ผลกระทบต่อการศึกษาไอยคุปต์วิทยา ของ ฟาโรห์โรมัน

ตำแหน่งฟาโรห์ของจักรพรรดิโรมันมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการศึกษาไอยคุปต์วิทยาสมัยใหม่ บุคคลสำคัญในการถอดรหัสอักษรอียิปต์โบราณคือ ฌ็อง-ฟร็องซัว ช็องปอลียง ซึ่งเป็นนักตะวันออกศึกษาชาวฝรั่งเศส (ค.ศ. 1790 – ค.ศ. 1832) โดยที่ จดหมายถึง เอ็ม. ดาซีเอร์ (Lettre à M. Dacier) ของช็องปอลียงในปี ค.ศ. 1822 เป็นสิ่งพิมพ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในไอยคุปต์วิทยาทั้งหมด และบางครั้งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างระเบียบการศึกษาไอยคุปต์วิทยา[15] จดหมายฉบับดังกล่าวรวมการอ่านคาร์ทูชของฟาโรห์จากช่วงสมัยราชวงศ์ทอเลมีและสมัยโรมันโดยช็องปอลียง[15] โดยอ้างอิงจากความพยายามก่อนหน้านี้และการเปรียบเทียบระหว่างคาร์ทูชต่างๆ การถอดรหัสตำแหน่งของจักรพรรดิ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการแผลงตำแหน่งในภาษาอียิปต์ เช่น ไกซาร์และเอาตอกราตอร์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งของกระบวนการดังกล่าว[16]

ถึงแม้ว่าจะมีการพัฒนาเพิ่มเติมก่อนที่จะสามารถอ่านข้อความอักษรอียิปต์โบราณแบบเต็มความยาวได้อย่างถูกต้องตามสมควร แต่การค้นพบของช็องปอลียงในอักษรอียิปต์โบราณแบบออกเสียงนั้นได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการศึกษา[15] เมื่อถึงเวลาตีพิมพ์จดหมาย ซึ่งรวมถึงรายการสัญลักษณ์อักษรอียิปต์โบราณเกี่ยวกับการออกเสียง ช็องปอลียงก็ไม่ได้คาดหวังว่าค่าการออกเสียงที่ค้นพบจะสามารถนำไปใช้กับพระนามของฟาโรห์สมัยก่อนหน้าราชวงศ์ทอเลมีได้เช่นกัน[16] การตระหนักในภายหลังของเขา ณ จุดหนึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 1822 หรือ ค.ศ. 1823 ว่าการเขียนอักษรอียิปต์โบราณมักจะเป็นการผสมผสานระหว่างการออกเสียงและตัวหนังสือความคิด (เช่น สัญลักษณ์ของคำหรือความคิด) ซึ่งได้วางรากฐานในความพยายามในการถอดรหัสที่จะประสบความสำเร็จในอนาคต[17] และส่งผลให้ช็องปอลียงเริ่มสนใจไม่เพียงแต่ถอดรหัสสัญลักษณ์เท่านั้นแต่ยังแปลภาษาที่ซ่อนอยู่ด้วย[18][19]

ใกล้เคียง

ฟาโรห์ตุตันคาเมน ฟาโรห์อูนัส ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 1 ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 ฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 ฟาโรห์โจเซอร์ ฟาโรห์เมเนส

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฟาโรห์โรมัน https://archive.org/details/keysofegyptobses00adki https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/b/b... https://etd.ohiolink.edu/pg_10?0::NO:10:P10_ACCESS... https://oi.uchicago.edu/sites/oi.uchicago.edu/file... https://books.google.com/books?id=0M4UDAAAQBAJ https://books.google.com/books?id=lYo-wI8aBYEC&q=%... https://doi.org/10.2307%2F4238573 https://www.jstor.org/stable/4238573 https://books.google.com/books?id=dRcnDAAAQBAJ https://books.google.com/books?id=WJp3Gmerg_cC&q=m...