ในวัฒนธรรม ของ นกยางกรอกพันธุ์อินเดีย

นกจำนวนมากในหนองน้ำที่กำลังแห้ง

นิสัยแบบยืนนิ่ง ๆ จนบินหนีเมื่อเข้าไปใกล้ก่อความเชื่อพื้นบ้านที่มีอย่างกว้างขวางว่านกตาไม่ดี จึงได้ชื่อในภาษาต่าง ๆ ที่ระบุลักษณะนี้เช่น ในศรีลังกา นกเรียกว่า kana koka ในภาษาสิงหลซึ่งแปลว่า นกยางครึ่งบอด[3]ส่วนวลีภาษาฮินดูสตานี ว่า "bagla bhagat" ได้ใช้เหมือนกับสำนวนฝรั่งที่มีกำเนิดจากคัมภีร์ไบเบิลว่า "หมาป่าในหนังแกะ"[39]และกับสำนวนไทยว่า "มือถือสากปากถือศีล" คือนกยางกรอกทำเป็นเหมือนนกฤๅษียืนเข้าสมาธิ ซึ่งก็มีในสุภาษิตมราฐีด้วย[upper-alpha 1]นกยังปรากฏเป็นตัวละครในนิทาน Hitopadesha[upper-alpha 2]ที่มันยอมเจ็บตัวเพื่อช่วยพระราชา[43]

นักเขียนธรรมชาติวิทยาทั้งชาวอังกฤษและอินเดียได้ตั้งข้อสังเกตว่านกเปลี่ยนสีได้อย่างน่าแปลกใจ เช่น ฟิลลิป สจวร์ต โรบินสันได้พรรณนาถึงนกว่า นั่งเป็นสีเทาซอมซ่อ แต่บินเป็นสีขาวสด[44]ในอดีต คนอินเดียเคยกินมันเป็นอาหาร[45]ในช่วงที่ค้าขายขนนกต่าง ๆ มาก ขนนกนี้ได้ส่งออกจากอินเดียไปยังประเทศอังกฤษ[46]

พุทธศาสนา

คัมภีร์พุทธศาสนากล่าวถึงนกยางกรอกไว้ในเวสสันดรชาดก มหาวนวัณณนา คือ เมื่อสนทนากับชูชก อัจจุตฤๅษีได้พรรณนาถึงป่าที่พระเวสสันดรทรงอาศัยอยู่ว่ามีนกชนิดนี้[47]

แหล่งที่มา

WikiPedia: นกยางกรอกพันธุ์อินเดีย http://ibc.lynxeds.com/species/indian-pond-heron-a... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10845654 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/14700342 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15386041 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/4979767 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/5166875 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/5715959 http://indianbirds.in/download/IB1.5Final.pdf http://icmr.nic.in/ijmr/2003/0901.pdf http://web.archive.org/web/20150326081039/http://w...