ตะพาบม่านลาย
ตะพาบม่านลาย

ตะพาบม่านลาย

ตะพาบม่านลาย (อังกฤษ: Narrow headed softshell turtles) เป็นสกุลของสัตว์เลื้อยคลานจำพวกตะพาบ 3 ชนิด ใช้ชื่อสกุลว่า Chitra (/ชิ-ตร้า/)มีรูปร่างโดยรวมคือ เป็นตะพาบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก หัวและตามีขนาดเล็ก เมื่อโตเต็มที่ ขนาดกระดองยาวได้ถึงเมตรเศษ น้ำหนักกว่า 120–200 กิโลกรัม กระดองแบนเรียบสีครีมหรือสีเนื้อ มีจุดเด่นที่เป็นลักษณะสำคัญ คือ มีลายสีน้ำตาลแลดูสวยงาม ที่ขนาดและลักษณะแตกต่างออกไปในช่วงวัยและชนิดพันธุ์ หัวเล็ก เท้าเป็นแผ่นผังผืด มีเล็บใหญ่แข็งแรง กรามแข็งแรงใช้สำหรับขบกัดสัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็งและสัตว์มีกระดูกสันหลังบางประเภท เช่น กบหรือเขียด เป็นอาหารได้เป็นอย่างดี[2]พบกระจายพันธุ์เฉพาะแม่น้ำขนาดใหญ่บางสายเท่านั้น ในอนุทวีปอินเดียและภูมิภาคอินโดจีน เช่น ไทย, พม่า, มาเลเซีย และอินโดนีเซียปัจจุบันจำแนกออกได้ 3 ชนิด คือ[3]มีพฤติกรรม คือ เป็นตะพาบที่ชอบซุ่มซ่อนตัวอยู่ใต้พื้นทรายที่มีน้ำไหลเพื่อรอดักเหยื่อ โดยจะไม่ขึ้นมาบกบนเลย นอกจากเพื่อวางไข่เท่านั้น โดยจะขุดหลุมวางไข่บนหาดทรายริมแม่น้ำเหมือนกับเต่าน้ำและตะพาบชนิดอื่น ออกไข่ครั้งโดยเฉลี่ยครั้งละ 60–100 ฟอง ใช้เวลาฟักเป็นตัวนาน 65 วันเป็นตะพาบที่มีขนาดใหญ่และลวดลายที่สวยงาม จึงทำให้ตะพาบม่านลายทุกชนิดกลายเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ เพราะถูกจับมาขายเพื่อเป็นสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะในชนิด C. chitra ที่พบได้ในภาคกลางของไทย ที่ไม่มีรายงานการพบในธรรมชาติมานานกว่า 30 ปีแล้ว แต่ในปัจจุบัน สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในที่เลี้ยงในทุกชนิด[4] แต่ก็มีสนนราคาขายที่แพงมาก