ประวัติ ของ น้ำอมฤต

ยังไม่มีความกระจ่างชัดว่ามีการค้นพบน้ำอมฤตแล้วหรือยัง กระนั้น บรรดานักรสายนเวทในจีนโบราณ อินเดียโบราณ และโลกตะวันตก ได้พากันควานค้นหากันเป็นขนานใหญ่และอย่างบ้าคลั่ง

ในประเทศจีน น้ำอมฤตได้รับสมญาเป็น "แก่นสารแห่งชีวิต" (อังกฤษ: quintessence of life) โดยเป็นธาตุหนึ่งในห้าตามทฤษฎีทางปรัชญารสายนเวทในประเทศจีน ซึ่งทางอินเดียว่าเป็นธาตุหนึ่งในสามสิบหกธาตุ และทางตะวันตกว่าเป็นหนึ่งในสี่

ในประเทศจีน

สมัยจีนโบราณ สมเด็จพระจักรพรรดิหลายพระองค์ได้ทรงใช้พระราชอุตสาหะในการควานหาน้ำอมฤต และผลลัพธ์ที่แต่ละพระองค์ทรงประสบก็แตกต่างกันไป โดยในสมัยราชวงศ์ฉิน ฉินสื่อหวงตี้ได้ทรงส่งนักพรตเต๋าชื่อ "สูฝู" (จีน: 徐福; พินอิน: Xúfú) พร้อมเด็กชายหญิงอย่างละห้าร้อยคน ออกเดินทางไปยังทะเลตะวันออก (จีน: 东海; พินอิน: dōnghǎi, ตงไห่) เพื่อตามหาน้ำอมฤต แต่ขบวนนักพรตสูฝูออกจากพระราชสำนักแล้วก็หายสาบสูญไปมิได้กลับมาอีกเลย บางตำนานว่าพวกเขาไปพบดินแดนญี่ปุ่นแทน

ชาวจีนโบราณเชื่อว่า การรับประทานวัตถุบางอย่าง เช่น หยก ชาด หรือฮีมาไทต์ จะช่วยให้อายุยืนยาว

นอกจากนี้ ยังหนังสือจีนเล่มหนึ่งอายุประมาณ พ.ศ. 1193 ชื่อ "ความลับสุดยอดแห่งรสายนเวท" (อังกฤษ: Great Secrets of Alchemy) ซึ่งเป็นหนังสือมีชื่อเสียงที่สุดในประเทศจีน ระบุรายละเอียดมากมายเกี่ยวกับวิธีผลิตโอสถสำหรับความเป็นอมตะและสำหรับรักษาโรคบางชนิด และวิธีการผลิตเพชรนิลจินดาเอาไว้

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ในประเทศอินเดีย

น้ำอมฤตที่ปรากฏ มาจาก การอวตารภาคหนึ่งของพระนารายณ์ในปาง กูรมาวตาร

ในตะวันออกกลาง

คำว่า "น้ำอมฤต" ในภาษาอังกฤษคือ "elixir" (คำอ่าน: ɪˈlɪksər /อีลีกเซอร์/) เป็นคำที่รับมาจากคำในภาษาอาหรับว่า " آب حیات. " (/อัลอีกซีร์/) ซึ่งก็อาจมาจากคำว่า "Aab-e-Hayaat'" (/อาบเอฮะยาต/) ในภาษาเปอร์เซียอีกทอดหนึ่ง

ในยุคกลางของอิสลาม บรรดานักรสายนเวททั้งชาวอาหรับและอิหร่านล้วนใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวดในการค้นหาน้ำอมฤตกัน แต่ก็ไร้ผล หากกลับกลายว่าพวกเขาสามารถพัฒนาวงการแพทย์อิสลามให้รุ่งเรืองได้แทน

ในยุโรป

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้