บุคลิกวิปลาส

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งบุคลิกวิปลาส[1](อังกฤษ: depersonalisation (บริติช) หรือ depersonalization (อเมริกัน))เป็นความผิดปกติทางการรับรู้ที่รู้สึกว่าตัวเอง หรือบางส่วนของตัวเองไม่เป็นจริง[2][3]ซึ่งอาจเป็นความรู้สึกแยกออกจากกายใจของตนเอง หรือกลายเป็นเพียงผู้คอยสังเกตตัวเอง(เช่นสังเกตความคิด อารมณ์ ความรู้สึกทางกาย ร่างกาย หรือการกระทำของตนเอง[4])อย่างปล่อยวาง[5]บุคคลอาจรู้สึกว่าตนเองได้เปลี่ยนไปและโลกได้กลายเป็นอะไรที่เลือนลาง คล้ายความฝัน ไม่เป็นจริง ไร้ความหมาย หรือรู้สึกว่าอยู่ข้างนอกความจริงโดยที่กำลังมองย้อนกลับเข้าไปดูข้างในการรับรู้ทางประสาทสัมผัสอาจบิดเบือนไป รู้สึกว่าเวลาผ่านไปช้าลง รู้สึกว่าตนเองไม่มีหรือไม่จริง ไร้ความรู้สึกทางอารมณ์หรือความรู้สึกทางกาย[4]ภาวะบุคลิกวิปลาสเรื้อรังจัดเป็นโรคทางจิตเวชที่เรียกว่า โรคบุคลิกวิปลาส (depersonalization/derealization disorrder) ซึ่งคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตรุ่น 5 (DSM-5) จัดเป็นโรคดิสโซสิเอทีฟอย่างหนึ่ง[6]เพราะพบว่า ทั้งบุคลิกวิปลาสและความจริงวิปลาสเป็นอาการชุกในโรคดิสโซสิเอทีฟอื่น ๆ รวมทั้ง dissociative identity disorder (ที่สภาพบุคลิกภาพแตกออกคล้ายเป็นคนหลายคน)[7]แม้อาการนี้และอาการความจริงวิปลาสสามารถเกิดกับใครก็ได้ที่วิตกกังวลหรือเครียด แต่บุคลิกวิปลาสเรื้อรังมักจะสัมพันธ์กับบุคคลผู้ได้รับความบาดเจ็บทางกายใจที่รุนแรง หรือมีความวิตกกังวล/ความเครียดเป็นเวลานานบุคลิกวิปลาสและความจริงวิปลาสเป็นอาการสำคัญที่สุดในสเป็กตรัมของโรคดิสโซสิเอทีฟ เริ่มจาก dissociative identity disorder (DID) ไปจนถึง dissociative disorder not otherwise specified (DD-NOS)และยังเป็นอาการเด่นในโรคที่มิใช่โรคดิสโซสิเอทีฟอื่น ๆ รวมทั้งโรควิตกกังวล, โรคซึมเศร้า, โรคอารมณ์สองขั้ว, โรคจิตเภท[8],schizoid personality disorder, ภาวะขาดไทรอยด์ หรือโรคระบบต่อมไร้ท่อต่าง ๆ[9],schizotypal personality disorder, ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง, โรคย้ำคิดย้ำทำ, โรคไมเกรน และภาวะขาดนอน (sleep deprivation)และยังเป็นอาการอย่างหนึ่งสำหรับโรคชักเหตุประสาทบางอย่างในสาขาจิตวิทยาสังคม โดยเฉพาะในทฤษฎี self-categorization theory (ทฤษฎีการจัดตัวเองเข้าในกลุ่มต่าง ๆ) คำภาษาอังกฤษนี้ว่า depersonalization มีความหมายต่างหากอีกอย่างโดยหมายความว่า "การรับรู้เป็นแบบที่เกี่ยวกับตัวเองโดยเป็นตัวอย่างตัวหนึ่งสำหรับหมวดหมู่ทางสังคมที่จำกัดขอบเขต"[10]ในภาษาไทยยังมีการเรียกภาวะนี้อย่างไม่เป็นทางการว่า “บุคลิกภาพแตกแยก” “สองบุคลิกภาพ” และ “บุคลิกภาพผิดปกติ” หรือ “บุคลิกภาพผิดปรกติ” อีกด้วย[11][12]