ชาวโตราจา
ชาวโตราจา

ชาวโตราจา

ชาวโตราจา เป็นกลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมืองของภูมิภาคภูเขาบนเกาะซูลาเวซีใต้ ประเทศอินโดนีเซีย มีประชากรอยู่ประมาณ 1,100,000 คน ในจำนวนี้มี 450,000 คนที่อาศัยอยู่ในเรเจนซีตานาโตราจา ("ดินแดนโตราจา")[1] ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ที่เหลือนับถือศาสนาอิสลามและลัทธิวิญญาณนิยมพื้นถิ่นที่เรียกว่า อาลูก (aluk; "หนทาง") รัฐบาลอินโดนีเซียขึ้นทะเบียนความเชื่อนี้ในชื่อ อาลูกโตโดโล (Aluk To Dolo; "หนทางบรรพชน")คำว่า โตราจา (Toraja) มาจากคำในภาษาบูกีส to riaja แปลว่า "คนที่สูง" รัฐบาลอาณานิคมชาวดัตช์เรียกชนกลุ่มนี้ว่าชาว โตราจา ในปี 1909[5] ชาวโตราจาเป็นที่รู้จักจากพิธีศพที่ประณีต, สถานที่ฝังศพซึ่งแกะสลักเข้าไปในหน้าผา, บ้านทรงตงโกนันซึ่งมีหลังคายอดแหลมใหญ่ และงานแกะสลักไม้สีสันสดใส พิธีศพแบบโตราจาเป็นกิจกรรมทางสังคมที่สำคัญ โดยทั่วไปมีผู้เข้าร่วมหลายร้อยคนและจัดขึ้นเป็นเวลาหลายวันก่อนศตวรรษที่ 20 ชาวโตราจาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านปกครองตนเอง นับถือลัทธิวิญญาณนิยม และขาดการติดต่อจากโลกภายนอก จนกระทั่งต้นทศวรรษ 1900 มิชชันนารีชาวดัตช์ได้เดินทางเข้ามาเพื่อเปลี่ยนศาสนาชาวโตราจาเข้าสู่คริสต์ศาสนิกชน เมื่อเรเจนซีตานาโตราจาเปิดกว้างสู่โลกภายนอกในทศวรรษ 1970 โตราจาได้กลายเป็นสิ่งโดดเด่นหนึ่งของการท่องเที่ยวในประเทศอินโดนีเซีย ชาวโตราจาได้รับการพัฒนาเชิงท่องเที่ยว และเป็นเป้าหมายการศึกษาในทางมานุษยวิทยา[6] ในทศวรรษ 1990 ที่ซึ่งการท่องเที่ยวอยู่ที่จุดสูงสุด สังคมโตราจาเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จากสังคมเกษตรกรรมที่ซึ่งชีวิตทางสังคมและจารีตมีรากฐานจากอาลูกโตโดโล ไปสู่สังคมซึ่งมีความเป็นคริสต์ชนเป็นหลัก[7] ในปัจจุบัน การท่องเที่ยวและเงินที่ส่งเข้ามาจากชาวโตราจาโพ้นทะเลได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในที่สูงโตราจา สร้างชื่อเสียงของโตราจาในอินโดนีเซียและผลิตความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ของโตราจาขึ้นมา[8]

ชาวโตราจา

ซูลาเวซีใต้ 600,000[2]
ซูลาเวซีตะวันตก 179,846 (14% ของประชากร)[3]