ตระกูลภาษาเอสกิโม–อะลิวต์
ตระกูลภาษาเอสกิโม–อะลิวต์

ตระกูลภาษาเอสกิโม–อะลิวต์

ตระกูลภาษาเอสกิโม–อะลิวต์ (อังกฤษ: Eskimo–Aleut languages), ตระกูลภาษาเอสกาลิวต์ (Eskaleut languages) หรือ ตระกูลภาษาอินูอิต-ยูปิก-อูนางัค (Inuit-Yupik-Unangan languages)[2] เป็นตระกูลภาษาพื้นเมืองในอะแลสกา, นูนาวุต, นอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์ตอนเหนือ (ภูมิภาคนิคมอินูวิอาลูอิต), ควิเบกตอนเหนือ (นูนาวิก), แลบราดอร์ตอนเหนือ (นูนัตซิอาวุต), กรีนแลนด์ และรัสเซียตะวันออกไกล (คาบสมุทรชุกชี)ตระกูลภาษาเอสกิโม–อะลิวต์แบ่งออกเป็นสองสาขา ได้แก่ สาขาเอสกิโมและสาขาอะลิวต์ สาขาอะลิวต์มีเพียงภาษาเดียวคือภาษาอะลิวต์ ใช้พูดในหมู่เกาะอะลูเชียนและหมู่เกาะพริบิลอฟ และแบ่งออกเป็นหลายภาษาถิ่น ส่วนสาขาเอสกิโมแบ่งออกเป็นสองสาขา ได้แก่ สาขายูปิกซึ่งพูดในอะแลสกาตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้และในคาบสมุทรชุกชี และสาขาอินูอิตซึ่งพูดในอะแลสกาเหนือ แคนาดา และกรีนแลนด์ และประกอบด้วยหลายวิธภาษา วิธภาษาที่อยู่ใกล้กันจะมีความคล้ายคลึงกัน ส่วนวิธภาษาในหมู่เกาะไดออมีดและกรีนแลนด์ตะวันออกซึ่งอยู่ในระยะไกลที่สุดจากศูนย์กลางจะมีความแตกต่างกันมาก[3]การพิจารณาตำแหน่งที่เหมาะสมของภาษาซีเรนีกีในสาขาเอสกิโมยังไม่เป็นที่ยุติ นักภาษาศาสตร์บางคนถือว่าภาษานี้เป็นสาขาหนึ่งของสาขายูปิก[4] ในขณะที่นักภาษาศาสตร์คนอื่น ๆ ถือว่าเป็นสาขาต่างหากในสาขาเอสกิโมร่วมกับสาขายูปิกและสาขาอินูอิต[5]

ตระกูลภาษาเอสกิโม–อะลิวต์

ใกล้เคียง

ตระกูลชินวัตร ตระกูลจิราธิวัฒน์ ตระกูลเจียรวนนท์ ตระกูลภาษาขร้า–ไท ตระกูลบุนนาค ตระกูลเจ้าเจ็ดตน ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ตระกูลอักษรพราหมี ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ตระกูลล่ำซำ