ซูเปอร์สเปรดเดอร์ระหว่างการระบาด ของ ซูเปอร์สเปรดเดอร์

การระบาดของโรคซาร์ส พ.ศ. 2546

มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการแพร่ระบาดของโรคซาร์สในปี พ.ศ. 2546

กรณีแรกของโรคซาร์สเกิดขึ้นในกลางเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ในมณฑลกวางตุ้งของจีน ตามมาด้วยการระบาดของโรคในฮ่องกงในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 Liu Jianlun (จีน: 劉劍倫; ยฺหวืดพิง: lau4 gim3 leon4) แพทย์ในมณฑลกวางตุ้งผู้ทำการรักษาผู้ป่วยโรคซาร์สที่นั่นได้ติดเชื้อไวรัสและมีอาการป่วย แม้จะมีอาการเขาได้เดินทางไปฮ่องกงเพื่อเข้าร่วมงานแต่งงานของคนในครอบครัว เขาพักอยู่บนชั้นเก้าของโรงแรมเมโทรโพลในเกาลูน และแพร่เชื้อไปยังแขกของโรงแรมอีก 16 คนที่อยู่บนชั้นนั้น ซึ่งเขาเหล่านั้นได้เดินทางต่อไปยังแคนาดา, สิงคโปร์, ไต้หวัน และเวียดนาม ซึ่งแพร่กระจายโรคซาร์สไปยังสถานที่เหล่านั้น และได้กลายเป็นโรคระบาดระดับโลก[16]

ในอีกกรณีหนึ่งในช่วงที่มีการระบาดของโรค ชายอายุ 54 ปีได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยอาการโรคหลอดเลือดหัวใจ, ไตวายเรื้อรัง และเบาหวานชนิดที่ 2 เขาได้สัมผัสติดต่อกับผู้ป่วยที่ทราบว่ามีโรคซาร์ส ไม่นานหลังจากที่เขาเข้ารับการรักษาเขามีไข้, ไอ, ปวดกล้ามเนื้อ และเจ็บคอ แพทย์ที่รับเข้ารักษาสงสัยว่าเป็นโรคซาร์ส ผู้ป่วยถูกย้ายไปที่โรงพยาบาลอื่นเพื่อรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจของเขา ในขณะนั้นอาการของโรคซาร์สของเขาก็ชัดเจนขึ้น ต่อมาพบว่าเขาแพร่โรคซาร์สไปยังผู้ป่วยอีก 33 คนในเวลาเพียงสองวัน เขาถูกย้ายกลับไปที่โรงพยาบาลเดิมซึ่งเขาได้เสียชีวิตลงจากโรคซาร์ส

โรคซาร์สระบาดในที่สุดก็ถูกควบคุม แต่ได้ทำให้เกิดผู้ป่วย 8,273 รายและ 775 คนเสียชีวิต ภายในสองสัปดาห์ของการเริ่มต้นระบาดในมณฑลกวางตุ้ง โรคซาร์สได้แพร่กระจายไปยัง 37 ประเทศ[17]

อัตราการได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดทั่วโลก ในปี พ.ศ. 2553

การระบาดของโรคหัด พ.ศ. 2532

โรคหัดเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่าย โดยเชื้อไวรัสที่แพร่ในอากาศ ปรากฏขึ้นอีกครั้งแม้ในหมู่ประชากรที่ได้รับวัคซีนในเมืองหนึ่งของฟินแลนด์ในปี พ.ศ. 2532 การระบาดของโรคในโรงเรียนส่งผลให้มีผู้ป่วย 51 ราย หลายรายเคยได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว มีผู้ติดเชื้อ 22 คนจาการแพร่เชื้อของเด็กเพียงคนเดียว มีการบันทึกไว้ในช่วงการระบาดครั้งนี้ว่า เมื่อพี่น้องที่ฉีดวัคซีนใช้ห้องนอนร่วมกับพี่น้องที่ติดเชื้อ เจ็ดในเก้ารายกลายเป็นผู้ติดเชื้อเช่นกัน[18]

ไข้รากสาดน้อย

อดีตโรงพยาบาลริเวอร์ไซด์บนเกาะนอร์ทบราเทอร์ สถานที่ซึ่งแมรี มัลลอน หรือ ไทฟอยด์แมรี ถูกกักกันโดยไม่สมัครใจ (ภาพปี พ.ศ. 2549)

ไข้รากสาดน้อย หรือไข้ไทฟอยด์ เป็นโรคเฉพาะของมนุษย์ที่เกิดจากแบคทีเรีย Salmonella Typhi ซึ่งสามารถติดต่อได้ง่ายและดื้อต่อยาปฏิชีวนะ[19] S. Typhi มีความไวต่อการสร้างพาหะที่ไม่มีอาการ ผู้เป็นพาหะที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ แมรี เมลลอน (Mary Mallon) หรือที่รู้จักกันในนาม ไทฟอยด์แมรี จากมหานครนิวยอร์ก และ N. the Milker จาก โฟล์กสเติน (Folkestone) ประเทศอังกฤษ[20] ทั้งสองเป็นพาหะในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน มัลลอนแพร่เชื้อให้กับ 51 คนจากปี พ.ศ. 2445 ถึง พ.ศ. 2452 ส่วน N. the Milker แพร่เชื้อไปยังมากกว่า 200 คนในช่วง 14 ปีระหว่าง พ.ศ. 2444 ถึง พ.ศ. 2458 ตามคำร้องขอของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข N. the Milker ได้เลิกทำงานด้านบริการอาหาร ส่วน มัลลอนในครั้งแรกได้ยินยอมและเลือกทำงานด้านอื่น แต่ในที่สุดเธอก็กลับไปทำอาหารและทำให้เกิดการระบาดต่อไป เธอถูกกักตัวโดยไม่สมัครใจที่ เกาะบราเทอร์ส ในนิวยอร์ก ซึ่งเธออาศัยอยู่จนกระทั่งเสียชีวิตในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ขณะอายุ 69 ปี[21]

มีการค้นพบว่าเชื้อ Salmonella Typhi ยังคงอยู่ในเซลล์เม็ดเลือดขาวแมโครเฟจ ในหนูที่ติดเชื้อจากสถานะการอักเสบไปสู่สถานะที่ไม่อักเสบ แบคทีเรียยังคงอยู่และขยายพันธุ์โดยไม่ทำให้เกิดอาการเพิ่มเติมในหนู และสิ่งนี้ช่วยอธิบายว่าทำไมพาหะจึงไม่มีอาการป่วย[22][23][24][25]

ไข้เลือดออกอีโบลา

ในช่วงที่มีการระบาดของโรคอีโบลาในปี พ.ศ. 2557 มีการระบุการเกิดซูเปอร์สเปรดเดอร์ และการศึกษารายงานพบว่าผู้ติดเชื้อ 61% นั้นมาจากผู้ป่วยเพียง 3% เท่านั้น[26][27] มีบางคนชี้ให้เห็นว่าวิธีการฝังศพแบบแอฟริกาตะวันตกมีส่วนในการแพร่กระจายเชื้อมากเป็นพิเศษ[28]

ใกล้เคียง

ซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์ ซูเปอร์แมน ซูเปอร์จูเนียร์ ซูเปอร์ไบค์เวิลด์แชมเปี้ยนชิพ ซูเปอร์แดนเซอร์ออนไลน์ ซูเปอร์วิงส์ เหินฟ้าผู้พิทักษ์ ซูเปอร์โบวล์ครั้งที่ 51 ซูเปอร์โบวล์ครั้งที่ 50 ซูเปอร์สเปรดเดอร์ ซูเปอร์จิ๋ว

แหล่งที่มา

WikiPedia: ซูเปอร์สเปรดเดอร์ http://www.afpbb.com/articles/-/3030499 http://www.bbc.com/news/health-38955871 http://www.latimes.com/science/sciencenow/la-sci-s... http://adsabs.harvard.edu/abs/2005Natur.438..293G http://adsabs.harvard.edu/abs/2005Natur.438..355L http://www.ecdc.europa.eu/ //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1758225 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3322930 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10615314 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15030693