พฤติกรรมและนิเวศวิทยา ของ นกยางกรอกพันธุ์อินเดีย

เมื่อบินหนี จึงเห็นปีกขาวที่ตัดกับสีตัว

นกสามัญมากในอินเดีย มันผสมพันธุ์อยู่เป็นฝูงแต่ไม่ใหญ่มาก (semi-colonial)ปกติหากินตัวเดียวตามพื้นที่ชุ่มน้ำ อาจหากินตามขยะด้วย แต่หลายตัวอาจจะหากินใกล้ ๆ กันในช่วงหน้าแล้งเมื่อที่ชุ่มน้ำเล็ก ๆ มีเหยื่อมาก[13]ในช่วงหน้าแล้ง มันบางทีหากินตามสนามหญ้าที่ชุ่มน้ำหรือแม้แต่ทุ่งหญ้าที่แห้ง ๆ เมื่อหากินอยู่ อาจเข้าไปใกล้มันมากได้ก่อนที่จะบินหนีบางครั้งอาจพักอยู่เป็นฝูง (communal roost) บ่อยครั้งที่ต้นไม้ตามถนนในเขตเมือง[14]

อาหารการกิน

ที่หาอาหารของนกพันธุ์นี้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำปกติจะหากินอยู่ที่ขอบ ๆ หนองน้ำ แต่ก็ชอบใช้พืชลอยน้ำเช่น ผักตบชวา เพื่อให้เข้าไปถึงที่ลึกได้บางครั้งอาจว่ายเหนือน้ำ หรือบินจับปลาแล้วลงยืนในน้ำที่ลึกกว่า[15][16][17][18]ยังมีรายงานว่านกบินจับปลาที่กระโดดขึ้นจากน้ำ[19][20]บางครั้งมันบินต่ำ ๆ เหนือน้ำเพื่อไล่กบและปลาไปที่ฝั่งก่อนจะลงเกาะตามชายฝั่ง[21]มีรายงานว่ามันคาบเศษขนมปังแล้วทิ้งลงที่ผิวน้ำเพื่อล่อปลา[22]

อาหารหลักของนกนี้รวมกุ้งกั้งปู แมลงน้ำ ปลา ลูกอ๊อด และบางครั้ง ปลิง[23]นอกพื้นที่ชุ่มน้ำ นกเหล่านี้กินแมลง (รวมจิ้งหรีด แมลงปอ[24]และผึ้ง[25]) ปลา (เช่น ปลาดอกหมาก) และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก[26]

การผสมพันธุ์

คู่นกในรังที่เมืองโกลกาตา ประเทศอินเดีย ไข่ที่พิพิธภัณฑ์เมืองตูลูซ ประเทศฝรั่งเศสนกที่มีขาแดงสดในฤดูผสมพันธุ์ แม้นี่จะไม่ทั่วไป

ฤดูผสมพันธุ์เริ่มที่ต้นฤดูมรสุมนกทำรังเป็นฝูงเล็ก ๆ บ่อยครั้งกับนกลุยน้ำอื่น ๆ ปกติในรังขนาดใหญ่ (platform nest) ทำด้วยก้านไม้อยู่ในต้นไม้หรือพุ่มไม้รังโดยมากสร้างในที่สูง 9-10 เมตรในต้นไม้ใบใหญ่ตัวผู้หาวัสดุ ตัวเมียสร้างรังวางไข่ 3-5 ฟอง[27]ลูกนกออกจากไข่ไม่พร้อมกันโดยใช้เวลา 18-24 วันทั้งพ่อและแม่เลี้ยงลูกนก[28]ปลาเป็นอาหารเลี้ยงลูกหลัก[13]รังที่ไม่ถูกกวนอาจใช้อีกในปีต่อ ๆ ไป[29]

ปัจจัยการตาย

นกมีสัตว์ล่าน้อยแต่นกล่าเหยื่ออาจจับนกที่บาดเจ็บกิน[30]

งานศึกษาต่าง ๆ ได้แยกเจออาร์โบไวรัสที่เป็นเหตุโรค "Balagodu", พยาธิใบไม้[31]และปรสิตอื่น ๆ อีกหลายอย่างในนก[32][33][34][35][36]งานศึกษาได้ตรวจเจอสารภูมิต้านทานสำหรับโรคสมองอักเสบญี่ปุ่น (Japanese encephalitis) และสำหรับไวรัสเวสต์ไนล์ (เหตุของไข้เวสต์ไนล์) ในนกยางกรอกและนกยางควาย (Bubulcus ibis) จากอินเดียใต้[37]โลหะหนักที่ได้จากอาหารในน้ำเน่าเสียอาจมีอยู่ในขนหางอย่างเข้มข้น[38]

แหล่งที่มา

WikiPedia: นกยางกรอกพันธุ์อินเดีย http://ibc.lynxeds.com/species/indian-pond-heron-a... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10845654 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/14700342 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15386041 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/4979767 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/5166875 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/5715959 http://indianbirds.in/download/IB1.5Final.pdf http://icmr.nic.in/ijmr/2003/0901.pdf http://web.archive.org/web/20150326081039/http://w...