กำเนิด ของ พระกษิติครรภโพธิสัตว์

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้
พระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์, วัด Hsiang-Te, ไต้หวัน

กำเนิดของพระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์มีการกล่าวถึงเป็น 2 นัย นัยหนึ่งกล่าวว่าชาติกำเนิดเดิมของพระองค์เป็นธิดาพราหมณ์ อีกนัยหนึ่งเล่าเป็นเชิงตำนานว่าในสมัยราชวงศ์ถัง พระองค์ได้นิรมานกายเกิดเป็นราชกุมารแห่งอาณาจักรซิลลา ซึ่งภายหลังได้ออกผนวชเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนา

ธิดาพราหมณ์

เรื่องราวของพระกษิติครรภโพธิสัตว์ปรากฏครั้งแรกในพระสูตรมหายานชื่อ "กษิติครรภโพธิสัตวมูลปณิธานสูตร" (จีนตัวย่อ: 地藏菩萨本愿经; จีนตัวเต็ม: 地藏菩薩本願經; พินอิน: Dìzàng Púsà Běnyuàn Jīng แต้จิ๋วเรียกว่า "ตี่จั่งอ๊วงพู่สักบึ้งง่วนเก็ง") หนึ่งในพระสูตรมหายานอันเป็นที่นิยมนับถือมากที่สุด พระสูตรนี้กล่าวว่าพระโคตมพุทธเจ้าครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ตรัสเล่าก่อนจะจุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตของพระองค์มาสู่ครรภ์ของพระนางสิริมหามายา[2] แต่นักปราชญ์ส่วนมากเชื่อว่าถูกรวบรวมขึ้นในประเทศจีน[3] เนื้อความของพระสูตรกล่าวถึงการบำเพ็ญกตัญญุตาธรรมของพระกษิติครรภโพธิสัตว์เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นมนุษย์ ซึ่งนำไปสู่การตั้งมหาปณิธานเพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ทั้งมวล

พระกษิติครรภโพธิสัตว์ทรงถือกำเนิดเป็นบุตรีในสกุลพราหมณ์ครอบครัวหนึ่ง บิดาชื่อ "ชีรชิณณพราหมณ์" มารดาชื่อ "ยัฏฐีลีพราหมณี" บิดาได้ถึงแก่กรรมก่อนมารดา จึงทำให้อาศัยอยู่กับมารดาตลอดมา พระองค์ซึ่งเสวยพระชาติเป็นพราหมณี เป็นผู้มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาป เป็นคนใจดีมีเมตตา อยู่ในศีลในธรรม ส่วนมารดานั้นกลับประพฤติตรงข้ามกับบุตรี ไม่นับถือพระรัตนตรัย ไม่เชื่อเรื่องกรรมและนรกสวรรค์ แม้ว่าพราหมณีบุตรีจะชักชวนหรือโน้มน้าวจิตใจอย่างไร เพราะนางยัฏฐีลีพราหมณีมีมิจฉาทิฐิรุนแรง

ต่อมานางยัฏฐีลีพราหมณีได้ถึงแก่กรรมลงแล้วไปตกนรกอเวจี นางพราหมณีบุตรีรู้แน่ว่ามารดาคงไม่ไปสู่สุคติ นางอยากช่วยเหลือมารดา จึงได้ขายมีค่าทั้งหมดที่มี นำเงินทั้งหมดไปซื้อดอกไม้ธูปเทียน และเครื่องสักการบูชาต่าง ๆ ไปสักการบูชาตามวัดวาอารามต่าง ๆ และนำไปบริจาคทานแก่คนยากจน และสัตว์ที่อดอยากหิวโหย เพื่อเป็นการอุทิศบุญกุศลให้แก่มารดาที่ล่วงลับไปแล้ว นอกจากนี้นางพราหมณีบุตรี ยังเป็นผู้ถือศีล บำเพ็ญเพียรภาวนา บุญกุศลได้ดลบันดาลให้วิญญาณของนางออกจากร่างไปสู่ยังมหาสมุทรน้ำเดิอด และมีอสูรกายตัวใหญ่น่ากลัวกำลังไล่จับมนุษย์ที่ลอยคออยู่ในน้ำจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน เพื่อฉีกกินเป็นอาหาร น่ากลัวมากจนนางไม่กล้าหันไปมองด้วยความกลัวและสงสารมนุษย์เหล่านั้น เทพอสูรบอกนางว่ายัฏฐีลีพราหมณี ได้เคยตกลงมาในดินแดนนรกภูมินี้ แต่เนื่องจากนางได้รับบุญกุศลอันนางบำเพ็ญกุศลมาให้จึงพ้นจากแดนนรกไปสู่สุคติแล้ว พร้อมกับยกมือพนมพร้อมกับก้มลงแล้วจากไป เมื่อนางได้ทราบดังนั้น นางจึงมีความยินดีและหมดห่วงในตัวมารดา แต่นางกลับเกิดความสงสารบรรดามนุษย์ที่ตกนรกและได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสเหล่านั้น จึงเกิดความเมตตาอันแรงกล้าที่จะช่วยเหลือสรรพสัตว์ในนรกเหล่านั้น นางพราหมณีบุตรีจึงอธิษฐานต่อหน้าพระพุทธรูป ขอถือศีลภาวนา บำเพ็ญทานบารมี เพื่อโปรดสรรพสัตว์ในนรกอเวจีตลอดจนถึงอนาคต ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง อย่าได้เบื่อหน่ายต่อการบำเพ็ญกุศลกรรมดังกล่าว ด้วยเหตุที่ทรงบำเพ็ญบารมีเช่นนี้ เมื่อนางถึงแก่กรรม ได้กลับชาติมาเกิดเป็นบุรุษ และบำเพ็ญเพียรสร้างบารมี จนสำเร็จมรรคผลกลายเป็นพระโพธิสัตว์พระนามว่าพระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์

ภิกษุจากซิลลา

พระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์ ในฐานะพระโพธิสัตว์เจ้านรกภูมิ, ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 23 (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18)ประติมากรรมจิโซ (พระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์), วัดมิบุเดะระ, เกียวโต, ญี่ปุ่นพระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์ ศิลปะเกาหลีวัดโฮรีว

อีกตำนานหนึ่งกล่าวว่า พระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์ได้ปรากฏตัวขึ้นในประเทศจีนสมัยโบราณ และเลือกโพธิมัณฑะ (ที่ตรัสรู้) ที่ภูเขาจิ่วหัวซัน ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธศาสนาในประเทศจีน

ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก รัชกาลจักรพรรดิฮั่นหมิง ศาสนาพุทธซึ่งกำลังรุ่งเรืองและจะเจริญอย่างถึงที่สุดในสมัยราชวงศ์ถัง ได้แพร่หลายไปสู่ดินแดนเกาหลี ในยุคนั้นพระสงฆ์และบัณฑิตทั้งปวงจากเกาหลีจะศึกษาพุทธศาสนาโดยการเดินทางไปศึกษาที่จีนเป็นหลัก หนึ่งในจำนวนผู้แสวงบุญเหล่านั้นเป็นอดีตมกุฎราชกุมารแห่งซินลอก๊ก (อาณาจักรซิลลา) ผู้มีนามว่า "กิมเคียวกัก" (ฮันจา: 金喬覺 อ่านเป็นภาษาจีนกลางได้ว่า "Jin Qiaojue") ซึ่งได้ผนวชเป็นภิกษุในฉายา "จีจาง" (เป็นการออกเสียงอย่างเกาหลีของคำว่า "ตี้จ้าง")[4] วันมรผณภาพดับขันธ์ของท่านคือวันที่ 30 เดือนเจ็ดจีน ซึ่งต่อมาได้ถือเป็นวันสำหรับการสมโภชพระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์

อุปนิสัยของพระภิกษุจีจางนั้นชอบความสงบและการบำเพ็ญสมาธิ จึงได้ออกเดินทางแสวงหาสถานที่สงบวิเวกตามป่าเขา จนกระทั่งมาถึงภูเขาจิ่วหัวซันในเขตมณฑลอันฮุยในปัจจุบัน ท่านจึงถือเอาปากถ้ำแห่งหนึ่งใกล้ที่ราบกลางหุบเขานั้นเป็นที่พำนักและบำเพ็ญสมณธรรม

ตามตำนานกล่าวว่า วันหนึ่งพระจีจางถูกงูกัดที่เท้าขณะที่บำเพ็ญสมาธิอยู่ แต่ท่านก็ยังนั่งนิ่งอยู่กับที่จนกระทั่งงูนั้นจากไป ครู่ต่อมามีหญิงคนหนึ่งปรากฏกายขึ้นและได้ถวายยาถอนพิษแก่พระภิกษุองค์นั้น และบันดาลน้ำพุขึ้นถวายแทนตัวลูกของนางซึ่งได้กระทำสิ่งไม่สมควรต่อท่านก่อนจะหายลับไป อีกไม่กี่ปีต่อมา บัณฑิตคนหนึ่งพร้อมด้วยมิตรสหายและครอบครัวได้เดินทางมาเยือนเขาจิ่วหัวซัน จึงได้พบกับพระภิกษุจีจาง ซึ่งปราศจากอาหารในบาตรและมีผมยาวเนื่องจากไม่ได้โกน คณะของบัณฑิตนั้นจึงร่วมมือกับหมิ่นกงซึ่งเป็นคหบดีเจ้าของที่ดินในแถบนั้นสร้างวัดขึ้นถวายแก่ท่าน เมื่อหมิ่นกงแจ้งความประสงค์จะถวายที่ดินตามแต่ท่านต้องการ พระจีจางจึงกล่าวว่าต้องการที่ดินเพียงเท่าผืนผ้ากาสาวพัสตร์ และได้โยนผ้ากาสาวพัสตร์นั้นขึ้นฟ้า ร่มเงาดำของผ้าทั้งผืนแผ่ปกคลุมทั่วภูเขาทั้งลูก หมิ่นกงจึงได้ถวายภูเขาทั้งลูกด้วยความศรัทธา และปวารณาตัวเป็นอุปัฏฐากของพระจีจางนับตั้งแต่นั้น ต่อมาบุตรชายคนหนึ่งของหมิ่นกงซึ่งศรัทธาท่านมากเช่นกันได้ขอบวชชื่อว่า "พระเต้าหมิง"

พระจีจางจำพรรษาอยู่ที่วัดเขาจิ่งหัวซันจนกระทั่งอายุได้ 99 ปี ท่านจึงเรียกภิกษุทุกรูปมาชุมนุมเพื่ออำลา และได้นั่งบำเพ็ญสมาธิอย่างสงบจนกระทั่งละสังขารในที่สุด สามปีให้หลังจากการละสังขาร สุสานของท่านได้ถูกเปิดออกและพบว่าร่างกายของท่านไม่เน่าเปื่อย คนทั้งหลายจึงเกิดความศรัทธาว่าท่านเป็นชาติหนึ่งของพระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์นับแต่นั้นเป็นต้นมา

สรีระของพระจีจางที่ไม่เน่าเปื่อยยังคงถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีอยู่ที่วัดซึ่งท่านได้สร้างไว้บนเจ้าจิ่วหัวซันจนถึงทุกวันนี้

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระกษิติครรภโพธิสัตว์ http://www.fo365.cn/jswz_view.asp?id=230 http://www.96rangjai.com/dayuan http://www.onmarkproductions.com/html/jizo1.shtml http://www.sinc.sunysb.edu/clubs/buddhism/ksitigar... http://texts.00.gs/Dizang_cult.htm http://www.cttbusa.org/ess/earthstore_contents.htm http://www.cttbusa.org/esscommentary/earthstore_co... http://www.mahapadma.org/index.php/2011-01-18-03-1... https://books.google.com/books?id=WpyiqKZISw0C&dq https://books.google.com/books?id=nzKQAAAAMAAJ