ประวัติ ของ ภาษามองโกเลีย

เอกสารเขียนด้วยอักษรพักส์-ปาตัวอย่างอักษรโซยอมโบแต่ละพยางค์

ภาษามองโกเลียโบราณเป็นชื่อที่ใช้เรียกภาษาที่เป็นบรรพบุรุษของภาษามองโกเลีย เอกสารภาษามองโกเลียพบครั้งแรกในจารึกยิซุงเก ซึ่งเขียนด้วยอักษรมองโกเลีย อายุราว พ.ศ. 1767 – 1768 ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 – 20 ภาษามองโกเลียเขียนด้วยอักษร 4 ชนิดคือ อักษรมองโกเลียที่พัฒนามาจากอักษรอุยกูร์ อักษรพักส์-ปา อักษรจีนและอักษรอาหรับ นักวิชาการบางคนเรียกภาษามองโกเลียที่เขียนด้วยอักษรสามชนิดหลังว่าภาษามองโกเลียยุคกลาง ภาษามองโกเลียคลาสสิกเกิดขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 24 ซึ่งเป็นภาษาเขียนที่มีมาตรฐานในการสะกดคำและการเรียงประโยค และมีความแตกต่างจากภาษามองโกเลียสมัยใหม่ ใน พ.ศ. 2229 อักษรโซยอมโบซึ่งใช้สำหรับเอกสารทางพุทธศาสนาได้ถูกประดิษฐ์ขึ้น

วิกิพีเดีย
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ในภาษามองโกเลีย
ภาษาจีนถิ่นต่าง ๆ อักษรจีน และ ภาษาอื่น ๆ ที่พูดในประเทศจีน
ภาษาจีนทางการ
ภาษาหลัก
ภาษาย่อยในภาษาหมิ่น
ภาษาย่อยในภาษาหมิ่นใต้
อักษรจีน
ภาษาอื่น ๆ ที่พูดในจีน
รับอิทธิพลจากภาษาจีน