เศรษฐศาสตร์จุลภาค

เศรษฐศาสตร์จุลภาค (อังกฤษ: microeconomics) เป็นสาขาของเศรษฐศาสตร์ซึ่งศึกษาการตัดสินใจในระดับบุคคลหรือองค์กรธุรกิจ และความสัมพันธ์ของการตัดสินใจของแต่ละฝ่าย[1][2] เศรษฐศาสตร์จุลภาคแตกต่างจากเศรษฐศาสตร์มหภาค ที่พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางเศรษฐกิจในระดับมวลรวม เช่น ผลิตภัณฑ์มวลรวม อัตราเงินเฟ้อ อัตราการว่างงาน เป็นต้นหัวข้อศึกษาหลักข้อหนึ่งของเศรษฐศาสตร์จุลภาคคือการศึกษากลไกการทำงานของตลาด ซึ่งกำหนดราคาของสินค้าต่างๆ และจัดสรรสินค้าเหล่านั้นให้กับแต่ละฝ่าย แบบจำลองเศรษฐศาสตร์จุลภาค มีฐานเริ่มต้นเป็นการตัดสินใจของแต่ละผู้บริโภคแต่ละคนที่ต้องการตัดสินใจเพื่อให้ได้รับอรรถประโยชน์สูงสุด และองค์กรธุรกิจที่ต้องการกำไรสูงสุด แบบจำลองเศรษฐศาสตร์จุลภาค มักมีพื้นฐานเป็นปัญหาการหาค่าเหมาะที่สุดทางคณิตศาสตร์นักเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคเพื่อศึกษาหัวข้อเฉพาะทางต่างๆ เช่น ตลาดแรงงาน สาธารณสุข การศึกษา เป็นต้น