ระบบเสียง ของ ภาษามลายูปัตตานี

พยัญชนะ

หน่วยเสียงพยัญชนะมลายูปัตตานี[2]
ประเภทเสียงตำแหน่งเกิดเสียง
ริมฝีปากริมฝีปาก
กับฟัน
ปุ่มเหงือกเพดานแข็งเพดานอ่อนเส้นเสียง
เสียงนาสิกmnɲŋ
เสียงกึ่งนาสิกmbndɲɟŋg
เสียงกักไม่ก้องไม่พ่นลมptckʔ
พ่นลม(pʰ)(tʰ)(cʰ)(kʰ)
ก้องbdɟg
เสียงเสียดแทรกไม่ก้อง(f)s(x)h
ก้อง(z)ɣ
เสียงลิ้นรัวr
เสียงข้างลิ้นl
เสียงกึ่งสระwj


  • หน่วยเสียงที่อยู่ในวงเล็บคือหน่วยเสียงที่ปรากฏในคำยืม เช่น /eʔ/ 'เค้ก', /orasaʔ/ 'โทรศัพท์'
  • หน่วยเสียงที่ปรากฏในตำแหน่งท้ายพยางค์มี 3 หน่วยเสียง ได้แก่ /ŋ/, /ʔ/ และ /h/ เช่น /tɨpoŋ/ 'ขนม', /kɔtɔʔ/ 'กล่อง', /panah/ 'ร้อน'
  • หน่วยเสียงพยัญชนะกึ่งนาสิกเป็นหน่วยเสียงที่ไม่พบทั้งในภาษามาเลเซียและภาษาไทย เกิดจากการรวบเสียงพยัญชนะนาสิกเข้ากับเสียงพยัญชนะกักซึ่งใช้ฐานกรณ์เดียวกันหรือใกล้เคียงกันจนกลมกลืนเป็นเสียงเดียว โดยเกิดเฉพาะในตำแหน่งกลางคำเท่านั้น ตัวอย่างคู่เทียบเสียงได้แก่ /kɨmæ/ 'ไมยราบ' - /kɨmbæ/ 'บาน', /kanæ/ 'ขวา' - /kandæ/ 'คอก' และ /tuŋa/ 'ไร' - /tuŋga/ 'โทน, โดด'
  • นอกจากหน่วยเสียงพยัญชนะข้างต้นแล้ว ภาษามลายูปัตตานียังมีหน่วยเสียงพยัญชนะเสียงยาว ซึ่งก็คือเสียงพยัญชนะต้นที่ถูกยืดให้ยาวกว่าปกติเล็กน้อยเนื่องมาจากการลดรูปของคำ การยืดเสียงเช่นนี้เกิดได้กับพยัญชนะทุกหน่วยเสียง ยกเว้น /ʔ/, /h/ และหน่วยเสียงพยัญชนะกึ่งนาสิก ตัวอย่างคู่เทียบเสียงได้แก่ /buŋɔ/ 'ดอกไม้' - /uŋɔ/ 'ออกดอก' และ /malæ/ 'กลางคืน' - /alæ/ 'ค้างคืน'

สระ

หน่วยเสียงสระเดี่ยวภาษามลายูปัตตานี[3]
ประเภทสระหน้าสระกลางลิ้นสระหลัง
สระสูงiɨu, ũ
สระกึ่งสูงeo
สระกึ่งต่ำæ, æ̃ɔ, ɔ̃
สระต่ำa, ã