การตัดไม้ทำลายป่า ของ ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศอัฟกานิสถาน

กองทัพทหารสหรัฐฯ ในอัฟกานิสถาน ขณะทำการเข้าสกัดกั้นไม้ผิดกฎหมาย เนื่องจากมักถูกลักลอบตัดผ่านหุบเขา Narang ของจังหวัดโกนาร์ ไปยังประเทศปากีสถาน ในปี พ.ศ. 2552

การตัดหรือโค่นต้นไม้เป็นสิ่งผิดกฎหมายในประเทศอัฟกานิสถาน[5][6] เนื่องจากป่าไม้ในอัฟกานิสถานมีเพียงประมาณ 2.1% (หรือ 1,350,000 เฮกตาร์) ของพื้นที่ทั้งประเทศอัฟกานิสถานเท่านั้นที่เป็นป่า (ตามรายงานในปี พ.ศ. 2553)[7] อย่างไรก็ตามในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเริ่มมีการปลูกต้นไม้ในเขตเมืองทั่วประเทศอัฟกานิสถานมากขึ้น[8][9][10][11] แม้แต่ผู้นำทางจิตวิญญาณของกลุ่มตอลิบานก็สนับสนุนให้ปลูกต้นไม้เพิ่ม[12][13] อัฟกานิสถานมีดัชนีความสมบูรณ์ของภูมิทัศน์ป่าไม้ 8.85/10 ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 15 ของโลกจาก 172 ประเทศ[14]

ในอดีตชาวอัฟกันมีการพึ่งพาป่าไม้ในการใช้เป็นฟืน และรายได้ที่เกิดจากการส่งออกถั่วพิสตาชิโอและอัลมอนด์ ซึ่งเติบโตในป่าตามธรรมชาติในภาคกลางและภาคเหนือของประเทศ ซึ่งต่อมาในจังหวัดบาดกิส และ จังหวัดตาคาร์ สูญเสียพื้นที่ป่าพิสตาชิโอไปมากกว่า 50% จากกลุ่มพันธมิตรอย่าง Northern Alliance ที่ทำการถางป่าออกเนื่องจากอาจเป็นที่หลบซ่อนสำหรับการซุ่มโจมตีจากกลุ่มตาลีบัน นอกจากนี้ยังมีการใช้พื้นที่ป่าเป็นทุ่งสำหรับการเลี้ยงสัตว์และการเก็บถั่วเพื่อการส่งออก ดูเหมือนจะทำให้ต้นไม้ในป่าแห่งนี้เติบโตใหม่ได้ยากยิ่งขึ้น[15]

อัฟกานิสถานสูญเสียพื้นที่ป่าไปเกือบครึ่ง[16][17][18] ในป่าทึบทางตะวันออกของ จังหวัดนันการ์ฮาร์, จังหวัดโกนาร์, จังหวัดนูเรสถาน และจังหวัดอื่น ๆ จากการเก็บเกี่ยวไม้โดยพวกมาเฟียค้าไม้ แม้ว่าการตัดไม้จะผิดกฎหมาย แต่ผลกำไรจากการส่งออกไม้ไปยังปากีสถานที่อยู่ใกล้เคียงนั้นสูงมาก[19][20] เหตุผลก็คือรัฐบาลปากีสถานมีการปกป้องป่าไม้อย่างแน่นหนา พวกมาเฟียค้าไม้จึงย้ายไปทำการตัดต้นไม้ในอัฟกานิสถานแทน ท่อนซุงนี้ไม่เพียงแต่จะถูกส่งไปยังเมืองเปชาวาร์เท่านั้น แต่ยังส่งไปยังอิสลามาบัด ราวัลปินดี และละฮอร์ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ราคาแพง อย่างไรก็ตามรัฐบาลอัฟกานิสถานก็ได้จัดตั้งเจ้าหน้าที่อุทยานพิเศษเพื่อติดตามและหยุดกิจกรรมเหล่านี้[5][21]

เมื่อป่าที่คอยปกคลุมพื้นดินมีจำนวนที่ลดลง ดินก็จะให้ผลผลิตทางการเกษตรน้อยลงเรื่อย ๆ ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในชนบท และจากภัยพิบัติน้ำท่วมได้ทำการชะล้างพื้นที่เกษตรกรรมและทำลายบ้านเรือน การสูญเสียพืชพรรณยังก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมสูงขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นอันตรายต่อประชาชนเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดการพังทลายของดินและลดปริมาณพื้นที่สำหรับทำการเกษตรอีกด้วย เพื่อลดการทำลายล้างนี้ MAIL พยายามทำให้อัฟกานิสถานกลับมาเขียวขจีอีกครั้งด้วยการปลูกต้นไม้หลายล้านต้นทุกฤดูใบไม้ผลิ โดยเฉพาะในวันที่ 10 มีนาคม ซึ่งเป็นวันปลูกต้นไม้แห่งชาติของประเทศ[22][23][24][25][26][27][28]

ใกล้เคียง

ปัญหา ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ปัญหาวิถีสั้นสุด ปัญหาราชวงศ์ ปัญหาปี ค.ศ. 2000 ปัญหาการแต่งงานที่มีเสถียรภาพ ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศอัฟกานิสถาน ปัญหาสกันทอร์ป ปัญหาวันเกิด ปัญหารางวัลมิลเลนเนียม

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศอัฟกานิสถาน //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33293507 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7723057 http://afghanistan.usaid.gov/en/USAID/Article/611/... //doi.org/10.1002%2Fwwp2.12033 //doi.org/10.1038%2Fs41467-020-19493-3 //www.worldcat.org/issn/2041-1723 https://www.ariananews.af/afghanistan-commits-to-i... https://www.ariananews.af/afghanistan-falls-six-pl... https://www.ariananews.af/arabs-hunt-rare-birds-in... https://www.ariananews.af/more-than-2000-people-di...