แผนในอนาคต ของ ทางรถไฟสายใต้

ในอนาคต การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ร่วมกับ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จะทำการย้ายสถานีต้นทางหลักของกรุงเทพ จากสถานีหัวลำโพง มาที่ ชุมทางบางซื่อ เป็นสถานีหลักแห่งเดียวของกรุงเทพมหานคร พร้อมจัดเส้นทางใหม่ จากบางซื่อไปนครปฐม และราชบุรี เป็นสายตะวันตก จากบางซื่อ ไปหัวลำโพง วงเวียนใหญ่ มหาชัย จนถึงปากท่อ ตลอดจนทุกสถานีหลังจากนี้ นับเป็นสายใต้เส้นทางใหม่ ส่วนจากบางซื่อไปชุมทางบ้านภาชี ยังเป็นสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือเช่นเดิม จากบางซื่อไปสุวรรณภูมิ ฉะเชิงเทรา เป็นสายตะวันออกตามเดิม และแยกเพิ่มอีก 2 เส้นทางคือ รถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เส้นทางกรุงเทพ-ระยอง และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (SARL : Suvarnabhumi Airport Rails Link)

นอกจากนี้ ยังมีโครงการปรับปรุงทางรถไฟทั้งหมดเป็นทางคู่ ในเส้นทางรถไฟสายใต้ จะแบ่งเป็น 7 ช่วง ประกอบด้วย

  • บางซื่อ-นครปฐม (แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2543)
  • นครปฐม-หัวหิน (อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จ พ.ศ. 2565)[1]
  • หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ (อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จ พ.ศ. 2565)[1]
  • ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร (อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จ พ.ศ. 2565)[1]
  • ชุมพร-สุราษฎร์ธานี (โครงการ)
  • สุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา (โครงการ)
  • หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ (เป็นโครงการรถไฟฟ้าเพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟด่วนพิเศษของมาเลเซีย)

และจะมีโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายใหม่ จำนวน 4 เส้นทางคือ

ซึ่งทั้งหมด อยู่ในระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ

ใกล้เคียง

ทางรถไฟสายแม่กลอง ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ทางรถไฟสายใต้ ทางรถไฟสายมรณะ ทางรถไฟสายเหนือ ทางรถไฟสายเวียงจันทน์–บ่อเต็น ทางรถไฟสายทรานส์-ไซบีเรีย ทางรถไฟสายเด่นชัย–เชียงราย–เชียงของ ทางรถไฟสายเหนือ-ใต้ (ประเทศเวียดนาม) ทางรถไฟสายหนองคาย–เวียงจันทน์