พายุหมุนเขตร้อนใน_พ.ศ._2562
พายุหมุนเขตร้อนใน_พ.ศ._2562

พายุหมุนเขตร้อนใน_พ.ศ._2562

พายุหมุนเขตร้อนใน พ.ศ. 2562[1] แบ่งออกเป็นพื้นที่เจ็ดบริเวณที่แตกต่างกันเรียกว่า แอ่ง รวมถึงพื้นที่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนด้วย จนถึงขณะนี้ มีพายุก่อตัวขึ้นทั่วโลกในระหว่างปีนี้ 38 ลูก ในจำนวนนั้นมีพายุ 24 ลูกเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีกำลังจนได้รับชื่อเรียกจากบรรดาศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาค (RSMC) หรือศูนย์เตือนพายุหมุนเขตร้อน (TCWC) ในพื้นที่พายุหมุนเขตร้อนที่เป็นเหตุให้มีจำนวนผู้เสียชีวิตมากที่สุดของปี คือ พายุไซโคลนรุนแรงอิดาอีในมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้ ซึ่งมีผู้เสียชีวิตจำนวน 1,066 คนในประเทศโมซัมบิก ประเทศมาลาวี ประเทศซิมบับเว และประเทศมาดากัสการ์ ส่วนพายุที่ก่อให้เกิดความเสียหายมากที่สุดของปี คือ พายุไซโคลนกำลังแรงวิรอนิกาในภูมิภาคออสเตรเลีย โดยมีความเสียหายเกิดขึ้น 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐกิจกรรมพายุหมุนเขตร้อน[2] ในแต่ละแอ่งจะอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคต่าง ๆ[3] ดังนี้ ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติ (NHC) รับผิดชอบพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือและมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก, ศูนย์เฮอริเคนแปซิฟิกกลาง (CPHC) รับผิดชอบพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง โดยทั้ง NHC และ CPHC เป็นหน่วยงานย่อยของบริการลมฟ้าอากาศแห่งชาติสหรัฐ, กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ทำหน้าที่เฝ้าระวังและติดตามพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก, กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (IMD) ทำหน้าที่เฝ้าระวังและติดตามพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรอินเดียเหนือ ขณะที่ศูนย์อุตุนิยมวิทยาฝรั่งเศสในเกาะเรอูนียง (MFR) ทำหน้าที่เฝ้าระวังและติดตามพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรอินเดียใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนในภูมิภาคออสเตรเลีย พายุหมุนเขตร้อนจะถูกติดตามโดย TCWC ห้าศูนย์ภายใต้การประสานงานของสำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลีย (BOM), กรมอุตุนิยมวิทยาฟีจี (FMS) และ เมทเซอร์วิสของนิวซีแลนด์ รวมถึงยังมีหน่วยงานที่ติดตามพายุอย่างไม่เป็นทางการ คือ ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) และหน่วยงานที่ตั้งชื่อพายุอย่างไม่เป็นทางการ คือ สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ด้วย

พายุหมุนเขตร้อนใน_พ.ศ._2562

ผู้เสียชีวิตทั้งหมด ทั้งหมด 2,090 คน
ระบบแรก โมนา
ชื่อ โอมา
สลายตัว 2 มกราคม พ.ศ. 2563
ระยะเวลา 15 วัน
ก่อตัว 28 ธันวาคม พ.ศ. 2561
ความกดอากาศต่ำที่สุด 905 mbar/hPa; 26.72 inHg
ความเสียหายทั้งหมด > 6.064 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD พ.ศ. 2562)
บทความที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พายุทั้งหมด 143 ลูก
ระบบสุดท้าย ซาไร
พายุที่ได้รับชื่อ 105 ลูก

ใกล้เคียง

พายุหมุนเขตร้อน พายุหมุนเขตร้อนในแอตแลนติกใต้ พายุหมุนเขตร้อนใน พ.ศ. 2562 พายุหมุนหลังเขตร้อน พายุหิมะในประเทศอิหร่าน ค.ศ. 1972 พายุหมุนนอกเขตร้อน พายุหลี่ผี พายุหีนหนามหน่อ พายุหยินซิ่ง พายุหนองฟ้า