สารสำคัญในชาขาวที่มีประโยชน์ ของ ชาขาว

ชานั้นถือว่ามีประโยชน์ในร่างกายเพราะประกอบไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามิน แร่ธาตุ อัลคาลอยด์ กรดอะมิโน น้ำมันหอมระเหย (volatile oil) และน้ำ[3] จากกรรมวิธีการผลิตชาขาวที่ผ่านกระบวนการเพียงเล็กน้อย ทำให้ชาขาวยังคงสารที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าชาชนิดอื่น อีกทั้งส่วนประกอบต่าง ๆ ของชาขาวยังส่งผลต่อกลิ่น รสชาติ และบ่งบอกถึงคุณภาพของชา

สารต้านอนุมูลอิสระ

สารต้านอนุมูลอิสระที่พบในชาขาวส่วนใหญ่เป็นสารโพลีฟีนอล (polyphenol) จำพวกสารคาเทชิน (catechin)] ซึ่งพบมากถึง 70% ของปริมาณสารโพลีฟีนอลทั้งหมดที่มีในชาขาว[3] มีคุณสมบัติที่ดีต่อสุขภาพ คือ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง ลดระดับของคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ในเลือด กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ต้านแบคทีเรีย ไวรัส และป้องกันฟันผุ เมื่อเปรียบเทียบปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระจากการบริโภคชาขาวหนึ่งแก้ว พบว่าการบริโภคชาขาวได้รับสารปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าการบริโภคผักและผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง เช่น ผักโขม บร๊อคโคลี่ สตรอเบอรี่ ในสัดส่วนการบริโภคที่เท่ากัน จากผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยคิงสตัน (Kingston University) ประเทศอังกฤษซึ่งได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับคุณสมบัติและสารอาหารจากพืชผักชนิดต่าง ๆ กว่า 21 ชนิดและสารสกัดจากสมุนไพรประเภทต่าง ๆ ว่ามีประโยชน์อย่างไรต่อร่างกายมนุษย์ พบว่า สารอาหารที่มีประโยชน์ในชาขาวมีปริมาณมากกว่าพืชและสารสกัดจากสมุนไพรชนิดอื่น ๆ การดื่มชาขาวจึงมีผลดีต่อสุขภาพมาก[6]

สารคาเทชิน

สารคาเทชินประกอบไปด้วย Epigallocatechin (EGC), Epicatechin (EC), Catechin (C), Epigallocatechin -3-gallate (EGCG), Epicatechin-3-gallate (ECG) และ Gallocatechin (GC) สารโพลีฟีนอลเหล่านี้ สารที่พบมากที่สุด คือ EGCG พบประมาณ 50% ของประมาณสารต้านอนุมูลอิสระในชาขาว สาร EGCG เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูงมากกว่าวิตามินเอและวิตามินซีถึง 100 เท่า[7] ทำให้มีคุณสมบัติในการช่วยยับยั้งการสร้างไนโตรซามีน (nitrosamine) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง รุนแรงได้ดีกว่าวิตามินซีมาก เพราะทำปฏิกิริยาได้เร็วและแรงกว่า นอกจากนั้น EGCG ยังสามารถยับยั้งการเปลี่ยนแปลงของเบสในดีเอ็นเอของเซลล์มะเร็ง (Hela cell) [8] ยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของไขมันเลว (low-density lipoprotein /LDL)[9] ซึ่งทำความเสียหายให้เซลล์ที่ผนังเส้นเลือดมากมาย และเป็นสาเหตุนำไปสู่โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis)

ไฟล์:โครงสร้างของCatechins (flavanols).jpgโครงสร้างของ Catechins (flavanols)

ตารางที่ 1 ชื่อสารคาเทชินชนิดต่าง ๆ ในชา[10]

ชื่อสารR1R2R3R4
(+) -catechinOHHOHH
(–) -epicatechinHOHOHH
(+) -gallocatechinOHHOHOH
(–) -epigallocatechinHOHOHOH
(–) -epicatechin gallateHgalloylOHH
(–) -epigallocatechin gallateHgalloylOHOH
(–) -epiafzelechin gallateHgalloylHH

ฟลาโวนอยด์

ชาขาวมีปริมาณของฟลาโวนอยด์ที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับชาชนิดอื่น โดยชาขาวมีปริมาณฟลาโวนอยด์ซึ่งเป็นสารประกอบ ของฟลาโวนอยด์มากกว่าชาชนิดอื่นถึง 14.2-21.4 เท่า ซึ่งฟลาโวนอยด์มีประสิทธิภาพสูงสุดในการต้านสารอนุมูลอิสระ[3] สามารถช่วยป้องกันการถูกทำลายของเซลล์และเนื้อเยื่อของร่างกายจากอนุมูลอิสระและออกซิเจน

สารคาเฟอีน

ประโยชน์อื่น ๆ ของการดื่มชาขาวคือ มีปริมาณคาเฟอีน ที่ต่ำกว่าชาชนิดอื่นโดยมีประมาณ 15 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภคของชา ซึ่งน้อยกว่าชาเขียวและชาดำที่มีปริมาณคาเฟอีน 20 มิลลิกรัม และ 40 มิลลิกรัม[3] ตามลำดับ ทั้งนี้ สารตัวนี้เป็นที่ถกเถียงกันในวงการแพทย์ว่ามีประโยชน์ หรือ โทษกันแน่ แต่โดยทั่วไปยอมรับกันว่าถ้าดื่มไม่เกินวันละ 200 มิลลิกรัม ก็ไม่มีผลเสียต่อร่างกาย

กรดอะมิโน

ชาขาวมีคุณสมบัติช่วยผ่อนคลายได้เนื่องจากมีกรดอะมิโนไทอามีน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่พบได้ตามธรรมชาติ ที่ช่วยให้รู้สึกสงบผ่อนคลายโดยที่ไม่ทำให้ง่วง

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ชาขาว http://www.cosmetochem.ch/upload/docs/publications... http://www.biomedcentral.com/1472-6882/9/27 http://findarticles.com/p/articles/mi_m3289/is_9_1... http://issuu.com/crcpress-taylor-and-francis/docs/... http://www.nutritionandmetabolism.com/content/6/1/... http://www.sciencedaily.com http://www.sciencedaily.com/releases/2003/11/03111... http://www.sciencedirect.com/science?_ob=ArticleUR... http://www.springerlink.com/content/pr77v52vk72858... http://www.springerlink.com/content/x3g67g65184q21...