพันธ์กับการอยู่เป็นสุขและไม่มีในข้อมูลที่แสดงว่า เมื่อประเทศรวยขึ้น ความสุขที่ประชาชนรู้สึกจะลดน้อยลงงานจึงสรุปว่า ความเจริญทางเศรษฐกิจจริง ๆ ช่วยเพิ่มความสุข[54]ความร่ำรวยสัมพันธ์อย่างมีกำลังกับความยินดีพอใจในชีวิต (life satisfaction) แต่ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างเงินกับความเป็นสุขทางอารมณ์ (emotional well-being) กลับอ่อน[55]ความพยายามหาเงินอาจจะทำให้บุคคลไม่สนใจกิจกรรมเวลาว่างและความสัมพันธ์กับคนอื่น ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นเหตุหรือช่วยให้เกิดความสุข[52]การหาเงินโดยเสี่ยงทำอันตรายต่อความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น หรือโดยมีความยินดีพอใจต่อกิจกรรมเวลาว่างเป็นเครื่องเซ่น อาจจะเป็นวิธีหาความสุขที่ไม่สุขุมรอบคอบ

มีหลักฐานแสดงว่า เงิน หรือว่าการหาเงินแบบรีบเร่ง สามารถกีดขวางความสามารถในการเพิ่มรสชาติ (savoring) ของชีวิต คือการกระทำที่เสริมเพิ่มความยินดีในประสบการณ์และเพิ่มอารมณ์เชิงบวก ในงานศึกษาเกี่ยวกับผู้ใหญ่วัยทำงาน บุคคลที่ร่ำรวยกว่ารายงานว่าสามารถเสริมเพิ่มความยินดีพอใจในชีวิตได้น้อยกว่าผู้ที่ร่ำรวยน้อยกว่า[56]

งานศึกษาปกติจะพบว่า ประชาชนของประเทศต่าง ๆ จะมีความสุขกว่าเมื่อมีปัจจัยที่จำเป็นต่อชีวิตเพียงพอ[57]แต่ก็มีงานศึกษาที่เสนอว่า บุคคลจะมีความสุขมากกว่าถ้าใช้เงินในการทำกิจแสวงหาประสบการณ์ต่าง ๆ แทนที่จะใช้ซื้อสิ่งของ[58]และมีงานศึกษาที่พบว่าคนที่ถูกรางวัลล็อตเตอรี่จะรายงานระดับความสุขที่สูงกว่าหลังจากถูกรางวัลแต่ก็พบว่า ระดับความสุขจะตกลงสู่ระดับอัตราปกติภายในไม่กี่เดือนหรือไม่กี่ปี คืองานศึกษาพบว่า เงินอาจจะไม่ใช่เป็นเหตุของความสุขระยะยาว[59]

การศึกษาและความฉลาด

กวีชาวอังกฤษ โทมัส เกรย์ ได้รจนาไว้ว่า "เมื่อความไม่รู้เป็นความแสนสำราญ มันเป็นความโง่ที่จะเป็นคนฉลาด"[60]งานวิจัยแสดงว่า ทั้งการศึกษาที่ดีและการมีระดับเชาวน์ปัญญาสูง ไม่แน่ที่จะเพิ่มระดับความสุข[28]นักจิตวิทยาผู้ชำนาญในเรื่องความเชี่ยวชาญคนหนึ่งอ้างว่า ระดับเชาวน์ปัญญาที่สูงกว่า 120 แต้มจะมีอิทธิพลน้อยลงต่อความสำเร็จในชีวิตสันนิษฐานได้ว่า ระดับเชาวน์ปัญญาที่สูงกว่า 120 ไม่ได้เป็นเหตุของปัจจัยที่ทำให้เกิดความสุขอื่น ๆ เช่นความสำเร็จในชีวิต (ยกเว้นในอาชีพเช่นฟิสิกส์ทฤษฎี ที่ระดับเชาวน์ปัญญาเป็นตัวพยากรณ์ความสำเร็จที่ดี)ดังนั้น เมื่อถึงเชาวน์ปัญญาในระดับทีว่านั้นการมีทักษะทางสังคมหรือผู้ปรึกษาที่ดีมีผลดีกว่า[61]เมื่อเกี่ยวกับกับความสุข ระดับเชาวน์ปัญญาและการศึกษาอาจจะช่วยให้ได้ปัจจัยในชีวิตในระดับของคนชั้นกลางเท่านั้น (คือ ดังที่ว่ามาก่อน ความร่ำรวย กว่าในระดับนี้ดูเหมือนจะมีผลน้อยต่อระดับความสุข)[62]

ศ. เซลิกแมนได้กล่าวไว้ว่า "ในฐานะของศาสตราจารย์ ผมไม่ชอบใจผลที่ว่านี่ คือว่า คุณสมบัติทางปัญญา เช่น ความใฝ่รู้ใฝ่เห็น หรือความสนใจอยากเรียนรู้ สัมพันธ์กับความสุขน้อยกว่าคุณธรรมในระหว่างบุคคล เช่น ความเมตตา ความซาบซึ้งคุณคน หรือสมรรถภาพในความรัก (ผู้อื่น)"[28]

ความเป็นพ่อแม่

แม้จะกล่าวกันว่า ความเป็นพ่อแม่เป็นประสบการณ์ที่จำเป็นในความเป็นผู้ใหญ่ แต่งานศึกษาแสดงผลที่ไม่สม่ำเสมอว่าพ่อแม่รายงานระดับความสุขที่สูงกว่าคนไม่ใช่พ่อแม่หรือไม่ประสบการณ์ทั่วไปอาจจะแสดงว่าการมีลูกทำให้คู่ชีวิตใกล้ชิดสนิทสนมกันมากขึ้นแต่งานวิจัยกลับแสดงว่า คู่ชีวิตพอใจในชีวิตน้อยลงหลังจากเกิดลูกคนแรก[63]คือ ความยินดีในการมีลูกไม่พอเป็นค่าทดแทนความรับผิดชอบในความเป็นพ่อแม่[64]

โดยอาศัยการรายงานเป็นตัวเลขของพ่อแม่ นักวิจัยพบว่า พ่อแม่ชอบทำกิจกรรมอย่างอื่น ๆ เกือบทั้งหมดมากกว่าดูแลลูกของตนแต่ในนัยกลับกัน การรายงานระดับความสุขของพ่อแม่กลับสูงกว่าผู้ที่ไม่ใช่พ่อแม่แต่นี่อาจจะเป็นเพราะว่าคนที่มีความสุขมากกว่าอยู่แล้วจะมีลูกมากกว่านอกจากนั้นแล้ว อาจจะเป็นเพราะว่า ในระยะยาว การมีลูกให้ความหมายในชีวิตมากกว่า[65][66]งานศึกษาหนึ่งพบว่า การมีลูกจนถึง 3 คนเพิ่มความสุขในผู้ที่แต่งงาน แต่ผลไม่เป็นเช่นนั้นในกลุ่มอื่น ๆ[67]คนที่สนับสนุนแนวคิดให้ไม่มีลูกยืนยันว่า นี่เป็นเพราะว่าบุคคลสามารถมีชีวิตที่มีความสุข ที่ก่อประโยชน์ได้โดยไม่ต้องลำบากเป็นพ่อเป็นแม่

โดยเปรียบเทียบกัน มีงานศึกษาหลายงานที่พบว่า การมีลูกทำให้พ่อแม่มีความสุขน้อยลง เมื่อเทียบกับบุคคลที่ไม่ใช่พ่อแม่ ผู้ที่มีลูกมีความอยู่เป็นสุขและความพอใจในชีวิตในระดับที่ต่ำกว่า[68]นอกจากนั้นแล้ว พ่อแม่รายงานว่ารู้สึกเศร้าซึม[64]และวิตกกังวลมากกว่า[69]แต่ว่า ถ้าเปรียบเทียบผู้ใหญ่ที่ไม่มีลูกกับพ่อแม่ที่ลูกโตออกจากบ้านไปแล้ว การเป็นพ่อแม่สัมพันธ์กับความเป็นสุขทางใจ[64]

คนอเมริกันพบว่า การเป็นพ่อแม่ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 ทำให้เครียดมากกว่าในช่วง 1950ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเพราะความเปลี่ยนแปลงทางสังคมเกี่ยวกับงานอาชีพและชีวิตแต่งงาน[69]ชัดเจนว่า ชายมีความสุขน้อยลงหลังจากมีลูกเนื่องจากความกดดันทางการเงินและหน้าที่ของพ่อ[63]ปัญหาระหว่างคู่สมรสอาจจะเกิดขึ้นเมื่อไม่อยากจะทำหน้าที่ตามประเพณี หรือว่ามีบทบาทหน้าที่ที่ต้องทำมากขึ้น[63]ความรับผิดชอบในการเลี้ยงลูกที่ไม่เท่ากันระหว่างชายหญิงดูเหมือนจะเป็นเหตุของความแตกต่างของความยินดีพอใจนี้คือพ่อที่ทำงานด้วย และมีหน้าที่เลี้ยงลูกที่เท่า ๆ กันด้วย มีความยินดีน้อยที่สุด[70]และงานวิจัยก็พบว่า พ่อหรือแม่ที่เลี้ยงลูกโดยลำพังเครียดมากกว่า และรายงานว่ามีปัญหาทางจิตมากกว่าพ่อแม่ที่ยังอยู่ด้วยกัน[64]

การแต่งงาน

ศ. เซลิกแมนได้เขียนไว้ว่า "โดยที่ไม่เหมือนเงินซึ่งมีผลอย่างมากก็นิดเดียว การแต่งงานสัมพันธ์อย่างมีกำลังกับความสุข... (แต่ว่า) ในความคิดของผม ยังไม่ชัดเจนว่าอะไรเป็นเหตุของความจริงที่ผ่านการทดสอบแล้วว่า บุคคลที่แต่งงานมีความสุขกว่าบุคคลที่ไม่ได้แต่ง"[19]:55-56คือ บุคคลที่แต่งงานรายงานว่ามีความสุขและความอยู่เป็นสุขในระดับที่สูงกว่าคนโสด[71]

ส่วนงานวิจัยอื่นแสดงว่า ความสุขของบุคคลขึ้นอยู่กับความสุขของคู่สมรสและเมื่อถาม คู่สมรสจะรายงานระดับความสุขในระดับใกล้ ๆ กันงานวิจัยยังพบด้วยว่า ระดับความสุขของคู่สมรสจะผันแปรไปเหมือน ๆ กันถ้าสามีรายงานว่า เป็นสัปดาห์ที่ไม่ดี ภรรยาก็จะรายงานคล้าย ๆ กัน[72]มีข้อมูลน้อยมากในแบบการมีคู่อย่างอื่น ๆ เช่น การมีคู่ครองหลายคน (polyamory) แม้ว่า งานศึกษาหนึ่งจะพบว่า ลำดับการเป็นภรรยาไม่มีผลสำคัญต่อความยินดีพอใจในชีวิตแต่งงานโดยทั่วไป[73]แต่รายงานนี้พบว่า ภรรยาที่อายุน้อยกว่ามีความสุขกว่าภรรยาที่แก่กว่า

แต่งานศึกษาขนาดใหญ่ปี 2003 งานหนึ่งในประเทศเยอรมนีไม่พบความแตกต่างของความสุขระหว่างคนที่แต่งงานหรือไม่ได้แต่งงาน[74]แต่ว่าก็มีงานศึกษาต่าง ๆ ที่พบว่า บุคคลที่มีคู่สมรสมีความสุขสม่ำเสมอกว่าและพอใจในชีวิตมากกว่าบุคคลที่เป็นโสด[75]และมีงานศึกษาอื่นที่แสดงว่า การแต่งงานเป็นตัวพยากรณ์ที่สำคัญเป็นพิเศษอย่างเดียวต่อความยินดีพอใจในชีวิตทั้งในหญิงและชาย แต่ว่า บุคคลที่ยินดีพอใจในชีวิตมากกว่าก่อนแต่งงาน มักจะมีชีวิตแต่งงานที่สุขมากกว่า[76]

สิ่งที่น่าแปลกใจอย่างหนึ่งก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างการแต่งงานกับการอยู่เป็นสุขได้ลดลงเรื่อย ๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1970เนื่องจากหญิงรายงานว่า มีความสุขน้อยกว่าที่เคยเป็นมาก่อน และชายที่เป็นโสดรายงานว่ามีความสุขมากกว่าที่เคยเป็นมาก่อน[77]

ทฤษฎีหนึ่งแสดงว่า ความรักมีสองปัจจัยคือ ความรักแบบเร่าร้อน (passionate) และความรักแบบเป็นเพื่อน (companionate)แบบเร่าร้อนมีลักษณะเป็นความโหยหาปรารถนาอย่างรุนแรงต่อคนที่รักซึ่งบ่อยครั้งประสบได้ผ่านความปิติยินดีหรือการมีเพศสัมพันธ์ หรือแม้แต่การถูกบอกปัดโดยเปรียบเทียบกัน ความรักฉันเพื่อนสัมพันธ์กับความรักความชอบใจ ความเป็นมิตร และการให้คำมั่นสัญญาต่อกันและกันตามทฤษฎีนี้ ทั้งความรักแบบเร่าร้อนและแบบฉันเพื่อนเป็นรากฐานของความรักทุกอย่างที่บุคคลหนึ่ง ๆ อาจจะประสบ[78]

บุคลิกภาพ

ศ. ดร. เอ็ด ไดเนอร์ (ฉายา ดร. ความสุข) และคณะ เสนอสมการนี้ว่า อารมณ์เชิงบวก - อารมณ์เชิงลบ = ความอยู่เป็นสุขที่เป็นอัตวิสัย (subjective well-being)เนื่องความโน้มเอียงในการมีอารมณ์เชิงบวกมีสหสัมพันธ์ ที่ 0.8 กับบุคลิกภาพแบบหาความพอใจนอกตัว (extraversion) และความโน้มเอียงที่จะมีอารมณ์เชิงลบแทบจะไม่ต่างกับบุคลิกภาพแบบ neuroticism ดังนั้น สมการที่แสดงก่อนสามารถเขียนได้ว่า extraversion - neuroticism = ความสุขลักษณะทางบุคลิกภาพสองอย่างนี้อาจจะอธิบายความแตกต่างของความสุขระหว่างบุคคลได้ถึง 50% - 75%[79]โดยคุณลักษณะเหล่านี้มาจากทฤษฎีลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่าง

บุคคลที่มีความเสถียรทางอารมณ์ (ที่ตรงข้ามกับ neuroticism) มีสหสัมพันธ์ในระดับดีกับความสุขความเสถียรทางอารมณ์ไม่ใช่ทำให้บุคคลโน้มเอียงไปทางอารมณ์เชิงลบน้อยลงเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวพยากรณ์เชาวน์ปัญญาทางสังคม (social intelligence) ที่ดีอีกด้วย ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่ช่วยบริหารความสัมพันธ์กับผู้อื่น (ซึ่งสำคัญต่อการมีความสุข)[41]ดังนั้น การสร้างและพัฒนาพื้นอารมณ์ (temperament) แบบหาความพอใจนอกตัว อาจจะสัมพันธ์กับความสุขในลักษณะเดียวกัน คือ เพราะช่วยสร้างความสัมพันธ์และกลุ่มญาติเพื่อนฝูงที่ให้ความช่วยเหลืออุปถัมภ์

คนบางคนอาจจะโชคดีกว่าคนอื่น ในมุมมองของทฤษฎีบุคลิกภาพทางจิตวิทยาเพราะว่ามีงานศึกษาทางพันธุกรรมที่แสดงว่า ยีนที่บ่งลักษณะบุคลิกภาพโดยเฉพาะก็คือ การหาความพอใจในสิ่งภายนอก (extraversion) ความไม่เสถียรทางอารมณ์ (neuroticism) ความพิถีพิถัน (conscientiousness) และปัจจัยทั่วไปอีกอย่างหนึ่งที่เชื่อมลักษณะบุคลิกภาพทั้ง 5 สามารถใช้อธิบายถึงการสืบทอดทางพันธุกรรมของความรู้สึกอยู่เป็นสุขที่เป็นอัตวิสัยได้[80]ส่วนงานวิจัยไม่นานมานี่เสนอว่า มียีนความสุข คือ 5-HTT[81]

ความสัมพันธ์ทางสังคม

ศ. แผนกจิตเวชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดท่านหนึ่ง (George Eman Vaillant) สรุปงานศึกษาหนึ่งไว้ว่า อะไรในชีวิตเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการ "มีชีวิตอย่างประสบผลสำเร็จ"คือในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1940 นักวิชาการอีกท่านหนึ่งได้เริ่มงานศึกษาที่เลือกนักศึกษาของมหาวิทยาลัย 268 คนที่จบการศึกษาในปี 1942 1943 และ 1944โดยพยายามระบุปัจจัยในชีวิตที่ส่งเสริมการ "มีชีวิตอย่างประสบผลสำเร็จ"ต่อมาในปี 1967 ศ. เวแลนท์จึงได้สืบต่อการศึกษานี้ โดยติดตามสัมภาษณ์สำรวจผลสำเร็จในชีวิตของศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเหล่านั้นและก็ได้สัมภาษณ์อีกในปี 2000โดยพบว่า ปัจจัยที่สำคัญคือ สุขภาพ ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด และวิธีการแก้ไขปัญหาของศิษย์เก่าเหล่านั้นดังนั้น กุญแจสำคัญอย่างหนึ่งในการมีชีวิตที่สำเร็จผลที่ ศ. เวแลนท์ได้พบก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ดีและเข้มแข็ง[82]

ส่วนงานศึกษาปี 2008 ที่มีชื่อเสียงที่พิมพ์ในวารสาร เดอะ บีเอ็มเจ รายงานว่าความสุขที่พบในเครือข่ายสังคม อาจสามารถแพร่กระจายจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกอีกคนหนึ่ง[83]คือนักวิจัยได้ติดตามบุคคลจำนวน 5,000 คนเป็นเวลา 20 ปีโดยเป็นส่วนของงานศึกษาโรคหัวใจขนาดใหญ่ (Framingham Heart Study) แล้วพบว่า ทั้งความสุขและความทุกข์กระจายไปในบุคคลเป็นกลุ่ม ๆ โดยอาจจะกระจายจากบุคคลหนึ่งไปยังคนอีก 3 คนสืบต่อกันโดยมักจะกระจายไปตามความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างเพื่อน พี่น้อง สามีภรรยา และเพื่อนบ้านติด ๆ กันและนักวิจัยรายงานว่า ความสุขกระจายไปอย่างสม่ำเสมอกว่าความทุกข์ภายในเครือข่ายนอกจากนั้นแล้ว โครงสร้างของเครือข่ายสังคมปรากฏว่ามีอิทธิพลต่อความสุข คือ บุคคลที่อยู่กลางเครือข่าย (คือคนที่มีเพื่อน และเพื่อนของเพื่อนมาก) มีความสุขอย่างสำคัญมากกว่าคนที่อยู่ที่ขอบ ๆบุคคลที่สนิทสนมกับคนอื่นมีโอกาสมากว่าที่จะมีความสุข[83]ดังนั้น โดยทั่วไปแล้ว ผลงานศึกษาแสดงว่า ความสุขอาจจะกระจายไปในกลุ่มบุคคลได้เหมือนกับไวรัส[84][85]การมีเพื่อนรักจะช่วยบรรเทาประสบการณ์ร้าย ๆ ในชีวิต เมื่ออยู่กับเพื่อนรัก ระดับฮอร์โมนความเครียดคือคอร์ติซอลจะลดลง และความรู้สึกว่าตนมีค่าจะสูงขึ้น[86]

นักเศรษฐศาสตร์ประสาทคนหนึ่ง (Paul Zak) ศึกษาในเรื่องศีลธรรม ฮอร์โมน oxytocin และความไว้เนื่อเชื่อใจในบุคคลต่าง ๆโดยอาศัยข้อมูลของงานศึกษา ผู้วิจัยแนะนำให้กอดคนอื่นบ่อยขึ้นเพื่อจะได้นิสัยไว้ใจผู้อื่นเขาอธิบายว่า "กอด 8 ครั้งต่อวัน (แล้ว) คุณจะมีความสุขขึ้น และโลกก็จะเป็นที่ที่ดีขึ้นด้วย"[87]และงานศึกษาในปี 2012 ก็พบว่า ความเป็นที่ชื่นชอบของสมาชิกในกลุ่มสังคมที่พบกันตัวต่อตัว (sociometric status) เป็นเหตุสำคัญต่อความสุขที่วัดโดยการแจ้งความอยู่เป็นสุขของตนเอง (subjective well-being)[88]

ภูมิอากาศ

มีหลักฐานบ้างว่าภูมิอากาศที่เห็นพระอาทิตย์มากกว่าไม่เป็นตัวพยากรณ์ความสุขที่ดีงานศึกษาหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งคนแคลิฟอร์เนียและคนรัฐทางทิศเหนือตอนกลางของประเทศ (Midwestern) คาดว่า คนแคลิฟอร์เนียจะมีความสุขกว่าเนื่องจากมีภูมิอากาศที่โปร่งใสกว่าแต่จริง ๆ แล้ว คนในเขตทั้งสองรายงานความสุขที่ไม่ได้แตกต่างกันอย่างสำคัญ[28]ส่วนนักวิจัยอื่น ๆ กล่าวว่า การตากแดดอย่างน้อยที่สุดเพื่อสุขภาพต่อวันก็เพียงแค่ 30 นาที[89]แต่ว่า นี่ไม่ได้หมายความว่า ภูมิอากาศจะไม่เป็นปัจจัยต่อความสุขโดยประการทั้งปวงเป็นไปได้ว่า การเปลี่ยนแปลงปกติของแสงอาทิตย์ก่อให้เกิดความซึมเศร้า (ที่เรียกว่า seasonal affective disorder) ซึ่งบั่นทอนความสุข

ศาสนา

ศาสนาและความเชื่อทางจิตวิญญาณเป็นเรื่องที่ใกล้เคียงกันแต่อาจเป็นประเด็นต่าง ๆ กันคือ ศาสนาอาจจะเรียกได้ว่า เป็นระเบียบการปฏิบัติและความเชื่อตามวัฒนธรรมที่จัดตั้งเป็นระบบ และบ่อยครั้งจัดตั้งเป็นสถาบัน โดยมีเป้าหมายในเรื่องเกี่ยวกับการเกิดเป็นมนุษย์และมักจะเกิดขึ้นในพื้นเพประเพณีต่าง ๆ เช่น สถาบันศาสนาต่าง ๆ ที่พบในประวัติศาสตร์[90]

ส่วนความเชื่อทางจิตวิญญาณ (Spirituality) หมายถึงกระบวนการสืบหาความหมายและความเข้าใจเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับตนที่อยู่ในจักรวาลอันกว้างใหญ่เป็นการสืบหาโดยบุคคลหรือโดยกลุ่มว่า อะไรควรเป็นสิ่งที่เคารพยำเกรงหรือเป็นสิ่งที่ให้ความหมายในชีวิต[91]ดังนั้น บุคคลหนึ่งอาจจะเชื่อในศาสนาแต่ไม่เชื่อในเรื่องจิตวิญญาณ หรือว่า อาจจะเชื่อในเรื่องจิตวิญญาณแต่ไม่เชื่อในเรื่องศาสนา

มักจะมีหลักฐานว่า ความเชื่อทางศาสนามีสหสัมพันธ์กับสุขภาพที่ดีผู้ที่มีศรัทธาในศาสนามักจะมีความเป็นสุขทางใจที่ดีกว่า ทำผิดกฎหมายน้อยกว่า ติดเหล้าและยาน้อยกว่า และมีปัญหาทางสังคมอื่น ๆ น้อยกว่า[92]มีปัจจัย 6 อย่างที่อ้างว่าเป็นเหตุของความอยู่เป็นสุขเพราะเหตุแห่งศาสนาคือ (1) ช่วยสร้างกลุ่มสังคม (2) อุปถัมภ์การใช้ชีวิตที่ถูกสุขภาพ (3) ส่งเสริมลักษณะทางบุคลิกภาพที่ประสานกันดี (4) อุปถัมภ์ความคิดสร้างสรรค์และการเห็นประโยชน์ของผู้อื่น (5) ให้กลยุทธ์ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ และ (6) ให้ความหมายและเป้าหมายในชีวิต[93]

บุคคลที่เชื่อในศาสนาจำนวนมากประสบกับอารมณ์ที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกกับคนอื่น ๆ และช่วยให้สามารถแสดงค่านิยมและศักยภาพของตน ๆรวมทั้ง (1) ความยินดีพอใจในสิ่งที่ตนได้รับหรือจะได้รับ (2) การให้อภัย (3) ความเมตตากรุณาและความเห็นใจผู้อื่น และ (4) ความถ่อมตนหรือการยอมรับตน[90]:235-252การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเป็นส่วนของประสบการณ์ทางศาสนายังมีหลักฐานด้วยว่า ในคนไข้บาดเจ็บ ความเชื่อในศาสนาสัมพันธ์กับพฤติกรรมที่อำนวยความสัมพันธ์ทางสังคม และพฤติกรรมเช่นนั้นสัมพันธ์กับความอยู่เป็นสุข[94]นอกจากนั้นแล้ว บุคคลที่มีกรรมพันธุ์ที่ทำให้ไวความรู้สึกทางสังคม จะอยู่เป็นสุขมากกว่าในสถานการณ์ที่ศาสนาให้ความสำคัญต่อความเกี่ยวพันกับบุคคลอื่น ๆ[95]

ศาสนายังทำให้สามารถฟื้นตัวจากความเครียดได้ง่าย[96]ทำให้รู้สึกว่าตนสามารถเข้าถึงศักยภาพของตน (self-actualization) ได้ดีขึ้น[97]และก่อความสำเร็จในความสัมพันธ์แบบคู่ชีวิตและโดยเป็นพ่อแม่[98]

ประโยชน์เหล่านี้ อาจเกิดขึ้นเนื่องจากเกี่ยวข้องกับศาสนามากขึ้นการมีกลุ่มสังคมที่มั่นคงน่าจะมีบทบาทสำคัญต่อผลดีของศาสนาการบำบัดทางจิตวิทยาอย่างหนึ่งใช้ศาสนาคริสต์เพื่อโปรโหมตสุขภาพทางใจที่ดีขึ้น[99]

ส่วนในงานศึกษาอีกงานหนึ่งที่สอนแนวคิดทางพุทธศาสนากับผู้ที่ไม่ใช่คนพุทธ ปรากฏกว่าบุคคลเหล่านี้ได้คะแนนมากขึ้นในการยอมรับคนในกลุ่มอื่น ๆ และในการมีพฤติกรรมที่อำนวยความสัมพันธ์ทางสังคม[100]และผลที่ว่านี้ไม่ใช่มีแต่ในประเทศตะวันตกเท่านั้น แต่ในที่ที่ศาสนาพุทธแพร่หลายด้วย ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ของศาสนาพุทธกับการยอมรับคนอื่น ๆ ที่ดีกว่างานศึกษานี้ดูจะแสดงว่า เพียงแค่ได้ประสบกับระบบความเชื่อเช่นศาสนาพุทธสามารถให้เกิดผลดีในบุคคลที่ไม่ได้เชื่อในศาสนานั้นได้

แต่ว่า มีนักวิชาการจำนวนมากที่ไม่เห็นด้วยว่า ประโยชน์ที่พบเป็นผลจากความเชื่อทางศาสนา และบางท่านคิดว่าไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนเลยว่าความเชื่อมีประโยชน์อะไรยกตัวอย่างเช่น ผลทางสุขภาพของผู้มีอายุที่ได้จากการไปโบสถ์ความจริงอาจจะเป็นเพียงเพราะตนสามารถไปโบสถ์ได้ เพราะว่า คนที่สุขภาพไม่ดีไม่สามารถออกไปนอกบ้านได้งานวิเคราะห์อภิมานพบว่า งานวิจัยที่อ้างว่ามีประโยชน์ที่ได้จากความเชื่อในศาสนาบ่อยครั้งไม่ได้แสดงข้อมูลที่ได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ โดยมีปัญหาต่าง ๆ เช่น ความเอนเอียงเนื่องจากการรายงานผลด้วยตนเอง (self-report bias) การใช้กลุ่มเปรียบเทียบที่ไม่สมควร และการมีกฎเกณฑ์ที่ไม่เป็นกลาง[101]และก็มีการศึกษาอื่นที่คัดค้านการสวดมนต์เพื่อประโยชน์ทางสุขภาพแก่คนอื่นโดยแสดงว่า เมื่อใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์อย่างเคร่งครัด (เช่น โดยจัดคนไข้เข้ากลุ่มโดยสุ่ม และป้องกันไม่ให้คนไข้รู้ว่ามีคนสวดมนต์ให้ตนหรือไม่) หลักฐานก็จะแสดงว่าไม่มีผลอะไร[102][103]

ดังนั้น จึงปรากฏว่าศาสนาเป็นสิ่งที่ช่วยประสานสังคม แต่ว่า ศาสนามีประโยชน์ในทุกเวลาทุกสถานการณ์หรือไม่ยังเป็นเรื่องที่ยังไม่มีคำยุติและไม่ว่าจะเป็นความเชื่อเช่นไร แต่หลาย ๆ คนก็พบว่า การเป็นสมาชิกในกลุ่มที่ใกล้ชิดกันช่วยลดความวิตกกังวลและปัญหาทางจิตอื่น ๆนอกจากนั้นแล้ว ยังอาจมีความเอนเอียงอย่างอื่นที่เกิดจากการเลือกตนเองของบุคคลที่เชื่อในเรื่องศาสนาดังนั้น ประโยชน์ทางพฤติกรรมที่ปรากฏอาจจะเป็นลักษณะที่คล้าย ๆ กันในบุคคลที่เลือกหรือสามารถปฏิบัติตามคำสอนทางศาสนาได้และดังนั้น การใช้คำสอนทางศาสนาโดยวิทยาศาสตร์เพื่อปรับปรุงตนให้มีความสุขขึ้นยังเป็นเรื่องที่ไม่ชัดเจน

ความเชื่อทางจิตวิญญาณ

มีคนหลายคนที่เรียกตนเองว่าเชื่อคำสอนทั้งทางศาสนาและทางจิตวิญญาณ แต่ความเชื่อทางจิตวิญญาณเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของศาสนาคือ "ความเชื่อทางจิตวิญญาณ (spirituality)" ตามการศึกษาทางจิตวิทยาเชิงบวก นิยามได้ว่าเป็น "การสืบหาสิ่งที่ควรเคารพ/สิ่งศักดิ์สิทธิ์"[104]สิ่งศักดิ์สิทธิ์อาจจะเกี่ยวข้องกับพระเจ้า เกี่ยวกับชีวิต หรือเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการมีชีวิตอยู่คือ ต้องมองว่าเป็นอะไรทางจิตวิญญาณที่อยู่นอกเหนือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง[105]

ความเป็นสุขทางจิตวิญญาณแก้ปัญหาความต้องการของมนุษย์ที่จะมีอุตรภาพ และเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ที่ดีทางสังคมและในการมีชีวิตอยู่ความเป็นสุขทางจิตวิญญาณสัมพันธ์กับผลดีต่าง ๆ เช่น มีสุขภาพทางกายและทางจิตที่ดีกว่า วิตกกังวลน้อยกว่า เศร้าซึมน้อยกว่า เข้าถึงศักยภาพของตนได้ (self-actualization) มีความสัมพันธ์ที่ดีกับบิดามารดา มีลักษณะทางบุคลิกภาพที่ดีในระดับที่สูงกว่า และยอมรับความจริงได้ดีกว่า[106]แต่นี่ไม่ใช่เป็นความสัมพันธ์แบบเป็นเหตุงานวิจัยที่ศึกษาเรื่องความเชื่อทางจิตวิญญาพร้อมกับศีลธรรม (เช่น ความรัก ความเมตตา เป็นต้น) รายงานว่าผลที่พบของความเชื่อทางจิตวิญญาณ อธิบายโดยศีลธรรมได้ดีกว่า[107]

การค้นหาสิ่งศักดิ์สิทธิ์โดยเป็นจุดมุ่งหมายส่วนตัว ปรากฏว่าสัมพันธ์กับการอยู่เป็นสุขในระดับสูงสุดเทียบกับการพยายามเพื่อจุดมุ่งหมายส่วนตัวอื่น ๆ[108]การค้นหาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยปรับปรุงความรู้สึกเกี่ยวกับตน สนับสนุนความสัมพันธ์กับผู้อื่น และสร้างความเป็นอันเดียวกันกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่เหนือตน[105]นอกจากนั้นแล้ว งานศึกษาต่าง ๆ ยังแสดงว่า ความเชื่อทางจิตวิญญาณที่ผู้ตอบรายงานเองสัมพันธ์กับอัตราการตายและความเศร้าซึมที่ต่ำกว่า และอัตราความสุขที่สูงกว่า[109][110][111]

ในปัจจุบัน งานวิจัยโดยมากเป็นเรื่องวิธีการที่ความเชื่อทางจิตวิญญาณสามารถช่วยในยามวิกฤติและพบว่า ความเชื่อทางจิตวิญญาณจะดำรงความสม่ำเสมอแม้เมื่อบุคคลประสบกับเหตุการณ์ที่ทำให้บอบช้ำทางจิตใจหรือทำให้เกิดความเครียด เช่น อุบัติเหตุ สงคราม ความเจ็บป่วย หรือการเสียชีวิตของบุคคลที่รักเมื่อประสบอุปสรรค บุคคลอาจจะหันไปใช้การสวดมนต์หรือการนั่งสมาธิกลไกรับมือปัญหา (Coping) ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับจิตวิญญาณรวมทั้งการอบรมจิตใจแบบพิจารณา การสร้างขอบเขตเพื่อที่จะดำรงรักษาไว้ซึ่งสิ่งที่ควรเคารพ/สิ่งศักดิ์สิทธิ์ การทำจิตใจให้บริสุทธิ์เพื่อกลับไปดำเนินตามทางที่ถูกต้อง และการสร้างกรอบทางจิตใจใหม่โดยมุ่งจะดำรงรักษาความเชื่อการประยุกต์แนวคิดทางจิตวิญญาณและทางจิตวิทยาเชิงบวกก็คือ psychospiritual intervention (การแทรกแซงทางจิตวิญญาณ) ซึ่งเป็นแนวคิดว่า ความเชื่อทางจิตวิญญาณควรจะเพิ่มความอยู่เป็นสุข[105]นักวิจัยพบว่า กลไกรับมือปัญหาที่มุ่งหมายจะดำรงรักษาสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพิ่มความอยู่เป็นสุขและส่งบุคคลคืนไปยังสิ่งศักดิ์สิทธิ์[105]

โดยทั่วไปแล้ว ความเชื่อทางจิตวิญญาณเป็นกระบวนการที่ดำเนินไปตลอดชีวิตรวมทั้งการสืบหา การดำรงรักษา และการพิจารณาใหม่ว่าอะไรเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยเป็นกระบวนการที่เจาะจงเฉพาะบุคคล ๆแต่ว่า ความเชื่อทางจิตวิญญาณก็พบว่าสัมพันธ์กับเหตุการณ์ร้ายและความเปลี่ยนแปลงเชิงลบอื่น ๆ ในชีวิตได้เหมือนกันดังนั้น แม้ว่าในปัจจุบันยังขาดงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องจิตวิญญาณอยู่ แต่ก็เป็นเรื่องจำเป็นเพราะสามารถช่วยปรับปรุงประสบการณ์ในชีวิตที่ควบคุมไม่ได้[ต้องการอ้างอิง]

วัฒนธรรม

วัฒนธรรมต่าง ๆ มีมุมมองเกี่ยวกับความเป็นอยู่ดีของมนุษย์ที่ไม่เหมือนกันยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยในความระแวงเรื่องความสุข (aversion to happiness) หรือการกลัวความสุข แสดงว่า บุคคลบางคนหรือในบางวัฒนธรรมระแวงการมีความสุข เพราะเชื่อว่า ความสุขอาจเป็นเหตุให้เกิดเหตุการณ์ร้าย ๆ[112]หลักฐานเชิงประสบการณ์แสดงว่า มีความแตกต่างอย่างสำคัญว่าอะไรเป็นความเป็นอยู่ที่ดีระหว่างวัฒนธรรมชาวตะวันตกและวัฒนธรรมอื่น ๆ รวมทั้ง ของคนอิสลามและของคนเอเชียตะวันออก\[113]งานวิจัยปี 2014 ตรวจสอบมุมมองของวัฒนธรรมต่าง ๆ เกี่ยวความอยู่เป็นสุข แล้วระบุและอธิบายความแตกต่างกว้าง ๆ 6 อย่างระหว่างแนวคิดชาวตะวันตกและอื่น ๆยกตัวอย่างเช่น ในขณะที่วัฒนธรรมตะวันตกมักจะเน้นการปราศจากอารมณ์เชิงลบและอิสรภาพในการกำหนดว่าอะไรเป็นการอยู่เป็นสุขด้วยตนเอง วัฒนธรรมตะวันออกมักจะเน้นกิจกรรมทางศีลธรรมหรือทางศาสนา การเข้าถึงสภาวะที่เหนือตน (self-transcendence) และความกลมกลืนสามัคคีกันทางสังคม[114]

นักวิจัยเชื้อสายคนเอเชียตะวันออกคู่หนึ่งที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียและมหาวิทยาลัยมินนิโซตาตรวจสอบความแตกต่างของความสุขในระดับสากล และมุมมองของวัฒนธรรมต่าง ๆ ว่าอะไรเป็นตัวสร้างความอยู่เป็นสุข (well-being) และความสุข (happiness)ในงานศึกษาหนึ่งที่ทำกับนักเรียนนักศึกษา 6,000 คนจาก 43 ประเทศเพื่อกำหนดความยินดีพอใจในชีวิตโดยเฉลี่ยโดยให้คะแนนระหว่าง 1-7 คนจีนมีคะแนนต่ำที่สุดที่ 3.3และคนดัตช์ได้คะแนนสูงสุดที่ 5.4และเมื่อถามว่าความเป็นอยู่ที่ดีตามที่รู้สึกเอง (subjective well-being) โดยอุดมคติควรจะอยู่ที่ระดับเท่าไร คนจีนให้คะแนนต่ำที่สุดที่ 4.5 และคนบราซิลสูงสุดที่ 6.2 โดยมีคะแนนระหว่าง 1-7 เช่นกันงานศึกษาแสดงผลหลัก 3 อย่าง คือ(1) ผู้ที่ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมที่เน้นความเป็นตัวของตัวเอง ไม่ใช่เน้นค่านิยมทางสังคม มีความสุขมากกว่า(2) ลักษณะทางจิตที่มุ่งหมายบุคคลโดยเฉพาะ ๆ เป็นเรื่องเกี่ยวกับคนตะวันตกมากกว่า(3) การประเมินระดับความสุขของตนขึ้นอยู่กับค่านิยมและประสบการณ์ที่ได้จากสังคม[115]

ส่วนงานศึกษาอีกงานหนึ่งแสดงว่า คนอเมริกันเชื้อสายเอเชียและคนผิวขาวมีระดับการมองโลกในแง่ดี (optimism) คล้าย ๆ กัน แต่คนอเมริกันเชื้อสายเอเชียมีระดับการมองโลกในแง่ร้าย (pessimistic) มากกว่าคนผิวขาวแต่งานศึกษาไม่พบความแตกต่างของความซึมเศร้าในวัฒนธรรมต่าง ๆและโดยเปรียบเทียบกันแล้ว การมองโลกในแง่ร้ายสัมพันธ์ในเชิงบวกกับพฤติกรรมการแก้ปัญหาในคนอเมริกันเชื้อสายเอเชีย แต่สัมพันธ์ในเชิงลบสำหรับคนอเมริกันผิวขาว[43]:53

มุมมองทางการเมือง

นักจิตวิทยาที่ค้นคว้าเรื่องความสุขรู้สึกว่า ระบบการเมืองควรจะโปรโหมตความสุขของประชากรรัฐบาลควรที่จะพิจารณาระดับความสุขของประชากรในรุ่นต่อ ๆ ไป ควรดำเนินการในเรื่องการคาดหมายคงชีพ (expectancy) และควรพุ่งความสนใจไปที่การลดระดับความทุกข์ของประชาชน[116]อาศัยการศึกษาจุดยืนทางการเมือง งานวิจัยบางงานอ้างว่า คนอนุรักษนิยมโดยทั่วไปมีความสุขกว่าคนเสรีนิยมโดยให้คำอธิบายที่อาจเป็นไปได้ว่า การยอมรับความแตกต่างกันในเรื่องรายได้ในสังคมได้ทำให้เป็นคนวิตกกังวลน้อยกว่า[117]รองศาสตราจารย์ทางจิตวิทยาคนหนึ่งกล่าวว่า การมีมุมมองทางการเมืองที่ชัดเจนเป็นเรื่องสำคัญเพราะว่า เป็นมุมมองทางโลกอย่างหนึ่ง โดยนัยเดียวกันกับมุมมองทางศาสนา ที่สามารถช่วยให้รับมือกับความวิตกกังวลในเรื่องความตาย (death anxiety)[118][119][120]

การติด

สามารถพูดได้ว่า คนบางพวกทำอะไรง่าย ๆ แต่ไม่สมควรเพื่อที่จะรู้สึกดีความรู้สึกดีนั้นเป็นปัญหาส่วนหนึ่งก็เพราะว่า ไม่ต้องพยายามทำอะไรอย่างอื่นสิ่งที่ไม่สมควรก็อย่างเช่น ช็อปปิ้ง ยาเสพติด ช็อกโกแลต การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ประกอบไปด้วยความรัก และการดูโทรทัศน์ ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่สามารถเป็นปัญหาเพราะทำให้ติดได้คือ เมื่อความสุขมาได้ง่าย ๆ ความจริงมันอาจจะมาพร้อมกับราคาที่เรายังไม่รู้และจะปรากฏขึ้นก็ต่อเมื่อวิธีการเดียวที่จะมีความสุขได้ก็โดยการทำสิ่งเหล่านั้น ซึ่งบางครั้งเรียกได้ว่าเป็นการติด[121]งานทบทวนวรรณกรรมในปี 2012 เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ผลงานวิจัยจากจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อแก้ปัญหายาเสพติดและสิ่งเสพติดอื่น ๆ ระบุปัจจัย 3 อย่างที่ช่วยให้บุคคลสามารถเจริญงอกงามและทำประโยชน์ให้แก่สังคมได้[121]

ปัจจัยอย่างที่หนึ่ง ก็คือ ชีวิตที่สบายใจ (Pleasant Life) หมายถึงการมีความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับชีวิตในอดีต ในปัจจุบัน และในอนาคตเพื่อที่จะยกตัวอย่าง นักวิจัยได้กล่าวถึงประเด็นนี้ร่วมกับการเสพสารเสพติดคือเหล้างานวิจัยแสดงว่า ชาวตะวันตกโดยมากสัมพันธ์การดื่มเหล้ากับความสุขแต่ว่าความสุขที่ได้จากการดื่มเหล้าเป็นความสุขทางกายที่เกิดขึ้นทันทีแต่อยู่ได้ไม่นานดังนั้น นักวิจัยต้องการชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ความรู้สึกดี ๆ อย่างเดียวไม่ได้หมายถึงการมีชีวิตที่ดี เพราะมีอะไรที่ยิ่งกว่านั้น

ปัจจัยที่สองก็คือ การมีชีวิตที่ไม่อยู่ว่าง (Engaged Life) เพราะสัมพันธ์กับลักษณะเชิงบวกต่าง ๆ ของบุคคล เช่นความแข็งแกร่งทางจิตใจ (character strength)ศ. เซลิกแมนได้ให้ตัวอย่างของความแข็งแกร่งทางจิตใจรวมทั้ง[122]ความกล้าหาญ ความซื่อตรง ความเป็นพลเมืองดี ความถ่อมตน ความรอบคอบระมัดระวัง ความยินดีพอใจในสิ่งที่มีที่ได้ และความหวัง ซึ่งล้วนแต่เป็นลักษณะที่มีระดับสูงขึ้นเมื่อฟื้นตัวจากภาวะเสพติดการตกลงสู่ภาวะการติด (สารเสพติดหรืออื่น ๆ) เป็นการแสดงความไม่แข็งแกร่งทางจิตใจแต่ว่า เมื่อกำลังดำเนินการเพื่อให้พ้นจากภาวะเสพติดเช่นนั้น ลักษณะที่ว่านั้น ๆ จะเพิ่มขึ้น

ปัจจัยที่สามก็คือ การมีชีวิตที่มีความหมาย (Meaningful Life) คือการทำงานอุทิศให้ และการเป็นสมาชิกขององค์กร/สถาบันที่ส่งเสริมลักษณะจิตเชิงบวกรวมทั้งครอบครัว ที่ทำงาน กลุ่มสังคม และสังคมโดยทั่วไปสมาชิกในกลุ่มเหล่านั้นจะเสริมสร้างให้มีอารมณ์เชิงบวก โปรโหมตความแข็งแกร่งทางจิตใจ ซึ่งสามารถช่วยทำให้พ้นจากสิ่งเสพติดได้[121]

ความทุกข์

งานวิจัยแสดงว่าเป็นไปได้ที่จะช่วยเหลือบุคคลที่กำลังประสบทุกข์โดยเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางจิตใจ

นอกจากนั้นแล้ว นักวิจัยที่สนใจในเรื่องการป้องกันพบว่า ความแข็งแกร่งทางจิตใจจะช่วยป้องกันโรคจิต

ความแข็งแกร่งที่เป็นเครื่องกันที่ดีรวมทั้ง ความกล้าหาญ การใส่ใจในอนาคต การมองโลกในแง่ดี ศรัทธาความเชื่อมั่น ความเชื่อในการทำกิจการงาน ความหวัง ความซื่อสัตย์ ความอุตสาหะ และสมรรถภาพในการสร้าง flow (คือประกอบกิจการงานด้วยสภาพทางใจที่มีสมาธิ ด้วยความยินดีพอใจ) และในการมองอะไรอย่างทะลุปรุโปร่ง[123]

ความเป็นทุกข์อาจจะเป็นตัวชี้ว่ายังมีพฤติกรรมที่ต้องเปลี่ยน หรือมีแนวคิดหรือไอเดียที่จำต้องใส่ใจและพิจารณาใหม่[124]โดยทั่วไปแล้ว นักจิตวิทยาเข้าใจว่า ความทุกข์ไม่สามารถกำจัดได้โดยสิ้นเชิง แต่ว่ามันเป็นไปได้ที่จะบริหารและลดความทุกข์ศูนย์จิตวิทยาเชิงบวกของมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียอธิบายว่า "จุดมุ่งหมายของจิตวิทยาเพื่อที่จะแก้ปัญหาของมนุษย์เป็นเรื่องที่เข้าใจได้และเป็นเรื่องที่ไม่ควรจะละทิ้งอย่างแน่นอน(เพราะว่า) ความทุกข์ของมนุษย์เรียกร้องให้มีทางออกที่มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์แต่ว่า ทั้งความทุกข์และความอยู่เป็นสุข ทั้งสองเป็นส่วนของมนุษย์ และนักจิตวิทยาควรจะใส่ใจในเรื่องทั้งสอง"[123]จิตวิทยาเชิงบวกซึ่งเป็นศาสตร์ที่ได้แรงจูงใจจากหลักฐานเชิงประสบการณ์ พุ่งความสนใจไปที่วิธีการแก้ปัญหาความทุกข์ที่ให้ผลดี และในการสร้างความแข็งแกร่งและศีลธรรมเพื่อลดระดับความทุกข์ให้ต่ำที่สุด[123][125]

ตามนักจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยโทรอนโต ดร. จอร์แดน ปีเตอร์สัน วาทะในพุทธศาสนาว่า "ชีวิตเป็นทุกข์" ควรจะเข้าใจว่าเป็นความจริงที่มนุษย์ต้องยอมรับ และเป็นคำที่เรียกร้องให้สร้างพัฒนาศีลธรรม (องค์ทะไลลามะในเมืองซีแอตเทิลในปี 1993)

เมื่อกล่าวถึงวาทะในพุทธศาสนาว่า "ชีวิตเป็นทุกข์" นักวิจัยและนักจิตวิทยาคลินิก ดร. จอร์แดน ปีเตอร์สัน เสนอว่า มุมมองนี้เป็นความจริง ไม่ใช่เป็นการมองโลกในแง่ร้าย แต่ว่าการยอมรับความจริงว่าชีวิตนั้นยากลำบาก จะให้อิสรภาพจากความคาดหวังที่ไม่สามารถเป็นจริงว่า บุคคลจะต้องสุขอยู่ตลอดความเข้าใจเยี่ยงนี้จะช่วยบริหารความทุกข์ที่จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอนสำหรับ ดร. ปีเตอร์สัน ศีลธรรมเป็นเรื่องสำคัญเพราะว่าเป็นอุปกรณ์สำคัญในการช่วยให้หลีกพ้นจากทุกข์ (คือ เป็นกำลังที่จะยอมรับความจริงที่ไม่ถูกใจ)ดร. ปีเตอร์สันยืนยันว่า ความทุกข์จะหนักขึ้นเพราะมีปรัชญาที่ไม่ตรงกับความจริง[126]

โดยนัยเดียวกัน ดร. เซลิกแมนเชื่อว่า จิตวิทยาเชิงบวกไม่ใช่เรื่องฟุ้งเฟ้อ โดยกล่าวว่า "จิตวิทยาเชิงบวกโดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องสำหรับเราทุกคน ไม่ว่าจะมีปัญหาหรือไม่ จะเป็นคนอภิสิทธิ์หรือไม่ เป็นคนกำลังทุกข์หรือไม่ความสุขที่ได้จากการสนทนาที่ดี, ความยินดีพอใจ (ในสิ่งที่มีอยู่สิ่งที่ได้) อย่างมีกำลัง, การได้ประโยชน์จากความเมตตา หรือปัญญา หรือความเชื่อทางจิตวิญญาณ หรือความถ่อมตน, การสืบหาความหมายในชีวิตและยาถอนพิษจากสถานการณ์ที่เป็น "การอยู่ไม่เป็นสุขจนกระทั่งตาย" เป็นสิทธิโดยกำเนิดสำหรับเราทุกคน"[127]

การรับมือปัญหาเชิงบวก (Positive coping) ได้รับนิยามว่า "การตอบสนองที่มีเป้าหมายในการลดภาระทางกาย ทางอารมณ์ และทางจิต ที่เชื่อมกับเหตุการณ์เครียดในชีวิตและความยุ่งยากในชีวิตประจำวัน"[128]มีงานวิจัยที่แสดงว่า กลยุทธ์ที่เหมาะสมในการรับมือกับปัญหาจะช่วยลดความเครียดในทั้งระยะสั้นและระยะยาวโดยสร้างทรัพยากรที่ช่วยระงับหรือบรรเทาปัญหาในอนาคตไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรทางกาย ทางจิตใจ หรือทางสังคม[128]

การเปลี่ยนแปลงของระดับความสุข

แดเนียล คาฮ์นะมัน

มนุษย์มีสมรรถภาพหลายอย่างรวมทั้งการปรับตัวต่อสุขารมณ์ (Hedonic Adaptation) ซึ่งเป็นแนวคิดว่า ความสวยงาม ชื่อเสียง และเงินทองโดยทั่วไปไม่มีผลที่คงยืนต่อความสุข (และบางครั้งเรียกว่า Hedonic treadmill)ตามแนวคิดนี้ งานวิจัยบางอย่างเสนอว่า เหตุการณ์เร็ว ๆ นี้เท่านั้น คือที่เกิดขึ้นภายใน 3 เดือนที่ผ่านมา มีผลต่อระดับความสุข[129]ความโน้มเอียงที่จะปรับตัว คือการคืนสู่ระดับความสุขที่เคยมีมาก่อน เห็นได้จากงานศึกษาที่แสดงว่า คนถูกรางวัลล็อตเตอรี่ไม่ได้มีความสุขในปีต่อ ๆ มาหลังจากถูกรางวัล[28]มีงานศึกษาที่แสดงว่าคนที่เป็นอัมพาตครึ่งล่าง เกือบจะมีความสุขเท่ากับกลุ่มควบคุมที่ปกติ[19]:48หลังจากที่เกิดเหตุการณ์ 2-3 ปีต่อมาโดยนักจิตวิทยาผู้ได้รับรางวัลโนเบล ดร. แดเนียล คาฮ์นะมันอธิบายว่า "พวกเขาไม่ใช่คนเป็นอัมพาตตลอดเวลา... (คือ) มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการใส่ใจ"ดังนั้น ตรงข้ามกับอคติของเราที่คิดว่าเหตุการณ์บางอย่างจะมีผลต่อความเป็นสุขของเราอย่างยาวนานเกินความจริง (impact bias) การถูกรางวัลล็อตเตอรี่หรือการเป็นอัมพาตครึ่งล่างไม่ได้เปลี่ยนแปลงประสบการณ์ของตนในระดับที่เราเชื่อ

แต่ว่า การปรับตัวอาจจะเป็นกระบวนการที่ช้าและไม่สมบูรณ์การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในชีวิต เช่น ความตายของคู่ชีวิต หรือการสูญเสียงาน สามารถมีผลต่อระดับความสุขเป็นระยะเวลาหลายปี[28]และแม้แต่คนเป็นอัมพาตครึ่งล่าง "ที่ปรับตัวแล้ว" ดังที่กล่าวมาแล้วความจริงก็ยังรายงานระดับความสุขที่ต่ำกว่าคนอื่น ๆ (แม้ว่า จะสุขมากกว่าที่เราคิด แต่ก็ไม่เท่ากับคนอื่น)[130]ดังนั้น การปรับตัวจึงเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน และแม้ว่ามันจะบรรเทาผลทางอารมณ์เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิต แต่มันก็ไม่ได้กำจัดผลอารมณ์เหล่านั้นทั้งหมด

ขีดตั้งความสุข

แนวคิดเกี่ยวกับขีดตั้งความสุข (happiness set point) ก็คือว่า คนโดยมากกลับคืนไปที่ระดับความสุขเฉลี่ย หรือขีดตั้งความนสุข หลังจากมีความสุขเพิ่มขึ้นหรือลดลงคนที่มีขีดตั้งไปทางอารมณ์เชิงบวกจะเป็นคนที่ร่าเริงโดยมาก และคนที่มีขีดตั้งไปในทางลบมักจะโน้มเอียงไปทางมองโลกในแง่ร้ายและความวิตกกังวลนักจิตวิทยาท่านหนึ่งพบว่า เราสามารถมีอิทธิพลต่อระดับการอยู่เป็นสุขโดยสร้างสิ่งแวดล้อมที่ก่อความสุขได้ง่าย[36]เหตุผลที่ความรู้สึกอยู่เป็นสุขเสถียรโดยมากก็เพราะอิทธิพลอันยิ่งใหญ่ของพันธุกรรมแม้ว่า เหตุการณ์ในชีวิตจะมีผลต่อความรู้สึกอยู่เป็นสุข คนโดยทั่วไปจะกลับไปสู่ที่ขีดตั้งความสุขของตน[43]:189

งานวิจัยหนึ่งพบว่า 24% ของผู้ร่วมงานวิจัยเปลี่ยนแปลงไปอย่างสำคัญในช่วง 5 ปีแรก และ 5 ปีหลังของงานคือ คนประมาณ 1/4 มีความอยู่เป็นสุขในช่วงเวลาหลายปีเปลี่ยนแปลงไป และบางครั้งความเปลี่ยนแปลงนั้นเหมือนกับอย่างละคร[131]ส่วนอีกงานหนึ่งพบว่า คนประมาณ 5-6% เพิ่มความยินดีพอใจในชีวิตอย่างสำคัญในช่วง 15-20 ปี และสิ่งที่บุคคลตั้งเป้าหมายทำ มีผลอย่างสำคัญต่อความยินดีพอใจในชีวิต[132]

เป้าหมายต่าง ๆ ในชีวิตสามารถจัดกลุ่มโดยประมาณได้เป็น 2 อย่าง ที่อาจเรียกว่า เป็นเป้าหมายที่ต้องแพ้ชนะ (zero-sum goal) และเป้าหมายที่หลายคนได้ประโยชน์การมีเป้าหมายที่หลายคนได้ประโยชน์สัมพันธ์กับความยินดีพอใจในชีวิต รวมการให้เวลากับครอบครัว เพื่อนฝูง ทำงานทางสังคมหรือการเมือง และการทำกิจเพื่อประโยชน์ผู้อื่นนี่เป็นเป้าหมายที่คนที่ทำและคนอื่น ๆ ทั้งสองได้ประโยชน์ส่วนเป้าหมายที่ต้องแพ้ชนะหมายถึงคนที่ทำได้ประโยชน์โดยผู้อื่นเสียประโยชน์ แต่เป้าหมายเช่นนี้ไม่ได้โปรโหมตความยินดีพอใจในชีวิต

ในสูตรที่ทำให้บุคคลหนึ่งมีความสุข เป็นเรื่องเหลวไหลที่จะโทษปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเดียว เพราะว่าปัจจัยทุกอย่างสำคัญ แต่ว่า เมื่อเปรียบเทียบความสุขของคนสองคน ปัจจัยหนึ่ง ๆ เช่นกรรมพันธุ์ สามารถอธิบายความแตกต่างแห่งความสุขได้ถึงครึ่งหนึ่ง

ศาสตราจารย์จิตวิทยาท่านหนึ่งที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียอ้างอาศัยงานวิจัยของตนอย่างคล้าย ๆ กันว่า ความสุขของบุคคลหนึ่ง ๆ เปลี่ยนแปลงไปรอบ ๆ ขีดตั้งที่เป็นไปตามกรรมพันธุ์แต่ก็มีนักวิชาการอีกผู้หนึ่งที่เตือนว่า เป็นเรื่องเหลวไหลที่จะกล่าวง่าย ๆ ว่า"กรรมพันธุ์มีอิทธิพล 30-50% ต่อความสุข"โดยอธิบายว่า ความสุขของบุคคลต้องอาศัยทั้งกรรมพันธุ์ สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรม ดังนั้น จึงเป็นเรื่องเหลวไหลที่จะอ้างว่า ความสุขของบุคคลมาจากปัจจัยเดียวเพียงเท่านั้นความแตกต่างระหว่างปัจจัยแสดงความแตกต่างของความสุขระหว่างบุคคลเท่านั้นดังนั้น งานวิจัยที่ว่าจึงไม่ได้กล่าวถึงความสุขของบุคคลใดบุคคลหนึ่งแต่กล่าวถึงความแตกต่างระหว่างความสุขของบุคคลสองคนหรือมากกว่านั้นโดยเฉพาะก็คือ ผู้ทำงานวิจัยเสนอว่า 30-40% ของความแตกต่างระหว่างความสุขของบุคคลสองคนหรือมากกว่านั้นมาจากกรรมพันธุ์ (คือสามารถสืบต่อมาจากพ่อหรือแม่ได้)

กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ มันไม่ถูกต้องที่จะกล่าวว่า ความสุขของคน ๆ หนึ่ง "50% มากจากกรรมพันธุ์" แต่ว่า ถูกต้องที่จะกล่าวว่า ความแตกต่างของความสุขระหว่างบุคคล 50% มาจากความแตกต่างทางกรรมพันธุ์ (และที่เหลือจากพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม)[36][130]มีงานศึกษากับแฝดที่สนับสนุนทฤษฎีที่ว่านี้คือ แฝดที่แยกเลี้ยงต่างหาก ๆ มีความสุขเกือบเท่าเทียมกัน ซึ่งแสดงว่า สิ่งแวดล้อมไม่ใช่ปัจจัยเดียวของความสุข[36]แต่ว่าสำคัญมากว่า ความสุขระดับพื้นฐานของบุคคลไม่ได้กำหนด "ทั้งหมด" โดยกรรมพันธุ์ และไม่ได้กำหนดโดยแม้ชีวิตในเบื้องต้นสัมพันธ์กับกรรมพันธุ์บุคคลจะสามารถเพิ่มระดับพื้นฐานของความสุขสู่ระดับที่เป็นไปได้ทางกรรมพันธุ์หรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างรวมทั้งพฤติกรรมและนิสัยนิสัยที่ช่วยเสริมความสุขรวมทั้งความยินดีพอใจสิ่งที่มีที่ได้ ความสำนึกคุณ และแม้แต่พฤติกรรมที่ช่วยผู้อื่น[28]มีนิสัยและเทคนิคที่เพิ่มความสุขอื่น ๆ ตามผลงานวิจัยที่กล่าวอยู่ในบทความนี้

นอกจากการสร้างนิสัยใหม่แล้ว การใช้ยาแก้ความซึมเศร้า การออกกำลังกายที่มีประสิทธิผล และการรับประทานอาหารที่ถูกสุขภาพ มีหลักฐานว่ามีอิทธิพลต่ออารมณ์ความรู้สึกจริง ๆ แล้ว การออกกำลังกายมีประโยชน์หลายอย่างมาก จนสามารถเรียกได้ว่าเป็นยามหัศจรรย์หรือยาปาฏิหาริย์[133][134]แต่ว่า ก็ควรจะกล่าวถึงหนังสือเล่มหนึ่งที่พิมพ์ในปี 2553 ด้วยที่คัดค้านการใช้ยาทางจิตเวชอย่างไม่เฉพาะเจาะจงต่อคนไข้โรคจิต โดยเฉพาะผลป้อนกลับระยะยาวที่เพิ่มสภาวะโรคจิตของคนไข้[135]

ใกล้เคียง

จิตวิทยา จิตวิทยาเชิงบวก จิตวิทยาคลินิก จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ จิตวิทยาชุมชน จิตวิทยาเกสทัลท์ จิตวิญญาณธรรมศาสตร์ จิตวิเคราะห์ จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาการเรียนรู้

แหล่งที่มา

WikiPedia: จิตวิทยาเชิงบวก http://www.cbc.ca/ideas/episodes/2011/06/20/say-no... http://awesomeculture.com/2011/09/13/the-science-o... http://doubtreligion.blogspot.com/2010/06/rd-extra... http://www.bmj.com/cgi/pmidlookup?view=long&pmid=1... http://www.cape-coral-daily-breeze.com/page/conten... http://www.chicagotribune.com/suburbs/northbrook/c... http://www.economist.com/node/17722557 http://www.economist.com/node/17722567 http://www.economist.com/world/na/PrinterFriendly.... http://www.forbes.com/2010/07/14/world-happiest-co...