ลักษณะ ของ ภาษาถิ่นพิเทน

ภาษาถิ่นพิเทนนั้นจะมีลักษณะพิเศษคือเป็นภาษาไทยภาคกลางปนถิ่นใต้ มีการใช้คำราชาศัพท์[1][2][3] แต่เรียงคำต่างจากภาษาไทยภาคกลางและใต้[9] และยืมคำมลายูมากถึงร้อยละ 97[10] ดังนั้นผู้ที่จะพูดภาษานี้ได้ต้องเข้าใจทั้งภาษาไทยและมลายูปัตตานี[3] ภาษาถิ่นพิเทนมีหน่วยเสียงพยัญชนะต้น 22 หน่วยเสียง หน่วยพยัญชนะควบกล้ำ 14 หน่วยเสียง มีเสียงพยัญชนะท้าย 9 หน่วยเสียง หน่วยเสียงสระเดี่ยว 18 หน่วยเสียง หน่วยเสียงสระประสม 3 หน่วยเสียง และมีการแตกตัวสามทาง มีระบบเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างไปจากภาษาไทยถิ่นใต้ ภาษาถิ่นตากใบ และภาษาถิ่นสะกอม[5]

ภาษาถิ่นพิเทนมีลักษณะคือ โครงสร้างของคำพยางค์เดียว สองพยางค์ คำซ้ำ คำซ้อนจะเหมือนภาษาไทยมาตรฐาน แต่ต่างกันคือการลำดับคำไม่ตรงกัน นอกจากนี้ยังมีการโดยนำคำมลายูและคำไทยมารวมกันเพื่อสร้างคำใหม่[9] เช่น กือสาร แปลว่า "ข้าวสาร" และ ปลากือริง แปลว่า "ปลาแห้ง"[6] นอกจากนี้ยังพบว่ามีการนำคำมลายูปัตตานีมาเป็นจำนวนมาก ภาษาถิ่นพิเทนจึงรับอิทธิพลด้านเสียงและคำจากภาษามลายูปัตตานี[9]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาษาถิ่นพิเทน http://164.115.27.97/digital/files/original/908a1b... http://hhdpiten.blogspot.com/p/blog-page.html http://www.thaitambon.com/tambon/940602 http://soreda.oas.psu.ac.th/show_detail.php?resear... http://soreda.oas.psu.ac.th/show_detail.php?resear... http://district.cdd.go.th/thungyangdaeng/about-us/... http://www.piten.go.th/html/menu-2.asp?action=2&id... https://prachatai.com/journal/2015/04/58680 https://web.archive.org/web/20170519162710/http://... https://web.archive.org/web/20180324080335/http://...