ทฤษฎี ของ จิตวิทยาเชิงบวก

ทั่วไป (PERMA)

มีนักวิจัยทางจิตวิทยาเชิงบวกที่กล่าวถึงประเด็นการศึกษาใหญ่ ๆ 3 ประเด็นที่คาบเกี่ยวกัน[19]:275 คือ

  1. งานวิจัยในเรื่อง "ชีวิตที่สบายใจ (Pleasant Life)" หรือ "ชีวิตที่เพลิดเพลิน (life of enjoyment)" ตรวจสอบว่าคนสามารถประสบ พยากรณ์ และเพิ่มรสชาติของความรู้สึกและอารมณ์เชิงบวกที่เป็นส่วนของชีวิตที่ปกติและดีได้อย่างไร (เช่นในเรื่องความสัมพันธ์กับคนอื่น กิจกรรมยามว่าง ความสนใจ การบันเทิง เป็นต้น) แต่ว่าแม้จะมีความสนใจในเรื่องนี้มาก ศ. เซลิกแมนกล่าวว่า ส่วนของความสุขที่เป็นเพียงเรื่องชั่วครู่ชั่วยามนี้อาจจะเป็นเรื่องสำคัญน้อยที่สุด[28]
  2. การตรวจสอบประโยชน์ของความจดจ่อ (เช่น flow) ที่บุคคลมีเมื่อกำลังทำกิจกรรมหลัก ๆ ของตนอยู่ นี่เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ "ชีวิตที่ดี" หรือ "ชีวิตที่ไม่อยู่ว่าง" flow (การประกอบกิจการงานด้วยสภาพทางใจที่มีสมาธิ ด้วยความยินดีพอใจ) อาจมีเมื่อจับคู่จุดแข็งของบุคคลหนึ่ง ๆ กับงานที่ทำ คือ เมื่อบุคคลรู้สึกมั่นใจว่าจะทำงานที่เลือกหรือจัดให้ได้อย่างสำเร็จ
  3. การศึกษาในเรื่อง "ชีวิตที่มีความหมาย (Meaningful Life)" หรือชีวิตที่มีส่วนเป็นสมาชิก (life of affiliation) ตรวจสอบว่า บุคคลสามารถได้ความรู้สึกอยู่เป็นสุข ว่ามีส่วน ว่ามีความหมาย และมีเป้าหมายโดยตนเป็นส่วนหนึ่งทีสร้างส่งเสริมอะไรบางอย่างที่ใหญ่กว่าและคงยืนกว่ายิ่งกว่าตน (เช่น เกี่ยวกับธรรมชาติ กลุ่มสังคม องค์กร ขบวนการ ประเพณี หรือระบบความเชื่อ) ได้อย่างไร

แต่ว่า หมวดหมู่เหล่านี้ไม่มีทั้งการคัดค้านหรือการยอมรับอย่างกว้างขวางโดยนักวิจัยในช่วง 12 ปี ที่สาขาวิชาการนี้ได้เกิดขึ้นและแม้ว่า ศ. เซลิกแมนจะได้เสนอหมวดหมู่ทั้ง 3 นี้ แต่ว่าตั้งแต่นั้นเขาได้แนะนำว่า หมวดหมู่สุดท้ายคือ "ชีวิตที่มีความหมาย" ควรแบ่งออกเป็นอีก 3 หมวดหมู่ดังนั้นตัวย่อที่กำหนดทฤษฎีความอยู่เป็นสุขของ ศ. เซลิกแมนก็คือ PERMA ซึ่งมาจากคำว่า "Positive Emotions (อารมณ์เชิงบวก)" "Engagement (การอยู่ไม่ว่าง)" "Relationships (ความสัมพันธ์กับผู้อื่น)" "Meaning and purpose (ความหมายและเป้าหมาย)" และ "Accomplishments (ความสำเร็จ)"[136]

อารมณ์เชิงบวก (Positive emotions) เป็นความรู้สึกหลายอย่างไม่ใช่เพียงความสุขและความเพลิดเพลิน (joy)[137]ยังรวมอารมณ์อื่น ๆ อีกเช่น ความตื่นเต้น ความพอใจ ความภูมิใจ และความอัศจรรย์ใจ ซึ่งมองว่าเป็นอารมณ์ที่มีผลดี เช่น ให้มีอายุยืนและมีความสัมพันธ์ทางสังคมที่ดี[138]

การมีชีวิตที่ไม่ว่าง (Engagement) หมายถึงการร่วมกิจกรรมที่ดึงดูดและเสริมสร้างความสนใจของตนนักจิตวิทยาผู้หนึ่งอธิบายการมีชีวิตที่ไม่ว่างว่าเป็น flow เป็นความรู้สึกที่แรงกล้าที่นำไปสู่ความปิติยินดีและความกระจ่าง[139]สิ่งที่กำลังจะทำต้องใช้ทักษะความสามารถที่สูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป ยากและเป็นความท้าทาย แต่ว่า ยังเป็นสิ่งที่เป็นไปได้การมีชีวิตที่ไม่ว่างหมายเอาความชอบใจและสมาธิที่มีในงานที่กำลังจะทำ และระดับจะวัดโดยให้ผู้ทำรายงานเองว่า มีสมาธิในงานที่ทำ จนกระทั่งไร้ความรู้สึกเขินตนเอง (self-consciousness) หรือไม่[137]

ความสัมพันธ์กับคนอื่น (Relationships) เป็นเรื่องสำคัญที่สุดในการสร้างอารมณ์เชิงบวกต่าง ๆ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับอาชีพการงาน ครอบครัว คู่ชีวิต และความสัมพันธ์แบบอื่น ๆ ดังที่บิดาของจิตวิทยาเชิงบวกอีกคนหนึ่ง คือ ศ. ดร. คริสโตเฟอร์ ปีเตอร์สัน ได้กล่าวไว้อย่างง่าย ๆ ว่า "คนอื่นสำคัญ"[140]เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ที่รับ แชร์ และกระจายความรู้สึกดี ๆ ไปให้คนอื่นผ่านความสัมพันธ์ต่าง ๆซึ่งไม่ใช่ว่าจะสำคัญเมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายในชีวิตเท่านั้น แต่แม้ในช่วงที่สุขก็สำคัญด้วยและจริง ๆ แล้ว ความสัมพันธ์สามารถเพิ่มกำลังเมื่อตอบสนองต่อกันและกันในเชิงบวกมันเป็นเรื่องปกติว่า สิ่งดี ๆ ในชีวิตจะเกิดขึ้นเมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น[141]

"ความหมาย" (Meaning) หรือที่รู้จักกันว่าเป้าหมาย เป็นตัวให้เกิดคำถามว่า "ทำไม" และการค้นหาและค้นพบว่า "ทำไม" ที่ชัดเจน สามารถเป็นโครงสร้างชีวิตตั้งแต่ในเรื่องอาชีพการงาน ความสัมพันธ์กับคนอื่น และด้านอื่น ๆ[142][143]การค้นหาความหมายหมายถึงการเรียนรู้ว่ามีอะไรที่ยิ่งใหญ่กว่าตนและแม้ว่าอาจจะมีอุปสรรคในระหว่าง ๆ การมีความหมายช่วยให้บุคคลพยายามทำตามเป้าหมายให้ได้

ความสำเร็จ (Accomplishments) เป็นการสร้างความสำเร็จและความเชี่ยวชาญ[137]แต่โดยไม่เหมือนส่วนอื่น ๆ ของ PERMA การสืบหาควรจะทำแม้ว่าจะไม่มีผลเป็นอารมณ์ ความหมาย หรือความสัมพันธ์เชิงบวกอื่น ๆแต่ว่าเป็นส่วนที่สามารถช่วยทำส่วนอื่น ๆ ของ PERMA เช่น ความภูมิใจ ให้สำเร็จผล[144]ความสำเร็จอาจจะเป็นส่วนบุคคล เป็นส่วนของชุมชน เป็นกิจยามว่าง หรือเป็นเรื่องการงานอาชีพ

ปัจจัย 5 อย่างของ PERMA มีเกณฑ์คัดเลือกดังต่อไปนี้ คือ

  1. มีส่วนช่วยให้เกิดความอยู่ดีมีสุข
  2. เป็นสิ่งที่บุคคลมักจะพยายามสืบหาเพราะเหตุของมันเอง
  3. สามารถกำหนดและวัดได้โดยเป็นอิสระจากปัจจัยอื่น ๆ

PERMA ไม่ใช่แค่สามารถมีบทบาทในชีวิตของแต่ละบุคคล แต่สามารถใช้รายงานข่าวที่ดัง ๆโดยใช้แนวคิดนี้ นักข่าวสามารถให้ความสนใจกับข่าวในเชิงบวก เช่น โดยยกประเด็นว่า ความขัดแย้งหรือแม้แต่เหตุการณ์ร้าย ๆ สามารถดึงชุมชนให้สามัคคีกันได้อย่างไร คนที่ประสบเหตุการณ์ร้ายสามารถเรียนรู้และกลายเป็นบุคคลที่เจริญขึ้นได้อย่างไรข่าวสามารถเปลี่ยนมุมมองจากการหาเหยื่อมาเป็นการยกระดับจิตใจPERMA สามารถช่วยนักข่าวให้หาโจทย์ที่ช่วยเสริมสร้าง โดยเปลี่ยนจุดสนใจไปในสิ่งที่ร้ายมาเป็นสิ่งที่ดี ๆ และทางออกต่อปัญหา[145]

ทฤษฎี broaden-and-build (ขยายและสร้างความตระหนักรู้) ในจิตวิทยาเชิงบวกเสนอว่า อารมณ์เชิงบวก (เช่น ความสุข ความสนใจ หรือความคาดหวัง) สามารถขยายความตระหนักรู้ และช่วยส่งเสริมความคิดและพฤติกรรมใหม่ ๆ ที่แตกต่าง ที่เป็นแบบสืบเสาะ[146]ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นเป็นระยะเวลายาวนาน จะเป็นการสั่งสมพฤติกรรมใหม่ ๆ และสร้างทักษะและทรัพยากร (ทางกายและใจ)ยกตัวอย่างเช่น ความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับภูมิประเทศสามารถกลายเป็นความรู้เกี่ยวกับหนทางที่มีค่าการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับคนแปลกหน้าสามารถสร้างมิตรที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันการละเล่นที่ไม่มีความหมายสามารถกลายเป็นกระบวนการออกกำลังกายและร่างกายที่แข็งแรงในทฤษฎีนี้ อารมณ์เชิงบวกยกมาเปรียบเทียบกับอารมณ์เชิงลบ ซึ่งยังพฤติกรรมแบบเอาตัวรอดที่คับแคบให้เกิดขึ้นยกตัวอย่างเช่น อารมณ์เชิงลบเช่นความวิตกกังวลอาจนำไปสู่ปฏิกิริยาแบบสู้หรือหนี (fight-or-flight response) ที่เป็นไปเพื่อความอยู่รอดในเรื่องที่กำลังเผชิญหน้า[146]

จิตรกรรมรำลึกถึงการใช้ชีวิตแบบครอบครัว

ศ.ดร.ฟิลิป ซิมบาร์โด ที่มีชื่อเสียงในเรื่องการทดลองเรือนจำสแตนฟอร์ด เสนอว่าเราสามารถวิเคราะห์ความสุขโดยมุมมองทางเวลา (Time Perspective)คือเสนอว่า ให้เราจัดความสนใจในชีวิตของบุคคลโดยขั้ว (ว่าเป็นแบบบวกหรือลบ) และตามกาลเวลา (ว่ามุ่งอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต)การทำอย่างนี้อาจแสดงความขัดแย้งในบุคคล แต่ไม่ใช่ในเรื่องว่าเพลิดเพลินกับกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งหรือไม่ แต่ในเรื่องว่าบุคคลชอบใจในการผ่อนผันการหาความสุขในปัจจุบันเพื่อความสุขในอนาคตหรือไม่ดร. ซิมบาร์โดเชื่อว่า งานวิจัยได้แสดงจุดสมดุลที่ดีที่สุดเกี่ยวกับกาลเวลาเพื่อจะมีชีวิตที่มีความสุขคือ ความสนใจในการประสบเหตุการณ์เชิงบวกในอดีตอีกควรจะอยู่ในระดับสูง ตามด้วยความรู้สึกว่าจะได้ประสบการณ์ที่ดีในอนาคต และควรจะใช้เวลาพอสมควร (แต่ไม่มากเกินไป) เพื่อที่จะเพลิดเพลินยินดีในเหตุการณ์ปัจจุบัน[147]

แม้ว่าหมวดหมู่ที่เสนอของ ศ. เซลิกแมน จะยังคลุมเครือ งานวิจัยที่จะพูดถึงต่อไปจัดตามหมวดหมู่นั้นโดยคร่าว ๆ (คือ ชีวิตที่สบายใจ ที่ดี และที่มีความหมาย)แต่ว่า งานวิจัยที่จัดอยู่ในหมวดหมู่หนึ่งอาจจะเข้าประเด็นกับหมวดหมู่อื่น ๆ ด้วย

ชีวิตที่สบายใจ

การออกกำลังกายแบบง่าย ๆ เช่นการวิ่ง เป็นกุญแจสำคัญอย่างหนึ่งในการรู้สึกมีความสุข[148]

ศ.ดร. อับราฮัม มาสโลว์ ได้เสนอทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ขั้นแรก บุคคลจำเป็นต้องได้ปัจจัยพื้นฐาน (เช่น ความปลอดภัยทางกายและใจ) ก่อนที่จะได้ปัจจัยทางสังคมอื่น ๆ (เช่น การมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับผู้อื่น)ต่อมา จึงจะสามารถแสวงหาปัจจัยที่เป็นนามธรรมอื่น ๆ (เช่น ศีลธรรมและการถึงศักยภาพของตน [self-actualization])

หลักฐานแสดงว่า อารมณ์เชิงลบสามารถก่อความเสียหายได้ในงานวิจัยปี 2000 นักจิตวิทยาผู้หนึ่งตั้งสมมติฐานว่า อารมณ์เชิงบวกสามารถแก้ปัญหาทางหลอดเลือดหัวใจของอารมณ์เชิงลบได้คือ เมื่อเครียด อัตราการเต้นหัวใจจะสูงขึ้น ระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้น ภูมิคุ้มกันจะต่ำ และมีการปรับตัวอื่น ๆ ที่ช่วยส่งเสริมให้ทำอะไรได้อย่างทันทีทันควันแต่ว่าถ้าไม่ควบคุมให้ดี การมีสภาพตื่นตัวทางกายเช่นนี้สามารถนำไปสู่โรค เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจและอัตราการเสียชีวิตที่สูงขึ้นทั้งผลงานวิจัยที่ทำในแล็บและงานสำรวจให้หลักฐานว่า อารมณ์เชิงบวกช่วยคนเครียดให้กลับคืนมีสุขภาพทางกายที่ดีกว่าดังที่เคยมีมาก่อน[149]ส่วนงานวิจัยอื่น ๆ พบว่า พื้นอารมณ์ที่ดีเป็นประโยชน์อย่างหนึ่งของการออกกำลังกาย[148]

ชีวิตที่ดี

ไอเดียเกี่ยวกับความอยู่เป็นสุขโดยเป็นส่วนของชีวิตที่ดีมาจากแนวคิดของอาริสโตเติลในเรื่อง eudaimoniaส่วนแนวคิดที่เกี่ยวข้องกันรวมทั้ง ความเชื่อมั่นในสมรรถภาพตน (self-efficacy), ประสิทธิผลในตัว (personal effectiveness), flow, และการมีสติ (mindfulness)

ความเชื่อมั่นในสมรรถภาพตน เป็นความเชื่อมั่นว่า ความสามารถในการทำงานให้สำเร็จขึ้นอยู่กับความพยายามการมีความเชื่อเช่นนี้ในระดับต่ำ สัมพันธ์กับความซึมเศร้าโดยเปรียบเทียบกันแล้ว ความเชื่อมั่นในระดับสูงสัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลงที่ดี เช่น การเลิกสิ่งเสพติด การแก้ปัญหาโรคเกี่ยวกับการรับประทาน และการดำเนินชีวิตที่ถูกสุขภาพการมีความเชื่อมั่นสูงยังมีผลดีต่อระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยบริหารความเครียด และช่วยลดความเจ็บปวด[150]ส่วนแนวคิดคล้าย ๆ กัน คือประสิทธิผลส่วนตัว (Personal effectiveness) โดยหลักเป็นเรื่องเกี่ยวกับการวางแผนและการดำเนินงานโดยวิธีการที่ทำให้สำเร็จ

Flow

flow หมายถึงการเกิดสมาธิ (absorption) เมื่อความสามารถของตนทัดเทียมกับสิ่งที่ต้องทำเฉพาะหน้าflow กำหนดโดยลักษณะต่าง ๆ รวมทั้งสมาธิที่มีกำลัง ความไร้ความเขินเกี่ยวกับตน (self-awareness) และความรู้สึกว่าเรื่องที่ทำเป็นเรื่องท้าทาย (คือไม่ใช่เบื่อและไม่ใช่เป็นเรื่องยากเกินไป) และความรู้สึกว่า เวลากำลังล่วงเลยไปอย่างรวดเร็ว flow เป็นอะไรที่ดีโดยตัวของมันเองนอกจากนั้น ยังสามารถช่วยให้ถึงเป้าหมาย (เช่น ชนะการละเล่นหรือการกีฬา) หรือช่วยเพิ่มทักษะ (เช่น เป็นคนเล่นหมากรุกได้เก่งขึ้น)[151]

ทุกคนสามารถมีประสบการณ์เกี่ยวกับ flow ในเรื่องต่าง ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นการละเล่น ความคิดสร้างสรรค์ หรืออาชีพการงานโดยสามารถเกิดได้เมื่อมีเหตุการณ์ที่ท้าท้ายทัดเทียมกับความสามารถของตนแต่ว่า ถ้าไม่มีความสมดุลเช่นมีทักษะน้อยเกินไป จะทำให้เกิดความวิตกกังวลแต่ถ้าเป็นเรื่องท้าทายน้อยเกินไป ก็จะทำให้เกิดความเบื่อหน่าย[151]

แต่ว่า เพราะสถานการณ์เป็นเรื่องท้าท้าย บ่อยครั้งจะมีทั้งความตื่นเต้นและความเครียด แต่นี่พิจารณาว่า เป็นความเครียดที่ดีโดยเชื่อว่า เป็นความเครียดที่มีผลลบน้อยกว่าความเครียดแบบเรื้อรัง แม้ว่า วิถีทางกายภาพเกี่ยวกับความเครียดทั้งสองแบบจะเป็นระบบเดียวกันและทั้งสองล้วนสามารถทำให้เกิดความเหนื่อยอ่อน แต่ว่า ความแตกต่างทางกายภาพ และประโยชน์ที่ได้ทางใจของความเครียดที่ดี อาจจะทำให้เกิดผลดีโดยรวมมากกว่าความเหนื่อยอ่อนที่เกินขึ้น

ศ. ชีกเซ็นมิฮาลี (ผู้สร้างแนวคิดเกี่ยวกับ flow) ระบุตัวบ่ง flow ไว้ 9 อย่างว่า

  1. มีเป้าหมายที่ชัดเจนในทุกขั้นตอน
  2. มีผลปรากฏทันทีที่ช่วยนำทางการกระทำต่อ ๆ ไป
  3. สิ่งท้าท้ายกับความสามารถสมดุลกัน
  4. การกระทำและความตระหนักรู้เป็นไปด้วยกัน
  5. ตัวกวนสมาธิไม่สามารถกวนใจได้
  6. ไม่ได้เป็นห่วงเรื่องความล้มเหลว
  7. ความเขินตน (Self-consciousness) หายไป
  8. ความรู้สึกเกี่ยวกับเวลาผิดไปจากความจริง
  9. กิจกรรมกลายเป็นจุดมุ่งหมายในตนเอง (autotelic) คือ ทำเพื่อเห็นแก่การกระทำเอง[152]

งานศึกษาของเขายังพบอีกด้วยว่า flow อยู่ในระดับสูงกว่าเมื่อทำงาน และความสุขจะสูงกว่าเมื่อทำกิจกรรมเวลาว่าง[43]:200

ความเจริญรุ่งเรือง (Flourishing)

ความเจริญรุ่งเรืองในจิตวิทยาเชิงบวกหมายถึงการทำกิจในระดับดีสุดของมนุษย์โดยมีปัจจัย 4 อย่างคือ ความดีงาม (goodness) การก่อกำเนิด (generativity) ความเจริญ (growth) และความฟื้นคืนได้ (resilience)[153]ตามนักจิตวิทยาท่านหนึ่ง ความดีงามรวมทั้ง ความสุข ความพอใจ และการกระทำที่สำเร็จผลการก่อกำเนิดหมายถึงการทำให้ชีวิตคนรุ่นต่อ ๆ ไปดีขึ้น และนิยามว่าเป็น "คลังความคิด การกระทำ และความยืดหยุ่นได้ทางพฤติกรรม"ความเจริญเป็นการใช้ทรัพยากรส่วนบุคคลและทางสังคมที่มีและความฟื้นคืนได้สะท้อนให้เห็นถึงความอยู่รอดและความเจริญก้าวหน้าหลังจากที่ประสบความยากลำบาก[153]:685

ชีวิตที่เจริญรุ่งเรืองได้มาจากความเชี่ยวชาญในปัจจัยทั้ง 4 อย่างนั้นโดยเปรียบเทียบกับแนวคิดตรงกันข้ามเช่น ความหดหู่ไม่ไยดี (languishing) และโรคจิต (psychopathology)ในมิติของสุขภาพจิต แนวคิดตรงกันข้ามเหล่านี้เป็นภาวะก่อนจะถึงโรคจิต สะท้อนให้เห็นว่าบุคคลใช้ชีวิตที่ยังไม่เต็มหรืออาจเป็นชีวิตที่ไม่มีความหมายบุคคลที่ประสบความหดหู่ไม่ไยดีเจ็บปวดทางอารมณ์มากกว่า บกพร่องทางจิต-สังคม ทำกิจกรรมทั่วไปบางอย่างไม่ได้ และขาดงานมากกว่า[153]

มีงานศึกษาหนึ่งในปี 2002 ที่สำรวจตัวอย่างบุคคล 3,032 คนในประเทศสหรัฐอเมริกาในวัยระหว่าง 25-74 ปีและพบว่า 17.2% ของผู้ใหญ่ทั้งหมดรู้สึกเจริญรุ่งเรือง โดยมีผู้ใหญ่อีก 56.6% ที่มีสุขภาพจิตดีพอประมาณเท่านั้นปัจจัยสามัญของการมีชีวิตที่เจริญรุ่งเรืองรวมทั้ง การมีการศึกษา ความสูงวัย การมีคู่ชีวิต และฐานะที่ดีงานศึกษาจึงแสดงว่า มีโอกาสที่จะปรับปรุงชีวิตของคนอเมริกันเพราะว่าเพียง 20% เท่านั้นที่รู้สึกว่าตนมีชีวิตที่เจริญรุ่งเรือง[154]

ประโยชน์ของการมีชีวิตที่เจริญรุ่งเรืองพบได้ในงานวิจัยเกี่ยวกับผลของการประสบความรู้สึกเชิงบวกเทียบกับเชิงลบประโยชน์ที่พบของการมีอารมณ์เชิงบวกรวมทั้งการตอบสนองที่ดี การมีพฤติกรรมที่หลายหลากกว่า การมีสัญชาติญาณที่ดีกว่า และการรับรู้และจินตนาการที่ดีกว่า[153]:678นอกจากนั้นแล้ว ความรู้สึกดี ๆ ที่สัมพันธ์กับการมีชีวิตที่เจริญรุ่งเรืองมีผลเป็นระบบภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้น การฟื้นตัวจากโรคหลอดเลือดหัวใจ การได้ผลลบจากอารมณ์เชิงลบน้อยลง และความอสมมาตรระว่างสมองด้านหน้า[153]ส่วนประโยชน์ที่ได้สำหรับบุคคลที่มีสุขภาพจิตหรือความเจริญรุ่งเรืองพอประมาณรวมทั้ง สมรรถภาพทางใจและทางสังคมที่ดีกว่า การฟื้นตัวได้ดีกว่า การมีสุขภาพหลอดเลือดหัวใจที่ดีกว่า และการมีสไตล์ชีวิตที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าโดยทั่วไป[155]ดังนั้น ประโยชน์ของการมีชีวิตที่เจริญรุ่งเรืองจึงแสดงนิยามอย่างหนึ่งคือ "บุคคลที่เจริญรุ่งเรืองย่อมประสบกับความอยู่เป็นสุขทางอารมณ์ ทางใจ และทางสังคม เนื่องจากความกระฉับกระเฉงและกำลังวังชา แรงจูงใจภายใน (self-determination) การเจริญเติบโตส่วนบุคคลที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด และชีวิตที่มีความหมายและมีเป้าหมาย"[156]

การมีสติ

ดูบทความหลักที่: สติ (จิตวิทยา)
นักวิจัยแนะนำให้ใส่ใจในเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความยินดีในอดีต ใส่ใจในสิ่งที่ทำให้เกิดความหวังในอนาคต แต่ว่า โดยที่สุดแล้ว ให้ใส่ใจโดยมากในปัจจุบัน[147] การฝันกลางวันมักจะมาก่อนการลดระดับความสุข ดังนั้น การมีสติและพฤติกรรมอื่น ๆ ที่พุ่งความสนใจมายังปัจจุบันอาจจะทำให้เกิดความสุขส่วนหนึ่ง ก็เพราะเป็นการเปลี่ยนความสนใจไปจากคำถามที่น่าเศร้าใจเล็กน้อยว่า "ฉันมีความสุขหรือไม่"[157][158]

การมีสติหมายถึงการพุ่งความสนใจอย่างจงใจไปที่ประสบการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นเป็นการตระหนักรู้อย่างมีสมาธิ (Focused awareness) คือใส่ใจโดยขณะถึงปัจจัยต่าง ๆ ของประสบการณ์ปัจจุบัน รวมทั้ง ความคิด อารมณ์ ความรู้สึกทางกาย และสิ่งแวดล้อมจุดมุ่งหมายของการมีสติก็เพื่อที่จะให้อยู่กับขณะปัจจุบันและศึกษาเพื่อจะสังเกตการเกิดขึ้นและการผ่านไปของประสบการณ์ต่าง ๆโดยที่ไม่ต้องตัดสินให้ความสำคัญต่อประสบการณ์และความคิด ไม่ต้องพยายามเพื่อจะหาเหตุผลและสรุปเหตุการณ์ หรือเปลี่ยนแปลงอะไร ๆ สิ่งที่ทำอย่างเดียวในระหว่างการเจริญสติก็เพียงแค่สังเกต[159][160]ประโยชน์ของการเจริญสติรวมทั้งการลดความเครียด ความวิตกกังวล ความเศร้าซึม และความเจ็บปวดเรื้อรัง[161]

ศ. จิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดอ้างว่า คนมักจะเข้าไปสู่ภาวะความไร้สติ (mindlessness) โดยมีพฤติกรรมที่ซ้ำซาก ทำสิ่งที่คุ้นเคย ทำเป็นกระบวนการ โดยไม่ได้ใส่ใจ เหมือนกับเป็นหุ่นยนต์[162]ผู้ที่สนับสนุนการใส่ใจในปัจจุบันยังอ้างงานวิจัยของนักจิตวิทยาที่เขียนหนังสือ สะดุดเจอความสุข (Stumbling on Happiness) ที่กล่าวว่า การฝันกลางวันแทนที่จะใส่ใจในปัจจุบันอาจเป็นเหตุขวางกั้นความสุข[157][163]

นักวิจัยท่านหนึ่งพบหลักฐานสนับสนุนผลลบของการฝันกลางวันคือ เขามีอาสาสมัคร 15,000 ทั่วโลกที่ให้รายงานกว่า 650,000 รายงานโดยใช้ออนไลน์แอปพลิเคชันบนโทรศัพท์ที่เตือนขอข้อมูลโดยสุ่ม ๆและพบว่า คนที่ฝันกลางวันต่อมาไม่ช้าก็จะรายงานความสุขที่ลดลงแต่เป็นเรื่องที่ปกติมาก ๆ[158]

ส่วน ดร. ซิมบาร์โดให้ความสำคัญต่อการใส่ใจในปัจจุบัน แต่แนะนำให้ระลึกถึงเหตุการณ์เชิงบวกในอดีตเป็นบางครั้งบางคราวเพราะว่า การพิจารณาถึงประสบการณ์ที่ดีในอดีตสามารถมีผลต่อพื้นอารมณ์ปัจจุบัน และช่วยในการสร้างความหวังที่ดีในอนาคต

มีงานวิจัยที่แสดงว่า สิ่งที่บุคคลสนใจมีผลต่อระดับความสุข และการคิดถึงความสุขมากเกินไปมีผลที่ไม่ดีแทนที่จะถามตนว่า "ฉันมีความสุขหรือเปล่า" ซึ่งเมื่อถามเพียงแค่ 4 ครั้งต่อวัน ก็จะเริ่มลดความสุข ดังนั้น จึงอาจจะดีกว่าที่จะคิดถึงค่านิยมของตน (เช่น ฉันสามารถมีหวังในเรื่องนี้ได้หรือเปล่า)[164]

การตั้งคำถามต่าง ๆ อาจช่วยเปลี่ยนความคิด และบางทีอาจนำไปสู่การกระทำที่เราควรใส่ใจมากกว่าการตอบคำถามโดยเป็นตัวของเราเองอาจนำไปสู่การกระทำเชิงบวก และสู่ความหวัง ซึ่งเป็นความรู้สึกที่มีกำลังและเป็นความรู้สึกเชิงบวกความหวังมักจะก่อความสุข โดยที่ความสิ้นหวังมักจะตัดทอน

นักวิจัยทางจิตวิทยาเชิงบวกคนหนึ่งเตือนว่า ประเด็นที่วิทยาศาสตร์ได้ค้นพบเป็นเบื้องต้นเหล่านี้ ไม่ควรนำไปใช้โดยทั่วไปมากเกินไป หรือไม่ควรนำไปใช้โดยไม่พิจารณาเพราะว่า การดำรงสติเป็นกระบวนการทางสมองที่ใช้ทรัพยากรมากและเขาบอกว่า ไม่ใช่ได้ผลดีตลอดเวลาเพราะว่า มีกิจกรรมบางอย่างที่ทำได้ดีที่สุดโดยไม่ต้องใช้ความคิด ยกตัวอย่างเช่น เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ชีพทำตามขั้นตอนที่ได้ฝึกมาแล้วเป็นอย่างดี[164]

อย่างไรก็ดี ทักษะที่พัฒนาเช่นนี้สามารถนำไปใช้ได้ในบางโอกาส และสามารถมีผลดีตามเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้วส่วนศาสตราจารย์ทางจิตวิทยาและจิตเวชศาสตร์อีกท่านหนึ่งแนะนำการเจริญสติ (mindfulness meditation) เพื่อใช้ในการระบุและการบริหารอารมณ์ที่แม่นยำ[165][166]

ชีวิตที่มีความหมาย

หลังจากที่ทำงานวิจัยเกี่ยวกับอารมณ์คือความขยะแขยง (disgust) มาหลายปี มีนักวิจัยกลุ่มหนึ่งที่ศึกษาอารมณ์ตรงกันข้าม ซึ่งพวกเขาเรียกว่า elevation (จะเรียกว่าการทำบุญต่อไป)การทำบุญเป็นอารมณ์ทางศีลธรรม เกี่ยวข้องกับความต้องการที่จะประพฤติตามศีลธรรมและทำสิ่งที่ดี ๆเป็นอารมณ์ที่มีรากฐานทางชีวภาพ และบางครั้งกำหนดว่า เป็นความรู้สึกการขยายออกของหน้าอก หรือความรู้สึกซาบซ่านที่ผิว[167][168]

การมองโลกในแง่ดีและความรู้สึกว่าทำอะไรไม่ได้

นักเขียนผู้หนึ่งแนะนำให้ทุกคนรับผิดชอบการกระทำเล็กน้อย ๆ อย่างหนึ่งที่ช่วยให้โลกดีขึ้นอย่างชัดเจน (เช่นนักปฏิบัติการเพื่อประหยัดพลังงานพยายามโปรโหมตหลอดไฟชนิดใหม่) โดยมีแรงจูงใจจากงานวิจัยทางสังคม นักเขียนกล่าวว่า การทำเยี่ยงนี้ช่วยลดความรู้สึกว่าทำอะไรไม่ได้

การมองในแง่ดีโดยเรียนรู้ (Learned optimism) หมายถึงการพัฒนาศักยภาพให้มีนิสัยมองโลกในแง่ดีและเข้าสังคมได้ซึ่งเป็นความพยายามส่วนตัวและเป็นคุณลักษณะที่เชื่อมกับเป้าหมายส่วนตัวที่บุคคลต้องการกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ เป็นความเชื่อว่าตนสามารถมีอิทธิพลต่ออนาคตที่มองเห็นได้และมีความหมายการมองในแง่ดีโดยเรียนรู้ตรงข้ามกับความรู้สึกว่าทำอะไรไม่ได้แบบเรียนรู้ (learned helplessness) ซึ่งเป็นความเชื่อว่า ตนไม่สามารถควบคุมสิ่งที่เกิดได้ และปัจจัยภายนอกอย่างอื่นเป็นตัวกำหนดผล เช่นความสำเร็จการมองในแง่ดีสามารถเรียนรู้ได้โดยตั้งใจคัดค้านความคิดเชิงลบของตนเองเช่นคัดค้านความคิดเกี่ยวกับเหตุการณ์ไร ๆ ก็ได้ที่มองว่าเป็นความผิดของตนที่มีผลอย่างถาวรต่อทุก ๆ ด้านในชีวิต

การคุยกับตัวเองมีผลต่อความรู้สึกยกตัวอย่างเช่น รายงานเกี่ยวกับความสุขมีสหสัมพันธ์กับความสามารถทั่วไปที่จะ "ให้เหตุผลหรืออธิบาย" ความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมและเศรษฐกิจ[169]ความหวัง (Hope) เป็นความรู้สึกเชิงบวกที่มีกำลัง โดยสัมพันธ์กับความคิดมีเป้าหมายที่เรียนรู้ได้ความหวังจะเกิดขึ้นเมื่อคิดโดยหาทางที่จะถึงเป้าหมาย และหาแรงจูงใจเพื่อจะดำเนินไปตามทางสู่เป้าหมายเหล่านั้น[170]

นักเขียนคนหนึ่งเสนอว่า การเปลี่ยนความคิดสามารถช่วยแก้ความรู้สึกว่าทำอะไรไม่ได้ (ในสถานะที่โลกมีปัญหามากมาย)แนวคิดนี้มาจากงานวิจัยจากนักสังคมวิทยาคนหนึ่งที่อธิบายว่า เมื่อเผชิญหน้ากับปัญหาใหญ่ บุคคลมักจะเรียนรู้ว่าทำอะไรไม่ได้มากกว่าที่จะเปลี่ยนความคิดวิธีการที่สามารถใช้ได้ (ซึ่งนักเขียนเรียกว่า Vertical Agitation) ก็คือ ให้ใส่ใจเพียงส่วนหนึ่ง ๆ ของปัญหาไปทีละอย่าง ๆ โดยให้ถือว่าตนมีหน้าที่แก้ส่วนปัญหานั้น ๆ ซึ่งใช้ได้กับปัญหาทุกระดับจนกระทั่งระดับสูงสุดในรัฐบาล ในธุรกิจ หรือในกลุ่มสังคม (เช่น ให้โปรโหมตอะไรอย่างหนึ่งอย่างเข้มแข็ง เช่น หลอดประหยัดไฟ)ซึ่งช่วยให้แต่คนแต่ละคนในสังคมมีส่วนคนละเล็กน้อยทำให้มีการเปลี่ยนแปลง โดยไม่รู้สึกกังวลว่า มีงานมากแค่ไหนทั้งหมดที่จะต้องทำนอกจากนั้นแล้ว การใช้วิธีการทำคนละหน่อยจะช่วยไม่ให้รู้สึกว่า ตนดีกว่าคนอื่น (เช่น เที่ยวพูดให้เพื่อนและครอบครัวฟังว่าควรจะทำตนอย่างไร) และเมื่อมีคนทำเช่นนี้เป็นจำนวนมาก เหตุการณ์ก็จะสามารถปรับปรุงได้โดยระดับหนึ่ง[171]

การมีงานที่ดี

นักจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดผู้หนึ่งได้ทำงานศึกษาอย่างกว้างขวางว่า การทำงานให้ดีมีผลอะไรหรือไม่เขาเสนอว่า บุคคลรุ่นหลัง ๆ (โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา) ถูกสอนให้พุ่งความสนใจไปในการหาเงินทอง แม้ว่าการมีเงินจะไม่ได้ช่วยให้เกิดความสุขอย่างแน่นอนวิธีการแก้ที่นักจิตวิทยาเสนอคล้ายกับหลักการชีวิตที่สบายใจ ที่ดี ที่มีความหมายดังที่กล่าวมาก่อนแล้วเขาเชื่อว่า ควรจะฝึกให้เยาวชนทำงานให้ดีที่สุดในวิชาการสาขาของตน และมีชีวิตที่อยู่ไม่ว่าง ตามความเชื่อทางศีลธรรมของตน[172]

ตามงานศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกางานหนึ่ง พ่อแม่ 48% ให้รางวัลลูกของตนถ้าได้เกรดดีเป็นเงินสดหรืออะไรอย่างอื่นที่มีความหมายแต่ว่า เรื่องนี้ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ทุกครอบครัวในสหรัฐเห็นด้วยแม้ว่า ผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาจะสนับสนุนให้ให้รางวัลเมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ดี แทนที่จะใช้การลงโทษเมื่อมีพฤติกรรมที่ไม่ดี แต่ในบางกรณี บางครอบครัวไม่มีเงินทองพอที่จะให้รางวัลลูกในลักษณะแบบนี้รางวัลที่สามารถให้นอกเหนือจากเงินรวมทั้ง การให้ใช้เวลามากขึ้นเล่นคอมพ์ หรือนอนสายได้มากขึ้นแต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญที่เชื่อว่า รางวัลที่ดีที่สุดก็คือคำชมและคำให้กำลังใจ เพราว่ารางวัลที่เป็นรูปธรรมในระยะยาวอาจจะทำให้มีผลเสียต่อเด็ก

มีงานศึกษาเกี่ยวกับรางวัลที่ให้กับเด็กในปี 2514 ที่ยังใช้กันจนถึงทุกวันนี้เป็นงานศึกษาที่ออกข่าวในหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ ที่พุ่งความสนใจไปที่ผลระยะสั้นและระยะยาวของรางวัลต่อพฤติกรรมที่ดีของเด็กผู้ทำงานศึกษาเสนอว่า รางวัลเพื่อพฤติกรรมที่ดีเป็นสิ่งจูงใจที่ได้ผลแต่เพียงระยะสั้นในเบื้องต้น รางวัลจะสนับสนุนให้มีแรงจูงใจพยายามทำให้ได้ตามเป้าหมายของตนแต่ว่า หลังจากที่เลิกให้รางวัล เด็กจะสนใจในเรื่องนั้นน้อยกว่าคนอื่น ๆ ที่ไม่เคยได้รางวัลผู้ศึกษาชี้ว่า ในวัยเยาว์ เด็กมีสัญชาตญาณที่จะดื้อต่อบุคคลที่พยายามควบคุมพฤติกรรมของตน ซึ่งเขาใช้เป็นหลักฐานว่า รางวัลเพื่อพฤติกรรมที่ดีมีผลจำกัด

โดยให้เปรียบเทียบกัน หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ก็ได้เสนอผลงานวิจัยที่สนับสนุนผลดีที่ได้จากการให้รางวัลเด็กเพื่อพฤติกรรมที่ดีนักเศรษฐศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญอ้างว่า เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรือการศึกษาในโรงเรียนควรจะมีตัวช่วยมาก รวมทั้งรางวัลแม้ว่า เด็กเบื้องต้นอาจจะสนใจเพียงแค่สิ่งที่ได้เป็นรางวัล แต่ว่าก็อาจจะเกิดความรักเรียนขึ้นแม้ว่าจะมีเรื่องที่ไม่ยุติในการให้รางวัล ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่า วิธีที่ดีที่สุดที่จะจูงใจเด็กก็คือเสนอให้รางวัลเมื่อต้นปีการศึกษา แต่ถ้าไม่ได้ผล แนะนำให้ทั้งครูและผู้ปกครองหยุดใช้ระบบการให้รางวัลแต่เพราะเด็กต่างกัน วิธีใดวิธีหนึ่งก็จะไม่ได้ผลกับทุกคนเด็กบางคนตอบสนองดีต่อการให้รางวัลเพื่อพฤติกรรมดี บางคนตอบสนองในเชิงลบผลที่ได้ขึ้นอยู่กับคน[ต้องการอ้างอิง]

ความเข้มแข็งและคุณธรรม

หนังสือ Character Strengths and Virtues (ตัวย่อ CSV) เป็นความพยายามแรก ๆ ของนักวิชาการที่จะจำแนกและแยกแยะลักษณะทางจิตวิทยาเชิงบวกของมนุษย์โดยคล้ายกับคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM) ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน ที่ช่วยสร้างความเข้าใจในเรื่องจิตวิทยาทั่วไป หนังสือ CSV มีจุดประสงค์เพื่อสร้างขอบเขตเชิงทฤษฎีเพื่อช่วยส่งเสริมความเข้าใจในเรื่องความเข้มแข็งและคุณธรรม และเพื่อประยุกต์ใช้จิตวิทยาเชิงบวกคู่มือกำหนดหมวดหมู่คุณธรรม 6 อย่างหลัก ๆ ซึ่งเป็นฐานของความเข้มแข็ง 24 อย่างที่วัดได้[173]

หนังสือเสนอว่า คุณธรรม 6 อย่างเหล่านี้มีอยู่ในประวัติศาสตร์ของวัฒนธรรมต่าง ๆ โดยมากนอกจากนั้นแล้ว คุณธรรมและความเข้มแข็งเหล่านี้ทำให้เกิดความสุขมากขึ้นเมื่อได้พัฒนาความเข้าใจเช่นนี้ชี้ความจริง 3 อย่างโดยยังไม่กล่าวถึงคำเตือนและข้อยกเว้นต่าง ๆ ที่อาจจะมี[173]:51

  1. การศึกษาเรื่องคุณสมบัติเชิงบวกของมนุษย์ขยายขอบเขตของงานวิจัยทางจิตวิทยาเพื่อรวมสุขภาพทางใจที่ดี
  2. ผู้นำในศาสตร์จิตวิทยาเชิงบวกกำลังท้าท้ายแนวคิดสัมพัทธนิยมทางศีลธรรม โดยเสนอว่า มนุษย์มีความโน้มเอียงโดยวิวัฒนาการไปยังค่านิยมทางศีลธรรมบางอย่าง และว่า
  3. คุณธรรมมีรากฐานทางชีวภาพ (biological)

การจัดหมวดหมู่ของคุณธรรม 6 อย่างและความเข็มแข็ง 24 อย่างก็คือ

  1. ปัญญาและความรู้ รวมทั้ง ความคิดสร้างสรรค์ ความอยากรู้อยากเห็น ความมีใจเปิด ความชอบเรียนรู้ มุมมองหรือปัญญา และการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ
  2. ความกล้าหาญ รวมความกล้าหาญ ความอดทนไม่ท้อถอย ความซื่อตรง กำลังวังชา (vitality) ความสนุกตื่นเต้น (zest)
  3. มนุษยธรรม รวมทั้งความรัก ความเมตตา เชาวน์ปัญญาทางสังคม (social intelligence)
  4. ความยุติธรรม รวมทั้งความเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วม ความยุติธรรม ความเป็นผู้นำ
  5. ความยับยั้งชั่งใจ รวมทั้งการให้อภัยและความกรุณา ความถ่อมตน ความสุขุมรอบคอบ และการคุมตัวเองได้
  6. Transcendence รวมทั้ง ความสำนึกคุณค่าของความสวยงามและความดีเลิศ ความขอบคุณยินดี (gratitude) ความหวัง อารมณ์ขัน และความเชื่อทางจิตวิญญาณ

แต่ว่างานวิจัยในปี 2010 คัดค้านการจัดกลุ่มคุณธรรมเป็น 6 กลุ่ม คือ นักวิจัยเสนอว่า ความเข้มแข็ง 24 อย่างสามารถจัดให้อยู่ในหมวดหมู่ 3-4 หมวดได้อย่างเหมาะสมกว่า คือ ความเข้มแข็งทางเชาวน์ปัญญา (Intellectual) ความเข้มแข็งในเรื่องระหว่างบุคคล (Interpersonal) และความเข้มแข็งในการยับยั้งชั่งใจ (Temperance)[174]หรืออีกแบบหนึ่งคือ ความเข้มแข็งระหว่างบุคคล ความแข็งแกร่ง กำลังวังชา และความระมัดระวัง[175]

ความเข็มแข็งและวิธีการจัดหมวดหมู่เช่นนี้ ได้พบในวรรณกรรมอื่น ๆ ที่ต่างหากจากเรื่องนี้ เช่นในงานศึกษาที่กล่าวถึงนิสัยของบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์สูง[176]และก็มีงานวิจัยอื่นที่แสดงว่า การอยู่เป็นสุขที่ปรากฏว่าเป็นผลของความเชื่อทางจิตวิญญาณ ความจริงเป็นสิ่งที่เกิดจากคุณธรรม[107]

ใกล้เคียง

จิตวิทยา จิตวิทยาเชิงบวก จิตวิทยาคลินิก จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ จิตวิทยาชุมชน จิตวิทยาเกสทัลท์ จิตวิญญาณธรรมศาสตร์ จิตวิเคราะห์ จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาการเรียนรู้

แหล่งที่มา

WikiPedia: จิตวิทยาเชิงบวก http://www.cbc.ca/ideas/episodes/2011/06/20/say-no... http://awesomeculture.com/2011/09/13/the-science-o... http://doubtreligion.blogspot.com/2010/06/rd-extra... http://www.bmj.com/cgi/pmidlookup?view=long&pmid=1... http://www.cape-coral-daily-breeze.com/page/conten... http://www.chicagotribune.com/suburbs/northbrook/c... http://www.economist.com/node/17722557 http://www.economist.com/node/17722567 http://www.economist.com/world/na/PrinterFriendly.... http://www.forbes.com/2010/07/14/world-happiest-co...