อากาศเปลี่ยนแปลง ของ ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

นักวิจัยพบว่าอุณหภูมิของประเทศไทยสูงขึ้นในช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา มีความแปรปรวนบางอย่างในการประเมินของพวกเขา กรมอุตุนิยมวิทยาของประเทศไทยรายงานว่าอุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีในประเทศไทยสูงขึ้นประมาณหนึ่งองศาเซลเซียสจากปี พ.ศ. 2524 ถึง พ.ศ. 2550[3]:231 การศึกษาอื่นพบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีในประเทศไทยเพิ่มขึ้น 0.95 องศาเซลเซียสระหว่างปี พ.ศ. 2498 และ พ.ศ. 2552 มากกว่าอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 0.69 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดรายปีเพิ่มขึ้น 0.86 องศาเซลเซียสและอุณหภูมิต่ำสุดรายปีลดลง 1.45 องศาเซลเซียสตลอด 55 ปีที่ผ่านมา จากปี พ.ศ. 2536 ถึงปี พ.ศ. 2551 ระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยได้เพิ่มขึ้น 3–5 มม. ต่อปีเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลก 1.7 มม. ต่อปี[4] ศาสตราจารย์แดนนี มาร์ก ที่ปรึกษาด้านสภาพภูมิอากาศแก่มูลนิธิร็อกเกอะเฟลเลอร์ ได้เตือนว่า "การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อโลก และประเทศไทยน่าจะเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดเนื่องจากสภาพทางภูมิศาสตร์, เศรษฐกิจ และระดับการพัฒนา"[3]:231 ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นภัยคุกคามที่สำคัญสำหรับประเทศไทย[5]

ช่องโหว่และการตอบสนองของภาครัฐ

สัญญาณเตือนไฟป่าด้านหน้าทุ่งที่เพิ่งถูกไฟไหม้

ระบบนิเวศเขตร้อนบางแห่งกำลังถูกทำลายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเร็วกว่าที่คาดไว้—การฟอกขาวของพืดหินปะการังเป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง—ในขณะที่ถิ่นที่อยู่ของพืชหรือสัตว์อื่น ๆ อีกมากอาจเสียหายได้เมื่อเวลาผ่านไป ระบบนิเวศเขตร้อนดูเหมือนจะมีความเสี่ยงเป็นพิเศษเนื่องจากสปีชีส์เขตร้อนมีวิวัฒนาการภายในเฉพาะเจาะจงมากในช่วงอุณหภูมิที่แคบ ด้วยอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น พวกมันอาจไม่รอด[6] ตามรายงานฉบับหนึ่ง ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบอย่างไม่เป็นสัดส่วน จากผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[7]

ความร้อนสุดขีดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบันลดชั่วโมงทำงานลง 15–20 เปอร์เซนต์ และตัวเลขนั้นสามารถเพิ่มเป็นสองเท่าภายในปี พ.ศ. 2593 เมื่อสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงดำเนินต่อไป ตามรายงานที่ตีพิมพ์ในเอเชีย-แปซิฟิก เจอร์นัลออฟพับลิคเฮลธ์ ระบุว่า โครงการเอกสารสูญเสียร้อยละหกของจีดีพีของประเทศไทยภายในปี พ.ศ. 2573 เนื่องจากการลดชั่วโมงการทำงานจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น[8] บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเนเจอร์ โดยโมรา และคณะ[9] คาดการณ์ว่า "...สิ่งต่าง ๆ จะเริ่มรวนในเขตร้อนที่ [ตามต้นฉบับ] ประมาณปี พ.ศ. 2563..."[10] นักวิทยาศาสตร์บางคนคาดการณ์ว่าภายในปี พ.ศ. 2643 "...เขตละติจูดต่ำและกลางส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ไม่ได้ เพราะความเครียดจากความร้อนหรือภัยแล้ง..."[11]

นาซารายงานว่าปี พ.ศ. 2559 จะเป็นปีที่ร้อนที่สุดที่เคยบันทึกไว้ใน 136 ปีของการเก็บบันทึกสมัยใหม่ ส่วนภายในประเทศ กรมอุตุนิยมวิทยารายงานว่าอุณหภูมิในจังหวัดแม่ฮ่องสอนสูงถึง 44.6 องศาเซลเซียสในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2559 ซึ่งทำลายสถิติ "วันที่ร้อนที่สุด" ของประเทศไทย[12][13]:20 โดยทั่วไปแล้วเดือนเมษายนในประเทศไทยจะร้อน แต่สภาพอากาศร้อนของปี พ.ศ. 2559 ได้สร้างสถิติสำหรับคลื่นความร้อนที่ยาวที่สุดในเวลาอย่างน้อย 65 ปี[14][15] ในแถลงการณ์ดับเบิลยูเอ็มโอ เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศโลกในปี พ.ศ. 2559 องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกยืนยันว่าปี พ.ศ. 2559 เป็นปีที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ประเทศไทย[13]:6-7

กลุ่มวิเคราะห์ผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศที่สถาบันการศึกษาทางอวกาศก็อดดาร์ดของนาซาได้วิเคราะห์ข้อมูลสภาพภูมิอากาศสำหรับเมืองใหญ่ทั่วโลก พบว่ากรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2503 มี 193 วันที่มีอุณหภูมิเท่ากับหรือสูงกว่า 32 องศาเซียลเซียส ส่วนกรุงเทพมหานครสามารถประมาณการณ์ได้ที่ 276 วันที่มีอุณหภูมิเท่ากับหรือสูงกว่า 32 องศาเซลเซียส กลุ่มได้คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นโดยปี พ.ศ. 2643 สู่โดยเฉลี่ย 297 ถึง 344 วันที่มีอุณหภูมิเท่ากับหรือสูงกว่า 32 องศาเซียลเซียส[16] สถานการณ์สัตว์น้ำและการประมงในโลกปี พ.ศ. 2559 ขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติรายงานว่าการศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหารในเอเชียช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 21 ซึ่งนับการประมงของไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบทางลบมากที่สุดเมื่อพิจารณาจากสภาพแวดล้อมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการประมงน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล[17]:133

นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดและมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย การศึกษาบันทึกทางประวัติศาสตร์ว่าอุณหภูมิมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างไร โดยทำนายว่า จากแนวโน้มในปัจจุบันรายได้ทั่วโลกจะลดลง 23 เปอร์เซนต์ในช่วงปลายศตวรรษกว่าที่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การลดลงของรายได้นั้นไม่ได้กระจายเท่า ๆ กันเนื่องจากภูมิภาคเขตร้อนได้รับผลกระทบมากที่สุด การศึกษาประเมินว่าจีดีพีของประเทศไทยจะลดลง 90 เปอร์เซนต์ในปี พ.ศ. 2642 เมื่อเทียบกับจีดีพี พ.ศ. 2559[18] แม้แต่ภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบก็อาจได้รับผลกระทบ เช่น การท่องเที่ยวพืดหินปะการังทั่วโลก—มูลค่า 36 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี พ.ศ. 2562—อาจลดลง 90 เปอร์เซนต์ในประเทศไทยและอีกสี่จุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวแนวปะการังภายในปี พ.ศ. 2643[19]

การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศไทยต่อคนเพิ่มขึ้นจาก 0.14 ตันในปี พ.ศ. 2503 เป็น 4.5 ตันในปี พ.ศ. 2556 ในขณะที่ประชากรเพิ่มขึ้นจาก 27 ล้านคนเป็น 67 ล้านคนในช่วงเวลาเดียวกัน[20] แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2554-2593 ของรัฐบาลไทยเล็งเห็นว่า "ประเทศไทยสามารถพัฒนาเศรษฐกิจ, สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเพื่อลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกภายในปี พ.ศ. 2593 โดยไม่ขัดขวางผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของประเทศ หรือลดการเติบโตของขีดความสามารถในการพัฒนาและความสามารถในการแข่งขัน"[21]

ใกล้เคียง

ปัญหา ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ปัญหาวิถีสั้นสุด ปัญหาราชวงศ์ ปัญหาปี ค.ศ. 2000 ปัญหาการแต่งงานที่มีเสถียรภาพ ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศอัฟกานิสถาน ปัญหาสกันทอร์ป ปัญหาวันเกิด ปัญหารางวัลมิลเลนเนียม

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย http://www.aqmthai.com/index.php?lang=en http://www.bangkokpost.com/news/special-reports/11... http://www.bangkokpost.com/opinion/opinion/1154265... http://www.huffingtonpost.com/eric-zuesse/climate-... http://www.khaosodenglish.com/life/2016/04/27/1461... http://www.soc.hawaii.edu/mora/PublicationsCopyRig... http://eeas.europa.eu/archives/delegations/thailan... http://lcweb2.loc.gov/frd/cs/ //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/24108050 http://library.wmo.int/opac/doc_num.php?explnum_id...