ประวัติ ของ นางกวัก

คติการนับถือนางกวักพัฒนาขึ้นจากการนับถือผีผู้หญิงของคนไทย ซึ่งนับถือเพศหญิงเป็นใหญ่ เช่นคติการนับถือแม่โพสพ[4] กล่าวคือนางกวักคือผีที่พัฒนาเป็นเทพที่คอยกวักเงินกวักทองมาให้[5] ปรากฏการหล่อปั้นนางกวักครั้งแรกราวยุคกรุงศรีอยุธยา โดยมากพบเป็นขนาดบูชา สร้างจากเนื้อโลหะ, ดินเผา หรือสลักจากไม้[6][7]

ต่อมาในยุครัตนโกสินทร์คติการนับถือนางกวักปรากฏชัดเจนขึ้นในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่สยามมีเศรษฐกิจเฟื่องฟู มีการขยายตัวของกิจการร้านรวงในกรุงเทพมหานครและตามหัวเมืองใหญ่ ๆ[4][8] นอกจากนี้ในประเทศญี่ปุ่นยังมีการนับถือแมวกวักหรือมาเนกิเนโกะ โดยแมวกวักเกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2395 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังเฟื่องฟู[9][8]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: นางกวัก http://www.museum-press.com/content-%E2%80%9C%E0%B... http://www.komchadluek.net/news/lifestyle/100881 http://www.komchadluek.net/news/lifestyle/148390 http://www.museumsiam.org/da-detail.php?MID=3&CID=... http://www.crs.mahidol.ac.th/thai/rosita.htm http://www.chiangmainews.co.th/page/archives/54841... https://www.sarakadee.com/2018/11/28/nang-kwak/ https://www.sentangsedtee.com/exclusive/article_54... https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Nang_K... https://www.dailynews.co.th/article/205225