ทางรถไฟสายใต้
ทางรถไฟสายใต้

ทางรถไฟสายใต้

ทางรถไฟสายใต้ เป็นทางรถไฟที่เริ่มต้นจากสถานีรถไฟธนบุรี กรุงเทพมหานคร ผ่านจังหวัดนครปฐม, ราชบุรี, เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช, พัทลุง, สงขลา, ปัตตานี, ยะลา และไปสุดปลายทางที่สถานีรถไฟสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส และไปบรรจบกับทางรถไฟของประเทศมาเลเซีย ที่สถานีรถไฟรันเตาปันจางทางรถไฟสายใต้สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจากสถานีรถไฟธนบุรีถึงสถานีรถไฟเพชรบุรี ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ขยายเส้นทางไปภาคใต้และสร้างทางแยกที่สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานพระรามหกไปบรรจบกันที่สถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน เพื่อเชื่อมทางรถไฟสายใต้กับทางรถไฟสายเหนือ ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ และสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ความยาวของทางรถไฟสายใต้ นับจากสถานีรถไฟธนบุรี ถึง ชายแดนไทย-มาเลเซีย ที่อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส รวมทั้งสิ้น 1,144.29 กิโลเมตร เป็นทางรถไฟสายที่ยาวที่สุดในประเทศไทย

ทางรถไฟสายใต้

รูปแบบ รถไฟระหว่างเมือง
จำนวนสถานี รายชื่อสถานีรถไฟ สายใต้
เจ้าของ การรถไฟแห่งประเทศไทย
ระบบ รถไฟทางไกล
ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
สถานะ เปิดให้บริการ /
โครงการส่วนต่อขยาย
ความเร็ว สูงสุด 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
รางกว้าง ราง 1 เมตร ทางเดี่ยว
(ระหว่างโครงการก่อสร้างทางคู่)
ระยะทาง 1,144.29 กม. (711.03 ไมล์)
ศูนย์ซ่อมบำรุง โรงรถจักรดีเซลธนบุรี
โรงรถจักรดีเซลทุ่งสง
โรงรถจักรดีเซลหาดใหญ่
ปลายทาง กรุงเทพ , ธนบุรี
สุไหงโก-ลก
สุพรรณบุรี
น้ำตกไทรโยคน้อย
คีรีรัฐนิคม
กันตัง
นครศรีธรรมราช
สงขลา (ยุบเลิกแล้ว)
ปาดังเบซาร์
ผู้ดำเนินงาน การรถไฟแห่งประเทศไทย
และบริษัทเอกชนในส่วน
ของสถานีขนถ่ายสินค้า

ใกล้เคียง

ทางรถไฟสายแม่กลอง ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ทางรถไฟสายใต้ ทางรถไฟสายมรณะ ทางรถไฟสายเหนือ ทางรถไฟสายเวียงจันทน์–บ่อเต็น ทางรถไฟสายเหนือ-ใต้ (ประเทศเวียดนาม) ทางรถไฟสายทรานส์-ไซบีเรีย ทางรถไฟสายเด่นชัย–เชียงราย–เชียงของ ทางรถไฟสายหนองคาย–เวียงจันทน์