การนิยามเหตุการณ์การแพร่กระจายเชื้อมากเป็นพิเศษ ของ ซูเปอร์สเปรดเดอร์

แม้ว่าจะมีคำจำกัดความซึ่งไม่เคร่งครัดของการแพร่กระจายเชื้อมากเป็นพิเศษอยู่แล้ว แต่ก็มีความพยายามในการกำหนดนิยามคุณสมบัติที่เหมาะสม ของเหตุการณ์การแพร่กระจายเชื้อมากเป็นพิเศษ (Super-spreading event, SSE) Lloyd-Smith และคณะ (ค.ศ. 2005) กำหนดเกณฑ์วิธีเพื่อระบุเหตุการณ์การแพร่กระจายเชื้อมากเป็นพิเศษ ดังต่อไปนี้:[2]

  1. ประเมินจำนวนระดับการติดเชื้อที่มีประสิทธิผล R สำหรับโรคและประชากรที่เป็นปัญหา
  2. สร้างการแจกแจงปัวซงด้วยค่าเฉลี่ย R ซึ่งเป็นตัวแทนของช่วงที่คาดหวังของ Z ซึ่งเนื่องมาจากการเฟ้นสุ่มโดยไม่มีการผันแปรรายตัว
  3. กำหนด SSE เป็นผู้ติดเชื้อที่ติดเชื้อมากกว่า Z(n) อื่น ๆ โดยที่ Z(n) คือเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ n ของการแจกแจงปัวซง (R)

เกณฑ์วิธีนี้กำหนด เปอร์เซ็นไทล์ที่ 99 ของ SSE เป็นกรณีที่ทำให้เกิดการติดเชื้อมากกว่าที่จะเกิดขึ้นใน 99% ของประวัติการติดเชื้อในประชากรที่เป็นกลุ่มเดียวกัน[2]
ระหว่างการระบาดของโรคซาร์สในปี พ.ศ. 2546 ที่ปักกิ่ง ประเทศจีน นักระบาดวิทยาได้กำหนดให้ซูเปอร์สเปรดเดอร์แต่ละคน เป็นผู้ที่แพร่เชื้อโรคซาร์สติดต่อไปยังผู้รับเชื้ออย่างน้อยแปดคน[4]
ซูเปอร์สเปรดเดอร์อาจแสดงอาการของโรคหรือไม่ก็ได้[5][6]

ใกล้เคียง

ซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์ ซูเปอร์แมน ซูเปอร์จูเนียร์ ซูเปอร์ไบค์เวิลด์แชมเปี้ยนชิพ ซูเปอร์แดนเซอร์ออนไลน์ ซูเปอร์วิงส์ เหินฟ้าผู้พิทักษ์ ซูเปอร์โบวล์ครั้งที่ 51 ซูเปอร์โบวล์ครั้งที่ 50 ซูเปอร์สเปรดเดอร์ ซูเปอร์จิ๋ว

แหล่งที่มา

WikiPedia: ซูเปอร์สเปรดเดอร์ http://www.afpbb.com/articles/-/3030499 http://www.bbc.com/news/health-38955871 http://www.latimes.com/science/sciencenow/la-sci-s... http://adsabs.harvard.edu/abs/2005Natur.438..293G http://adsabs.harvard.edu/abs/2005Natur.438..355L http://www.ecdc.europa.eu/ //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1758225 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3322930 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10615314 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15030693