วิธีและเทคนิคใช้ในงานวิจัย ของ ตัวกระตุ้น

เทคนิคตัวหนีบยึด

การวัดศักย์ของเยื่อหุ้มเซลล์เป็นไปได้ด้วยการใช้ไมโครอีเล็คโทรดในการบันทึกค่าศักย์ เทคนิค Patch clamp[47] ทำให้สามารถที่จะควบคุมความเข้มข้นของไอออนหรือลิพิด ภายในเซล์หรือภายนอกเซลล์ ในขณะที่สามารถบันทึกค่าศักย์ของเยื่อหุ้มเซลล์ด้วยในเวลาเดียวกัน ด้วยเทคนิคนี้ เราสามารถที่จะตรวจสอบอิทธิพลของเหตุนานาประเภทต่อขีดเริ่มเปลี่ยนและต่อการแพร่กระจายไปของศักย์ในเซลล์[6]

การสร้างภาพสมองโดยไม่ต้องผ่าตัด

เทคนิคโพซิตรอนอีมิสชันโทโมกราฟีและ fMRI ช่วยสร้างภาพบริเวณสมองที่กำลังทำงานอยู่โดยไม่ต้องอาศัยการผ่าตัด ในขณะที่สัตว์ทดลองประสบกับตัวกระตุ้นต่าง ๆ ภาพที่สร้างโดยเทคนิคเหล่านี้ก็จะติดตามการทำงานในเขตสมองโดยสัมพันธ์กับการเดินโลหิตเข้าไปยังเขตสมองได้ [6]

เวลาในการชักขาหลังออก

ซอริน บารัก และคณะ พิมพ์บทความในวารสาร Journal of Reconstructive Microsurgery เร็ว ๆ นี้ ซึ่งติดตามการตอบสนองของหนูทดลองต่อตัวกระตุ้นความเจ็บปวด โดยใช้ตัวกระตุ้นภายนอกที่ร้อนแบบฉับพลัน แล้ววัดเวลาในการชักขาหลังออกของสัตว์[48]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ตัวกระตุ้น http://www.encyclopedia.com/doc/1G2-3406000012.htm... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/j.1749-... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2297467 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3037419 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC487013 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC59728 http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10802651 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10802651 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11249846