ฟาโรห์โรมัน
ฟาโรห์โรมัน

ฟาโรห์โรมัน

ฟาโรห์โรมัน[1] ซึ่งไม่ค่อยนิยมเรียกว่าเป็นราชวงศ์ที่สามสิบสี่แห่งอียิปต์โบราณ[2][lower-alpha 1] เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันในฐานะผู้ปกครองอียิปต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของไอยคุปต์วิทยา หลังจากที่อียิปต์ถูกผนวกเข้ากับจักรวรรดิโรมันใน 30 ปีก่อนคริสตกาล ผู้คนและโดยเฉพาะอย่างยิ่งฐานะปุโรหิตของอียิปต์ยังคงยอมรับว่าจักรพรรดิโรมันทรงเป็นฟาโรห์ ตามพระราชอิสริยยศของฟาโรห์แบบโบราณราชประเพณี ซึ่งปรากฏภาพในงานศิลปะและและวัดวิหารทั่วอียิปต์ถึงแม้ว่าชาวอียิปต์เองจะถือว่าจักรพรรดิโรมันจะทรงเป็นฟาโรห์และเป็นผู้สืบทอดที่ถูกต้องตามกฎมณเฑียรบาลย่างโบราณราชประเพณี แต่จักรพรรดิเองก็ทรงไม่เคยยอมรับตำแหน่งหรือขนบประเพณีของฟาโรห์ภายนอกนอกดินแดนอียิปต์ เนื่องจากส่วนดังกล่าวนั้นยากที่จะพิสูจน์ในโลกโรมันอันกว้างใหญ่ จักรพรรดิส่วนใหญ่อาจจะทรงให้สถานะตามที่ทรงดูแลโดยชาวอียิปต์เพียงเล็กน้อยและไม่ค่อยได้ไปเยือนมณฑลอียิปต์มากกว่าหนึ่งครั้งในพระชนม์ชีพของพระองค์ บทบาทของพระองค์ในฐานะเทวกษัตริย์ยังคงได้รับการยอมรับอย่างเป็นวงกว้างจากชาวอียิปต์เองเท่านั้น ซึ่งแตกต่างกันอย่างมากกับราชวงศ์ก่อนหน้า คือ ราชวงศ์ทอเลมีแห่งเฮลเลนิสติก ซึ่งผู้ปกครองทรงใช้พระชนม์ชีพส่วนใหญ่ภายในอียิปต์ ฟาโรห์ก่อนที่อียิปต์จะผนวกเข้ากับจักรวรรดิอะคีเมนิดในช่วงสมัยปลายแห่งอียิปต์โบราณต่างก็ทรงปกครองพระราชอาณาจักรจากภายในอียิปต์เช่นกัน อย่างไรก็ตาม อียิปต์ก็มีการปกครองที่แตกต่างจากมณฑลอื่นๆ ของจักรวรรดิ โดยมีจักรพรรดิเป็นผู้เลือกผู้ว่าการมณฑลและมักจะปฏิบัติกับอียิปต์เหมือนสมบัติส่วนพระองค์มากกว่าที่จะเป็นมณฑล ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่จักรพรรดิทุกพระองค์ที่จะทรงได้รับการยอมรับว่าทรงเป็นฟาโรห์ แต่ศาสนาอียิปต์โบราณจำเป็นต้องให้มีตำแหน่งฟาโรห์เพื่อทรงทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์และเทพเจ้า การที่ให้จักรพรรดิทรงมีบทบาทเทวสัมพันธ์นั้นได้รับการยืนยันแล้วว่าเป็นวิธีแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวที่ง่ายที่สุด และคล้ายกับวิธีที่ผู้ปกครองชาวเปอร์เซียทรงถูกมองว่าทรงเป็นฟาโรห์เมื่อหลายศตวรรษก่อน (ซึ่งสถาปนาขึ้นเป็นราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดและสามสิบเอ็ดแห่งอียิปต์)อียิปต์จะยังคงเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันจนกระทั่งถูกพิชิตโดยรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูนในปี ค.ศ. 641 จักรพรรดิแห่งโรมันพระองค์สุดท้ายที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นฟาโรห์คือจักรพรรดิมักซิมินุส ดาซา (ทรงครองราชย์ระหว่างปี ค.ศ. 311 – 313) เมื่อถึงช่วงเวลาดังกล่าว มุมมองของชาวโรมันที่มีต่อตำแหน่งฟาโรห์ได้ลดลงไประยะหนึ่งแล้ว เนื่องจากอียิปต์อยู่เขตรอบนอกของจักรวรรดิจักรโรมัน (ตรงกันข้ามกับมุมมองของฟาโรห์โบราณที่มองว่าอียิปต์เป็นศูนย์กลางของโลก) การแพร่กระจายของศาสนาคริสต์ไปทั่วจักรวรรดิในคริสต์ศตวรรษที่ 4 และการเปลี่ยนแปลงในเมืองหลวงอเล็กซานเดรียของอียิปต์ให้เป็นศูนย์กลางของศาสนาคริสต์ที่สำคัญ จึงได้ยุติประเพณีนิยมดังกล่าวลงอย่างเด็ดขาด เนื่องจากศาสนาใหม่ไม่สอดคล้องกับความหมายดั้งเดิมของการเป็นฟาโรห์พระนามของจักรพรรดิได้ถูกเขียนด้วยอักษรอียิปต์โบราณตามการออกเสียงจากการแผลงพระนามในภาษากรีก วิธีการเขียนพระนามดังกล่าวส่งผลให้ฟาโรห์โรมันมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการศึกษาไอยคุปต์วิทยาสมัยใหม่ เนื่องจากการอ่านพระนามของพระองค์เป็นขั้นตอนสำคัญในการถอดรหัสของอักษรอียิปต์โบราณ

ใกล้เคียง

ฟาโรห์ตุตันคาเมน ฟาโรห์อูนัส ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 1 ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 4 ฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 ฟาโรห์โจเซอร์ ฟาโรห์เมเนส

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฟาโรห์โรมัน https://archive.org/details/keysofegyptobses00adki https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/b/b... https://etd.ohiolink.edu/pg_10?0::NO:10:P10_ACCESS... https://oi.uchicago.edu/sites/oi.uchicago.edu/file... https://books.google.com/books?id=0M4UDAAAQBAJ https://books.google.com/books?id=lYo-wI8aBYEC&q=%... https://doi.org/10.2307%2F4238573 https://www.jstor.org/stable/4238573 https://books.google.com/books?id=dRcnDAAAQBAJ https://books.google.com/books?id=WJp3Gmerg_cC&q=m...