วัฒนธรรม ของ ชาวโตราจา

ตงโกนัน

ดูบทความหลักที่: ตงโกนัน
ธนบัตร 5000 รูปียะฮ์รูปตงโกนันสิ่งก่อสร้างของหน่วยบริหารในรันเตเปา สร้างด้วยหลังคาแบบตงโกนัน

บ้านของบรรพชนแบบดั้งเดิมของชาวโตราจาเรียกว่าตงโกนัน (Tongkonan) ตั้งอยู่สูงบนกองเม้า มีหลังคาไม้ไผ่แยกชั้นในรูปทรงโค้งแอ่นและมีงานแกะสลักไม้พร้อมรอยบากสีแดง, ดำ หรือเหลืองประดับบนผนังด้านนอก คำว่า "tongkonan" มาจากภาษาโตราจา tongkon ("นั่ง")

ตงโกนันเป็นศูนย์กลางของชีวิตทางสังคมโตราจา พิธีกรรมที่เกี่ยวกับตงโกนันล้วนเป็นการแสดงออกอย่างสำคัญซึ่งชีวิตทางจิตวิญญาณของตงโกนัน ฉะนั้นสมาชิกของครอบครัวทั้งหมดจีงถูกผลักดันให้เข้าร่วม เพราะในทางสัญลักษณ์แล้วตงโกนันสะท้อนถึงบรรพชนและการดำรงอยู่ต่อไปของลูกหลานในอนาคต[8][18] ตามตำนานโตราจา ตงโดนันหลังแรกสร้างขึ้นบนสวรรค์โดยมีเสาสี่เสารองรับ หลังคาทำมาจากผ้าอินเดีย เมื่อบรรพชนโตราจารุ่นแรงเดินทางลงมาจากสวรรค์ พวกเขาเหล่านั้นได้เลียนแบบบ้านบนสวรรค์และรวมกันเป็นชุมชนใหญ่[23] การก่อสร้างตงโกนันนั้นเป็นงานที่ใช้แรงงานจำนวนมาก และมักต้องใช้การทำงานร่วมกันของคนในครอบครัวขยาย

ตงโกนันแบ่งออกเป็นสามชนิดคือ ตงโกนันลายุก (tongkonan layuk) บ้านของผู้มีอกนาจสูงสุด ใช้เป็น "ศูนย์กลางการปกครองและบริหาร" ส่วน ตงโกนันเปอกัมเบอนัน (tongkonan pekamberan) เป็นของสมาชิกในครอบครัวที่ยังคงมีอำนาจบ้างในธรรมเนียมท้องถอ้น ครอบครัวคนธรรมดาจะอาศัยอยู่ใน ตงโกนันบาตู (tongkonan batu)

งานแกะสลักไม้

ชาวโตราจาแกะสลักไม้เพื่อใช้บอกเล่าแนวคิดทางศาสนาและสังคม งานแกะสลักไม้นั้นเรียกว่า Pa'ssura ("งานเขียน") งานแกะสลักไม้จึงเป็นการแสดงออกรูปแบบหนึ่งของวัฒนธรรมชาวโตราจา

งานแกะสลักแต่ละชิ้นมีชื่อเฉะาะของตัวเอง แม่บทที่นิยมแกะสลักคือสัตว์และพืชซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของคุณธรรม เช่น พืชน้ำและสัตว์น้ำอย่างปู, ลูกอ๊อด และวัชพืชน้ำ มักใช้โดยทั่วไปเพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนความอุดมสมบูรณ์ ในบางพื้นที่ ชนชั้นสูงอ้างว่าสัญลักษณ์เหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ของความแข็งแกร่งมั่นคงของครอบครัวชนชั้นสูง แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะเห็นด้วย ความหมายโดยรวมของกลุ่มแม่บทงานแกะสลักบนบ้านยังคงเป็นที่ถกเถียงอยู่[8] และการท่องเที่ยวยิ่งทำให้การถกเถียงนี้ซับซ้อนยิ่งขึ้นไปอีกเพราะบางคนเชื่อว่าควรมีคำอธิบายมาตรฐานชุดหนึ่งให้กับนักท่องเที่ยวเข้าใจ[8] งานแกะสลักไม้โตราจาประกอบด้วยแผ่นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสจำนวนมาก แต่ละชิ้นเป็นรูปตัวแทนถึงสิ่งต่าง ๆ เช่นควายเป็นตัวแทนของคำปรารถนาถึงความมั่งคั่งและครอบครัว; กล่องและรูปเงื่อนเป็นสัญลักษณ์แทนความหวังว่าลูกหลานของครอบครัวจะมีความสุจและอาศัยกันอย่างกลมเกลียว; สัตว์น้ำแสดงถึงความต้องการงานที่หน้กและเร็วเหมือนการเคลื่อนที่ไปบนน้ำ

ความเป็นระเบียบสม่ำเสมอและลำดับเป็นลักษณะทั่วไปในงานแกะสลักไม้ของโตราจา (ดูเพิ่มในตารางด้านล่าง) เช่นเดียวกับงานออกแบบนามธรรมและรูปร่างเรขาคณิต ธรรมชาติมักถูกนำมาใช้เป็นพื้นฐานของการตกแต่งแบบโตราจาเพราะธรรมชาติเต็มไปด้วยรูปนามธรรมและเรขาคณิตที่มีระเบียบและลำดับในตัว[24] ของตกแต่งของโตราจาได้รับการศึกษาในทางคณิตศาสตร์ชาติพันธุ์วิทยา เพื่อทำความเข้าใจลักษณะทางคณิตศาสตร์ของมัน อย่างไรก็ตามชาวโตราจาวางรากฐานงานเหล่านี้ขึ้นมาจากการประมาณการเท่านั้น[24] ในการทำของตกแต่งนั้น แท่งไผ่มีนำมาใช้เป็นเครื่องมือเรขาคณิต

ลวดลายโตราจาบางส่วน
pa'tedong
(ควาย)
pa'barre allo
(พระอาทิตย์ส่องแสง)
pa're'po' sanguba
(เต้นอยู่คนเดียว)
ne'limbongan
(นักออกแบบในตำนาน)
ภาพราสเตอร์มาจาก [25]

พิธีศพ

พิธีศพขณะแบกหามโลงศพซึ่งทำเป็นรูปเลียนแบบ ตงโกนัน

ในสังคมโตราจา พิธีศพเป็นพิธีที่ประณีตและใช้ค่าใช้จ่ายสูงที่สุด ซึ่งจะสูงขึ้นตามความร่ำรวยและอำนาจของบุคคลนั้น ๆ ในศาสนา อาลูก มีเพียงชนชั้นสูงเท่านั้นที่มีสิทธิ์ในการจัดเทศกลาพิธีศพอย่างอลังการ[26] พิธีศพของคนชั้นสํงมักมีผู้เข้าร่วมหลายพันคนและจัดขึ้นหลายวัน สถานที่จัดพิธีกรรมเรียกว่า rante มักเป็นทุ่งหญ้าโล่งกว้างที่มีที่พักพิงสำหรับผู้เข้าร่วม, ยุ้งฉาง และสิ่งก่อสร้างเพื่อพิธีศพอื่น ๆ สร้างขึ้นเป็นพิเศษให้กับครอบครัว การแสดงออกซึ่งความสูญเสียของชาวโตราจาจะแสดงออกผ่านทางดนตรีขลุ่ย, บทสวดศพ, ดนตรี และบทกวี รวมกับเสียงของการร้องไห้คร่ำครวญ ความรู้สึกสูญเสียนี้จะไม่ปรากฏในเด็กเล็ก, คนจน และผู้ใหญ่ที่ไม่มีสถานะสูง[27]

พิธีศพมักจัดเป็นเวลาหลายสัปดาห์, เดือน หรือแม้แต่ปีหลังเสียชีวิต เพื่อที่ครอบครัวของผู้เสียชีวิตสามารถรวบรวมทุนสำหรับจ่ายค่าพิธีศพได้[28] ชาวโตราจามีความเชื่อตามธรรมเนียมว่าการตายไม่ใช่ขั้นตอนที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน แต่เป็นกระบวนการอย่างค่อยเป็นค่อยไปสู่ Puya (ดินแดนของวิญญาณหรือชีวิตหลังความตาย) ขณะรอช่วงเวลานั้น ร่างของผู้ตายจะถูกห่อด้วยผ้าหลายชั้นและเก็บไว้ใน้ ตงโกนัน เชื่อกันว่าวิญญาณของผู้ตายจะวนเวียนอยู่ในหมู่บ้านจนกว่าพิธีศพจะสมบูรณ์ จากนั้นจึงเริ่มการเดินทางไปสู่ Puya[29]

ที่ฝังศพแบบ Tau tau (หุ่นพยนต์) ไว้ในถ้ำแกะสลักบนหน้าผาและวางศพโดยให้ศพมองออกมายังพื้นที่ของหมู่บ้าน

องค์ประกอบอีกประการของพิธีศพคือการฆ่าควาย ซึ่งยิ่งบุคคลนั้นมีอำนาจมากเท่าไรก็จะยิ่งมีการฆ่าควายระหว่างเทศกาลศพมากเท่านั้น ซากศพของควายรวมถึงหัวของมันมักถูกนำมาเรียงกันเพื่อรอคอยเจ้าของของมันผู้ซึ่งอยู่ใน "ภาวะหลับใหล" อยู่ เชื่อกันว่าผู้ตายจะใช้ควายนี้เพื่อเดินทางและจะยิ่งเดินทางไปถึง Puya ได้เร็วหากมีควายมาก การฆ่าควายหลายสิบตัวและหมูหลายสิบตัวโดยใช้มีดมาเชเตเป็นจุดสูงสุดของพิธีกรรมอันประณีต ประกอบการเต้นรำประกอบดนตรี และเด็กผู้ชายไล่จับเลือดที่กระเซ็นลงในท่อที่ทำจากไม้ไผ่ สัตว์บางส่วนที่ถูกฆ่าได้มาจากผู้เข้าร่วมพิธีในฐานะ "ของขวัญ" ซึ่งอาจถือว่าเป็นหนี้ของครอบครัวผู้ตาย[30] อย่างไรก็ตาม การชนไก่ หรือ bulangan londong เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรม และมีความศักดิ์สิทธิ์เช่นเดียวกับการฆ่าหมูและควาย เพราะล้วนมีส่วนที่เลือดหยดลงบนแผ่นดิน ตามธรรมเนียมระบุว่าต้องมีการบูชายัญได้อย่างน้อยสามชีวิต อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปจัดไก่ชนอย่างน้อย 25 คู่สำหรับพิธี[31]

ชาวโตราจาขณะประกอบพิธี Ma'Nene ให้กับผู้ตายสองร่าง

สำหรับการฝังศพมีอยู่สามวิธี: โลงศพอาจวางไว้ในถ้ำ, ในหลุมศพหินแกะสลัก หรือ แขวนไว้ตามหน้าผา โดยในการฝังจะมีของติดตัวผู้ตายที่ต้องใช้ในโลกหลังความตาย ศพของผู้มั่งคั่งมักจะฝังในที่ฝังศพหินที่แกะสลักบนหน้าผา ที่ฝังแบบนี้มักมีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะสร้างเสร็จ ในบางพื้นที่อาจใช้ถ้ำหินที่มีขนาดใหญ่พอสำหรับครอบครัวหนึ่ง หุ่นพยนต์แกะสลักจากไม้ เรียกว่า Tau tau มักนำไปวางในถ้ำและมองออกมาสู่ดินแดน[32] ส่วนโลงศพของทารกหรือเด็กอาจแขวนด้วยเชือกแล้วห้อยกับหน้าผาหรือต้นไม้ สุสานแบบแขวนเหล่านี้มักคงอยู่เป็นเวลาหลายปีกว่าเชือกจะเน่าสลายและศพตกลงสู่พื้น

พิธี Ma'Nene จัดขึ้นทุกปีในเดือนสิงหาคม ซึ่งจะนำร่างผู้ตายออกมาจากที่ฝังศพเพื่อล้างทำความสะอาด, ตกแต่ง และแต่งตัวให้ใหม่ในเสื้อผ้าชุดใหม่[33]

การร่ายรำและดนตรี

ผู้แสดงการเต้นรำแบบ Pa'gellu ในตานาโตราจา

ชาวโตราจาแสดงการเต้นรำในหลายโอกาส โดยเฉพาะในระหว่างพิธีศพอันประณีตของโตราจา เพื่อแสดงความสูญเสียและให้เกียรติหรือแม้แต่ให้กำลังใจแก่ผู้ตายในการเดินทางสู่โลกหลังความตาย อันดับแรก กลุ่มซึ่งประกอบด้วยผู้ชายจะล้อมวงกันร้องเพลงสวดซึ่งมีลักษณะโทนเดียว (monotonous chant) ตลอดทั้งคืนเพื่อให้เกียรติแก่ผู้ตาย (พิธีนี้เรียกว่า Ma'badong)[9][30] ชาวโตราจาหลายคนถือว่านี่เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของพิธี[27] ในพิธีศพวันที่สอง การร่ายรำนักรบ Ma'randing จะมีขึ้นเพื่อสรรเสริญความกล้าหาญของผู้ตายขณะมีชีวิตอยู่ ผู้ชายหลายคนแสดงโดยใช้ดาบ, โล่อะนใหญ่ทำมาจากหนังควาย, เครื่องสวมศีรษะประดับเขาควายและของตกแต่งอื่น ๆ หลังการร่ายรำ Ma'randing เสร็จสิ้น จะตามด้วยพิธีขนย้ายศพออกจากยุ้งฉางไปสู่ rante สถานที่จัดพิธีศพ ขณะพิธีศพ ผู้เฒ่าสตรีจะประกอบการร่ายรำ Ma'katia ประกอบการร้องดนตรีจากบทกวี ในชุดขนนกยาว การร่ายรำ Ma'akatia นั้นมีขึ้นเพื่อเตือนผู้เข้าร่วมพิธีถึงความใจกว้างและความซื่อสัตย์ของผู้ตาย หลังเสร็จสิ้นพิธีเลือดสาดในการฆ่าหมูและควาย เด็กหญิงชายจะร่วมปรบมือขณะประกอบการร่ายรำ Ma'dondan

เช่นเดียวกับในสังคมการเกษตรอื่น ๆ การร่ายรำและขับร้องแบบโตราจามีประกอบขึ้นในการเก็บเกี่ยว การร่ายรำ Ma'bugi เฉลิมฉลองเทศกาลขอบคุณพระเจ้า และการร่ายรำ Ma'gandangi แสดงขึ้นขณะชาวโตราจาบดข้าว[34] การร่ายรำประกอบอาวุธ เช่น Manimbong ของผู้ชาย ตามด้วย Ma'dandan ของผู้หญิง ศาสนา อาลูก ยังกำหนดโอกาสและวิธีการร่ายรำของโตราจา การร่ายรำ Ma'bua สามารถมีได้ทุก ๆ 12 ปี ซึ่ง Ma'bua เป็นเทศกาลหลักของโตราจาที่ซึ่งนักบวชจะสวมหัวควายและร่ายรำรอบต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์

เครื่องดนตรีดั้งเดิมของโตราจาคือขลุ่ยไม้ไผ่เรียกว่า Pa'suling (suling เป็นคำภาษาอินโดนีเซียใช้เรียกขลุ่ย) ขลุ่ยหกรู (ซึ่งปรากฏในที่อื่นนอกจากวัฒนธรรมโตราจา) นี้ใช้บรรเลงในการร่ายรำหลายโอกาส เช่นการร่ายรำขอบคุณพระเจ้า Ma'bondensan ที่ซึ่งดนตรีของขลุ่ยประกอบชายเปลือยท่อนบนร่ายรำกับเล็บนิ้วที่ยาว เครื่องดนตรีท้องถิ่นของโตราจาชิ้นอื่น ๆ เช่น Pa'pelle (ทำมาจากใบปาล์ม) และ Pa'karombi (จอว์ฮาร์พแบบโตราจา) โดย Pa'pelle นั้นใช้บรรเลงระหว่างพิธีเก็บเกี่ยวและขึ้นบ้านใหม่[35]

มุมมองต่อรักร่วมเพศ

ในบรรดาชาวซาอาดัน (Saʼadan) หรือโตราจาตะวันออก บนเกาะซูลาเวซี มีหมอพระ (shaman) ที่เป็นชายรักร่วมเพศ เรียกว่าโตบูราเก ตัมโบลัง (toburake tambolang) ในขณะที่เพื่อบ้านชาวมามาซา (Mamasa) หรือโตราจาตะวันตก ซึ่งมีเพียงหมอพระสตรีรักเพศตรงข้ามที่เรียกว่า โตบูราเก (toburake) เท่านั้น[36]