อัตลักษณ์ ของ ภูเก็ตฮกเกี้ยน

สำหรับผู้สืบสันดานของผู้เข้าเมืองชาวจีนรุ่นที่สองและสาม เป็นทางเลือกส่วบุคคลว่าจะระบุตัวเองว่าเป็นชาติพันธุ์จีนหรือไม่[15] กระนั้น ไทยเชื้อสายจีนส่วนใหญ่ระบุว่าตนเป็นคนไทยอย่างเดียวเท่านั้น เนื่องจากได้บูรณาการใกล้ชิดและผสมกลืนเข้าสู่สังคมไทยได้สำเร็จ[16][17] จี. วิลเลียม สกินเนอร์เชื่อว่าที่การผสมกลมกลืนสำเร็จนั้นเป็นนโยบายของผู้ปกครองไทยที่ยอมให้วาณิชชาวจีนรับราชการเป็นขุนนาง[18]:240–1 ปัจจุบันไทยเชื้อสายจีนยังมีบทบาทสำคัญในขบวนการนิยมเจ้า/ชาตินิยม เช่น สนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย,[19] และไทยเชื้อสายจีนในกรุงเทพมหานครที่เป็นกลุ่มหลักของ กปปส.[20]

ปัจจุบันไทยเชื้อสายจีนจะพูดภาษาไทยผสมภาษาหมิ่นใต้ในการติดต่อกันเอง โดยเฉพาะชาวแต้จิ๋วที่อยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นส่วนมาก และก็จะใช้ภาษาไทยติดต่อกับสังคมภายนอกได้ดีขึ้น แต่ลูกหลานจีนในปัจจุบันมีน้อยมากที่ยังพูดภาษาของบรรพบุรุษได้ เนื่องจากอยู่กับสังคมภายนอกและที่บ้านเองก็พูดภาษาหมิ่นใต้กับตนน้อยลง ยังคงเหลือแต่ผู้อาวุโสในครอบครัวเท่านั้นที่ยังพูดภาษาเหล่านี้กับลูกหลาน[ต้องการอ้างอิง] ปัจจุบันประเพณีและค่านิยมบางอย่างที่ยังคงปฏิบัติตาม ครอบครัวลูกหลานจีนก็ยังยึดถือปฏิบัติอยู่ เช่น การไหว้เจ้าในโอกาสต่างๆ ซึ่งถือเป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ ส่วนชาวไทยเชื้อสายจีนในภาคเหนือเป็นชาวไทยเชื้อสายจีนกลุ่มเดียวที่ใช้ภาษาจีน พบได้ในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ซึ่งส่วนใหญ่นับถือพุทธกับคริสต์และมีบางส่วนนับถืออิสลาม

มีหนังสือพิมพ์ภาษาหมิ่นใต้ในประเทศไทยอยู่ 6 ฉบับ ส่วนมากผู้อ่านจะเป็นผู้ที่อพยพมา ผู้เฒ่าผู้แก่ ลูกหลานคนจีน และ ผู้ที่เรียนภาษาจีนจะอ่าน

มีโรงเรียนจีนหลายแห่ง ตัวอย่างเช่น โรงเรียนเผยอิงซึ่งตั้งอยู่ในย่านเยาวราช เปิดสอนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ โรงเรียนช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุงในจังหวัดเชียงใหม่[21] และ โรงเรียนภูเก็ตไทยหัว จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นโรงเรียนจีนแห่งแรกของไทย[22]

ศาสนาและความเชื่อ

ชาวไทยเชื้อสายจีนรุ่นแรกที่เข้ามาในไทยนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน และศาสนาเต๋า ครั้นในเวลาต่อมาศาสนาพุทธนิกายเถรวาทได้กลายเป็นหนึ่งในศาสนาบนความเชื่อคนชนเชื้อสายจีนในไทยจากการจากการหลอมรวมทางวัฒนธรรม โดยมากชาวไทยเชื้อสายจีนจะประกอบพิธีกรรมดั้งเดิมแบบความเชื่อของจีนและเถรวาทไทยไปด้วยกัน[23] งานเทศกาลของจีนที่สำคัญอย่าง ตรุษจีน, วันไหว้พระจันทร์ หรือวันเชงเม้ง ก็ถูกจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ในภูเก็ต, กรุงเทพมหานคร และหัวเมืองอื่น ๆ ที่มีชุมชนชาวจีนขนาดใหญ่ตั้งอยู่[24]

อย่างไรก็ตามชาวไทยเชื้อสายจีนจึงไหว้บรรพบุรุษและเทพเจ้าตามประเพณี และเข้าวัดไทยเหมือนชาวไทยทั่วไป ส่วนเรื่องงานศพ ชาวไทยเชื้อสายจีนยึดถือแบบจีนดั้งเดิม เช่น การทำกงเต๊กและฝังศพน้อยลงเนื่องจากค่าใช้จ่ายสูง และนิยมการเผาศพแบบไทยมากขึ้น

ขณะเดียวกันมีชาวจีนฮ่อบางส่วนในภาคเหนือที่นับถือศาสนาอิสลามตามบรรพบุรุษอยู่แล้ว พวกเขามีการรวมกลุ่มที่หนาแน่นกว่าชาวจีนฮ่อที่ไม่ใช่มุสลิม ในจังหวัดเชียงใหม่มีมัสยิดของชาวจีนมากถึงเจ็ดแห่ง[25] หนึ่งในมัสยิดที่สำคัญของจีนฮ่อคือมัสยิดบ้านฮ่อ นอกจากชาวจีนฮ่อแล้วก็มีชาวจีนกลุ่มอื่นที่นับถือศาสนาอิสลาม อาทิ ชาวไทยเชื้อสายจีนบ้านกรือเซะในจังหวัดปัตตานี ซึ่งใช้ภาษามลายูในการสื่อสาร[26][27] โดยมุสลิมเชื้อสายจีนที่บ้านกรือเซะนั้น บางส่วนนับถือเจ้าแม่ลิ้มกอเนียวด้วย บ้างก็ขอพรบ้างก็บนบาน เมื่อมีงานมงคลก็ต้องมีการเซ่นสรวงเจ้าแม่ด้วยเชื่อว่าหากไม่กระทำเช่นนั้นก็จะเกิดเภทภัย ในวันฮารีรายอก็จะมีการเซ่นสรวงเจ้าแม่ และเมื่อพิธีแห่เจ้าแม่เดือนสาม ชาวมุสลิมเชื้อสายจีนก็จะไปชมขบวนเพื่อระลึกถึงท่าน[28]

วัฒนธรรมชาวจีนโพ้นทะเลในไทยนั้นจะต่างกับชาวจีนโพ้นทะเลในสิงคโปร์และมาเลเซียบางส่วน ซึ่งจะหันไปนับถือศาสนาคริสต์ และพูดภาษาจีนกลาง ชาวไทยเชื้อสายจีนบางส่วนกลับไม่ยึดติดกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนมากนักและนิยมวัฒธรรมที่กลมกลืนไปกับคนไทย