การจัดระบบการปกครองแผ่นดิน ของ พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช

หลังจากที่กำจัดกองทัพเดนส์ จากอังกฤษแล้วพระเจ้าอัลเฟรดก็ทรงหันความสนพระทัยไปในการปรับปรุงราชนาวี เพื่อต่อต้านการรุกรานในบริเวณฝั่งทะเลเวสเซ็กซ์โดยชนชาวเดนส์จากราชอาณาจักรนอร์ธัมเบรียและแคว้นอีสต์อังเกลียและการขึ้นฝั่งจากทางยุโรปที่อาจจะเกิดขึ้นอีก การปรับปรุงทางนาวีครั้งนี้มิใช่การเริ่มก่อตั้งราชนาวีอังกฤษตามที่เข้าใจกัน พระเจ้าอัลเฟรดทรงเข้าร่วมสงครามทางทะเลหลายครั้งก่อนหน้านั้น เช่นทรงเข้าร่วมต่อสู้กับพระเจ้าเอเธลวูล์ฟแห่งเวสเซ็กซ์พระราชบิดาในปี ค.ศ. 851 และก่อนหน้านั้น ในปี ค.ศ. 833 และ ในปี ค.ศ. 840 พงศาวดารแองโกล-แซ็กซอนสรรเสริญว่าพระองค์เป็นผู้ก่อตั้งเรือแบบใหม่ตามแบบที่ทรงออกแบบเองซึ่งเป็นเรือที่เร็วกว่า มั่นคงกว่า และสูงกว่าเรือแบบที่เคยใช้กันมา แต่เรือแบบใหม่ที่ว่านี้มิได้ประสบความสำเร็จเท่าใดนักนอกไปจากว่ามีข่าวว่าติดเลนหรือโคลงเคลงระหว่างพายุ แต่จะอย่างไรก็ตามทั้งราชนาวีอังกฤษและกองทัพเรือสหรัฐยกย่องให้พระเจ้าอัลเฟรดเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการวางพื้นฐานทางกองทัพเรือ

บันทึกเหตุการณ์แองโกล-แซกซันบันทึกว่าพระเจ้าอัลเฟรดทรงแบ่งกองทัพที่ในการต่อสู้เป็นสองกอง ที่เรียกว่าระบบ “Fyrd” เพื่อให้ “กองหนึ่งประจำอยู่ในที่ตั้งมั่นและอีกกองหนึ่งออกรบ” การจัดระบบสองกองทัพเช่นนี้เป็นการใช้กำลังคนเป็นจำนวนมาก ส่วนระบบการบริหารบ้านเมืองที่ซับซ้อนจะเห็นได้จากบันทึกที่พอน่าจะถือได้ ในปี ค.ศ. 892 ที่กล่าวถึงตำแหน่งต่างๆ เช่น “thesaurius” “cellararius” “pincerna”—เจ้ากรมคลัง นายเสบียง และผู้รับใช้ แม้ว่าในปี ค.ศ. 893 จะทรงพิโรธที่กองกำลังหนึ่งมายอมแพ้แก่กองทัพเดนส์เสียก่อนที่ทรงนำกองทัพที่สองขึ้นไปหนุนทัน แต่โดยทั่วไปแล้วระบบการปกครองและการบริหารของพระองค์ก็เป็นระบบที่มีสมรรถภาพดี

จุดอ่อนที่สุดจุดหนึ่งของระบบการป้องกันประเทศก่อนรัชสมัยของพระเจ้าอัลเฟรดก็คือเมื่อยามไม่มีศึกสงครามป้อมปราการต่างๆ ส่วนใหญ่ก็ถูกทิ้งร้างไว้โดยไม่มีทหารประจำการซึ่งทำให้ไวกิงเข้ายึดเป็นที่มั่นและตั้งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญได้อย่างง่ายดาย พระเจ้าอัลเฟรดทรงปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบการป้องกันเวสเซ็กซ์อย่างสิ้นเชิงโดยการก่อสร้างป้อมปราการทั่วไปในราชอาณาจักร ที่เรียกกันว่า “บะระห์” หรือ “boroughs” (โบโรห์) ระหว่างการขุดค้นทางโบราณคดีที่ เวเร็ม (ดอร์เซ็ท) (Wareham) , คริคเลด (Cricklade), ลิดฟอร์ด (Lydford) และวอลลิงฟอร์ด (Wallingford) พบว่าสถานที่ที่ขุดแต่ละแห่งเคยเป็นป้อมปราการหรือ “บะระห์” จากรัชสมัยของพระเจ้าอัลเฟรด หลักฐานเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการประจำการและการดูแลป้อมโดยทหารอาชีพพบในต้นฉบับการบริหารที่บันทึกไว้ภายในเวลาเพียงยี่สิบปีหลังจากที่พระเจ้าอัลเฟรดเสด็จสวรรคตที่เรียกว่า “Burghal Hidage” หรืออาจจะบันทึกภายในสมัยของพระองค์เองด้วยซ้ำ บันทึกที่ว่านี้ทำให้เราทราบถึงพระราชนโยบายทางด้านการบริหารของพระองค์ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างผังเมืองของ เวเร็ม (ดอร์เซ็ท) และวอลลิงฟอร์ด กับ วินเชสเตอร์ แล้วจะเห็นว่าเป็นผังเมืองที่วางแบบเดียวกัน (วอร์มาลด์) ซึ่งสนับสนุนความคิดที่ว่าการวางผังเมืองใหม่นอกจากจะเป็นการวางผังเมืองสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยและการค้าขายแล้วก็ยังคำนึงถึงความมั่นคงและความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยจากอันตรายจากภายนอกด้วย ซึ่งเป็นการดึงดูดประชากรอังกฤษให้เข้าไปตั้งหลักฐานในเมืองเหล่านี้มากขึ้นเพราะเป็นที่ๆ ปลอดภัยจากไวกิง และนอกจากนั้นก็ยังเป็นที่ทำรายได้ให้แก่แผ่นดินโดยการเก็บภาษีให้แก่พระมหากษัตริย์

นอกจากนั้นแล้วพระเจ้าอัลเฟรดยังทรงมีบทบาทสำคัญในการจัดระบบชุมชนโดยเฉพาะในบริเวณที่ถูกทำลายโดยเดนส์ และถึงแม้ว่าเราจะไม่ยอมรับบันทึกเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจใน “Burghal Hidage” เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อทรงยึดแคว้นเมอร์เซียจากไวกิง ระบบการปกครองแบบ “ไชร์” เป็นระบบที่เริ่มก่อตั้งเป็นครั้งแรก ซึ่งอาจจะเป็นที่มาของตำนานที่ว่าพระเจ้าอัลเฟรดทรงเป็นผู้ก่อตั้งระบบ “ระบบไชร์” ที่ประกอบด้วยจำนวนที่ที่ดินที่กำหนดไว้ (hundreds) และ “ระบบภาษีไทธ์” (Tithing) ความมีพระปรีชาสามารถในการบริหารและระบบยุติธรรมทำให้พระองค์ได้รับสมญานามว่า “ผู้พิทักษ์คนยาก” แต่ สภาวิททัน มิได้กล่าวถึงพระองค์เท่าใดนักแต่ที่แน่คือทรงยอมรับสิทธิของสภาแต่สภาวการณ์ในเวลานั้นจะเน้นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์เป็นใหญ่ กฎหมายต่าง ๆ ของพระเจ้าอัลเฟรดเป็นกฎหมายที่ออกในปลายรัชสมัยหลังจากอันตรายจากเดนส์ลดน้อยลง นอกจากนั้นก็ยังทรงมีบทบาททางการเงินแต่ไม่มีรายละเอียดมากนัก

การปฏิรูปทางนิติบัญญัติ

พระราชกรณียกิจที่สำคัญที่สุดของพระเจ้าอัลเฟรดคือกฎหมายที่เรียกว่า “Deemings” หรือ “บันทึกกฎหมาย” (Book of “Dooms”) วินสตัน เชอร์ชิลล์เชื่อว่ารากฐานของกฎหมายของพระเจ้าอัลเฟรดมาจากการผสมผสานของ กฎของโมเสส กฎของชาวเคลต์ และวัฒนธรรมและประเพณีดั้งเดิมของแองโกล-แซ็กซอน[5] ด็อคเตอร์ เอฟ เอ็น ลีแสดงความคล้ายคลึงระหว่างกฎหมายของพระเจ้าอัลเฟรดกับกฎของโมเสส[6] แต่ ทอมัส เจฟเฟอร์สัน สรุปหลังจากศึกษาประวัติของกฎหมายอังกฤษว่า “กฎหมายมีมาตั้งแต่ชาวแองโกล-แซกซันยังเป็นผู้นอกรีต, เมื่อยังไม่เคยได้ยินพระนามของพระเยซูหรือไม่รู้ว่าพระเยซูมีตัวตน” [7] วินสตัน เชอร์ชิลล์กล่าวว่ากฎหมายของพระเจ้าอัลเฟรดมาขยายความโดยชนรุ่นหลังจนกลายมาเป็นกฎหมายที่ใช้ในการบริหารระบบไชร์และ “ระบบศาลฮันเดรด” (The Hundred Courts) ซึ่งในที่สุดก็นำมาสู่ กฎบัตรแห่งเสรีภาพ (Charter of Liberties) พระราชทานโดยพระเจ้าเฮนรีที่ 1 แห่งอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1100

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช http://www.berkshirehistory.com/bios/alfred.html http://britannia.com/history/docs/asser.html http://www2.meridiantv.com/itvlocal/index.htm?chan... http://www.wantage.com/museum/Local_History/Alfred... http://www.uky.edu/~kiernan/iconic/iconic.htm http://www.dr-fnlee.org/docs6/alfred/alfred.html http://www.mirror.org/ken.roberts/alfred.jewel.htm... http://www.mirror.org/ken.roberts/king.alfred.html http://www.treasurehunting.tv/king_alfred.htm http://www.englishmonarchs.co.uk/saxon_6.htm