ภาษาศาสตร์แบบกำหนดและภาษาศาสตร์แบบบรรยาย ของ ภาษาศาสตร์

งานวิจัยทางภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่มักจะเป็นแบบบรรยายบริสุทธิ์ (purely descriptive) นั่นคือ นักภาษาศาสตร์จะหาหนทางเพื่อสร้างความกระจ่างในธรรมชาติของภาษา โดยไม่มีการกำหนดวิธีการล่วงหน้าหรือพยายามที่จะหาทิศทางของภาษาในอนาคต อย่างไรก็ตามมีทั้งนักภาษาศาสตร์มืออาชีพและมือสมัครเล่นที่กำหนดกฎเกณฑ์ล่วงหน้า (prescribe) ให้กับกฎของภาษา โดยจะมีมาตรฐานเฉพาะเพื่อให้ผู้อื่นได้ปฏิบัติตาม

นักกำหนดกฎเกณฑ์ (Prescriptivist) มักจะพบได้ในผู้สอนภาษาในระดับต่าง ๆ ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะมีกฎเกณฑ์ชัดเจนที่ตัดสินว่า อะไรถูก อะไรผิด และอาจทำหน้าที่รับผิดชอบการใช้ภาษาอย่างถูกต้องของคนในรุ่นถัดไป ส่วนมากภาษาที่ควบคุมมักจะเป็นภาษาที่ใกล้เคียงภาษามาตรฐาน (en:acrolect) ของภาษาหนึ่ง ๆ เหตุที่นักกำหนดกฎเกณฑ์เหล่านี้ไม่สามารถทนเห็นการใช้ภาษาผิด ๆ นั้น อาจจะเกิดจากความไม่ชอบในคำที่เกิดขึ้นใหม่ (en:neologism) ภาษาถิ่นที่สังคมไม่ยอมรับ (en:basilect) หรือความขัดแย้งเพียงเล็กน้อยกับทฤษฎีที่เข้มงวด นักกำหนดกฎเกณฑ์สุดโต่งอาจจะพบเห็นได้ในกลุ่มนักเซ็นเซอร์ ซึ่งเป้าหมายของคนกลุ่มนี้คือกำจัดคำและโครงสร้างไวยากรณ์ที่คิดว่าจะบ่อนทำลายสังคม

ในทางกลับกัน นักอธิบายกฎเกณฑ์ (Descriptivist) จะพยายามหารากเหง้าของการใช้ภาษาไม่ถูกต้อง นักอธิบายกฎเกณฑ์จะอธิบายการใช้ภาษาแบบดังกล่าวให้เป็นการใช้ภาษาเฉพาะแบบ (idiosyncratic usage) หรืออาจจะค้นพบกฎซึ่งอาจจะขัดกับนักกำหนดกฎเกณฑ์ ภาษาศาสตร์แบบบรรยาย (en:descriptive linguistics) ตามบริบทของงานภาคสนาม (en:fieldwork) จะหมายถึงการศึกษาภาษาโดยแนวทางของนักอธิบายกฎเกณฑ์ (มากกว่าที่จะเป็นแนวทางของนักกำหนดกฎเกณฑ์) วิธีการของนักอธิบายกฎเกณฑ์จะใกล้เคียงกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในสายวิชาการอื่น ๆ มากกว่าวิธีการของกำหนดกฎเกณฑ์

ใกล้เคียง

ภาษาศาสตร์ ภาษาศาสตร์เพิ่มพูน ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ภาษาศาสตร์โอลิมปิกแห่งประเทศไทย ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ ภาษาศาสตร์สังคม ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ ภาษาศาสตร์จิตวิทยา ภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา