อุบัติเหตุทางอากาศที่มิวนิก ของ ประวัติศาสตร์ของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด_(ค.ศ._1945–1969)

ดูบทความหลักที่: Munich air disaster

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1958 ยูไนเต็ดลงเล่นฟุตบอลยุโรปในรอบ 8 ทีมสุดท้ายนัดที่สองกับ เรด สตาร์ เบลเกรด ที่ ยูโกสลาเวีย การแข่งขันจบลงด้วยสกอร์ 3-3 แต่ยูไนเต็ดพกความได้เปรียบจากนัดแรกที่ชนะมา 2-1 ทำให้สกอร์รวมผ่านเข้ารอบไปได้ด้วยสกอร์ 5-4 ผ่านเข้าสู่รอบเซมิ ไฟนอล ได้สำเร็จเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน

แผ่นหินสลักเพื่อเป็นเกียรติให้กับนักเตะที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์เครื่องบินตกที่มิวนิก

เครื่องบินเช่าเหมาลำแอร์สปีด แอมบาสเดอร์ ของบริษัทบริติช ยูโรเปียน แอร์เวย์ ซึ่งเป็นเครื่องบินที่นักเตะยูไนเต็ดใช้โดยสารกลับ โดยออกจากเบลเกรด วันที่ 6 กุมภาพันธ์ และจอดเติมเชื้อเพลิงที่มิวนิก การนำเครื่องขึ้นเกิดปัญหาถึงสองครั้ง เกี่ยวกับปัญหาทางด้านเชื้อเพลิง รวมทั้งข้อจำกัดเกี่ยวกับสนามบินมิวนิกทำให้สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลงอีก

หลังจากความพยายามถึง 3 ครั้ง นักบินก็สามารถนำเครื่องขึ้นได้เป็นผลสำเร็จ แต่การที่พวกเค้าอยู่ในสถานการ์ วี1 "การตัดสินใจเกี่ยวกับความเร็ว" ความเร็วเครื่องบินลดลงอย่างกะทันหัน เครื่องบินได้ตกกระทบพื้น ชนเข้ากับรั่วและบ้านเรือนที่อยู่ใกล้เคียง ส่วนปีกซ้ายและหางของเครื่องบินหักลง ส่วนกราบเครื่องบินด้านขวากระแทกเข้ากับถังน้ำมันและเกิดระเบิดขึ้น โดยผลการพิสูจน์หลักฐานอย่างเป็นทางการสรุปว่า สาเหตุเกิดจากน้ำแข็งที่หลอมละลาย และทำให้ความเร็วในขณะขึ้นเครื่องลดลง จนไม่สามารถนำเครื่องบินขึ้นได้สำเร็จ

มาร์ค โจนส์ เดวิด เปกก์ โรเจอร์ เบิร์น (กัปตันทีมตั้งแต่ปีค.ศ. 1953) เจฟฟ์ เบนท์ เอดดี้ โคลแมน เลียม วีแลน และ ทอมมี่ เทย์เลอร์ เสียชีวิตจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ รวมทั้ง วอล์เตอร์ คริกเมอร เลขานุการ โค้ชทอม เคอร์รี่ ส่วน เบิร์ท วาล์เลย์ ดันแคน เอ็ดเวิร์ด แมตต์ บัสบี้ และ จอร์นนี่ เบอรี่ ได้รับบาดเจ็บสาหัส เอ็ดเวิร์ดเสียชีวิตหลังจาก 15 วันของการรักษาตัว เบอร์รี่ และ แจ็คกี้ บลันซ์ฟวาเวอร์ รอดชีวิตแต่ก็ไม่สามารถกลับมาลงสนามได้อีกครั้ง เบิร์น เทย์เลอร์ และเอ็ดเวิร์ด เป็นตัวหลักในทีมชาติอังกฤษ ลงเล่นทั้งหมด 70 นัด ทำไปได้ 21 ประตู ขณะที่ เปกก์ วีแลน เบอร์รี่ และบลันซ์ฟวาเวอร์ ทั้งหมดเคยรับใช้ทีมชาติอังกฤษ ไอร์แลนด์ และไอร์แลนด์เหนือ

สรุปผู้เสียชีวิตจากเหตุการ์หลังได้รับบาดเจ็่บมีทั้งสิ้น 23 ชีวิต 4 ชีวิตเป็นผู้โดยสาร 2 ชีวิตเป็นลูกเรือ 8 คอลัมนิสส์ ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ แฟรงค์ สวิฟท์ อดีตผู้รักษาประตูทีมชาติอังกฤษของสโมสรแมนเชสเตอร์ซิตี สำหรับผู้รอดชีวิตประกอบด้วยผู้รักษาประตู แฮรรี่ เกร็กก์ ซึ่งเพิ่งเซ็นสัญญาร่วมทีมมาจากสโมสร ดอนคาสเตอร์ โรเวอร ฟูลแบ็ก บิลล์ โฟล์ก และศูนย์หน้า บ๊อบบี้ ชาร์ลตัน

เหตุการณ์ในครั้งนี้ได้ซ้ำรอยโศกนาฏกรรมในปี ค.ศ.1949 ซึ่งเป็นเหตุการณ์เครื่องบินตกของสโมสรโตริโน ในปีค.ศ.1987ที่ลิม่า เปรู ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตถึง 43 คน (ลูกเรือรอดชีวิตเพียงคนเดียว) ส่งผลให้ลูกทีมทั้งหมดของสโมสรอลิแอนซ่า ลิม่ากองเชียร์ และสต้าฟโค้ชเสียชีวิต และเหตุการณ์เครื่องบินตกในปี ค.ศ.1993 สูญเสีย 18 ชีวิตของนักเตะทีมชาติแซมเบีย

ใกล้เคียง

ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ไทย ประวัติศาสนาพุทธ ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์จีน ประวัติศาสตร์โลก ประวัติศาสตร์สหรัฐ ประวัติศาสตร์สเปน ประวัติศาสตร์เยอรมนี ประวัติการบินไทย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประวัติศาสตร์ของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด_(ค.ศ._1945–1969) http://www.fifa.com/classicfootball/clubs/matchrep... http://www.fifa.com/classicfootball/players/player... http://www.manutd.com/en/Club/History-By-Decade/19... http://www.manutd.com/en/Club/History-By-Decade/19... http://www.manutd.com/en/Club/History-By-Decade/19... http://www.manutd.com/en/News-And-Features/Feature... http://www.manutd.com/en/Players-And-Staff/Manager... http://www.rsssf.com/miscellaneous/europa-poy.html http://news.bbc.co.uk/onthisday/hi/dates/stories/f... http://news.bbc.co.uk/onthisday/hi/dates/stories/j...