ประวัติ ของ พระลักษมณ์พระราม

ประวัติการแต่ง "พระลักษมณ์พระราม" ในตำนานลาวมักมุ่งไปในช่วงรัชกาลพระเจ้าฟ้างุ้ม ปฐมกษัตริย์ล้านช้างเป็นสำคัญ ที่เสด็จมาพร้อมกับทหาร กวี และศิลปินจากพระนครที่คุ้นเคยกับเรียมเกร์ (เขมร: រាមកេរ្តិ៍) หรือรามายณะฉบับเขมรมาก่อน ทว่าวัฒนธรรมอินเดียนั้นแพร่หลายบริเวณมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ซึ่งในอดีตเรียกว่า "คันธาระ" (Gandhara) ตั้งแต่ 2 ปีก่อนคริสต์ศักราช[2] วัฒนธรรมอินเดียแพร่หลายโดยจักรวรรดิสาตวาหนะ (230 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 200) แม้ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าการอพยพของชนชาติไทเกิดขึ้นเมื่อใด แต่การรับและส่งต่อวัฒนธรรมน่าจะเกิดขึ้นเมื่อชาวไทลงหลักปักฐานในดินแดนแห่งใหม่ก็รับอิทธิพลอินเดียผ่านวัฒนธรรมมอญและเขมร ซึ่งในดินแดนลาวก็มีโบราณสถานคือวัดภูในจำปาศักดิ์ ที่ตกแต่งลวดลายด้วยภาพจากเรื่องรามายณะและมหาภารตะ เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าลาวรับวรรณกรรมฮินดูแล้ว

แม้ชาวไทในลุ่มน้ำโขงจะรับอิทธิพลจากศาสนาพุทธนิกายเถรวาทมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 7–8 และกลายเป็นศาสนาหลักแทนศาสนาฮินดูและนิกายมหายานในศตวรรษที่ 15[3][4] หลังจากนั้นเป็นต้นมาจึงมีการดัดแปลงรามายณะเป็นภาษาท้องถิ่นในศตวรรษที่ 18 โดยนำทสรถชาดกเข้ามาในเรื่อง[5] และดัดแปลงเข้ากับวัฒนธรรมลาวและนิกายเถรวาทอย่างสมบูรณ์[6]

ใกล้เคียง