ศาสนาและวัฒนธรรม ของ พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช

หลักฐานเกี่ยวกับพระเจ้าอัลเฟรดและคริสต์ศาสนามีเพียงเล็กน้อย การรุกรานของชนชาวเดนส์ทำความเสียหายแก่อารามเป็นจำนวนมาก แม้ว่าจะทรงสร้างอารามสองสามแห่งและเชิญนักพรตจากยุโรปมาอังกฤษก็มิได้ทำให้อารามในอังกฤษฟื้นตัวขึ้นเท่าใดนัก นอกไปจากการทำลายคริสตจักรแลัวก็ยังมีผลกระทบกระเทือนต่อการศึกษา โดยเฉพาะทำให้อังกฤษขาดแคลนผู้รู้ภาษาละติน ซึ่งอาจจะเป็นแรงบันดาลใจให้พระเจ้าอัลเฟรดทรงเริ่มการแปลหนังสือ

พระเจ้าอัลเฟรดทรงก่อตั้งสถานศึกษาในราชสำนักตามรอยพระบาทของ ชาร์เลอมาญ[8] โดยทรงนำนักปราชญ์จากยุโรปมายังราชสำนักเช่นกริมบาลด์ (Grimbald) และจอห์นแห่งแซ็กส์ตัน (John the Saxon) และแอสเซอร์ (Asser) จากตอนใต้ของเวลส์

นอกไปจาก “Handboc” หรือ “Encheiridion” ที่สูญหายไปที่เป็นหนังสือที่ทรงเป็นเจ้าของแล้วงานแปลชิ้นแรกที่สุดในรัชสมัยคือ “บทสนทนาของนักบุญเกรกอรี” (Dialogues of Gregory) ซึ่งเป็นหนังสือที่นิยมกันในยุคกลาง ผู้แปลคือ เวอร์เฟิร์ธ (Werferth) บาทหลวงแห่งวูสเตอร์พระสหายสนิทของพระองค์ ส่วนพระองค์เองเพียงทรงประพันธ์คำนำ งานชิ้นต่อมาคือ “Pastoral Care” แปลโดยเฉพาะสำหรับนักบวชประจำท้องถิ่น หนังสือแปลฉบับนี้แปลตรงกับต้นฉบับอย่างใกล้ชิดแต่ที่สำคัญก็คือบทนำที่ทรงประพันธ์ที่ถือกันว่าเป็นเอกสารที่สำคัญที่สุดในรัชสมัยหรือสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งของประวัติศาสตร์อังกฤษ งานอีกสองชิ้นต่อมา “ประวัติศาสตร์ทั่วไป” ของโอโรเซียส และ “ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับศาสนาของชนอังกฤษ” (Historia ecclesiastica gentis Anglorum) โดยนักบุญบีด เล่มแรก “ประวัติศาสตร์ทั่วไป” พระเจ้าอัลเฟรดทรงแก้ไขต่อเติมจากต้นฉบับมากจนเกือบจะเรียกได้ว่าเป็นงานชิ้นใหม่ แต่งานแปลจากบันทึกของบีดทรงยึดต้นฉบับอย่างใกล้เคียงและมิได้ทรงต่อเติมเนื้อหาใดๆ แต่ความเชื่อที่ว่าพระเจ้าอัลเฟรดทรงเป็นผู้แปลหนังสือของบีดจริงหรือไม่ยังเป็นที่น่าเคลือบแคลง

งานแปลของพระองค์ “ปรัชญาทั่วไป” (The Consolation of Philosophy) โดยอันนิเซียส แมนเลียส เซเวรินัส โบเธียส (Anicius Manlius Severinus Boethius) ถือกันว่าเป็นงานแปลคู่มือปรัชญาชิ้นที่นิยมกันที่สุดในยุคกลาง งานแปลฉบับนี้เป็นฉบับที่ไม่ทรงแปลตรงตามต้นฉบับทั้งหมดแต่ด็อคเตอร์ จี เช็พส์แสดงให้เห็นว่าส่วนที่แตกต่างไปจากต้นฉบับมิได้มาจากคำแปลของพระองค์ แต่มาจากความเห็นของหนังสือที่ทรงใช้ แต่อย่างไรก็ตามผลงานนี้ก็ยังแสดงถึงความมีพระปรีชาสามารถของพระองค์ หนังสือที่ตกมาถึงปัจจุบันเป็นต้นฉบับสองเล่ม ในเล่มหนึ่ง[9] เป็นงานร้อยแก้วอีกฉบับหนึ่ง[10]เป็นงานผสมระหว่างร้อยแก้วและร้อยกรอง งานชิ้นหลังได้รับความเสียหายมากในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19[11] แต่ผู้แปลส่วนที่เป็นร้อยกรองที่แท้จริงเป็นใครก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่แต่เชื่อกันว่าเป็นงานของพระเจ้าอัลเฟรด ในบทนำทรงบันทึกว่าทรงเขียนส่วนที่เป็นร้อยแก้วก่อนและใช้เป็นฐานในการเขียนส่วนที่เป็นร้อยกรอง “Lays of Boethius” ซึ่งถือว่าเป็นงานทางวรรณกรรมที่สำคัญที่สุดของพระองค์ พระเจ้าอัลเฟรดทรงใช้การเขียนหนังสือเป็นการผ่อนคลายในยามที่ทรงเครียดกับสถานะการณ์บ้านเมือง

งานชิ้นสุดท้ายของพระเจ้าอัลเฟรดมีชื่อว่า “Blostman” หรือ “Blooms” หรือ “หนังสือรวมบทประพันธ์” (Anthology) ครึ่งแรกมีพื้นฐานมาจากข้อเขียนของนักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป ที่เหลือมาจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ และเป็นบทประพันธ์ที่บ่งบอกถึงลักษณะส่วนพระองค์ของพระองค์อย่างเด่นชัด ข้อเขียนสุดท้ายคำกล่าวที่เหมาะสมกับผู้เป็นวีรบุรุษเช่นพระองค์ “Therefore he seems to me a very foolish man, and truly wretched, who will not increase his understanding while he is in the world, and ever wish and long to reach that endless life where all shall be made clear.”

นอกจากงานที่กล่าวมาแล้วก็ยังทรงมีส่วนในการประพันธ์บันทึกเหตุการณ์แองโกล-แซกซัน และทรงประพันธ์หรือทรงมีอิทธิพลในการเขียน “รายชื่อนักบุญผู้พลีชีพแซ็กซอน” (Saxon Martyrology) ที่ยังหลงเหลือแต่เพียงเล็กน้อย บทร้อยแก้วของเพลงสดุดีห้าสิบบทเชื่อกันว่าเขียนโดยพระองค์ นอกจากนั้นพระเจ้าอัลเฟรดยังทรงปรากฏใน “นกฮูกและนกไนติงเกล” (The Owl and the Nightingale) “สุภาษิตของอัลเฟรด” (The Proverbs of Alfred) ก็เป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่ตกมาถึงปัจจุบันจากคริสต์ศตวรรษที่ 13 ซึ่งเนื้อหาน่าจะมีต้นตอบางส่วนมาจากพระองค์

นักบุญ

นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์นับถือว่าพระเจ้าอัลเฟรดเป็นนักบุญและเป็นวีรบุรุษใน “แองกลิคันคอมมิวเนียน” (Anglican Communion) โดยมีวันสมโภชน์ตรงกับวันที่ 26 ตุลาคม,[12]

ครอบครัว

ในปี ค.ศ. 868 พระเจ้าอัลเฟรดทรงเสกสมรสกับเอลสวิธธิดาของเอเธลเรด มูซิลล์ผู้ปกครองไกนิ (Gaini) จากเกนสเบรอในบริเวณแคว้นลิงคอล์นเชอร์ และอาจจะเป็นพระนัดดาของพระมหากษัตริย์แห่งเมอร์เซีย พระเจ้าอัลเฟรดและพระชายาทรงมีโอรสธิดาด้วยกันหกพระองค์รวมทั้งพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโสผู้ครองราชบัลลังก์สืบต่อจากพระองค์, เอเธลเฟลดา (Ethelfleda) ผู้ต่อมาเป็นพระราชินีแห่งราชอาณาจักรเมอร์เซีย และ เอลฟริธ (Ælfthryth, Countess of Flanders) ผู้ต่อมาแต่งงานกับบอลด์วินที่ 2 เคานต์แห่งแฟลนเดิร์ส (Baldwin II, Count of Flanders) ออสเบอร์กาพระมารดของพระองค์เป็นบุตรีของออสลาคแห่งเกาะไวท์ ซึ่งแอสเซอร์กล่าวไว้ในหนังสือพระราชประวัติว่าแสดงให้เห็นว่าทรงสืบเชื้อสายมาจากชาวจูต (Jutes) แห่งเกาะไวท์ แต่ข้อสันนิษฐานนี้ไม่น่าจะเป็นไปได้เพราะบุญราศีบีดกล่าวว่าชนจูทถูกสังหารโดยชาวแซกซันไปหมดภายใต้การนำของ แคดวัลลา (Caedwalla) แต่เชื้อสายของพระองค์สืบได้ว่ามาจากราชวงศ์เวสเซ็กซ์จากพระเจ้าวิห์เทรดแห่งเค้นท์ผู้มีพระมารดาเป็นพระขนิษฐาของอาร์วอลด์ (Arwald) ผู้เป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์สุดท้ายของเกาะไวท์

พระนามพระราชสมภพสวรรคตหมายเหตุ
เอเธลเฟลด
(Æthelflæd)
ค.ศ. 918เสกสมรส ค.ศ. 889, เอเธลเรด ขุนนางแห่งเมอร์เซีย เสียชีวิต ค.ศ. 910
มีโอรสธิดาด้วยกัน
เอ็ดเวิร์ดค.ศ. 87017 กรกฎาคม ค.ศ. 924เสกสมรส (1) เอ็กวิน (2) เอลฟฟาเอด
(3) ค.ศ. 919 อีดกิฟูแห่งเคนต์ (Eadgifu of Kent)
เอเธลจิวา
(Æthelgiva)
อธิการิณีอารามชาฟสบรี
เอลฟริธ
(Ælfthryth)
ค.ศ. 929เสกสมรส บอลด์วินที่ 2 เคานต์แห่งแฟลนเดิร์ส มีโอรสธิดาด้วยกัน
เอเธลเวียรด
(Æthelwærd)
16 ตุลาคม ค.ศ. 922เสกสมรสและมีโอรสธิดาด้วยกัน

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช http://www.berkshirehistory.com/bios/alfred.html http://britannia.com/history/docs/asser.html http://www2.meridiantv.com/itvlocal/index.htm?chan... http://www.wantage.com/museum/Local_History/Alfred... http://www.uky.edu/~kiernan/iconic/iconic.htm http://www.dr-fnlee.org/docs6/alfred/alfred.html http://www.mirror.org/ken.roberts/alfred.jewel.htm... http://www.mirror.org/ken.roberts/king.alfred.html http://www.treasurehunting.tv/king_alfred.htm http://www.englishmonarchs.co.uk/saxon_6.htm