พิธีสารนาโงยะ
พิธีสารนาโงยะ

พิธีสารนาโงยะ

พิธีสารนาโงยะว่าด้วยการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างยุติธรรมและเท่าเทียมเพื่ออนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ หรือที่รู้จักกันในชื่อ พิธีสารนาโงยะว่าด้วยการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรและการแบ่งปันผลประโยชน์ (อังกฤษ: Nagoya Protocol on Access and Benefit Sharing) เป็นความตกลงเพิ่มเติมใน ค.ศ. 2010 ต่ออนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity; CBD) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการทำให้วัตถุประสงค์หนึ่งจากสามของอนุสัญญาดังกล่าวนั้นเป็นผลสำเร็จ กล่าวคือการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมและเสมอภาคอันเกิดจากการใช้แหล่งทรัพยากรพันธุกรรมโดยการอนุรักษ์และใช้ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน พิธีสารนาโงยะกำหนดพันธะสภาพของประเทศที่ลงนามในการวางมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรม การแบ่งปันผลประโยชน์ และการร่วมมือต่อพิธีสารพิธีสารนาโงยะมีมติเห็นชอบในวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 2010 ในนาโงยะ ประเทศญี่ปุ่น และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 2014 จนถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 2020 มี 128 กว่าภาคีรวมถึงรัฐสมาชิกสหประชาชาติ 127 รัฐ และสหภาพยุโรปที่ให้สัตยาบันต่อพิธีสารฯมีการแสดงข้อกังวลว่าการเพิ่มความเป็นอำมาตยาธิปไตย และการตรากฎหมายอาจสร้างความเสียหายในการควบคุมดูแล การอนุรักษ์และการรวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพ, ในการตอบโต้ต่อโรคติดเชื้ออย่างเป็นสากล และการวิจัย[1][2]

พิธีสารนาโงยะ

ภาคี 128
เงื่อนไข 50 รัฐให้สัตยาบันต่ออนุสัญญา
ผู้เก็บรักษา เลขาธิการสหประชาชาติ
ผู้ลงนาม 92
ประเภท สิ่งแวดล้อม
ภาษา อาหรับ, จีนแมนดาริน, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, รัสเซีย และสเปน
ที่ลงนาม นาโงยะ, ประเทศญี่ปุ่น
วันลงนาม 29 ตุลาคม ค.ศ. 2010
วันมีผล 12 ตุลาคม ค.ศ. 2014

ใกล้เคียง