ประเทศ ของ ปฏิกิริยาต่อการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย

ทวีปแอฟริกา

  •  กานาเชอร์ลีย์ อายอร์กอร์ โบตช์เวย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศแถลงประณามต่อการรุกราน[2]
  •  กาบอง – กาบองเข้าร่วมกับสหรัฐในแถลงการณ์ร่วมภายหลังจากการลงคะแนนเสียงในมติของคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ เกี่ยวกับการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย[3]
  •  กาบูเวร์ดี – นายกรัฐมนตรีกาบูเวร์ดีออกแถลงประณามบนโพสต์ในเฟสบุค เกี่ยวกับการรุกรานยูเครนและเรียกร้องให้เร่งหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาผ่านการทูตและการเจรจา[4][5]
  •  แกมเบีย – แกมเบียร่วมสนับสนุนในแถลงการณ์ร่วมนำโดยแอลเบเนีย-อเมริกาที่มติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในการประณามรัสเซีย[6]
  •  เคนยา – เคนยาเข้าร่วมกับสหรัฐในแถลงการณ์ร่วมภายหลังจากการลงคะแนนเสียงในมติของคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ เกี่ยวกับการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย[3]
  •  ซิมบับเว – ซิมบับเวเริ่มอพยพพลเมือง 256 คนออกจากยูเครน โดยแนะนำให้พลเมืองของตนออกจากยูเครนหากสามารถทำได้อย่างปลอดภัย[7]
  •  ซูดาน – ซูดานมีการประสานงานการอพยพลเมืองของตนในยูเครนกับทางการโปแลนด์และโรมาเนีย[8]
  •  ซูดานใต้ – รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศของซูดานใต้ เรียกร้องให้นักการทูตในยุโรปนับจำนวนประชากรชาวซูดานใต้ในยูเครน โดยระบุว่า "พวกเขามีความกังวลเป็นอย่างสูงเกี่ยวกับสถานการณ์ในยูเครน"[9]
  •  เซาตูแมอีปริงซีปคาร์ลอส วิลา โนวา ประธานาธิบดีเซาตูเมและปรินซิปี กล่าวว่า ประเทศของเขานั้น "ไม่เห็นด้วยกับการทำสงคราม" ในยูเครน และหวังว่าทั้งสองจะพูดคุยเพื่อ "แก้ไขข้อพิพาท"[10]
  •  แซมเบียมูตาเล นาลูมันโก รองประธานาธิบดีตอบคำถามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยระบุว่าแซมเบียไม่สามารถตัดสินใจข้างเดียวเกี่ยวกับความขัดแย้งได้ และจะ "จะไม่สร้างจุดยืนในฐานะประเทศ แต่อาจเป็นกลุ่มองค์กรที่ประเทศเป็นสมาชิกอยู่แทน"[11] นอกจากนี้ แซมเบียยังได้เตรียมแผนอพยพชาวแซมเบียที่อยู่ในยูเครนด้วย[12]
  •  ตูนิเซีย – ตูนีเซียเรียกร้องให้พลเมืองของตนที่พำนักอยู่ในยูเครนไม่เดินทางออกนอกประเทศ โดยไม่ได้รับการประสานจากหน่วยงานล่วงหน้า[13]
  •  นามิเบีย – นามิเบียเรียกร้องให้สหประชาชาติแก้ไขสถานการณ์ด้วยสันติวิธี นอกจากนี้ นามิเบียยังเตรียมช่องทางการอพยพชาวนามิเบียจำนวน 100 คน หากมีความจำเป็น[14]
  •  ไนจีเรีย – วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ถ้อยแถลงเบื้องตันจากกระทรวงการต่างประเทศไนจีเรีย รับทราบถึงการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย โดยอธิบายว่าสถานการณ์นั้นเป็นเรื่อง "น่าประหลาดใจ" โดยมีการประการแผนช่วยเหลือพลเมืองของตนจากยูเครน อย่างไรก็ตาม ในถ้อยแถลงนั้นหลีกเลี่ยงที่จะประณามการกระทำของรัสเซีย และยืนยันในสิ่งที่รัสเซียกล่าวอ้างในการโจมตียูเครนอีกครั้งว่า "จำกัดอยู่ภายในค่ายทหารเท่านั้น"[15] วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ภายหลังจากที่เจฟฟรีย์ ออนเยมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้พบกับคีร์โดดา วาเลรี เอกอัครรัฐทูตยูเครนประจำไนจีเรีย, อเล็กเซ เชบาร์ชิน เอกอัครรัฐทูตรัสเซียประจำไนจีเรีย และผู้แทนจากประเทศกลุ่ม 7 เขาจึงได้ออกแถลงการณ์ประณามการรุกรานของรัสเซียอย่างเป็นทางการ และเรียกร้องให้รัสเซียถอนกำลังออกจากยูเครน[16]
  •  ไนเจอร์ – ไนเจอร์เป็นหนึ่งใน 87 ประเทศที่ลงนามจดหมายประณามการรุกรานยูเครนโดยรัสเซียของสหประชาชาติ[17]
  •  บอตสวานา – บอตสวานาเป็นหนึ่งใน 87 ประเทศที่ลงนามจดหมายประณามการรุกรานยูเครนโดยรัสเซียของสหประชาชาติ[18]
  •  มอริเชียส – รัฐบาลมอริเชียสเรียกร้องให้มีการแก้ไขความขัดแย้งโดยสันติ และเข้าร่วมในการเรียกร้องให้มีการเจรจากันอย่างสันติในระหว่างคู่ขัดแย้งทั้งสอง[19]
  •  มาลาวี – ประธานาธิบดีลาซารัส ชาเควรา เรียกร้องให้รัสเซียถอนกำลังทหารโดยทันที[20]
  •  โมร็อกโก – โมร็อกโกได้ตอกย้ำถึงการสนับสนุนในบูรณภาพแห่งดินแดนของทุกรัฐในสหประชาชาติ[21]
  •  ลิเบียนายลา มันกูช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ออกแถลงประณามการแทรกแซงทางทหารของรัสเซียในยูเครนว่า เป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ และเรียกร้องให้รัฐบาลมอสโก "สงบและถอยทัพ"[22]
  •  เลโซโท – เลโซโทเข้าร่วมกับสหรัฐในแถลงการณ์ร่วมภายหลังจากการลงคะแนนเสียงในมติของคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ เกี่ยวกับการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย[23]
  •  ไลบีเรีย – ไลบีเรียออกแถลงประณามการรุกราน[24]
  •  อียิปต์ – นายกรัฐมนตรีมูสตาฟา มัดบูลี ระบุว่ารัฐบาลกำลังเฝ้าติดตามวิดฤตนี้ และเขาแสดงความปรารถนาที่จะให้สถานการณ์คลี่คลายโดยเร็ว[25]
  •  เอธิโอเปีย – สถานเอกอัครรัฐทูตเอธิโอเปียประจำกรุงเบอร์ลินเรียกร้องให้ชาวเอธิโอเปียในยูเครนข้ามพรมแดมไปยังโปแลนด์[26]
  •  แองโกลา – รัฐบาลแองโกลาเรียกร้องให้ฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งหยุดยิง และเตือนว่าความขัดแย้งนั้นนอกจากจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่มนุษย์และสิ่งของแล้ว ยังส่งผลให้เกิด "บรรยากาศความตึงเครียดระหว่างประเทศ" ด้วย กระทรวงการต่างประเทศแองโกลายังกล่าวป้องด้วยว่า "คู่กรณีต้องมุ่งมั่นในการแก้ไขความขัดแย้งอย่างสันติ"[27]
  •  แอฟริกาใต้นาเลดี ปันดอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างประเทศได้ออกแถลงการณ์กล่าวโทษทั้งรัสเซียและยูเครน โดยเรียกร้องให้ "มีการเจรจาอย่างครอบคลุมโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ" และ "เพิ่มการเจรจาทางการทูต"[28]
  •  แอลจีเรียกระทรวงการต่างประเทศแอลจีเรียระบุว่า "กำลังติดตามความคืบหน้าในสถานการณ์ในสาธารณรัฐยูเครน" นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้ชาวอัลจีเรียที่พำนักอยู่ในยูเครน ปฏิบัติตามคำแนะนำของสถานทูตแอลจีเรีย[29]

ทวีปเอเชีย

  •  กัมพูชา − นายกรัฐมนตรีฮุน เซน ได้ชั่งน้ำหนักในประเด็นรัสเซีย-ยูเครน แล้วสะท้อนความเชื่อที่มีมาช้านานว่า มีเพียงการเจรจาอย่างสันติเท่านั้นหาใช่สงคราม ที่ความขัดแย้งระหว่างคู่ต่อสู่ทั้งสองจะสามารถแก้ไขได้[30]
  •  กาตาร์ – วันที่ 25 กุมภาพันธ์ ชีคตะมีม บิน ฮะมัด อัษษานี เจ้าผู้ครองนครรัฐกาตาร์ เรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับวิกฤตการณ์รัสเซีย-ยูเครนใช้ความยับยั้งชั่งใจ และแก้ไขข้อพิพาทโดยใช้การเจรจาที่สร้างสรรค์และวิธีทางการทูต โดยเน้นย้ำถึงการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศด้วยสันติวิธี พร้อมทั้งเตือนไม่ให้มีการกระทำที่จะนำไปสู่การยกระดับต่อไป[31]
  •  เกาหลีใต้มุน แจ-อินประธานาธิบดีเกาหลีใต้ กล่าวว่าเกาหลีใต้จะเข้าร่วมการคว่ำบาตรระหว่างประเทศต่อรัสเซียในวิกฤต และแสดงความเสียใจต่อการรุกรานของรัสเซียต่อยูเครน เขากล่าวว่า: "การใช้กองกำลังติดอาวุธทำให้เกิดการบาดเจ็บล้มตายของมนุษย์ ไม่สามารถหาความชอบธรรมได้ไม่ว่าในกรณีใด ๆ"[32] กระทรวงการต่างประเทศเกาหลีใต้ยืนยันว่า "รัฐบาลเกาหลีขอประณามอย่างแข็งกร้าวต่อรัสเซียที่รุกรานยูเครนด้วยอาวุธ อันเป็นการละเมิดหลักการกฎบัตรสหประชาชาติ" และ "รัฐบาลเกาหลีจะสนับสนุนและเข้าร่วมความพยายามของประชาคมระหว่างประเทศ รวมถึงการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ เพื่อควบคุมการรุกรานด้วยอาวุธ"[33]
  •  เกาหลีเหนือ – วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ รัฐบาลเกาหลีเหนือระบุว่าความขัดแย้งในยูเครนเป็น "ความทะเยอทะยานและไร้เหตุผล" ของสหรัฐ โดยกล่าวหาว่ารัฐบาลวอชิงตันประสงค์จะบรรลุ "อำนาจเหนือทางทหาร" โดยไม่คำนึงถึงความกังวลทางด้านความมั่นคงของรัสเซีย โพสต์หนึ่งบนเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศของเกาหลีเหนือมีข้อมูลว่า รี จี-ซง นักวิจัยจากสถาบันสังคมเพื่อการศึกษาการเมืองระหว่างประเทศ ได้แสดงข้อคิดเห็นซึ่งนับเป็นการกล่าวถึงความขัดแย้งของรัสเซียในที่สาธารณะเป็นครั้งแรก ภายหลังการรุกรานยูเครนโดยรัสเซียเมื่อต้นสัปดาห์ดังกล่าว โดยรีเขียนบทความตอนหนึ่งว่า "ต้นเหตุของวิกฤตการณ์ยูเครนยังอยู่บนความเอนเอียงอย่างสูงและความไร้เหตุผลของสหรัฐ ในการยืดถือการคว่ำบาตรและกดดันเพียงฝ่ายเดียว ในขณะเดียวกันก็ดำเนินตามความมีอิทธิพลในโลกและอำนาจเหนือทางทหาร โดยไม่คำนึงถึงความต้องการอันชอบธรรมชองรัสเซียในการรักษาความมั่นคง"[34]
  •  คาซัคสถาน – คาซัคสถานเป็นประเทศเพื่อนบ้านและพันธมิตรของรัสเซีย ได้ปฏิเสธคำร้องขอให้กองทัพของคาซัคสถานเข้าร่วมกับรัสเซียในการรุกรานยูเครน ประเทศอดีตสาธารณรัฐโซเวียตยังกล่าวอีกว่า พวกเขาไม่ยอมรับสาธารณรัฐแยก นั่นคือสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ และสาธารณรัฐประชาชนดอเนตสค์ที่รัสเซียได้สร้างขึ้น ซึ่งเอ็นบีซีนิวส์ได้รายงานข้อมูลนี้โดยอ้างอิงจากเจ้าหน้าที่[35] คาซัคสถานหลีกเลี่ยงการวิพากษ์วิจารณ์การเคลื่อนไหวของรัสเซียที่ทำการบุกประเทศอดีตสมาชิกโซเวียด แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้เข้าข้างรัสเซียในการรับรองรัฐแบ่งแยกดินแดนอิสระในยูเครนตะวันออก[36]
  •  คีร์กีซสถาน – กระทรวงการต่างประเทศคีร์กีซสถาน เรียกร้องให้รัสเซียและยูเครนแก้ไขความขัดแย้งด้วยการเจรจาบนโต๊ะ โดยทางกระทรวงฯ แถลงว่า "เรากำลังติดตามสถานการณ์ในยูเครนด้วยความตกใจและกังวลใจ จากความสัมพันธ์ฉันมิตรในอดีตกับประชาชนของทั้งรัสเซียและยูเครน เราคาดหวังว่าทั้งสองฝ่ายจะบรรลุสันติภาพในทันที รวมถึงสร้างรูปแบบและกลไกขึ้นใหม่ในการระงับข้อพิพาทบนโต๊ะเจรจา เพื่อป้องกันการบาดเจ็บล้มตายและความเสียหายเพิ่มเติม"[37]
  •  คูเวต – คูเวตเข้าร่วมกับสหรัฐในแถลงการณ์ร่วมภายหลังจากการลงคะแนนเสียงในมติของคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ เกี่ยวกับการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย[23]
  •  จอร์แดน − รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจอร์แดนออกแถลงการณ์เรียกร้องให้มีการยุติความขัดแย้งอย่างสันติผ่านการเจรจา เพื่อฟื้นฟูความมั่นใจและเสถียรภาพในภูมิภาคในช่วงเวลา "วิกฤต" นี้[38]
  •  จีนสี จิ้นผิง ผู้นำจีนและเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้พูดคุยกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซียในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ว่าจีนสนับสนุนรัสเซียและยูเครนให้แก้ไขปัญหาผ่านทางการเจรจา[39][40] ซึ่งประธานาธิบดีปูตินบอกกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิงว่า "รัสเซียยินดีที่จะดำเนินการเจรจากับยูเครนในระดับสูง"[41] จาง จุน เอกอัครรัฐทูตจีนประจำสหประชาชาติ กล่าวว่า "เราเชื่อมั่นว่าทุกประเทศควรแก้ไขข้อพิพาทระหว่างประเทศด้วยสันติวิธี ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติ"[42] วันที่ 24 กุมภาพันธ์ รัฐบาลจีนปฏิเสธที่จะระบุว่าการปฏิบัติการทางทหารของรัสเซียนั้น "เป็น/ไม่เป็น" การรุกรานหรือไม่ แต่ได้เปรียบเทียบกับการรุกรานอัฟกานิสถานของสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2544 ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านของจีน ซึ่งโฆษกของรัฐบาลจีนได้ยกว่าฝรั่งเศสและเยอรมนีนั้น "มีความพยายามเป็นอย่างมากผ่านการเจรจาไกล่เกลี่ยทางการทูต เพื่อบรรเทาความตึงเครียด" และกล่าวหาว่าสหรัฐนั้นปลุกปั่นเพื่อทำให้เกิดสงคราม[43] วันที่ 25 กุมภาพันธ์ ถ้อยแถลงของทางการจีนระบุว่า ดินแดนและอำนาจอธิปไตยของยูเครนควรได้รับการเคารพ และกระตุ้นให้มีการเจรจาระหว่างยูเครนและรัสเซียโดยเร็วที่สุด[44] หลังจากนั้นไม่นาน หวัง อี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและสมาชิกคณะมนตรีรัฐกิจ กล่าวว่า จีนมีจุดยืนที่ชัดเจนเกี่ยวกับบูรณภาพแห่งดินแดนและอธิปไตยของทุกประเทศ รวมทั้งยูเครนด้วย[44][45] สื่อของรัฐหลายแห่งในปักกิ่งอ้างคำพูดของช็อลทซ์ว่า "เป็นวันที่เลวร้ายสำหรับยูเครนและวันที่มืดมนสำหรับยุโรป"[46] ผู้เชี่ยวชาญด้านชาตินิยมในสื่อเหยี่ยวเสรี ต่างเรียกปฏิบัติการทางทหารว่า "เป็นวันที่มืดมนครั้งที่สองของยุโรปหลังสงคราม"[47]
  •  ซาอุดีอาระเบียวาลีด อา. เอลคีเรยี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของซาอุดีอาระเบียและเวนดี เชอร์แมน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ร่วมกันหารือว่าจะสร้าง "การตอบโต้ที่รุนแรงระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนอธิปไตยของยูเครน" เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐระบุ[48] ซาอุดีอาระเบียยังคงยึดมั่นในข้อตกลงโอเปก+ โดยมุฮัมมัด บิน ซัลมาน มกุฎราชกุมารซาอุดีอาระเบียทรงตรัสกับแอมานุแอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์เพื่อสนับสนุนพันธมิตรของกลุ่มต่อรัสเซียท่ามกลางการรุกรานยูเครน[49]
  •  ซีเรียบัชชาร อัลอะซัด ประธานาธิบดีซีเรียยกย่องการรุกรานของรัสเซียว่าเป็น "การแก้ไขประวัติศาสตร์" และกล่าวหาว่าชาติตะวันตกใช้ "วิธีการสกปรกในการสนับสนุนผู้ก่อการร้ายในซีเรียและพวกนาซีในยูเครน"[50]
  •  ญี่ปุ่นฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้กล่าวประณามการรุกรานของรัสเซียต่อยูเครน และประกาศว่าจะร่วมมือกับสหรัฐในการลงโทษรัสเซียเพิ่มเติม[51] วันที่ 25 กุมภาพันธ์ ญี่ปุ่นใช้มาตรการคว่ำบาตรครั้งใหม่ รวมไปถึงการห้ามส่งออกสารกึ่งตัวนำและผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีสูงต่าง ๆ รวมถึงการแช่แช็งทรัพย์สินของธนาคารรัสเซีย 3 แห่งด้วย นอกจากนี้ยังมีการพิจารณาขยายการคว่ำบาตรเพิ่มเติมไปยังเบลารุสด้วย เนื่องจากสนับสนุนการรุกราน วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ญี่ปุ่นตกลงที่จะเพิ่มความพยายามในการป้องปรามร่วมกับสหรัฐ โดยโยชิมาซะ ฮายาชิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นระบุว่า "ผลกระทบของสิ่งนี้จะไม่หยุดอยู่แค่ในยุโรป" ก่อนหน้านี้ความสัมพันธ์ญี่ปุ่น–รัสเซีย ฝ่ายญี่ปุ่นนั้นมีความพยายามหลีกเลี่ยงการเป็นปรปักษ์กับรัสเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีพิพาทหมู่เกาะคูริล ซึ่งเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับดินแดนของรัสเซียในทวีปเอเชีย อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นเองก็มีความกังวลเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เกี่ยวกับผลกระทบทางภูมิรัฐศาสตร์เกี่ยวกับการผนวกดินแดนยูเครนต่อจีนและไต้หวัน[52][53]
  •  ติมอร์-เลสเต – ติมอร์-เลสเตเป็นหนึ่งใน 87 ประเทศที่ลงนามในการประณามการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย[54]
  •  ตุรกีเรเจป ไตยิป แอร์โดอัน ประธานาธิบดีตุรกีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศตุรกี ระบุว่าการกระทำของรัสเซีย "ไม่อาจยอมรับได้" และประณามรัสเซียอย่างร้ายแรงเกี่ยวกับ "การละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง" พร้อมย้ำถึง "การสนับสนุนอธิปไตยและบูรพภาพแห่งดินแดนของยูเครน"[55] นอกจากนี้ เรือพาณิชย์ของตุรกียังถูกรัสเซียโจมตีด้วยระเบิดบริเวณนอกชายฝั่งเมืองออแดซาด้วย ซึ่งทางการตุรกีระบุว่าไม่มีผู้เสียชีวิต และเรือลำดังกล่าวได้เดินทางไปถึงโรมาเนีย ซึ่งเป็นหนึ่งในชาติพันธมิตรของเนโทได้อย่างปลอดภัย[56] วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ตุรกีกล่าวถึงการรุกรานว่าเป็น "สงคราม" ซึ่งเป็นการใช้วาทศิลป์จากความขัดแย้งภายใต้อนุสัญญามงเทรอว่าด้วยระบอบแห่งช่องแคบ ค.ศ. 1936 และอนุญาตให้ตุรกีมีสิทธิในการห้ามมิให้เรือรบของรัสเซียผ่านช่องแคบดาร์ดะเนลส์และบอสพอรัส[57] วันที่ 28 กุมภาพันธ์ แอร์โดอันได้ยืนยันต่อสาธารณะว่าจะปิดช่องแคบทั้งสองเพื่อป้องกันการทวีความรุนแรงของสงคราม ในขณะเดียวกันก็จะให้คำมั่นว่าจะรักษาความสัมพันธ์ทั้งกับยูเครนและรัสเซีย[58]
  •  ไต้หวัน – ประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน กล่าวว่า "รัฐบาลของเราขอประณามการละเมิดอธิปไตยของยูเครนโดยรัสเซีย และเรียกร้องให้ทุกฝ่ายดำเนินการแก้ไขข้อพิพาทด้วยวิธีการที่สันติและมีเหตุผล"[59] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไต้หวัน กล่าวว่า ไต้หวันจะเข้าร่วมการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย และแสดงความเสียใจต่อการตัดสินใจของรัสเซียที่ "ใช้กำลังและการข่มขู่ในการกลั่นแกล้งผู้อื่น แทนที่จะใช้การแก้ไขข้อพิพาทด้วยวิธีการการเจรจาทางการทูตอย่างสันติ"[60]
  •  ไทยกระทรวงการต่างประเทศแสดง "ความกังวลอย่างยิ่ง" ต่อสถานการณ์ และกล่าวว่าสนับสนุน "ความพยายามที่ยังคงดำเนินอยู่ เพื่อแสวงหาการแก้ไขสถานการณ์อย่างสันติผ่านการหารือ"[61] วันที่ 2 มีนาคม 2565 ประเทศไทยร่วมกับอีก 140 ประเทศในที่ประชุมฉุกเฉินของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ออกเสียงเห็นชอบให้ประณามและขอให้รัสเซียถอนกำลังในทันที[62]
  •  เนปาล – เนปาลต่อต้านการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศระบุว่า เราต้องเคารพหลักการแห่งอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนอย่างเต็มที่[63]
  •  บรูไน – บรูไนประณามการรุกรานดังกล่าว โดยเรียกร้องให้แก้ไขสถานการณ์โดยไม่ต้องใช้กำลัง[64]
  •  บังกลาเทศเอเค อับดุล โมเมน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ย้ำถึงการเรียกร้องของบังกลาเทศ ที่เรียกร้องให้ความขัดแย้งทางทหารที่กำลังดำเนินไปของรัสเซียและยูเครนนั้น เป็นไปด้วยความสันติตามกฎบัตรสหประชาชาติ[65] นายกรัฐมนตรี ชีค ฮาซีนา ได้ขอให้ผู้เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน[66] รัสเซียกำลังสร้างหนึ่งในเมกะโปรเจกต์ที่ใหญ่ที่สุดของบังกลาเทศ นั่นคือ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์รอปปูร์ ซึ่งรัสเซียเป็นผู้ให้เงินทุนและการขนส่งทั้งหมดสำหรับโครงการนี้ แต่ผู้เชี่ยวชาญสงสัยว่า สงครามนั้นอาจจะขัดขวางการดำเนินงานของโครงการ แม้ว่าโครงการจะแล้วเสร็จกว่าร้อยละ 77 แต่สถานการณ์อาจทำให้การก่อสร้างนั้นยืดเยื้อต่อไป รัสเซียเองเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต ซึ่งช่วยบังกลาเทศให้ได้รับเอกราชจากปากีสถานในสงครามปลดปล่อยบังกลาเทศ[67] ท่าทีที่เป็นกลางซึ่งบังกลาเทศยังคงไว้ในระหว่างการรุกรานยูเครนโดยรัสเซียนั้น ผู้สังเกตเชื่อว่ามาจากความกังวลของบังกลาเทศเองที่ไม่ต้องการถูกคุกคามจากประเทศเพื่อนบ้านที่ใหญ่กว่า[68]
  •  ปากีสถานอิมรัน ข่าน นายกรัฐมนตรีปากีสถาน แสดงความเสียใจเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน และกล่าวว่าความขัดแย้งนั้นไม่อยู่ในความสนใจของผู้ใด เขาหวังว่าความขัดแย้งทางทหารระหว่างทั้งสองประเทศ จะสามารถหลีกเลี่ยงได้ผ่านทางการทูต ข่านยังเน้นย้ำด้วยว่าปากีสถานนั้นเชื่อมั่นว่าข้อพิพาทควรจะได้รับการแก้ไขผ่านการเจรจาทางการทูต[69]
  •  พม่าซอมีนอูน โฆษกสภาบริหารแห่งรัฐพม่า กล่าวสนับสนุนการตัดสินใจของรัสเซีย โดยระบุว่า "รัสเซียทำหน้าที่เพื่อปกป้องอธิปไตยของตนเอง" และยกย่องบทบาทของรัสเซียในการคานสมดุลอำนาจโลก[70][71] ดร. ซาซา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติพม่ากล่าวว่า "การโจมตียูเครนโดยปราศจากเหตุผลนั้นไม่ยุติธรรม เป็นเรื่องที่ไม่สามารถอภัยให้ได้ และไม่อาจยอมรับได้"[72]
  •  ฟิลิปปินส์กรมการต่างประเทศฟิลิปปินส์ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ว่ากำลังเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศยืนยันความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาพิพาทอย่างสันติผ่านการเจรจาและทำให้ได้ "มากกว่าคำพูด" และมีการอ้างถึงปฏิญญามะนิลาของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติว่าด้วยการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศอย่างสันติ โดยเตโอโดโร โลกซิน จูเนียร์ รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศให้คำมั่นว่าจะเดินทางไปยังชายแดนยูเครนเพื่อดูแลเรื่องการอพยพกลับของชาวฟิลิปปินส์เป็นการส่วนตัว[73] ต่อมา ฟิลิปปินส์ได้แสดงเจตจำนงในการลงนามประณามรัสเซียกรณีรุกรานยูเครนในสมัยประชุมฉุกเฉินพิเศษของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ[74]
  •  ภูฏานตันดี ดอร์จี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศภูฏานกล่าวว่า "กำลังศึกษาและประเมินผลกระทบที่สงครามนั้นจะมีต่อภูฏาน" และเสริมด้วยว่าในประเทศยูเครนนั้นไม่มีชาวภูฏานพำนักอยู่[75]
  •  มองโกเลีย – อามาร์ไซข่าน ไซน์บูยัน รองนายกรัฐมนตรีมองโกเลีย และบัตต์เซตเซก บัตมุนค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมองโกเลีย ได้พูดคุยกับสื่อมวลชนเกี่ยวกับการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย โดยพวกเขาสรุปแผนการส่งชาวมองโกเลียกลับประเทศ แต่ไม่ได้ประณามการกระทำของรัสเซีย โดยทั้งสองบรรยายถึงการบุกรุกว่าเป็นการปฏิบัติการทางทหารและการต่อสู้ด้วยอาวุธในยูเครน[76]
  •  มัลดีฟส์ – อับดุลลา ฮูเมด รองฝ่ายการต่างประเทศมัลดีฟส์แถลงถึงแผนในการอพยพชาวมัลดีฟส์ในยูเครน[77]
  •  มาเลเซียอิซมาอิล ซับรี ยักกบ นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ออกแถลงการณ์ผ่านสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่ามีความกังวลเกี่ยวกับ "ความขัดแย้งในยูเครนที่ทวีความรุนแรงขึ้น" นอกจากนี้ยังมีการเรียกร้องให้มีการเจรจาและ "ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคง"[78] มาเลเซียกีนี สำนักข่าวอิสระตั้งข้อสังเกตว่า คำแถลงของนายกรัฐมนตรีนั้นปราศจากภาษาที่มีพลัง และไม่ได้กล่าวถึงรัสเซีย และไม่ได้ระบุว่าความขัดแย้งนั้นเป็น "การรุกราน" ทำให้โฆษกของนายกรัฐมนตรีออกมากล่าวตอบโต้ว่า สำนักข่าวนั้นเบี่ยงเบนเนื้อหาออกจากส่วนคำสัญของแถลงการณ์[79] วันที่ 27 กุมภาพันธ์ กระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียแถลงปฏิเสธการรายงานของ "เซาท์ไชนามอร์นิงโพสต์" ว่า "ผิดพลาด" ในการอพยพชาวมาเลเซียจากยูเครนโดยบังคับให้พวกเขาเดินทางไปยังโปแลนด์โดยพาหนะส่วนบุคคล เพื่อหนีการรุกรานของรัสเซีย หลังจากมีรายงานว่ารถบัสเช่าเหมาลำที่มีกำหนดมารับผู้อพยพนั้นไม่มาตามนัด ตามมาด้วยข้อกล่าวหาว่ารัฐบาลมาเลเซียนั้นปฏิเสธความเป็นไปได้ที่รัสเซียจะรุกรานยูเครนว่าเป็น "เรื่องเล่าจากตะวันตก"[80][81] ในการประชุมฉุกเฉิน ผู้แทนของมาเลเซียแถลงว่า ประเทศมาเลเซียจะลงคะแนนสนับสนุนในร่างมติประณามการรุกราน[82]
  •  ลาว − สปป. ลาว เรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องใช้ความยับยั้งชั่งใจอย่างเต็มที่ และพยายามลดความตึงเครียดที่อาจบ่อนทำลายสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ นอกจากนี้ สปป. ลาวยังสนับสนุนความพยายามอย่างต่อเนื่องในการหาข้อตกลงอย่างสันติด้วยวิธีการทางการทูต[83]
  •  เลบานอนกระทรวงการต่างประเทศเลบานอนแถลงประณามการรุกรานยูเครนทางทหารของรัสเซีย และเรียกร้องให้มอสโกนัน "ยุติการปฏิบัติการทางทหารในทันที"[84] ขณะที่สถานเอกอัครรัฐทูตรัสเซียในเลบานอนแลดงความประหลาดใจต่อการประณาม โดยออกแถลงการณ์ตอบโต้ว่า "คำแถลง... ทำให้เราประหลาดใจในการละเมิดนโยบายการแยกตัวและเลือกข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในเหตุการณ์เหล่านี้ และสังเกตว่ารัสเซียจะไม่ละความพยายามในการมีส่วนร่วมในการทำให้สาธารณรัฐเลบานอนก้าวหน้าและมั่นคง"[85]
  •  เวียดนาม – เลทิทูฮัง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า เวียดนาม "เรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในวิกฤตยูเครนใช้ความอดกลั้น ส่งเสริมการเจรจา และก้าวเข้าสู่มาตรการทางการทูตเพื่อยุติความรุนแรงด้วยสันติด้วยความเคารพต่อกฎบัตรสหประชาชาติ และหลักการพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งมีส่วนช่วยในการสร้างสันติภาพ ความมั่นคง และเสถียรภาพในภูมิภาคและโลก"[86]
  •  ศรีลังกา – กระทรวงการต่างประเทศระบุว่า รัฐบาลศรีลังกามีความกังวลเป็นอย่างมากเกี่ยวกับความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นในยูเครนเมื่อเร็ว ๆ นี้ และเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องใช้ความยับยั้งชั่งใจอย่างสูงสุด และดำเนินการเพื่อยุติการสู้รบโดยทันที เพื่อรักษาสันติภาพ ความมั่นคง และเสถียรภาพในภูมิภาค โดยเน้นยำถึงความจำเป็นของความพยายามร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขวิกฤตผ่านการเจรจาทางการทูต และการเจรจาอย่างจริงใจ[87]
  •  สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ – สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์งดออกเสียงในมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประขาชาติในการแสดงความเสียใจต่อการรุกรานยูเครนของรัฐบาลมอสโก[88]
  •  สิงคโปร์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า สิงคโปร์นั้น "ขอประณามการรุกรานประเทศอธิปไตยโดยปราศจากการยั่วยุไม่ว่าจะด้วยข้ออ้างใด ๆ ก็ตาม" และ "เราต้องเคารพอธิปไตย เอกราช และบูรณภาพแห่งดินแดนของยูเครน"[89] "ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการเจรจาต่อไป รวมไปถึงใช้วิธีในทางการทูตเพื่อยุติข้อพิพาทอย่างสันติ ตามกฎหมายระหว่างประเทศและหลีกเลี่ยงการดำเนินการที่จะทำให้เกิดความตึงเครียดในภูมิภาคต่อไป"[90] สำนักข่าวท้องถิ่นรายงานว่า สิงคโปร์อาจเข้าร่วมการคว่ำบาตรพร้อมกับนานาชาติต่อรัสเซียด้วย และไม่น่าจะได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยตรงจากการควบคุมการส่งออกที่เกี่ยวกับรัสเซีย[91] วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 สิงคโปร์ประกาศคว่ำบาตรรัสเซีย โดยกำหนดให้มีการควบคุมการส่งออกสินค้า "ที่สามารถใช้เป็นอาวุธโดยตรงต่อยูเครน เพื่อทำอันตรายหรือปราบปรามชาวยูเครน" และยกระดับไป "ปิดกั้นธนาคารรัสเซียบางแห่ง และธุรกรรมการเงินที่เกี่ยวข้องกับรัสเซีย" การเคลื่อนไหวครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และถือเป็นการปฏิเสธการงดประณามของประขาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[92][93]
  •  อัฟกานิสถาน – กลุ่มตอลิบานออกแถลงการณ์แสดงความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตในยูเครน และเรียกร้องให้ "แก้ไขวิกฤติด้วยการเจรจาและสันติวิธี"[94]
  •  อาเซอร์ไบจาน − ประธานาธิบดีอิลฮัม แอลีเยฟ เสนอให้มีการจัดการเจรจาระหว่างยูเครนและรัสเซีย[95] และอาเซอร์ไบจานจะส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมให้กับยูเครน[96]
  •  อาร์มีเนีย − รัฐบาลอาร์มีเนียแสดงความหวัง "ว่าปัญหาที่มีอยู่ระหว่างสองรัฐทั้งสองจะได้รับการแก้ไขผ่านการเจรจาทางการทูติ" และประการความพร้อมในการรับผู้ลี้ภัย[97]
  •  อินเดียนเรนทระ โมที นายกรัฐมนตรีอินเดียร้องขอให้ยุติการใช้ความรุนแรงในยูเครนโดยทันที จากการโทรศัพท์กับประธานาธิบดีปูตินในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ นอกจากนี้เขายังแสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยและการกลับออกมาของนักเรียนนักศึกษาชาวอินเดียจำนวน 18,000 คนในยูเครน ซึ่งรัฐบาลอินเดียงดให้รายละเอียดในประเด็นนี้[98] ก่อนหน้านั้น กระทรวงการต่างประเทศได้แถลงว่า "อินเดียกำลังติตดามการพัฒนาของเหตุการณ์ในภูมิภาคอย่างใกล้ชิด" ซึ่งอินเดียกำลังพิจารณาการตั้งกลไกการค้ากับรัสเซียผ่านสกุลเงินรูปีด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการคว่ำบาตรทางการค้าระหว่างสองประเทศ[99] รัสเซียจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ให้กับอินเดียประมาณร้อยละ 70 และมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมาตั้งแต่ยุคสงครามเย็น โดยอินเดียเป็นเพียงสมาชิกเดียวของกลุ่มคิวเอสดีที่ไม่แบนการส่งออกของรีสเซีย อย่างไรก็ตาม อินเดียก็ยังต้องการความช่วยเหลือจากสหรัฐเพื่อตอบโต้จีนซึ่งถือเป็นภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดของอินเดียด้วย นักวิเคราะห์จากศูนย์เพื่อการวิจัยนโยบายตั้งข้อสังเกตว่า "อินเดียไม่เคยตกอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ ไม่ว่าจะในกรณีใดก็ตาม นับเป็นความท้าทายทางการทูตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามเย็น" ขณะที่อิกอร์ โปลิกา เอกอัครรัฐทูตยูเครนประจำอินเดียให้สัมภาษณ์กับนักข่าวอินเดียว่า เขา "ไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง" กับท่าทีของอินเดีย[100] อินเดียงดออกเสียงในมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในการประณามการรุกรานของรัสเซีย[101]
  •  อินโดนีเซีย – เตอูกู ไฟซาสยาห์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย กล่าวแสดงความกังวลของอินโดนีเซียต่อความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงขึ้น อินโดนีเซียเรียกร้องให้รัสเซียเคารพอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของยูเครน[102] โจโก วีโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซียได้ทวีตบนแพลตฟอร์มทวิตเตอร์ว่า "หยุดสงคราม สงครามนำความทุกข์มาสู่มนุษยชาติ และเป็นอันตรายต่อโลก"[103][104] วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 มีการประการศว่ารัฐบาลอินโดนีเซียได้พิจารณามาตรการคว่ำบาตรรัสเซียในการรุกรานยูเครน[105] นอกจากนี้ สภาผู้แทนประชาชนยังมีการออกแถลงการณ์ประณามด้วย[106]
  •  อิสราเอลนัฟตาลี เบนเนตต์ นายกรัฐมนตรีอิสราเอลกล่าวว่า "หัวใจของเราร่วมกับพลเรือนของยูเครนตะวันออก ผู้ซึ่งกำลังตกอยู่ในสถานการณืนี้" เขาเรียกร้องให้ยุติความรุนแรงและเสนอความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมให้กับยูเครน[107] ยาอีร์ ลาปิด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและนายกรัฐมนตรีผู้แทนกล่าวว่า "การโจมตีของรัสเซียในยูเครนนั้น ถือเป็นการละเมิดระเบียบระหว่างประเทศอย่างรุนแรง อิสราเอลขอประณามการโจมตีดังกล่าว และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมกับพลเมืองของยูเครน อิสราเอลเป็นประเทศที่มีประสบการณ์ด้วยสงคราม และสงครามนั้นไม่ใช่วิธีในการแก้ไขความขัดแย้ง"[108][109][110] วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2565 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอิสราเอล ได้ติดสินใจขยายเวลาวีซ่าของนักท่องเที่ยวชาวยูเครนในอิสราเอลเป็นเวลาสองเดือนโดยอัตโนมัติ เพื่อให้พวกเขาสามารถลี้ภัยชั่วคราวจากสงครามในยูเครนได้[111]
  •  อิหร่าน – แม้ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของอิหร่านจะเห็นว่าสงครามนั้นมีรากมาจากเนโท แต่เขาไม่เห็นว่าการทำสงครามนั้นเป็นวิธีในการแก้ไขปัญหา พวกเขาเชื่อว่าควรหยุดยิง และมุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหาทางการเมือง วิธีการทางประชาธิปไตยนั้นเป็นสิ่งจำเป็น[112] เอบรอฮีม แรอีซี ประธานาธิบดีอิหร่านได้โทรศัพท์หาปูติน และสนับสนุนการรับประการการหยุดการขยายตัวของเนโท[113][114] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอิหร่านทวีตว่า "วิกฤต #ยูเครน มีรากฐานมาจากการยั่วยุของเนโท เราไม่เชื่อว่าการทำสงครามจะเป็นวิธีการแก้ปัญหา จำเป็นต้องหยุดยิง & หาแนวทางการแก้ไขทางการเมืองและประชาธิปไตย" ขณะที่เลขาธิการสภาสูงเพื่อสิทธิมนุษยชนของอิหร่านกล่าวกับ IRNA ว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่านไม่ได้สนับสนุนการปฏิบัติการทางทหารกับยูเครน แต่ขณะเดียวกัน รัฐบาลเตหะรานก็ไม่ได้ทำเป็นปิดตามองไม่เห็นแผนการแทรกซึมกลุ่มกบฎโดยสหรัฐและชาติพันธมิตร[115]
  •  อุซเบกิสถาน – เลขาธิการของประธานาธิบดีอุซเบกิสถานระบุผ่านเฟสบุคว่า "ประธานาธิบดีแห่งรัสเซียแจ้งต่อประมุขแห่งรัฐของรเราถึงเหตุผลและสถานการณ์ในการตัดสินใจเป็นปฏิบัติการพิเศษ ในทางกลับกัน อุซเบกิสถานแสดงความหวังว่า อีกไม่นาน ทั้งสองฝ่ายจะหาวิธีร่วมกันในการแก้ไขสถานการณ์และป้องกันไม่ให้สถานการณ์ทวีความรุนแรงขึ้นอีก ข้าพเจ้าต้องการเน้นย้ำว่าอุซเบกิสถานเองมีจุดยืนที่สมดุลและเป็นกลางในเรื่องดังกล่าวนี้"[116][117] กระทรวงการต่างประเทศของอุซเบกิสถานกล่าวว่า สถานทูตอุซเบกิสถานในโปแลนด์กำลังอพยพพลเมืองของอุซเบกิสถานออกจากยูเครนผ่านโปแลนด์[118]

ทวีปยุโรป

  •  กรีซ
    • ประธานาธิบดีคาเตรินา ซาเกลลาโรปูโล กล่าวว่า "เราขอประณามเป็นอย่างยิ่งต่อการโจมตีของรัสเซียในประเทศเอกราช" เพราะเป็น "การละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศและค่านิยมของเราอย่างชัดเจน"[119]
    • นายกรัฐมนตรีคีรีอาโกส มิตโสตากิส แถลงประณามการกระทำอันเป็น "ผู้เปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์" ของรัสเซียต่อยูเครน[120][121][122]
  •  คอซอวอ[lower-alpha 1] – นายกรัฐมนตรีอัลบิน กูร์ติ แถลงประณามการรุกรานของรัสเซียว่าเป็น "การรุกรานทางทหารครั้งใหญ่ที่สุด ไม่เพียงแต่ในยุโรป แต่นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง" โดยระบุว่า "เรายืนหยัดร่วมกับสหภาพยุโรป เนโท สหรัฐ และสหราชอาณาจักรในด้านอธิปไตยของรัฐ บูรณภาพแห่งดินแดน ความเป็นอิสระของประเทศ และสิทธิในการตัดสินใจด้วยต้นเองของประชาชนชาวยูเครน" ควบคู่ไปกับการลงโทษโดยรัฐสภาคอซอวอ ขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีโยซา ออสมานี กล่าวว่า ชาวคอซอวอสนับสนุนชาวยูเครน "ในระหว่างที่พวกเขาเผชิญกับสงครามที่ไม่มีการยั่วยุ จากการรุกรานของรัสเซีย" โดยระบุในทวิตเตอรร์ว่า "เราจะทำงานร่วมกับพันธมิตรของเรา... อำนาจของรัสเซียจะไม่ได้รับชัยชนะ เสรีภาพและประชาธิปไตยจะเป็นฝ่ายชนะ"[123] แถลงการณ์ร่วมของประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอาวุโสของคอซอวอ ได้ประณามความพยายามเทียบเคียงกับการประกาศอิสรภาพของคอซอวอจากเซอร์เบียว่า "ความพยายามของเผด็จการปูตินในการอ้างถึงกรณีคอซอวอนั้น ไม่ใช่กรณีเดียวกันอย่างสิ้นเชิง เป็นการดูถูก และพยายามอำพราง ขาดฐานหรือเหตุผลใด ๆ สำหรับการโจมตีอย่างป่าเถื่อนของกองกำลังของตนต่อรัฐอธิปไตย"[124]
  •  โครเอเชีย – นายกรัฐมนตรีอันเดรย์ เปลงกอวิช ออกแถลงการณ์บนทวิตเตอร์ว่า "เราขอประณามการรุกรานและการรุกรานยูเครนโดยรัสเซียอย่างแข็งขัน การโจมตีที่ไร้การยั่วยุนี้เป็นการละเมิดอธิปไตยของยูเครนและกฎหมายระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง"[125] นอกจากนี้ เปลงกอวิชยังได้พบกับเอกอัครรัฐทูตยูเครนประจำโครเอเชีย โดยระบุว่า โครเอเชียจะสนับสนุนมาตรการคว่ำบาตรของสหภาพยุโรป และพร้อมจะให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและทางเทคนิคแก่ยูเครน[126]
  • การเดินขบวนสนับสนุนในกรุงปรากเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2565 เช็กเกีย
    • ประธานาธิบดีมิโลช เซมาน เรียกร้องในการปราศัยต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ว่า "การรุกรานนั้นเป็นการรุกรานโดยปราศจากการยั่วยุ" และ "รัสเซียได้ก่ออาชญากรรมต่อสันติภาพ" โดยเขาเรียกร้องให้คว่ำบาตรรัสเซียอย่างรุนแรง นอกจากนี้ เขายังกล่าวด้วยว่า ตัวเขาเองนั้น "ผิด" ที่ยืนกรานในช่วงสองสามวันก่อนหน้าที่ว่ารัสเซียจะไม่บุกยูเครน[127]
    • นายกรัฐมนตรีเปตร์ ฟีอาลา กล่าวว่า รัฐบาลของเขาได้ถอนข้อตกลงในการดำเนินงานสถานกงสุลรัสเซียในคาร์โลวีวารีและเบอร์โน และได้ระงับการดำเนินงานของสถานกงสุลสาธารณรัฐเช็กในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กและเยคาเตรินเบิร์ก และได้หยุดการออกวีซ่าให้พลเมืองรัสเซีย นอกจากนี้ เขายังประกาศด้วยว่า สาธารณรัฐเช็กจะยืนกรานใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อต้านรัสเซียที่เข้มงวดที่สุด และจะพัฒนาตำแหน่งที่โหดร้ายที่สุดต่อรัสเซีย[128]
  •  ซานมารีโน – รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศซามารีโน ออกแถลงการณ์ว่า "การยกระดับทางทหารในยูเครนเป็นบาดแผลขนาดใหญ่สำหรับประชาชนและทุกประเทศที่เชื่อมั่นในคุณค่าของสันติภาพ และขอประณามสงครามอย่างรุนแรง" และ "สถาบันและรัฐบาลของซานมารีโนต่างตกใจเป็นอย่างมากในช่วงเวลานี้"[129]
  •  ไซปรัส – ประธานาธิบดีนิโคส อานาสตาเซียเดส ทวีตประณาม "ในเงื่อนไขที่รุนแรงที่สุด" ขณะเดียวกันไอโออันนิส คาซูลิดิส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ เรียกร้องให้มีการหยุดยิงและกล่าวว่า "นี่เป็นการปฏิบัติการทางทหารภายในยุโรป ซึ่งเป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงได้มาตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง"[130]
  •  เดนมาร์ก – นายกรัฐมนตรีเมตเต เฟรเดอริกเซน กล่าวว่าเป็น "วันที่มืดมนสำหรับสันติภาพทั่วโลก" ขณะที่ระบุว่ารัฐบาลของเธอพร้อมที่จะรับผู้ลี้ภัยชาวยูเครน[131]
    •  หมู่เกาะแฟโร – ความคิดเห็นจากนายกรัฐมนตรีบาร์ดูร์ ออนสไตก์ นีลเซน "วันนี้เป็นวันที่น่าเศร้าและเรามีความคิดเช่นเดียวกับชาวยูเครน นี่ไม่ใช่เพียงการโจมตียูเครน แต่ยังรวมถึงสันติภาพของยุโรปด้วย หมู่เกาะแฟโรประณามอย่างรุนแรง การรุกรานยูเครนโดยรัสเซียนั้น เป็นการโจมตีที่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อรักษาความยุติธรรม ความมั่นคง และเสถียรภาพอย่างชัดเจน"[132]
  •   นครรัฐวาติกันสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสตรัสว่า เหตุการณ์ในยูเครนทำให้ทรงเกิด "ความปวดร้าวในพระทัย" สมเด็จพระสันตะปาปาทรงกำหนดให้วันที่ 2 มีนาคม วันพุธรับเถ้า เพื่อเป็นวันแห่งสวดอ้อนวอนและการอดอาหารเพื่อสันติภาพ[133] ในการทูตอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน สมเด็จพระสันตะปาปาเสด็จไปยังสถานเอกอัครราชทูตรัสเซียประจำสันตะสำนัก เมื่อวันที่ศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ เพื่อถ่ายทอดความกังวลเกี่ยวกับการรุกรานยูเครนโดยรัสเซียต่อเอกอัครราชทูตของรัฐบาลมอสโก[134]
  •  มาซิโดเนียเหนือ
    • ประธานาธิบดีสแตวอ แปนดารอฟสกี ประณามการรุกรานของรัสเซียว่าเป็น "การโจมตีบูรณภาพแห่งดินแดนและอธิปไตยของยูเครน ละเมิดหลักการพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศอย่างโจ่งแจ้ง โจมตีระเบียบประชาธิปไตย และภัยคุกคามต่อความมั่นคงของยุโรป"[135]
    • นายกรัฐมนตรีดีมีตาร์ โควาเซฟสกี ประกาศความพร้อมของรัฐบาลในการรับผู้ลี้ภัยจากยูเครน หากสถานการณ์นั่นเลวร้ายลงอีก[136]
  •  นอร์เวย์ – นายกรัฐมนตรียูนาส การ์ สตอร์ ยืนยันว่านอร์เวย์ "ประณามการโจมตีทางการทหารของรัสเซียต่อยูเครนในเงื่อนไขที่รุนแรงที่สุด"[137]
  •  เนเธอร์แลนด์ – นายกรัฐมนตรีมาร์ก รึตเตอ ประณามการกระทำของรัสเซียใน "เงื่อนไขที่รุนแรงที่รุนแรงที่สุด" โดยกล่าวว่า "ประเทศหนึ่งและชายคนหนึ่งจะต้องรับผิดชอบ" พร้อมเรียกร้องให้ "คว่ำบาตรสูงสุด" ต่อรัสเซีย[138] สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์และสมเด็จพระราชินีมักซิมาแห่งเนเธอร์แลนด์ ตรัสว่า "เราขอส่งกำลังใจให้ชาวยูเครนและทุกคนที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง"[139]
  •  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
    • เซลีโก กอมชิชสมาชิกไตรภาคีประธานาธิบดี กล่าวว่า บอสเนียจะสนับสนุนยูเครนตามความสามารถ[123]
    • ขณะที่เซลีโก กอมชิชและเชฟิก จาเฟโรวิช สมาชิกโครเอเชียและบอสเนียของไตรภาคีประธานาธิบดี ออกแถลงการณ์แยกกันในการประณามการรุกรานของรัสเซีย มิโลราด โดดิก สมาชิกเซอร์เบียไม่ได้กล่าว แทนที่จะระบุว่าบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนานั้นเป็นกลาง โดยระบุเมื่อวันก่อนว่าเหตุการณ์แสดงให้เห็นว่าเป็นการตัดสินใจที่ดีสำหรับบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาจะไม่เข้าสู่เนโท และประเทศนั้นไม่สนับสนุนการคว่ำบาตร[140]
    • บิเซรา ตูร์โกวิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า "บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนายังคงยึดมั่นในอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของยูเครน และเราเรียกร้องให้ยุติการต่อสู้และการทิ้งระเบิดในทันที! หลักการ OSCE ความั่นคง และกฎหมายระหว่างประเทศกำลังถูกโจมตีอยู่ในวันนี้ ความเกลียดชังและความทุกข์ทรมานของพลเรือนผู้บริสุทธิ์จะต้องยุติลงในทันที" เธอกล่าว โดยรัฐมนตรีตูร์โกวิกเรียกร้องให้รัสเซียและเบลารุสงดใช้กำลังเพื่อสันติภาพ เสถียรภาพระดับภูมิภาค และระดับโลก[141]
  •  บัลแกเรีย – บัลแกเรียประณามการรุกราน และนายกรัฐมนตรีคิริล เพตคอฟกล่าวว่า "เราเห็นว่าการรุกรานนี้ไม่ได้ถูกกระตุ้นโดยฝ่ายยูเครน และการกระทำดังกล่าวในยุโรปเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้"[142]
    • สเตฟาน ยาเนฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมบัลแกเรียถูกไล่ออก เนื่องจากยืนกรานว่าการเรียกว่าเป็นสงครามนั้นผิด โดยเรียกเป็น "ปฏิบัติการ" นอกจากนี้เขายังได้กล่าวอีกว่า ไม่จำเป็นที่บัลแกเรียจะต้องยอมรับตำแหน่ง "หนุนรัสเซีย หนุนอเมริกา หรือหนุนยุโรป"[143]
  •  เบลเยียม – นายกรัฐมนตรีอาเล็กซันเดอร์ เดอ โกร กล่าวว่า สหภาพยุโรปต้องการ "การคว่ำบาตรที่เจ็บแสบ" โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ "ชนชั้นปกครอง"[144]
  •  โปรตุเกส – นายกรัฐมนตรีอังตอนียู กอชตา "ประณามอย่างรุนแรงต่อการปฏิบัติการทางทหารของรัสเซียบนแผ่นดินยูเครน" ในการแถลงข่าวภายหลังจากการประชุมร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และเสนาธิการทั่วไป[145]
  •  โปแลนด์ – นายกรัฐมนตรีมาแตอุช มอราวีแยตสกีทวีตว่า "เราต้องตอบสนองโดยทันทีต่อการรุกรานของรัสเซียต่อยูเครน ยุโรปและโลกเสรีต้องหยุดปูติน",[146] และรัฐบาลยังได้ประกาศว่าประเทศโปแลนด์นั้น "พร้อมที่จะรับผู้อพยพและได้เตรียมโรงพยาบาลและรถไฟเพื่อขนส่งชาวยูเครนที่ได้รับบาดเจ็บจากการโจมตีไว้แล้ว"[147] สภาการแพร่ภาพออกอากาศแห่งชาติของโปแลนด์ได้สั่งห้ามเครือข่ายโทรทัศน์อาร์ที ซึ่งเป็นสื่อภายใต้การควบคุมของรัฐบาลรัสเซียออกอากาศตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์[148]
แถลงการณ์โดยฌอง-อีเว เลอ แดร็ง ตามด้วยบทสัมภาษณ์ของเขากับสเวียตลานา ซีคาโนอุสกายา ผู้นำฝ่ายค้านของเบลารุส
  •  ฝรั่งเศสแอมานุแอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส กล่าวว่า เขาได้พูดคุยกับปูติน และร้องขอให้ "หยุดการต่อสู้และใช้การพูดคุยกับประธานาธิบดียูเครน"[149] และเรียกร้องให้ "ยุติการปฏิบัติการทางทหารของรัสเซียในยูเครนทันที"[150][151]
เซาลี นีนิสเตอ ประธานาธิบดีฟินแลนด์และซันนา มาริน นายกรัฐมนตรีฟินแลนด์แถลงข่าวเกี่ยวกับสถนการณ์ยูเครน วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565
  •  ฟินแลนด์
    • ประธานาธิบดีเซาลี นีนิสเตอ ประณามการโจมตีของรัสเซียและประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน โดยกล่าวว่า "ขณะนี้หน้ากากของเขาได้เปิดออกแล้ว และมองเห็นได้แต่ใบหน้าเย็นชากระหายสงครามเท่านั้น"[152]
    • นายกรัฐมนตรีซันนา มาริน กล่าวว่า การรุกรานยูเครนโดยรัสเซียนั้นได้เปลี่ยนแปลงการอภิปรายเกี่ยวกับการเข้าเป็นสมาชิกภาพของเนโทในประเทศของเธอ และได้เขียนบนทวิตเตอร์ว่า "การโจมตีเป็นการระเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง และคุกคามชีวิตของพลเรือนจำนวนมาก ฟินแลนด์แสดงออกและสนับสนุนยูเครนอย่างมั่นคง และเรากำลังมองหาวิธีการที่จะเพิ่มการสนับสนุนนี้"[153] วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของรัสเซียได้กล่าวข่มขู่ว่า "จะคุกคามทางทหารและการเมือง" ต่อฟินแลนด์ หาฟินแลนด์พยายามที่จะเข้าร่วมเนโท[154]
  •  มอนเตเนโกร – ประธานาธิบดีมีโล จูกาโนวิค ประณามการรุกรานของรัสเซียโดยกล่าวว่า "เป็นการละเมิดหลักการพื้นฐานทั้งหมดของกฎหมายระหว่างประเทศ บ่อนทำลายความมั่นคงของยุโรป และเป็นอันตรายต่อความมั่นคง เราเข้าร่วมเรียกร้องให้ผู้นำสหภาพยุโรปให้รัสเซียยุติการสู้รบอย่างเร่งด่วน ถอนกำลังออกจากยูเครน และเคารพในบูรณภาพแห่งดินแดนและอธิปไตยของยูเครน"[140] รองนายกรัฐมนตรีดรีตัน อาบาโซวิช ยังทวีตว่า มอนเตเนโกรนั้นยืนหยัดร่วมกับพันธมิตรเนโทและสหภาพยุโรป[155]
  •  มอลโดวา – ประธานาธิบดีไมอา ซานดู ประณามการกระทำอันเป็นสงครามของรัสเซียต่อยูเครน โดยกล่าวว่า "เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายระหว่างประเทศอย่างโจ่งแจ้ง รวมถึงอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของยูเครน"[156] เธอยังเสริมด้วยว่า มอลโดวาพร้อมที่จะรับผู้อพยพกว่าหมื่นคนที่อพยพออกจากยูเครนหลังจากการโจมตีของรัสเซีย และให้คำมั่นว่าจะเปิดพรมแดนเพื่อช่วยเหลือ[157]
  •  มอลตา – นายกรัฐมนตรีโรเบิร์ต อาเบลา กล่าวในระหว่างการประชุมผู้นำยุโรปว่า มอลตานัน "พูดเพื่อสนับสนุนสันติภาพในยูเครน" และเสริมว่า "โปรดอย่าเป็นภัยต่อจุดยืนเป็นกลางของมอลตา" เนื่องจากรัฐธรรมนูญของมอลตาระบุไว้ว่าประเทศเกาะแห่งนี้นั้นเป็นประเทศเป็นกลาง[158]
  •  โมนาโก
    • เจ้าชายอาลแบร์ที่ 2 เจ้าผู้ครองโมนาโก ทรงยืนยันการสนับสนุนยูเครนในแถลงการณ์ "รัฐเจ้าผู้ครองนั้นยืนยันอีกครั้งถึงการสนับสนุนกฎหมายระหว่างประเทศ และต่ออธิปไตย บูรณภาพ และความเป็นอิสระของรัฐต่าง ๆ" และ "โมนาโกจะอยู่เคียงข้างชาวยูเครนและสิทธิมนุษยชน"[159]
    • รัฐมนตรีแห่งรัฐของโมนาโก ประกาศว่าเขากังวลต่อการบุกรุกและระบุว่าโมนาโกอยู่เคียงข้างชาวยูเครน นอกจากนี้ เขายังเรียกร้องให้รัสเซียยุติปฏิบัติการทางทหารโดยทันที และเพื่อให้การเจรจาดำเนินต่อไปได้[160]
    • พระราชวังหลวงโมนาโกออกแถลงการณ์ว่า "รัฐเจ้าผู้ครองนั้นจะดำเนินการใช้มาตรการคว่ำบาตรในการแช่แข็งเงินทุน และคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจโดยไม่รอช้าอย่างทีประเทศในยุโรปส่วนใหญ่ดำเนินการ"[161]
  •  เยอรมนีอันนาเลนา แบร์บ็อค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า โลกตื่นขึ้นอีกครั้งมาในโลกอีกใบที่แตกต่าง เธอประกาศคว่ำบาตรรัสเซียครั้งใหญ่ ส่วนนายกรัฐมนตรีโอลัฟ ช็อลทซ์ เรียกการรุกรานครั้งนี้ว่าเป็น "ความผิดพลาดร้ายแรง" ของปูติน[162] ในขั้นต้น เยอรมนีห้ามการส่งอาวุธไปยังยูเครน และป้องกันไม่ให้เอสโตเนียส่งปืนครกที่ผลิตในเยอรมนีไปยังยูเครน[163] เยอรมนีระบุว่ามีการส่งหมวกกันน็อคจำนวน 5,000 ใบ และโรงพยาบาลสนามไปยังยูเครน[164] ซึ่งนี่ทำให้นายกเทศมนตรีกรุงเคียฟออกมาตอบโต้ว่า "แล้วพวกเขาจะส่งอะไรมาต่อล่ะ หมอนหนุนหรือ"[163] วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ผู้สังเกตการณ์มองว่าด้วยปฏิกิริยาต่อแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากทั้งชาติพันธมิตรของเนโทและสหภาพยุโรป ในที่สุดเยอรมนีจึงเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจ โดยอนุญาตให้มีการส่งปืนครกที่ผลิตในเยอรมนีจำนวน 9 กระบอกในเอสโตเนีย และเครื่องยิงระเบิดขับเคลื่อนด้วยจรวดจากเนเธอร์แลนด์จำนวน 400 และตกลงที่จะเพิ่มการส่งอาวุธต่อต้านรถถัง 1,000 เครื่องและระบบป้องต่อต้านอากาศยานสติงเกอร์ 500 เครื่องไปยังยูเครน[165] การประชุมฉุกเฉินของรัฐสภาในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ช็อลทซ์กล่าวถึง "ยุคใหม่" ที่เริ่มต้นจากการรุกรานของรัสเซีย โดยจากนี้ไปเยอรมนีจะลงทุนมากกว่าเป้าหมายของประเทศเนโทที่ร้อยละ 2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพื่อป้องกัน โดยเม็ดเงินจำนวน 1 แสนล้านยูโรจะพร้อมสำหรับการลงทุนในกองทัพบกในปี 2565 นี้[166]
  •  โรมาเนีย – ประธานาธิบดีเกลาส์ โยฮานิส ประณามการรุกรานของทหารรัสเซียต่อยูเครนผ่านทวิตเตอร์ เขาระบุอย่างชัดเจนว่า "โรมาเนียพร้อมกับชุมชนประชาธิปไตยระหว่างประเทศทั้งหมดขอปฏิเสธอย่างแข็งกร้าวต่อพฤติกรรมที่ขาดความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นการบ่อนทำลายรากฐานของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และระเบียบหฎหมายระหว่างประเทศในปัจจุบัน" ว่า "สหพันธรัฐรัสเซียได้แสดงให้เห็นอีกครั้งว่าพวกเขาไม่สนใจในการเจรจาที่สร้างสรรค์ที่เสนอโดยชุมชนยุโรปและยูโร-แอตแลนติก" และพลเมืองโรมาเนียควรออกจากยูเครนโดยเร็วที่สุด[167]
  •  ลักเซมเบิร์ก
    • นายกรัฐมนตรีซาวีเอ เบิทเทิล กล่าวประณามการรุกรานผ่านแถลงการณ์บนทวิตเตอร์[168]
    • ฌอง อัสเซลบอร์น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้สัมภาษณ์กับวิทยุท้องถิ่นว่า "การกำจัด" ปูติน "ทางกายภาพ" อาจเป็นหนทางเดียวที่จะยุติสงคราม ภายหลังเขาได้ออกมาอธิบายว่าคำพูดของเขานั้นเป็นเพียงการ "หลุดปาก" และปฏิกิริยาทางอารมณ์เมื่อได้ยินข่าวการโจมตีตามแต่ใจของรัสเซียในเมืองคาร์คิฟ[169]
  •  ลัตเวียเอกิลส์ เลวิตส์ ประธานาธิบดีลัตเวีย ประณามอย่างรุนแรงต่อการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย โดยเรียกร้องให้เสนอ "การสนับสนุนที่เป็นไปได้ทั้งหมดรวมไปถึงด้านอาวุธ" สำหรับยูเครน และ "การคว่ำบาตรที่รุนแรงที่สุดต่อรัสเซีย"[170]
  •  ลีชเทินชไตน์
    • ลีชเทินชไตน์ประณามการรุกรานในแถลงการณ์เผยแพร่บนเว็บไซต์ทางการของรัฐบาล[171]
    • รัฐบาลลีชเทินชไตน์สัญญาว่าจะอุทิศเงินจำนวน 500,000 ฟรังก์สวิสจากงบประมาณด้านการพัฒนามนุษยธรรมระหว่างประเทศที่มีอยู่ให้แก่โครงการด้านมนุษยธรรม เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม[172]
  •  ลิทัวเนีย – ประธานาธิบดีแห่งลิทัวเนีย ประกาศภาวะฉุกเฉินหลังจากการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย โดยระบุว่ากองทัพจของประเทศเนโทให้ประจำการตามแนวชายแดนเพื่อตอบสนองต่อ "การรบกวนและการยั่วยุที่อาจเกิดขึ้นจากกองกำลังทหารขนาดใหญ่จำนวนมากในรัสเซียและเบลารุส"[173]
  •  สเปน
    • นายกรัฐมนตรีเปโดร ซันเชซ ประณาม "การปฏิบัติการทางทหารที่ไม่สามารถทนได้ของรัฐบาลรัฐเซียในดินแดนยูเครน" ผ่านทวิตเตอร์ หลังจากการประชุมของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติสเปน โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 แห่งสเปนเป็นองค์ประธาน[174]
    • โฆเซ มานวย อัลบาเรส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เรียกการโจมตีของรัสเซียว่า "ไม่ยุติธรรม" และ "เป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างโจ่งแจ้ง" ในขณะที่ประกาศว่าสเปนกำลังประสานงานกับชาติพันธมิตรของสหภาพยุโรปและชาติพันธมิตรของเนโท[175] มาร์การิตา โรเบลส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมร้องขอให้มีการคว่ำบาตรรัสเซีย "อย่างรุนแรง" หลังจากเรียกการกระทำของรัสเซียว่า "มีแรงถึงดูดที่ไม่ธรรมดา" แต่ระบุว่าจะมีไม่กองทัพในนามเนโทในดินแดนของยูเครน เนื่องจากยูเครนมิได้เป็น "ชาติสมาชิกของเนโท"[176]
    • วันที่ 27 กุมภาพันธ์ มาร์การิตา โรเบลส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมประกาศจัดส่งยุทโธปกรณ์ทางทหารจำนวน 20 ตันไปยังยูเครน[177] และได้ดำเนินการตามคำขอในการส่งเรือรบบลัส เด เลโซเข้าร่วมกับภารกิจของเนโท[178]
  •  สโลวาเกีย – นายกรัฐมนตรีเอดูอาร์ด เฮเกอร์ กล่าวว่า "จักรวรรดินิยมรัสเซียกำลังถูกฟื้นฟูขึ้นต่อหน้าต่อตาของเราในรูปแบบที่ก้าวร้าวและเข้มแข็ง" และเสริมเกี่ยวกับวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียว่า "ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อสงครามครังนี้จะเป็นเหยื่อของเขา และเขาต้องเป็นผู้รับผิดชอบในสายตาของสาธารณชนทั่วโลก"[179] วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 มีการประดับไฟสีน้ำเงินและเหลืองที่ปราสาทบราติสลาวาและพระราชวังกราสซัลโกวิชซึ่งเป็นทำเนียบประธานาธิบดีแห่งสโลวาเกียเพื่อแสดงความเป็นน้ำหนึ่งในเดียวกันกับยูเครน[180]
  •  สโลวีเนีย – นายกรัฐมนตรียาแน็ส ยานชา ประณาม "การรุกรานทางทหารต่อยูเครนอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน" ของรัสเซีย และเรียกร้องให้รัสเซียถอนกำลังทหารของตนออกโดยทันที และเคารพบูรณภาพแห่งดินแดนของยูเครนอย่างเต็มที่ โดยยืนยันอีกครั้งว่าสโลวีเนียสนับสนุนยูเครน[181] ยานชามีกำหนดเยือนยูเครนในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562 เพื่อพูดคุยกับคู่ค้าชาวยูเครนของเขา[182][183] มีการประดับธงชาติยูเครนที่รัฐสภาของสโลวีเนียในลูบลิยานา เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและภารดรภาพระหว่างทั้งสองประเทศ[184]
  •  สวิตเซอร์แลนด์ – กระทรวงการต่างประเทศสวิตเซอร์แลนด์ออกแถลงการณ์ โดยพิจารณาว่าการกระทำของรัสเซียเป็น "การรุกราน" และ "การละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง" ในขณะที่ประธานาธิบดีอิกนาซีโอ กัสซิส ประกาศว่าจะสนับสนุนการคว่ำบาตรของสหภาพยุโรปในด้านการเดินทางและการเงิน แต่ยังไม่กำหนดมาตรการคว่ำบาตรของประเทศ[185] อย่างไรก็ตาม สภาสหพันธรัฐจะยกเลิกแนวทางในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ โดยประกาศว่าสวิตเซอร์แลนด์กำลังกำหนดมาตรการคว่ำบาตรทรัพย์สินของรัสเซียเช่นเดียวกับสหภาพยุโรป การยกเว้นจากมาตรการคว่ำบาตรเหล่านี้คือการจ่ายสำหรับวัตถุดิบด้านพลังงาน จากข้อมูลของกัสซิส การตัดสินใจนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนแต่ก็สอดคล้องกับความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์[186]
  •  สวีเดน – นายกรัฐมนตรีมักดาเลียนา อันเดอช็อนกล่าวว่า "สวีเดนประณามการรุกรานยูเครนอย่างต่อเนื่องของรัสเซียในเงื่อนไขที่รุนแรงที่สุด การกระทำของรัสเซียยังเป็นการโจมตีคำสั่งด้านความมั่นคงของยุโรปด้วย จะมีการตอบโต้ด้วยความสามัคคีและแข็งแกร่งในการเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับยูเครน รัสเซียเท่านั้นที่จะต้องรับผิดชอบต่อความทุกข์ทรมานของมนุษย์"[187]
สภาขุนนางสหราชอาณาจักรอภิปรายสถานการณ์ของยูเครนเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565รัฐบาลสกอตอภิปรายในกรณียูเครนเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565
    • สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ทรงบริจาคด้วยความ "เอื้อเฟื้อ" ต่อคณะกรรมการฉุกเฉินด้านภัยพิบัติ (DEC) ในการร้องขอด้านมนุษยธรรมของยูเครน[188]
    • นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน กล่าวว่า "เขารู้สึกตกใจกับเหตุการณ์ที่น่ากลัวในยูเครน" และประณามว่า "ประธานาธิบดีปูตินได้เลือกเส้นทางแห่งการนองเลือก และการทำลายล้างด้วยการโจมตีโดยปราศจากการยั่วยุ"[189]
    • ในระหว่างการเสด็จเยือนเซาท์เอ็นออนซี เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ทรงประณามการรุกรานของรัสเซียโดยระบุว่า "สิ่งที่เราเห็นในโศกนาฏกรรมอันน่าสยดสยองในเซาท์เอ็นนั้นเป็นการโจมตีประชาธิปไตย การโจมตีสังคมเปิด และการโจมตีเสรีภาพ เรากำลังมองเห็นสิ่งเดียวกันนั้นกำลังเกิดขึ้นในยูเครนวันนี้อย่างไร้เหตุผลที่สุด ในจุดยืนที่เรายืนอยู่ตรงนี้ เราเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับบรรดาผู้ที่กำลังก่อก้านความรุนแรงก้าวร้าว"[190]
    • สำนักพระราชวังในดยุกและดัชเชสแห่งเคมบริดจ์ออกแถลงการณ์ผ่านทวิตเตอร์ โดยทั้งสองตรัสว่า "ในเดือนตุลาคม 2563 เรามีโอกาสได้พบกับประธานาธิบดีเซเลนสกีและสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับความหวังและการมองโลกในแง่ดีสำหรับอนาคตของยูเครน วันนี้เราขอยืนเคียงข้างประธานาธิบดีและประชาชนชาวยูเครนทุกคน ในฐานะที่พวกเขาต่อสู้อย่างกล้าหาญเพื่ออนาคตนั้น"[191]
    • เบน วอลเลซ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกล่าวว่า การกระทำของรัสเซียนั้นเป็น "การรุกรานอย่างเปลือกเปล่าต่อประเทศประชาธิปไตย"[192]
    •  ยิบรอลตาร์ – "การกระทำของรัสเซียในวันนี้ที่ก่อให้เกิดการรุกรานของประเทศอธิปไตย และประชาธิปไตยเต็มรูปแบบโดยไม่มีการยั่วยุหรือข้อแก้ตัวที่สมเหตุสมผล พวกเราไม่มีคาดหวังว่าจะได้เห็นการรุกรานที่ไม่อาจให้อภัยได้ในยุโรปในช่วงชีวิตของเรา ยิบรอลตาร์จึงร่วมกับนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร ผู้นำของประเภทอื่น ๆ และผู้คนทั่วโลกในการประณามการกระทำนี้ด้วยเงื่อนไขที่เข้มงวดที่สุด" ฟาเบียน ปิการ์โด หัวหน้าคณะรัฐมนตรีกล่าว[193] ปิการ์โดยังเรียกร้องให้แบนเครือข่ายโทรทัศน์อาร์ทีที่ถูกควบคุมโดยรัฐของรัสเซียเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ และผู้ให้บริการโทรทัศน์ของยิบรอลตาร์ตกลงที่จะระงับการออกอากาศของอาร์ที[194]
    •  เกิร์นซีย์ – "เกิร์นซีย์ปฏิบัติตามระเบียบการคว่ำบาตรของสหราชอาณาจักร และนโยบายต่างประเทศของสหราชอาณาจักร และจะดำเนินการต่อไป มาตรการที่ประกาศบางส่วนจะมีผลบังคับใช้โดยอัตโนมัติ และมีการสื่อสารกับภาคอุตสาหกรรมแล้ว การลงโทษอื่น ๆ บางส่วนที่ประกาศไปเมื่อวานนี้ อาจต้องมีกฎหมายใหม่ในสหราชอาณาจักร และหากเป็นเช่นนั้น รัฐจะดำเนินการร่วมกับสหราชอาณาจักรเพื่อให้แน่ใจว่ามาตรการคว่ำบาตรทั้งหมดจะมีผลบังคับใช้ และบังคับใช้ได้อย่างเท่าเทียม"[195]
    •  ไอล์ออฟแมน – รัฐบาลไอล์ออฟแมนมีการติดต่ออย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลสหราชอาณาจักร และจะยังคงเป็นเช่นนั้นเกี่ยวกับสถานการณ์ในยูเครน "เราจะดำเนินการตามรัฐบาลสหราชอาณาจักร"[196] นับตั้งแต่นั้นก็ได้มีการปิดน่านฟ้าและท่าเรือสำหรับยานพาหนะสัญชาติรัสเซีย และได้ขยายการคว่ำบาตรของสหราชอาณาจักรเพื่อบังคับใช้กับไอล์ออฟแมนโดยอัตโนมัติ และอัลฟริด แคนแนน หัวหน้าคณะรัฐมนตรีได้ประณามการกระทำของประธานาธิบดีรัสเซีย[197]
    •  เจอร์ซีย์ลินดอน ฟาร์นแฮม ผู้ช่วยหัวหน้าคณะรัฐมนตรี (รักษาการ) และวุฒิสมาชิกได้ออกแถลงการณ์ดังต่อไปนี้ "เราอยู่เคียงข้างสหราชอาณาจักรอย่างเต็มที่ในการประณามการกระทำที่ก้าวร้าวนี้ และเราจะดำเนินการตามการตอบสนองของสหราชอาณาจักรโดยทันที สหราชอาณาจักรมีหน้าที่รับผิดชอบด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และเราจะดำเนินการคว่ำบาตรของทั้งสหราชอาณาจักรและสหประชาชาติ"[198]
  •  ออสเตรียคาร์ล เนแฮมเมอร์ นายกรัฐมนตรีออสเตรีย อ้างว่า "เกิดสงครามขึ้นในยุโรปอีกแล้ว" และประณามการโจมตีของรัสเซียและประกาศว่าออสเตรียนั้นเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับยูเครน[199]
  •  อาเซอร์ไบจาน − ประธานาธิบดีอิลฮัม แอลีเยฟ เสนอให้มีการจัดการเจรจาระหว่างยูเครนและรัสเซีย[200] และอาเซอร์ไบจานจะส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมไปยังยูเครน[201]
  •  อาร์มีเนีย − รัฐบาลอาร์มีเนียแสดงความ "หวังว่าปัญหาที่มีอยู่ระหว่างสองรัฐที่เป็นมิตรจะได้รับการแก้ไขผ่านการเจรจาทางการทูต" และประกาศความพร้อมในการรับผู้ลี้ภัย[202]
  •  อันดอร์รา – รัฐบาลอันดอร์ราประณามการรุกรานดังกล่าว และนายกรัฐมนตรีซาวีเอร์ เอสปอต ร้องขอให้เกิดสันติภาพ โดยเขากล่าวว่า "ไม่ควรหันไปพึ่งพาสงคราม"[203] วันที่ 2 มีนาคม อันดอร์ราเข้าร่วมการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย เอสปอตยอมรับว่าผลกระทบจะไม่ได้สูง แต่มันเป็นเรื่องของความเชื่อมั่น และอันดอร์ราไม่เคยใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อประเทศอื่นมาก่อน[204]
  •  อับฮาเซีย[lower-alpha 2]อัสลาน บซานิยา ประธานาธิบดีอับคาเซียระบุว่า การรุกรานยูเครนโดยรัสเซียนั้น "ชอบธรรมอย่างยิ่ง"[205]
  •  อิตาลี – นายกรัฐมนตรีมาริโอ ดรากี สัญญาว่า "จะทำทุกวิถีทางในการฟื้นฟูอำนาจอธิปไตยของยูเครน" และ "เป็นไปไม่ได้ที่จะมีการเจรจากับรัฐบาลมอสโก" และเรียกร้องให้รัสเซียถอนกองกำลังของตนกลับสู่พรมแดนที่เป็นที่ยอมรับโดยสากลอย่างไม่มีเงื่อนไข[206]
  •  เอสโตเนีย – นายกรัฐมนตรีคายา กัลลัส เรียกรัสเซียว่า "ภัยคุกคามต่อทั้งยุโรป"[207]
  •  แอลเบเนียอีลีร์ เมตา ประธานาธิบดีแอลเบเนียเรียกประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 และได้ออกแถลงการณ์ "ประณามอย่างรุนแรงต่อการโจมตีทางทหารของรัสเซียในยูเครน" ว่าเป็น "การยกระดับที่ไร้เหตุผลและไม่ยุติธรรม" ซึ่ง "ถือเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ กฎบัตรสหประชาชาติ ข้อตกลงมินสค์ บันทึกบูดาเปสต์ และบ่อนทำลายความมั่นคงและสันติภาพทั่วยุโรป" พร้อมทั้งแสดงความเสียใจกับผู้เสียชีวิตและ "แสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับประชาชนชาวยูเครนและสถาบันประชาธิปไตย"[208] โดยเป็นข้อความที่คล้ายคลึงกับนายกรัฐมนตรีเอดิ รามา แถลงไปก่อนหน้านั้นในทวิตเตอร์[123] ออลตา ชาชกา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุโรปและการต่างประเทศ[209] และเฟริต ฮอชา เอกอัครรัฐทูตสหประชาชาติในการประชุมคณะมนตรีความมั่นคง[210] ได้เข้าร่วมกับสหรัฐในการเรียกร้องให้สหประชาชาติลงมติประณามการกระทำของรัสเซีย เนื่องจากความตั้งใจที่จะบังคับให้รัสเซียใช้สิทธิวีโต้[211] หลังจากการประชุมสุดยอดเนโท รามากล่าวว่า แอลเบเนียพร้อมที่จะรับผู้ลี้ภัยชาวยูเครนจำนวนพันกว่าคนที่ลี้ภัยสงคราม[212]
  •  ไอซ์แลนด์ – นายกรัฐมนตรีคาตริน ยาคอปสโตว์ทีร์ ประณามรัสเซียที่รุกรานยูเครนว่าเป็น "การละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศที่ยอมรับไม่ได้"[213]
  •  ไอร์แลนด์
    • ประธานาธิบดีไมเคิล ดี. ฮิกกินส์ เรียกการรุกรานของรัสเซียว่า "ยอมรับไม่ได้และผิดศีลธรรม" และกล่าวว่า "ความรุนแรงนี้ต้องยุติลง รัสเซียต้องถอนกำลังทหาร การเพิ่มกำลังทหารต้องยุติลง พลเรือนทุกคนต้องได้รับมนุษยธรรมโดยสมบูรณ์ ความหวังอันริบหรี่ทุกประการในทางการทูตจะต้องถูกยึดไป"[214]
    • นายกรัฐมนตรีไมเคิล มาร์ติน ประณามการกระทำที่ "อุกอาจ" ของรัสเซียในยูเครน และสัญญาว่า "จะมีการคว่ำบาตรอย่างรุนแรงจากสหภาพยุโรป" ในขณะที่กล่าวว่า "ความคิดของเราจะต้องอยู่กับประชาชนผู้บริสุทธิ์ของยูเครนในช่วงเวลานี้ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยากที่สุดของพวกเขา"[215]
    • รองนายกรัฐมนตรีลีโอ วาแรดการ์ กล่าวว่า ในขณะที่ไอร์แลนด์นั้นเป็นกลางทางทหาร "ในความขัดแย้งนี้ ไอร์แลนด์ไม่อาจเป็นกลางได้เลย" ซึ่งไอร์แลนด์นั้นสนับสนุน "อย่างแน่วแน่และไม่มีเงื่อนไข" ในการสนับสนุนยูเครน[216] เขาได้เปรียบเทียบการรุกรานยูเครนกับการรุกรานเชโกสโลวาเกียในปี 2482 โดยเรียกปูตินว่า "ฮิตเลอร์แห่งศตวรรษที่ 21"[217]
  •  ฮังการี
    • ประธานาธิบดียาโนช อาแดร์ ประณามอย่างรุนแรงต่อการรุกรานของรัสเซีย ซึ่ง "ฮังการีเคยต้องถูกบังคับให้ต้องทนกับเหตุการณ์ที่คล้ายกันในปี ค.ศ. 1956" อาแตร์กล่าวเสริมว่า "เรา [ฮังการี] ได้ทำทุกอย่างเพื่อให้ผู้นำรัฐบาลมอสโกยังคงรักษาระดับและอดกลั้น น่าเสียดายที่เราไม่ประสบความสำเร็จได้ เนื่องจากรัสเซียได้ทำตามแผนที่ไตร่ตรองไว้ล่วงหน้าแล้ว"[218]
    • นายกรัฐมนตรีวิกโตร์ โอร์บาน กล่าวว่า "เราประณามการโจมตีทางทหารของรัสเซียร่วมกับพันธมิตรสหภาพยุโรปและเนโท" โดยเสริมว่าการส่งกองกำลังหรือยุทโธปกรณ์ไปยังยูเครนนั้น "ไม่มีปัญหา และเราจะทำแน่นอนในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม"[219]

ทวีปอเมริกาเหนือ

  •  กัวเตมาลา – ประธานาธิบดีอาเลฆันโดร ยามาตเต ออกแถลงการณ์ผ่านทวิตเตอร์ในการประณามการรุกรานของรัสเซีย[220]
  •  กรีเนดา – เกรเนดามีการแถลงประณามการบุกรุก[221]
  •  คอสตาริกา – ประธานาธิบดีการ์โลส อัลบาราโด เกซาดา ออกแถลงการณ์ผ่านทวิตเตอร์ โดยปฏิเสธและประณามการกระทำอันเป็น "การใช้กำลังและการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของยูเครน" โดยกล่าวว่า "สันติภาพ" ควรเป็นเพียงวิธีการเดียว[222]
  •  คิวบา – รัฐบาลคิวบาตำหนิรัฐบาลสหรัฐว่าเป็นต้นเหตุแห่งวิกฤตในยูเครน และสนับสนุนสิทธิของรัสเซียในการ "ป้องกันตัว" แต่กล่าวว่าความขัดแย้งนั้นควรได้รับการแก้ไขทางการทูต[223]
  • สุนทรพจน์ของจัสติน ทรูโดเกี่ยวกับการรุกรานของรัสเซียในปี 2565  แคนาดา – นายกรัฐมนตรีจัสติน ทรูโด ประณาม "การโจมตียูเครนอย่างร้ายแรงของรัสเซียในเงื่อนไขที่รุนแรงที่สุด" และกล่าวว่า "การกระทำโดยมิได้มีการยั่วยุก่อนเหล่านี้เป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของยูเครนอย่างชัดเจน พวกเขายังได้ละเมิดพันธกรณีของรัสเซียภายใต้กฎระหว่างประเทศและกฎบัตรของสหประชาชาติด้วย"[224]
  •  จาเมกา – นายกรัฐมนตรีแอนดรูว์ ฮอลเนส ประณามรัสเซียโดยกล่าวว่า "จาเมกามีความสอดคล้องในการสนับสนุนการเคารพในระดับสากล และการปฏิบัติตามหลักการของกฎหมายระหว่างประเทศ นั่นคือ การเคารพบูรณภาพแห่งดินแดนและอธิปไตยของทุกประเทศ ดังนั้น เราจึงไม่สามารถสนับสนุนการกระทำดังกล่าวได้ และเราจึงขอประณามการรุกรานยูเครน"[225]
  •  เซนต์ลูเชีย – เซนต์ลูเซียแสดงความกังวลเกี่ยวกับการรุกรานและสนับสนุนคำแถลงของ CARICOM ในการประณามรัสเซีย[226]
  •  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ – ในการประชุมฉุกเฉินของสหประชาชาติ อินงา รอนดา คิงเอกอัครราชทูตกล่าว่าประเทศของเธอนั้น "ยืนยันอย่างชัดเจนว่าให้สหพันธรัฐรัสเซียยุติปฏิบัติการทางทหารและถอนกำลังออกจากยูเครนโดยทันที"[227]
  •  ดอมินีกา – โดมินิกาประณามการรุกรานและเรียกร้องให้ยุติความ 'ก้าวร้าว'[228]
  •  นิการากัว – ประธานาธิบดีดานิเอล ออร์เตกา สนับสนุนการส่งกำลังทหารของปูตินไปยังยูเครนหลังจากรับรองการแบ่งแยกดินแดนแล้ว[229]
  •  บาร์เบโดส – นายกรัฐมนตรีมีอา มอตต์ลีย์ เรียกร้องให้รัสเซียถอนกำลังและอธิบายว่าการรุกรานดังกล่าวเป็นการละเมิดบูรณภาพแห่งดินแดนของยูเครน[230]
  •  บาฮามาส – บาฮามาสประณามการรุกราน และเฟรด มิตเชลล์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า "การรุกรานยูเครนโดยสหพันธรัฐรัสเซียซึ่งนำโดยประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูตินนั้นไม่ชอบ ไม่ชอบด้วนหฎหมาย และควรยุติและถอนกำลังทันที"[231]
  •  เบลีซ – เบลีซประณาม 'การรุกรานอย่างไม่ชอบด้วยกฎหมายของรัสเซีย' และแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเพื่อยูเครน[232]
  •  ปานามา – ปานามาแสดงความเสียใจต่อการรุกรานดังกล่าว และกล่าวว่าสนับสนุนในอธิปไตย เอกราช และบูรณภาพแห่งดินแดนของยูเครน[233]
  •  เม็กซิโกมาร์เซโล เอบราด เลขาธิการการะทรวงการต่างประเทศเม็กซิโก กล่าวว่า ในนามของประธานาธิบดีอันเดรส มานูเอล โลเปซ โอบราดอร์ ได้ออกแถลงการณ์บนทวิตเตอร์ โดยปฏิเสธและประณามการรุกรานของรัสเซีย โดยเขาเรียกร้องให้ยุติการเป็นศัตรูเพื่อให้มีมติอย่างสันติ[234] อย่างไรก็ตาม วันที่ 1 มีนาคม โลเปซ โอบราดอร์กล่าวว่าเม็กซิโกจะไม่เข้าร่วมการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย และวิพากษ์วิจารณ์การเซ็นเซอร์สื่อรัสเซียของต่างชาติ[235]
  • แถลงการณ์ของโจ ไบเดินเกี่ยวกับการรุกรานของรัสเซียปี 2565  สหรัฐ
    • ประธานาธิบดีโจ ไบเดิน ออกแถลงการณ์ประณามการรุกรานของรัสเซียว่า "ปราศจากการยั่วยุและไม่ยุติธรรม" และกล่าวหาว่าปูตินเริ่ม "สงครามโดยไตร่ตรองไว้ก่อนที่จะนำมาซึ่งความสูญเสียซึ่งชีวิต และความทุกข์ทรมานอย่างร้ายแรง"[236] ไบเดินกล่าวว่า สหรัฐจะไม่ส่งกองกำลังของตนเพื่อปกป้องยูเครน อย่างไรก็ตาม ไบเดินได้อนุมัติการคว่ำบาตรโดยตรงต่อปูตินและเซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย[237][238]
    • ในการแถลงนโยบายประจำปีต่อรัฐสภา 2565 ไบเดินแถลงว่า นานฟ้าสหรัฐทั้งหมดจะปิดบริการสำหรับเครื่องบินสัญชาติรัสเซียทุกลำ[239] นอกจากนี้ ไบเดินยังกล่าวโจมตีผู้มีอำนาจของรัสเซีย ที่สนับสนุนปูตินด้วยว่า "เรากำลังร่วมมือกับพันธมิตรในยุโรป เพื่อค้นหาและยึดเรือยอทช์ อพาร์ตเมนต์หรู และเครื่องบินส่วนตัวของคุณ เราจะนำมาซึ่งหายนะของคุณ"[240]
    • รองประธานาธิบดีกมลา แฮร์ริส ขู่ว่าจะเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียในกระประชุมความมั่นคงมิวนิก โดยเธอกล่าวว่า "ให้ดิฉันได้พูดอย่างชัดเจน ดิฉันสามารถพูดได้อย่างมั่นใจว่า หากรัสเซียยังคงรุกรายยูเครน สหรัฐจะร่วมกับพันธมิตรและหุ้นส่วนในการกำหนดราคาที่รัสเซียต้องจ่ายในแง่เศรษฐกิจอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน"[241]
    • แนนซี เพโลซี โฆษกสภาสหรัฐให้คำมั่นสัญญาว่า จะให้สภาผู้แทนราษฎร์ผ่านเงินทุนที่จำเป็นในการสนับสนุนรัฐบาลยูเครน[242]
  •  สาธารณรัฐโดมินิกัน – ประธานาธิบดีลุยส์ อาบินาเดร์ ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัสเซียถอนกำลังจากยูเครนและระบุด้วยว่า รัสเซียกำลังละเมิดอัตลักษณ์ทางการเมือง วัฒนธรรม และดินแดนของชาวยูเครน[243]
  •  แอนทีกาและบาร์บิวดาพอล เชต กรีเน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ประณามการรุกรานของรัสเซียและเรียกร้องให้มีการเจรจาทางการทูตเกิดขึ้น[244]
  •  ฮอนดูรัส – ฮอนดูรัสประณามการรุกรานของรัสเซีย[245]
  •  เฮติ – เฮติแสดงความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในยูเครนและเรียกร้องให้ทั้งสองประเทศหางทางแก้ปัญหาผ่านทางการทูต เฮติสนับสนุนมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในการประณามรัสเซีย[246][247]

ทวีปอเมริกาใต้

  •  กายอานา – กายอานาประณามการรุกรานและเรียกร้องให้รัสเซียเคารพอธิปไตยของยูเครน[248][249]
  •  โคลอมเบีย – ประธานาธิบดีอิบัน ดูเก มาร์เกซ กล่าวว่า โคลอมเบีย "ปฏิเสธการโจมตียูเครนโดยรัสเซียอย่างเด็ดขาด" และถือว่าการรุกรานนั้น เป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศและกฎบัตรสหประชาชาติ[250]
  •  ชิลี – ประธานาธิบดีเซบัสเตียง ปิเนรา กล่าวว่า "การรุกรานและการละเมิดอธิปไตยของยูเครนของรัสเซียนั้น ถือเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ"[251] ในขณะที่ประธานาธิบดีที่เพิ่งได้รับเลือก กาบริเอล โบริช กล่าวว่า "ขอประณามการรุกรานยูเครน การละเมิดอธิปไตย และการใช้กำลังอย่างผิดกฎหมาย"[252]
  •  ซูรินาม – ซูรินามประณามการรุกราน[253]
  •  บราซิล – ประธานาธิบดีฌาอีร์ โบลโซนารู ปฏิเสธที่จะประณามรัสเซียในการรุกรานยูเครนเพื่อแสดงจุดยืนเป็นกลางของบราซิล[254]
    แหล่งข่าวใกล้ชิดกล่าวกับรอยเตอร์ว่า บราซิลจะสนับสนุนมติประณามการรุกรานยูเครนโดยรัสเซียในการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ แหล่งข่าวที่หนึ่งกล่าวว่า "เราจะสนับสนุนมติคณะมนตรีความมั่นคง และเราจะประณามการรุกราน" ขณะที่แหล่งข่าวอีกรายกล่าวว่า "รัสเซียละเมิดกฎของสหประชาชาติด้วยการรุกรานประเทศอื่น ด้วยข้อเท็จจริงนั้นจึงมิอาจเป็นอื่นใดไปได้นอกจากการประณาม"[255] รองประธานาธิบดีแฮมิลตัน มูเรา แนะนำให้ใช้กำลังในการต่อต้านรัสเซียในบริบทของวิกฤติทางการทหาร[256] อย่างไรก็ตาม วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ประธานาธิบดีฌาอีร์ โบลโซนารู กล่าวว่า เขาจะยังคงไม่ประณามการรุกราน และบราซิลจะยังคงเป็นกลางต่อความขัดแย้งนี้[257]
  •  ปารากวัย – ปารากวัยประณามการรุกราน[258]
  •  เปรูเซซาร์ ลันดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวในแถลงการณ์ว่า "เมื่อเผชิญกับการละเมิดอธิปไตย อาณาเขต และบูรณภาพของยูเครน เปรูขอให้ปฏิเสธการใช้กำลังทหาร และแสดงความเห็นผ่านกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อเคารพกฎหมายระหว่างประเทศ"[259]

ทวีปโอเชียเนีย

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ใกล้เคียง

ปฏิกิริยาต่อการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย ปฏิกิริยาต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ปฏิกิริยานิวเคลียร์ ปฏิกิริยาต่อการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 ปฏิกิริยาของนานาชาติต่อสงครามอิสราเอล–ฮะมาส พ.ศ. 2566 ปฏิกิริยาของนานาชาติต่อรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ปฏิกิริยามายาร์ ปฏิกิริยาฟอสฟอรีเลชัน ปฏิกิริยารีดอกซ์ ปฏิกิริยาสะเทิน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปฏิกิริยาต่อการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย https://timesofindia.indiatimes.com/world/rest-of-... https://www.graphic.com.gh/news/general-news/ghana... https://web.archive.org/web/20220225123448/https:/... https://qz.com/africa/2133610/what-is-africas-posi... https://usun.usmission.gov/remarks-by-ambassador-t... https://www.diplomatie.gov.tn/en/press/news/detail... https://informante.web.na/?p=315090 https://www.diplomatie.ma/en/kingdom-morocco-follo... https://www.aa.com.tr/en/middle-east/libya-condemn... https://web.archive.org/web/20220224165251/https:/...