ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ของ ประวัติศาสตร์เอเชียกลาง

หลักฐานทางพันธุศาสตร์กล่าวว่ามนุษย์โฮโมเซเปียนส์เข้าสู่เอเชียกลางเมื่อ 40,000 - 50,000 ปีมาแล้ว ถือว่าเป็นแหล่งที่อยู่เก่าแก่ของมนุษย์แห่งหนึ่งของโลกแหล่งนี้อาจเป็นที่อยู่ของกลุ่มชนก่อนอพยพเข้าสู่ยุโรป ไซบีเรียและอเมริกาเหนือ[1] คาดว่าบริเวณนี้เป็นแหล่งกำเนิดของตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียนในช่วงต้นราว 4,000 ปีก่อนพุทธศักราช มีชุมชนเล็กๆ พัฒนาการสร้างที่อยู่อาศัยแบบถาวรและเริ่มทำการเกษตร รวมทั้งเริ่มเลี้ยงม้าสำหรับเป็นอาหารเพียงอย่างเดียวในระยะแรก และเริ่มใช้เป็นพาหนะในอีก 500 ปีต่อมา กลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ ชนร่อนเร่

ชานิยมเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อน อาศัยอยู่ในเตนท์หรือค่ายพักที่เคลื่อนย้ายได้ง่าย มีการตั้งถิ่นฐานเป็นเมืองเล็ก ๆ ในบริเวณที่ชุ่มชื้นของเอเชียกลาง เช่นการเกิดอารยธรรมแบ็กเตรีย-มาร์เกียนา(Bactria–Margiana) ที่มีการปลูกข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์และมีการประดิษฐ์อักษรขึ้นใช้ บักเตรีย-มาร์เกียนาอาจจะมีปฏิสัมพันธ์กับวัฒนธรรมอันโดรโนโว(Andronovo culture) ในช่วงยุคสำริดที่เป็นแหล่งกำเนิดของการใช้รถม้าซึ่งอยู่ทางเหนือของไซบีเรียตะวันตก รัสเซีย และบางส่วนของคาซัคสถาน คงอยู่มาจนถึง 457 ปีก่อนพุทธศักราช บักเตรีย-มาร์เกียนาอาจจะเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมอารยันที่เป็นบรรพบุรุษของผู้พูดภาษากลุ่มอินโด-อิเรเนียน และอาจจะเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมยูราลิกและอัลไตอิกด้วย

รวา พ.ศ. 443 นครซอกเดีย(Sogdia) กลายเป็นเมืองสำคัญและเป็นที่พักของพ่อค้าบนเส้นทางสายไหม มีประชากรที่หลากหลายเข้ามาอยู่ในบริเวณนี้ กลุ่มของชาวนอร์มาดิกในเอเชียกลาง รวมทั้งชาวฮันและกลุ่มชนเตอร์กิกกลุ่มอื่นๆ ของโตคาเรีย ชาวเปอร์เซีย ชาวไซเทีย(Scythians) และกลุ่มผู้พูดภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียนอื่นๆ และชาวมองโกลอีกจำนวนหนึ่ง

ใกล้เคียง

ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสนาพุทธ ประวัติศาสตร์ไทย ประวัติศาสตร์โลก ประวัติศาสตร์จีน ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์อินเดีย ประวัติศาสตร์สหรัฐ ประวัติการบินไทย ประวัติศาสตร์เทคโนโลยี