ตัวบท ของ ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร

ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนาพุทธหลายท่าน แบ่งพระสูตรออกเป็นส่วนต่าง ๆ แตกต่างกันออกไปตามทัศนะของท่านเหล่านั้น แต่โดยสังเขปแล้วพระสูตรนี้พรรณนาถึงการบรรลุธรรมของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร อันเกิดจากการเพ่งวิปัสนาอย่างล้ำลึก จนบังเกิดปัญญา (ปรัชญา) ในการพิจารณาเล็งเห็นว่าสรรพสิ่งต่าง ๆ ล้วนว่างเปล่า และประกอบด้วยขันธ์ 5 (ปัญจสกันธะ) อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา (สังชญา) สังขาร (สังสการ) และวิญญาณ (วิชญาน)

ทั้งนี้ หัวใจหลักของพระสูตร ดังที่ระบุว่า "รูปคือความว่างเปล่า ความว่างเปล่าคือรูป รูปไม่อื่นไปจากความว่างเปล่า ความว่างเปล่าไม่อื่นไปจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณก็ว่างเปล่า" นับเป็นแก่นแท้ของพุทธศาสนา เห็นแจ้งในรูปเป็นความว่างเปล่า เกิดมหาปัญญา เห็นแจ้งในความว่างเปล่าเป็นรูป เกิดมหากรุณา เมื่อเห็นแจ้งในรูปเป็นความว่างเปล่า ความยึดมั่นในอัตตาย่อมไม่มี ความหลงในสรรพสิ่งย่อมถูกทำลายไป ธรรมชาติแท้ของสรรพสิ่ง ก็บังเกิดขึ้นในจิต นั่นคือ มหาปัญญา ได้บังเกิดขึ้น และเมื่อได้เห็นแจ้งถึงความว่างเปล่าได้ กำเนิดรูป ความรัก ความเมตตากรุณาในสรรพสิ่งที่เป็นธรรมชาติแท้ย่อมบังเกิดขึ้น ความ เมตตากรุณาที่เกิดจากปัญญาจะไม่มืดบอด หลงไหล ความรักของพ่อและแม่ที่มีต่อลูกเป็น เช่นเดียวกัน [19]