ประวัติ ของ มัสยิดอุมัยยะฮ์

ก่อนศาสนาอิสลาม

ดูบทความหลักที่: วิหารจูปิเตอร์, ดามัสกัส

บริเวณนี้กลายเป็นพื้นที่สักการะพระเจ้ามาตั้งแต่ยุคเหล็ก ดามัสกัสเคยเป็นเมืองหลวงของรัฐอาราเมอัน และมีวิหารขนาดใหญ่ของลัทธิฮะดัด เทพแห่งสายฟ้าและฝน มีหินก้อนหนึ่งที่เป็นส่วนที่เหลือของวิหารอาราเมอันที่ถูกจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติดามัสกัส.[2] หลังจากพวกโรมันเข้ายึดครองใน 64 ปีก่อนคริสตกาล พวกเขาได้เทียบเทพฮะดัดให้เหมือนกับจูปิเตอร์ เทพแห่งสายฟ้าของพวกเขา.[3] ดังนั้น พวกโรมันจึงขยายวิหาร ภายใต้การควบคุมของสถาปนิกอะพอลโลโดรุสแห่งดามัสกัส[4]

จนถึงปลายศตวรรษที่ 4 ในปีค.ศ.391 วิหารจูปิเตอร์ถูกเปลี่ยนเป็นอาสนวิหารโดยจักรพรรดิเทออดอซิอุสที่ 1 (ครองราช ค.ศ.379–395) ในระหว่างการเปลี่ยนแปลงเป็นอาสนวิหารคริสเตียน มันยังไม่ได้ถวายแก่ยอห์นผู้ให้บัพติศมาในทันที; มันพึ่งถูกถวายแก่ท่านในศตวรรษที่ 6 ตามตำนานที่กล่าวว่าหัวของนักบุญยอห์นถูกฝังที่นี่[1] มันทำหน้าที่เป็นที่ตั้งของบิชอปแห่งดามัสกัส ผู้มีศักดิ์เป็นอันดับสองของอัครบิดรแห่งแอนติออก[5]

มัสยิดอุมัยยะฮ์

มัสยิดอุมัยยะฮ์ในเวลากลางคืน

ดามัสกัสถูกยึดครองโดยทหารมุสลิมอาหรับที่นำโดยคอลิด อิบน์ อัลวะลีดในปีค.ศ.634.

ในปีค.ศ. 661 รัฐเคาะลีฟะฮ์ที่อยู่ภายใต้การปกครองของ ราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ซึ่งเลือกเมืองดามัสกัสเป็นเมืองหลวงของโลกมุสลิม อัลวะลีดที่ 1 (ครองราช ค.ศ. 705–715) เคาะลีฟะฮ์องค์ที่ 6 ได้มีรับสั่งให้สร้างมัสยิดในบริเวณอาสนวิหารไบแซนไทน์ในปีค.ศ.706.[6] ก่อนหน้านั้น อาสนวิหารยังถูกใช้โดยชาวคริสต์ในท้องถิ่น แต่ห้องละหมาด (มุศ็อลลา) สำหรับมุสลิมถูกสร้างในบริเวณทางตะวันออกเฉียงใต้ของวิหาร อัลวะลีดได้สั่งให้รื้อมุศ็อลลาและอาสนวิหารส่วนใหญ่ออก แล้วสร้างมัสยิดลงไปแทน แต่ชาวคริสต์ได้ประท้วงการก่อสร้างนี้ อัลวะลีดจึงรับสั่งให้คืนโบสถ์ที่ถูกยึดให้แก่ชาวคริสต์เพื่อเป็นการตอบสนองแก่พวกเขา ตัวมัสยิดสร้างเสร็จในปีค.ศ.715 ไม่นานหลังจากที่อัลวะลีดสวรรคต และอยู่ในสมัยของสุไลมาน อิบน์ อับดุลมาลิก (ครองราช ค.ศ. 715–717).[7][8][9]

รายงานจากอิบน์ อัลฟากิฮ์ นักประวัติศาสตร์ชาวเปอร์เซียในศตวรรษที่ 10 มีการใช้เงินดินาร์ในโครงการนี้ไประหว่าง 600,000 ถึง 1,000,000 เหรียญ และใช้แรงงานไป 12,000 คน[7][10] ทางช่างฝีมือไบเซนไทน์ได้สร้างโมเสกที่เป็นรูปภูมิทัศน์และสิ่งก่อสร้างในรูปแบบโรมันตอนปลาย[11][12] อิบน์ อัลฟะกิฮ์รายงานว่า ในระหว่างการก่อสร้างนั้น มีคนงานพบถ้ำที่มีกล่องบรรจุหัวของนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมา หรือยะฮ์ยา อิบน์ ซะกะรียาในศาสนาอิสลาม หลังจากศึกษาและตรวจสอบแล้ว อัลวะลีดที่ 1 จึงมีรับสั่งให้ฝังใต้เสาที่มีรูปแบบเฉพาะในมัสยิด ซึ่งถูกทาบด้วยหินอ่อนในภายหลัง[13]

โดมแห่งเวลาถูกสร้างในปีค.ศ.780

สมัยราชวงศ์อับบาซียะฮ์และฟาฏิมียะฮ์

หลังจากการประท้วงที่ทำให้การปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ์สิ้นสุดลงในปีค.ศ. 750 ราชวงศ์อับบาซียะฮ์จึงมีอำนาจขึ้นแล้วย้ายเมืองหลวงไปที่แบกแดด จึงทำให้มัสยิดอุมัยยะฮ์หมดความสำคัญไป โดยมีการบันทึกแค่ในระหว่างศตวรรษที่ 8 ถึง 10[14] อัลฟาดิล อิบน์ ศอลิฮ์ ข้าหลวงแห่งดามัสกัสของรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ ได้สร้างโดมนาฬิกา[ไม่แน่ใจพูดคุย] ในบริเวณฝั่งตะวันออกของมัสยิดในปีค.ศ.780.[15] เก้าปีต่อมา เขาได้ริเริ่มการก่อสร้างโดมคลังสมบัติโดยมีจุดประสงค์ไว้เก็บกองทุนของมัสยิด[16] อัล-มุก็อดดาซี นักภูมิศาสตร์ชาวอาหรับในศตวรรษที่ 9 ได้วางใจให้พวกอับบาซีสร้างหอมินาเรตในบริเวณทางตอนเหนือ (มะฎอนัต อัลอะรูส; "มินาเรตแห่งพธู" (Minaret of the Bride)) ของมัสยิดในปีค.ศ. 831 ในรัชสมัยของเคาะลีฟะฮ์อัล-มะอ์มูน (ครองราช ค.ศ. 813–833).[14][16]

โดมคลังสมบัติถูกสร้างในปีค.ศ.789

ต่อมา พวกฟาฏิมียะฮ์แห่งอียิปต์ที่นับถือนิกายชีอะฮ์ ได้ยึดครองดามัสกัสในปีค.ศ.970 แต่มีการพัฒนาน้อยมาก ในปีค.ศ.1069 บริเวณส่วนใหญ่ของมัสยิด โดยเฉพาะกำแพงฝั่งเหนือถูกเผาทำลาย เพราะการก่อกบฏของประชาชนในเมืองต่อทหารเบอร์เบอร์ของพวกฟาฏิมิดที่ตั้งไพร่พลในบริเวณนี้[17]

สมัยเซลจุคและอัยยูบิด

พวกเซลจุคได้ครอบครองเมืองในปีค.ศ.1078 กษัตริย์ตูตุชที่ 1 (ครองราช ค.ศ. 1079–1095) ทรงริเริ่มซ่อมแซมมัสยิดจากผลพวงของไฟไหม้ในปีค.ศ.1069[18] ในปีค.ศ. 1082 อบูนัศร์ อะฮ์มัด อิบน์ ฟัดล์ ที่ปรึกษาของพระองค์ ได้สั่งให้ซ่อมแซมโดมกลาง;[19]ริวาก ทางตอนเหนือ ("ระเบียงทางเข้าที่มีหลังคาและเสากลม") ถูกสร้างใหม่ในปีค.ศ. 1089.[18] ในปีค.ศ.1113, ชารัฟ อัดดีด เมาดูด (ครองาช ค.ศ. 1109–1113) อะตาเบกแห่งโมซุล ถูกลอบสังหารในมัสยิดนี้[20] เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างดามัสกัสกับรัฐครูเสดในช่วงกลางศตวรรษที่ 12 ตัวมัสยิดจึงกลายเป็นจุดเรียกร้องให้มุสลิมปกป้องเมืองและนำเยรูซาเลมกลับคืนมา อิหม่ามหลายตน ซึ่งรวมไปถึงอิบน์ อะซากิรได้เรียกร้องให้ทำ ญิฮาด (" ในภาษาอาหรับแปลว่า การต่อสู้/มุ่งมั่น") และเมื่อพวกครูเซดเดินทัพมาถึงดามัสกัสในปีค.ศ. 1148 ประชาชนในเมืองได้ร่วมกันต่อสู้จนทำให้พวกครูเสดถอยทัพไป[21]

ในสมัยของนูรุดดีน ซันกี ซึ่งเริ่มในปีค.ศ.1154 ได้มีการสร้างหอนาฬิกาอันที่สองที่มีชื่อว่านาฬิกาน้ำญัยรุน[22] มันถูกสร้างข้างนอกประตูทางเข้ามัสยิดทางทิศตะวันออก (บาบ ญัยรุน) โดยมุฮัมมัด อัซซะอาตี แล้วสร้างอีกรอบในปีค.ศ.1167 เนื่องจากไฟไหม้ และถูกซ่อมแซมโดยริดวาน ลูกชายของเขา ในช่วงต้นศตวรรษที่ 13 มันอาจจะอยู่รอดได้นานถึงศตวรรษที่ 14[23] มุฮัมมัด อัลอิดรีซี นักภูมิศาสตร์ชาวอาหรับ ได้มาเยี่ยมมัสยิดนี้ในปีค.ศ.1154.[16]

ในปีค.ศ. 1173 กำแพงทางตอนเหนือของมัสยิดถูกเผาแล้วสร้างใหม่โดยเศาะลาฮุดดีน (ครองราช ค.ศ. 1174–1193) พร้อมกับสร้างมินาเรตแห่งพธู[24] ซึ่งเคนถูดทำลายในช่วงไฟไหม้ของปีค.ศ. 1069[16] และพระศพของพระองค์กับผู้สืบทอดกษัตริย์องค์ต่อไปก็ถูกฝังที่นั่น[25]

สมัยมัมลูก

มินาเรตแห่งก็อยต์บัยถูกสร้างในปีค.ศ.1488 ภายต้คำสั่งของสุลต่านก็อยต์บัย

พวกมองโกล ภายใต้การนำของคิตบูกา ที่เป็นพันธมิตรกับกองทัพครูเสด ได้ยึดเมืองดามัสกัสจากพวกอัยยูบิดในปีค.ศ.1260. โบฮีมอนต์ที่ 6 แห่งแอนติออก ได้มีรับสั่งให้ทำพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ในมัสยิดอุมัยยะฮ์[26] แต่ว่าพวกมัมลูกที่นำโดยกุตุสกับบัยบัรส์ ครอบคราองเมืองได้ในปีเดียวกัน ในปีค.ศ. 1270 บัยบัรส์ ได้สั่งให้ดำเนินการบูรณะมัสยิด รายงานจากอิบน์ ชัดดัด การบูรณะใช้เงินดินาร์ไป 20,000 เหรียญ[27] ตัวโมเสกที่ทำการบูรณะเป็นจุดที่มีอิทธิพลของสถาปัตยกรรมมัมลูกในซีเรียและอียิปต์[28]

ตีมูร์ได้ปล้นเมืองดามัสกัสในปีค.ศ.1400 แล้วมีรับสั่งให้เผาเมืองในวันที่ 17 มีนาคม ตัวไฟได้ทำลายเสามินาเรตตะวันออกของมัสยิดให้กลายเป็นเศษหินและทำให้โดมกลางของมัสยิดพังถล่มลงมา[29] เสามินาเรตตะวันตกเฉียงใต้ถูกสร้างขึ้นในปีค.ศ.1488 ในสมัยของสุลต่านมัมลูก[30]

สมัยออตโตมัน

มัสยิดอุมัยยะฮ์จากเอกสารกิตาบ อัลบุลฮาน

สุลต่านเซลิมที่ 1ได้ยึดครองดามัสกัสจากพวกมัมลูกในปีค.ศ.1516. การละหมาดวันศุกร์ครั้งแรกถูกจัดขึ้นโดยตัวพระองค์เอง[31][32]

อับดุลฆอนี อันนะบูลซี นักปราชญ์ศูฟีได้ให้คำสอนในมัสยิดนี้ โดยเริ่มในปีค.ศ.1661.[33]

ตัวโมเสกและหินอ่อนเสียหายจากไฟไหม้ในปีค.ศ.1893[34] ตัวไฟได้ทำลายโถงห้องละหมาด และทำให้โดมตรงกลางมัสยิดถล่ม ท้ายที่สุด พวกออตโตมันได้บูรณะมัสยิดนี้ในรูปแบบสถาปัตยกรมเดิมได้สำเร็จ[35]

จนกระทั่งปีค.ศ. 1899 หอสมุดในมัสยิดที่รวมไปถึงชุดสะสมกุบบัต อัลค็อซนะฮ์;[36] "สิ่งที่ถูกยึดได้ส่วนใหญ่ถูกส่งให้กับจักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 จักรพรรดิแห่งเยอรมัน และมีไม่กี่อันเท่านั้นที่ยังถูกเก็บในหอจดหมายเหตุแห่งชาติในดามัสกัส"[37]

สมัยใหม่

ฝั่งเหนือของลานในปีค.ศ.1862

มัสยิดอุมัยยะฮ์ได้รับการฟื้นฟูครั้งใหญ่ในปีค.ศ.1929 เป็นช่วงที่ซีเรียอยู่ภายใต้อาณัติของฝรั่งเศส และอีกครั้งในปีค.ศ.1954 กับ 1963 ภายใต้สาธารณรัฐซีเรีย.[38]

ในปีค.ศ.2001 สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ทรงเยี่ยมมัสยิด โดยมีจุดประสงค์หลักคือ ไปดูเรลิกของยอห์นผู้ให้บัพติศมา นี่เป็นครั้งแรกที่พระสันตะปาปาจ่ายเงินเพื่อเข้าไปในมัสยิด[39]

ในวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ.2011 มีกลุ่มผู้ประท้วงเกี่ยวกับสงครามกลางเมืองซีเรียที่มัสยิดอุมัยยะฮ์ เมื่อมีผู้คนประมาณ 40–50 คนเดินออกข้างนอกและร้องคำขวัญสนับสนุนประชาธิปไตย นั่นทำให้กองกำลังรักษาความปลอดภัยซีเรียต้องสลายการชุมนุม และคุมเข้มบริเวณนี้ในช่วงละหมาดวันศุกร์[40][41]

แหล่งที่มา

WikiPedia: มัสยิดอุมัยยะฮ์ http://www.ne.jp/asahi/arc/ind/2_meisaku/32_damasc... http://english.aljazeera.net/news/middleeast/2011/... //doi.org/10.2307%2F1523236 //doi.org/10.2307%2F1523262 //doi.org/10.2307%2F1523266 //doi.org/10.2307%2F4149989 http://www.manar-al-athar.ox.ac.uk/dams/pages/sear... http://news.bbc.co.uk/2/hi/middle_east/1315190.stm https://books.google.com/?id=1_bQTrpf62cC&dq=damas... https://books.google.com/books?id=2K8dGsd2KCsC&pg=...