ความคิดยุคโบราณและยุคกลาง ของ ปรัชญาญี่ปุ่น

ก่อนที่ระบบเจ้าขุนมูลนาย ได้รับการก่อตั้งขึ้นอย่างมั่นคงในญี่ปุ่น พุทธศาสนาได้ครอบครองความคิดหลักของญี่ปุ่น ในยุคนาระ วัฒนธรรมทางพุทธศาสนาที่นำโดยเจ้าชายโชโทะขุ ได้เสร็จสมบูรณ์ในฐานะความคิดที่ "ทำให้ประเทศปลอดภัย" เมื่อยุคเฮอัง (794–1185) เริ่มต้น รูปแบบหนึ่งของพุทธศาสนาอันลึกลับที่รู้จักกันในนาม มิก-คโย เริ่มแพร่หลายเพื่อทดแทน "แนวคิดทำให้ประเทศปลอดภัย" อย่างไรก็ตามในช่วงปลายยุคขุนนาง การมองโลกในแง่ร้ายได้รับความนิยมเนื่องจาก "ความเชื่อที่ว่าศาสนาพุทธจะเสื่อมลงในระยะหลังของโลกใบนี้" ขบวนการดินแดนบริสุทธิ์กระจายออกไปกระตุ้นให้เกิดความคาดหวังของ "ชีวิตในอนาคต" มากกว่า "ชีวิตในโลกนี้" ในยุคคามาคุระ (ค.ศ. 1185–1333) เมื่อรัฐบาลที่ปกครองโดยชนชั้นซามูไรเริ่มขึ้น พุทธศาสนาแบบใหม่สำหรับชนชั้นที่กำเนิดขึ้นใหม่ (ซามูไร) ได้ปรากฏขึ้น

การเข้ามาของพุทธศาสนาและอิทธิพลต่อญี่ปุ่นในยุคแรก

ในสมัยโบราณของญี่ปุ่น การมาถึงของพุทธศาสนาเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับการสร้างชาติและการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่รัฐบาลแห่งชาติ เจ้าชายโชโทะขุ และตระกูลโซกะได้ต่อสู้และเอาชนะตระกูลโมโนะโนะเบะ ผู้ซึ่งได้จัดการกับศาสนาของญี่ปุ่นยุคโบราณและได้จัดทำแผนสำหรับการปกครองแห่งชาติโดยมีรากฐานอยู่ที่การผสมผสานของระบบกฎหมายและพุทธศาสนา ในขณะที่ร่วมมือกับตระกูลโซกะ เจ้าชายโชโทขุซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของ จักรพรรดินีซุอิโกะ ได้แสดงความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในพุทธศาสนาจาก "ต่างชาติ" [1] และวางแผนที่จะทำให้ การเมืองระดับชาติมีเสถียรภาพด้วยการใช้พุทธศาสนาเป็นเครื่องมือ ความคิดที่ว่าสันติภาพและความมั่นคงของชาติมาจากพลังของพุทธศาสนาเรียกว่า "การทำให้ประเทศปลอดภัย" ในยุคนาระ โดยเฉพาะในรัชสมัยจักรพรรดิโชมุ มีการสร้างวัดโคคุบุนจิและวัดโคคุบุนนิจิขึ้นทั่วประเทศ รวมไปถึงวัดโทไดจิและวัดไดบุทสึ ซึ่งถูกสร้างขึ้นที่เมืองนาระ นโยบายทางพุทธศาสนาของรัฐมาถึงจุดสูงสุดในช่วงยุคนาระ ดังที่ปรากฏในหลักฐานของเจี้ยนเจินแห่งราชวงศ์ถังผู้ซึ่งนำแท่นบวชจักรพรรดิไปยังวัดโทไดจิ

ในขณะที่พุทธศาสนายุคนาระปฏิบัติตามเพียงความคิด "การทำให้ประเทศปลอดภัย" พุทธศาสนาในยุคเฮอังไม่เพียงนำสันติภาพและความมั่นคงของชาติ เท่านั้น แต่ยังนำมาซึ่งกำไรทางโลกส่วนบุคคล เพราะผู้ปฏิบัติธรรมในศาสนาพุทธยุคเฮอังมักจะปฏิบัติธรรมโดยถือสันโดษอย่างเคร่งครัด เวทมนตร์ และ การอธิษฐานในภูเขา พุทธศาสนาแบบนี้ เรียกว่า มิคคฺโย ในขณะที่คณะทูตที่เดินทางไปยังราชสำนักจีน พระภิกษุนามว่าคูไคได้เรียนรู้พุทธศาสนานิกายวัชรยานจากจีน และนำพุทธศาสนาแบบญี่ปุ่นมารวมเข้ากับการปฏิบัติที่ลึกลับของจีนจึงกลายมาเป็นพุทธศาสนาชินงอนแบบญี่ปุ่น ไซโชซึ่งเป็นพระภิกษุที่เดินทางไปยังประเทศจีนได้เรียนรู้การปฏิบัติของนิกายเทนไดแบบจีนและถกเถียงกันว่าคำสอนของคัมภีร์สัทธรรมปุณฑริกสูตรควรเป็นแกนหลักของพุทธศาสนาแบบญี่ปุ่นหรือไม่

ในยุคเฮอังตอนปลาย มุ่งเน้นไปที่พุทธศาสนาแบบเฮอังที่เน้นทางโลกซึ่งได้นำพระสงฆ์ที่จะประกาศเป็น "ยุคสมัยอันชั่วร้าย" ในความเป็นไปได้ของการผ่อนคลายในโลกนี้ถูกปฏิเสธ ดังนั้นชีวิตหลังความตายจึงมีทิศทางของการเกิดใหม่ในแดนสวรรค์ของชาวพุทธ นอกจากนี้ความคิดใหม่ที่ว่า "พุทธศาสนาจะเสื่อมลงในยุคหลังของโลกนี้" นำไปสู่การเกิดขึ้นของขบวนการเคลื่อนไหวดินแดนพุทธเกษตร การเคลื่อนไหวนี้นำโดยคูยะ ซึ่งเป็นนักปฏิบัติธรรมชาวพุทธในดินแดนพุทธเกษตรแสดงธรรมและประกาศความศรัทธาต่อพระอมิตาภพุทธ และสอนว่าทุกคนสามารถเข้าถึงสวรรค์พุทธศาสนาได้ ไม่ใช่แค่เพียงพระสงฆ์เท่านั้น

ธรรมจักร (วงล้อพุทธศาสนา) หมวดหมู่: สัญลักษณ์ทางพุทธศาสนา

พุทธศาสนาในยุคคามาคุระ

ความเชื่อแบบโจโด ซึ่งได้รับอิทธิพลจากนิกายโจโดแห่งยุคเฮอังตอนปลาย เน้นการพึ่งพาการช่วยให้พ้นทุกข์ผ่านความเมตตากรุณาของอมิตาภพุทธะ และจะได้รับการบรรเทาจากอำนาจ โฮเนน ผู้ก่อตั้งศาสนาพุทธนิกายโจโด ได้ละทิ้งการบำเพ็ญตนแบบเคร่งครัดรูปแบบอื่นอย่างสิ้นเชิง เขาได้เทศนาลูกศิษย์ของเขาให้เชื่อในอมิตาภพุทธะ และให้อธิษฐาน " นะมุ-อะมิดะ-บุทสึ "อย่างจริงจัง ดังนั้น พวกเขาจะได้ไปสวรรค์ ชินรัน ลูกศิษย์ของโฮเนน ผู้ก่อตั้งพุทธศาสนานิกายสุขาวดี ได้นำคำสอนของโฮเนนมาทำให้เสร็จสมบูรณ์ และประกาศการพึ่งพาอันสมบูรณ์ นอกจากนี้ชินรันยังสนับสนุนว่าสิ่งที่บรรเทาทุกข์ของอมิตาภพุทธะเป็นผู้ที่ตระหนักถึงความผิดทางโลกและความปรารถนา อิปเปน ผู้ก่อตั้งนิกายจีชู ได้ริเริ่ม "การเต้นรำทางศาสนาที่ท่องบทสวดเป็นทำนอง"

ในทางตรงกันข้าม ความเชื่อของนิกายโจโดที่ต้องอาศัยการพึ่งพา ศาสนาพุทธนิกายเซนพยายามเน้นการตรัสรู้อย่างเฉียบพลันด้วยตนเอง โดยการทำสมาธิแบบเซน เอไซ ได้ศึกษานิกายรินไซจากประเทศจีน เขาตั้งปัญหาให้แก่ลูกศิษย์ และให้พวกเขาแก้ปัญหาด้วยตนเองและพวกเขาก็จะได้รับความรู้ด้วยตนเอง สำนักรินไซเซนได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางจากชนชั้นซามูไรในยุคคามาคุระ โดเกน ศึกษานิกายโซโตจากประเทศจีน [2] ซึ่งตรงกันข้ามกับเอไซ เขาเน้นกา่รตรัสรู้ด้วยการนั่งสมาธิอย่างจริงจัง (ซาเซน) สำนักโซโตเซนได้รับการสนับสนุนจากซามูไรในท้องถิ่น

สำนักส่วนใหญ่ของพุทธศาสนานิกายนิชิเรน (ญี่ปุ่น: 法華系仏教 Hokke-kei Bukkyō ) อ้างถึงพระอาจารย์ในฐานะบิดาผู้ก่อตั้งนิกายนิชิเรน ในคำสอนของเขาได้ขีดเส้นใต้ถึงจิตใจของเขาและความยิ่งใหญ่ของคัมภีร์สัทธรรมปุณฑริกสูตร เขาสนับสนุนการบรรลุของโพธิจิตในช่วงชีวิตของเขาและถือว่าการตีความคำสอนของพุทธศาสนาเป็นรูปแบบที่ถูกต้องของการปฏิบัติสำหรับกฎหมาย Three Ages of Buddhism ในปัจจุบัน หนึ่งในบทความสำคัญของเขา คือ "Rissho Ankoku Ron" (สร้างคำสอนที่ถูกต้องเพื่อความสงบสุขของแผ่นดิน) ในปัจจุบันนี้ การสวดมนต์แบบมันตระ "นามู เมียวโฮ เร็งเง เคียว" เป็นศูนย์กลางการปฏิบัติของโรงเรียนและองค์กรทางศาสนาพุทธนิกายนิชิเรนเกือบทุกแห่ง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปรัชญาญี่ปุ่น http://www.yoshimototakaaki.com/ http://www.verlag-alber.de/suche/details_html?k_tn... http://ci.nii.ac.jp/ncid/BA44187842 http://www.iwanami.co.jp/.BOOKS/09/4/092161+.html http://enojp.org/2015/03/26/omori-shozo-bibliograp... https://www.rep.routledge.com/articles/overview/ja... https://plato.stanford.edu/entries/japanese-aesthe... https://www.iwanami.co.jp/.BOOKS/02/9/026486+.html https://www.iwanami.co.jp/.BOOKS/09/9/092021+.html https://web.archive.org/web/20150502190649/https:/...