ตัวอย่างจริง ของ ปรากฏการณ์ขบวนแห่

ปรากฏการณ์นี้เกิดในการลงคะแนนเสียง[15]สามารถเกิดในระดับบุคคล คือเมื่อเปลี่ยนใจลงคะแนนเสียงเมื่อผู้สมัครรรับเลือกตั้ง[16]หรือนโยบายที่ลงคะแนนให้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น[17]ที่เปลี่ยนใจก็เพราะต้องการอยู่ฝ่ายชนะ[18]ซึ่งเกิดบ่อยกว่าเมื่อลงคะแนนเสียงแบบไม่ลับ หรือเมื่อมีการเผยแพร่การลงคะแนนเสียงอย่างกว้างขวาง[19]

ปรากฏกการณ์นี้พบได้ในระบบที่นับคะแนนเสียงส่วนมาก เช่น ที่พบทางการเมือง เมื่อบุคคลเปลี่ยนความเห็นตนให้เหมือนกับคนส่วนมาก[20]ซึ่งอาจเกิดเพราะบุคคลอนุมานหาเหตุผลอาศัยสิ่งที่คนอื่นเลือก[21]เช่น "ฉันมีโอกาสผิดพลาดมากกว่าที่คนทั้งหมดนี้จะผิดพลาด"

สำหรับประเทศที่ให้อาสาสมัครทำงานร่วมกับนักการเมือง ความรู้สึกว่าพรรคไหนหรือใครเป็นที่นิยมอาจทำให้เลือกบริจาคเงินหรือร่วมเป็นอาสาสมัครให้คือจะทำให้แก่นักการเมืองที่รู้สึกว่าเป็นที่นิยมและมีโอกาสได้รับเลือกตั้ง จึงทำให้นักการเมืองเหล่านั้นสามารถหาเสียงเลือกตั้งที่มีประสิทธิผลยิ่ง ๆ ขึ้น[12]

ในเศรษฐศาสตร์

เส้นโค้งอุปสงค์ปกติจะโค้งลง คือเมื่อราคาสูงขึ้น อุปสงค์หรือความต้องการสิ่งนั้น ๆ ก็จะลดลง

นักเศรษฐศาสตร์อเมริกันผู้ได้รับรางวัลโนเบลแกรี่ เบ็กเกอร์อ้างว่า ปรากฏการณ์นี้มีอิทธิพลมากพอเปลี่ยนเส้นโค้งอุปสงค์ (demand curve) ให้กลับโค้งขึ้นได้เส้นโค้งอุปสงค์ปกติจะโค้งลง คือเมื่อราคาสูงขึ้น อุปสงค์หรือความต้องการสิ่งนั้น ๆ ก็จะลดลง แต่ตามเบ็เกกอร์ เส้นโค้งที่โค้งขึ้นเท่ากับบอกว่า แม้เมื่อราคาจะสูงขึ้น แต่อุปสงค์ก็ยังเพิ่มขึ้นได้[7]

ตลาดการเงิน

ปรากฏการณ์นี้พบในตลาดการเงินโดยลักษณะ 2 อย่างอย่างแรกก็คือภาวะราคาฟองสบู่ ฟองสบู่มักเกิดในตลาดการงินที่ราคาของหลักทรัพย์ยอดนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อนักลงทุนเข้าแถวประมูลซื้อหลักทรัพย์แล้วทำให้ราคาเพิ่มขึ้น ก็กลับทำให้หลักทรัพย์น่าสนใจยิ่ง ๆ ขึ้นจนกระทั่งราคาพุ่งเกินขอบเขต ทำให้หลักทรัพย์มีมูลค่าทางตลาดเกินจริง[7]

อย่างที่สองคือสภาพคล่องที่ลดลง คือเมื่อมีเหตุการณ์หรือมีข่าวที่ไม่คาดฝัน นักลงทุนมักจะหยุดซื้อขายหลักทรัพย์จนกระทั่งเหตุการณ์ชัดเจนขึ้นซึ่งลดจำนวนผู้ซื้อผู้ขายในตลาด และลดความคล่องตัวอย่างสำคัญแล้วทำให้กระบวนการกำหนดราคา (price discovery) บิดเบือนไป ทำให้ราคาหลักทรัพยเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ เพิ่มความแตกตื่น เพิ่มความไม่แน่นอน แล้วก่อวงจรต่อ ๆ กันไป[7]

เศรษฐศาสตร์จุลภาค

ในเศรษฐศาสตร์จุลภาค ปรากฏการณ์อาจมีผลต่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์กับความชอบใจ[22]ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อความชอบใจซื้อสินค้าโภคภัณฑ์อย่างหนึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อจำนวนคนที่ซื้อเพิ่มขึ้นผู้บริโภคอาจเลือกผลิตภัณฑ์อาศัยความชอบใจของผู้อื่นโดยเชื่อว่ามันดีกว่าซึ่งอาจเกิดเพราะเห็นคนอื่นซื้อผลิตภัณฑ์นั้น ๆ หรือเห็นว่า สินค้าขาดแคลนเทียบกับสินค้าอื่น ๆ เพราะคนอื่นได้ซื้อของนั้นไปแล้วนี้เห็นได้กับร้านอาหารที่มีลูกค้ามาก แล้วทำให้ผู้อื่นมองว่าร้านนั้นต้องอร่อยกว่าร้านอื่น[4]ปฏิสัมพันธ์เช่นนี้อาจมีผลบิดเบือนค่าพยากรณ์ของทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานซึ่งสมมุติว่า ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าโดยอาศัยราคาและความชอบใจของตนเท่านั้น[7]

ในการแพทย์

การตัดสินใจของแพทย์ก็อาจได้รับอิทธิพลจากปรากฏการณ์นี้ด้วย โดยเฉพาะก็คือ มีวิธีการแพทย์ในอดีตซึ่งได้นิยมใช้อย่างกว้างขวาง ซึ่งปัจจุบันได้ถูกพิสูจน์แล้วว่าไม่สมเหตุผล ศาสตราจารย์กิตติคุณทางศัลยศาสตร์ชาวอเมริกันที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน[23]ได้เรียกวิธีการแพทย์เช่นนี้ว่า medical bandwagons (ขบวนแห่การแพทย์) ซึ่งเขานิยามว่า เป็นการยอมรับอย่าล้นหลามซึ่งแนวคิด (ทางการแพทย์) ที่ไม่ได้พิสูจน์แต่เป็นที่นิยม[10]ทำให้นำไปใช้รักษาคนไข้มากมายอย่างไม่สมควร และยังขัดขวางการพัฒนาวิธีการรักษาที่สมควรอีกด้วย[24]

งานศึกษาหนึ่งในปี 1979 เกี่ยวกับปรากฏการณ์นี้ทางการแพทย์ระบุว่า แนวคิดหรือการรักษาทางการแพทย์ใหม่ ๆ สามารถแพร่กระจายจนเป็นปกติ นี่เป็นอิทธิพลของปรากฏการณ์นี้ โดยอาจเป็นไปตามลำดับเช่นนี้คือ[25]

  • สื่อข่าวพบวิธีการรักษาใหม่แล้วเผยแพร่ โดยมักตีพิมพ์บทความหลายบท
  • องค์กรต่าง ๆ รวมทั้งองค์กรของรัฐ มูลนิธิที่สนับสนุนงานวิจัย และบริษัทเอกชนก็โปรโหมตการรักษานี้ด้วย โดยเฉพาะเมื่อมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง
  • มวลชนรับรู้เรื่องการรักษาใหม่นี้ แล้วกดดันให้แพทย์ใช้รักษา โดยเฉพาะเมื่อการรักษานี้เป็นของใหม่
  • แพทย์มักจะต้องการยอมรับการรักษาใหม่ เพราะเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ดึงดูดใจสำหรับปัญหาที่แก้ยาก
  • เพราะแพทย์ต้องรวมรวมข้อมูลทางการแพทย์อย่างมหาศาลเพื่อให้ทันสมัยในหลักวิชาของตน ๆ บางครั้ง จึงคิดวิเคราะห์เรื่องใหม่ ๆ อย่างไม่เพียงพอ

ในกีฬา

บุคคลที่สนับสนุนทีมกีฬาหนึ่ง ๆ โดยไม่เคยสนใจมาก่อนจนกระทั่งทีมนั้นเริ่มประสบความสำเร็จ อาจจัดได้ว่าเป็นแฟนขบวนแห่[26]

ในเครือข่ายสังคม

เมื่อมีคนใช้เว็บไซต์หรือแอ็ปเครือข่ายสังคมหนึ่ง ๆ มากขึ้น ก็จะทำให้คนอื่น ๆ มีโอกาสยิ่ง ๆ ขึ้นที่จะใช้เว็บไซต์หรือแอ็ปนั้น ๆ โดยเฉพาะเมื่อเห็นว่า สามารถเข้าถึงคนรู้จักออฟไลน์ของตนหลายคน[27]

ในแฟชั่น

ปรากฏการณ์นี้มีอิทธิพลต่อแฟชั่นและเทรนด์แฟชั่นเพราะคนมักจะต้องใส่เสื้อผ้าให้ทันสมัย โดยมักจะได้รับอิทธิพลจากบุคคลที่ตนเห็นบ่อย ๆ เช่นคนดังคนในสื่อมวลชนเช่นนั้นมักเป็นตัวจุดชนวนให้เกิดสไตล์แฟชั่นปัจจุบันเมื่อมีคนกลุ่มน้อยเริ่มเลียนแบบคนดังคนหนึ่ง คนอื่นก็มีโอกาสเลียนแบบมากขึ้นเพราะความกดดันทางสังคม หรือความต้องการเข้าสังคม หรือให้คนอื่นยอมรับ[ต้องการอ้างอิง]

ใกล้เคียง

ปรากฏการณ์เชื่อมั่นมากเกินไป ปรากฏการณ์เรือนกระจก ปรากฏการณ์แม็คเกอร์ก ปรากฏการณ์ขบวนแห่ ปรากฏการณ์การวางกรอบ ปรากฏการณ์ 2012 ปรากฏการณ์เกาะความร้อน ปรากฏการณ์ความจริงลวง ปรากฏการณ์ฟอเรอร์ ปรากฏการณ์ตัวล่อ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปรากฏการณ์ขบวนแห่ http://www.dklevine.com/archive/refs41193.pdf http://dumaguetemetropost.com/beware-of-the-bandwa... http://www.investopedia.com/terms/b/bandwagon-effe... http://dictionary.reference.com/browse/bandwagon http://www.wordwizard.com/phpbb3/viewtopic.php?f=7... //citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/summary?doi=10.1.1... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12504215 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/226929 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27783758 //doi.org/10.1002%2F9781118541555.wbiepc015