ทางรถไฟสายสงขลา
ทางรถไฟสายสงขลา

ทางรถไฟสายสงขลา

ทางรถไฟสายสงขลา แยกจากทางรถไฟสายใต้ที่ชุมทางหาดใหญ่ มีความยาวประมาณ 30 กิโลเมตร เปิดเดินรถครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2456 [2]ประกอบด้วยสถานี ที่หยุดรถและป้ายหยุดรถดังต่อไปนี้[3](เป็นข้อมูลในปี พ.ศ. 2511)ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 คณะรัฐมนตรีมีมติให้การรถไฟแห่งประเทศไทยยกเลิกการเดินรถไฟสายสงขลา ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 แต่ให้รักษาเขตทางไว้ก่อน โดยมิได้รื้อทางรถไฟออก ปัจจุบันเส้นทางอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม และมีผู้บุกรุกปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนทับบริเวณเขตทางรถไฟเป็นจำนวนมาก[4] โดยเฉพาะในเขตเทศบาลนครสงขลาเมื่อเมืองหาดใหญ่และเมืองสงขลามีการพัฒนาเติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก จึงมีแนวคิดที่จะฟื้นฟูเส้นทางรถไฟสายนี้ขึ้นมาใหม่ตามโครงการศึกษาจัดทำระบบขนส่งมวลชนเมืองหาดใหญ่และเชื่อมโยงเมืองสงขลา มี สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร เป็นผู้ให้ทุนและมอบหมายให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาจราจรและขนส่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นผู้ศึกษาในปี พ.ศ. 2552 ผลการศึกษาเห็นว่าระบบขนส่งมวลชนที่เหมาะสมควรเป็นทางรถไฟรางเดี่ยว ใช้ขบวนรถดีเซลราง โดยมีประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งโครงการ 5,000 ล้านบาท [5]ต่อมา เส้นทางนี้ได้ถูกนำมาศึกษาเพื่อฟื้นฟู โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟทางคู่ สายสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา โดยมีระยะทางรวม 29 กิโลเมตร ครอบคลุม 2 อำเภอ 9 ตำบล สถานีในแนวเส้นทาง 7 สถานี (ไม่รวมสถานีชุมทางหาดใหญ่)[6]

ทางรถไฟสายสงขลา

ปิดเมื่อ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2521
รูปแบบ รถไฟระหว่างเมือง
จำนวนสถานี 15
เจ้าของ การรถไฟแห่งประเทศไทย
ระบบ รถไฟทางไกล
ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
สถานะ ยุบเลิกแล้ว
เส้นทาง 1
เปิดเมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2456
รางกว้าง ราง 1 เมตร ทางเดี่ยว
ระยะทาง 30 กม. (18.64 ไมล์)
ปลายทาง ชุมทางหาดใหญ่
สงขลา
ผู้ดำเนินงาน การรถไฟแห่งประเทศไทย

ใกล้เคียง

ทางรถไฟสายแม่กลอง ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ทางรถไฟสายใต้ ทางรถไฟสายมรณะ ทางรถไฟสายเหนือ ทางรถไฟสายเวียงจันทน์–บ่อเต็น ทางรถไฟสายทรานส์-ไซบีเรีย ทางรถไฟสายเด่นชัย–เชียงราย–เชียงของ ทางรถไฟสายเหนือ-ใต้ (ประเทศเวียดนาม) ทางรถไฟสายหนองคาย–เวียงจันทน์