การท่องเที่ยวและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ของ ชาวโตราจา

หมู่บ้านเกเตเกซู (Kete Kesu) สถานที่ท่องเที่ยวของโตราจาที่กำหนดโดยรัฐบาล

ก่อนทศวรรษ 1970 โตราจาแทบไม่เป็นที่รู้จักในการท่องเที่ยวจากโลกตะวันตก ในปี 1971 มีความยุโรปประมาณ 50 คนที่เดินทางมายังตานาโตราจา ในปี 1972 มีผู้เดินทางมาอย่างน้อย 400 คนเพื่อเข้าร่วมพิธีศพบอง Puang of Sangalla คนชั้นสูงที่ระดับสูงที่สุดของตานาโตราจาและคนที่เป็น "ชนชั้นสูงโตราจาเลือดบริสุทธิ์คนสุดท้าย" พิธีศพของเขามีการถ่ายทำและเก็บข้อมูลไว้โดย เนชั่นนัลจีโอกราฟิก ผู้นำไปฉายในประเทศยุโรปหลายประเทศ[10] ในปี 1976 มีนักท่องเที่ยวประมาณ 12,000 คนเดินทางมายังตานาโตราจา และในปี 1981 ประติมากรรมโตราจา ถูกนำไปจัดแสดงตามพิพิธภัณฑ์ใหญ่ ๆ ในอเมริกาเหนือ[43] "ดินแดนแห่งโลกบาลชาวโตราจา" ดังที่ระบุไว้ในโบรชัวร์ของนิทรรศการได้เริ่มเปิดรับต่อโลกภายนอก

ในปี 1984 กระทรวงการท่องเที่ยวอินโดนีเซียประกาศให้ตานาโตราจาเป็น prima donna ของซูลาเวซีใต้ ตานาโตราจาได้รับการป่าวประกาศว่าเป็น "จุดหมายที่สองต่อจากบาหลี"[7] การท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจน ในปี 1985 มีชาวต่างชาติรวม 150,000 คนที่เดินทางมายังตานาโตราจา (และยังมีนักท่องเที่ยวจากในประเทศอีก 80,000 คน)[6] และจำนวนนักท่องเที่ยวรายปีอยู่ที่ 40,000 คนในปี 1989[10] ร้านค้าของฝากได้เกิดขึ้นมากมายในรันเตปาโว (Rantepao) ศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของโตราจา ถนนได้ถูกปิดตรงบริเวณสถานที่ท่องเที่ยวที่มีผู้มาเยี่ยมเยียนมากที่สุด, โรงแรมและภัตตาคารสำหรับนักท่องเที่ยวเปิดตัวขึ้นมากมาย รวมถึงทางขึ้นลงเครื่องบินซึ่งสร้างขึ้นในตานาโตราจาและเปิดให้บริการในปี 1981[18]

นักพัฒนาด้านการท่องเที่ยวได้ทำการตลาดตานาโตราจาเป็นการผจญภัยแสนประหลาด (exotic adventure), ในฐานะพื้นที่ที่ร่ำรวยไปด้วยวัฒนธรรมและไม่ค่อยมีคนมาเที่ยวมาก นักท่องเที่ยวจากตะวันตกมีความคาดหวังที่จะได้เห็นหมู่บ้านรูปแบบยุคหินและพิธีกรรมแบบเพกัน โตราจานั้นมีไว้สำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาไกลถึงบาหลีและต้องการจะเห็นเกาะที่มีความป่า (wild) และยัง "ตัดขาดจากโลกภายนอก" (untouched) อย่างไรก็ตาม ชาวโตราจาที่นักท่องเที่ยวจะได้พบเห็นจริงจะสวมหมวกกับกางเกงยีนส์และอาศัยอยู่ในสังคมแบบคริสต์[10] นักท่องเที่ยวมีความรู้สึกว่า ตงโกนัน และพิธีกรรมโตราจาอื่น ๆ ถูกทำให้เป็นเกินจริง (preconceived) เพื่อสร้างรายได้ และตำหนิว่าจุดหมายปลายทางนี้ถูกทำเป็นธุรกิจมากเกินไป สิ่งนี้นำไปสู่การปะทะกันระหว่างชาวโตราจาและผู้พัฒนาการท่องเที่ยว ซึ่งชาวโตราจามองว่าเป็นคนนอก[6]

การปะทะกันระหว่างผู้นำโตราจากับรัฐบาลจังหวัดซูลาเวซีใต้ (ในฐานะผู้พัฒนาการท่องเที่ยว) ปะทุขึ้นในปี 1985 รัฐบาลกำหนดหมู่บ้านโตราจาจำนวน 18 หมู่บ้านและพื้นที่ฝังศพให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแบบพื้นเมือง มีการจัดอาณาเขตและข้อกำหนดสำหรับพื้นที่เหล่านั้น รวมถึงข้อห้ามชาวโตราจาในพื้นที่เองเปลี่ยนตงโกนเนและสถานที่ฝังศพของบรรพชน แผนนี้ถูกต่อต้านโดยผู้นำชาวโตราจาบางส่วนที่มองว่าพิธีกรรมและธรรมเนียมของตนถูกกำหนดโดยคนนอก ส่งผลในในปี 1987 หมู่บ้านเกเตเกซู (Kété Kesú) และสถานที่ท่องเที่ยวที่รัฐเป็นผู้กำหนดปิดไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้า อย่างไรก็ตามการปิดนี้ดำเนินไปเพียงไม่กี่วันก่อนที่ชาวบ้านจะพบว่ารายได้จากการขายของฝากนั้นมีส่วนสำคัญต่อความเป็นอยู่ของตน[6]

นอกจากนี้การท่องเที่ยวยังทำให้เกิดการเปลี่ยนโฉมสังคมโตราจา เดิมทีมีพิธีที่อนุญาตให้คนธรรมดาแต่งงานกับชนชั้นสูง (puang) เพื่อที่ลูกหลานจะได้รับความเป็นชนชั้นสูง อย่างไรก็ตาม ภาพของวัฒนธรรมโตราจาที่สร้างขึ้นเพื่อการท่องเที่ยว โดยเฉพาะจากมัคคุเทศก์ที่เป็น "ชนชั้นล่างกว่า" ได้กัดเซาะทำลายระบบลำดับชั้นทางสังคมที่เข้มงวดนี้[7] สถานะทางสังคมที่สูงในโตราจาไม่ได้รับการเคารพอย่างที่เคยเป็น ชายซึ่งมีลำดับชนชั้นต่ำกว่าสามารถประกาศตนและลูกหลานของตนเป็นชนชั้นสูงได้ผ่านการเก็บสะสมความมั่งคั่งของตนผ่านการทำงานนอกภูมิภาคและเข้าแต่งงานกับสตรีชนชั้นสูง